วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

การประกันภัยพืชผลการเกษตร (Crop Insurance)

การประกันภัยพืชผลทางการเกษตร(Crop Insurance)



ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ฝนแล้ง ไฟไหม้ ลมพายุ ศัตรูพืชและโรคระบาด นับวันจะเกิดภัยบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น เป็นสาเหตุที่ทำให้ความเสียหายแก่ผลผลิต ทรัพย์สินและชีวิต

การลดลงหรือสูญเสียไปซึ่งมูลค่าอันเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอน (ความเสี่ยงภัย) เช่น เราทำนาเสร็จแล้ว น้ำท่วมหรือเกิดภัยแล้งนาข้าวก็ไม่มีผลผลิตให้เราหรือได้น้อยลง

โอกาสที่จะเกิดความเสียหายในอนาคตโดยเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นนั้นเป็นเหตุการณ์ที่มีความไม่แน่นอน และไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ เช่น เราปักนาดำเสร็จแล้วต่อจากนั้นเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า น้ำจะท่วม หรือฝนจะแล้ง
การประกอบอาชีพการเกษตรมีความเสี่ยงที่สำคัญคือ ความเสี่ยงด้านราคาและความเสี่ยงด้านการผลิต

รัฐบาลทุกสมัยได้ให้ความสำคัญ และมีมาตราการรองรับดูแลเกษตรกร โดยการรับจำนำผลผลิต การประกันรายได้ และการแทรกแซงราคา เป็นต้น

ความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่นับวันจะเกิดรุนแรงและมากขึ้น แม้เกษตรกรจะได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาล แต่เมื่อเทียบกับเงินลงทุนทำการผลิตถือว่าน้อยไม่เพีงพอในการลงทุนทำการผลิตใหม่ หากไม่มีเงินทุนสำรองอาจต้องกู้เงินดอกเบี้ยแพง
 

การประกันภัยพืชผลการเกษตรสามารถแก้ปัญหาได้

การประกันภัยพืชผล
เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยลดหรือบรรเทาความเดือดร้อนจากการได้รับความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติต่างๆ "ค่าเบี้ยประกันภัย" ให้กับ "ผู้รับประกันภัย"
เมื่อผู้ทำประกันภัยได้รับความเสียหาย ผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินชดเชย "ค่าสินไหมทดแทน" ให้ "ผู้ทำประกันภัย"


ใครสามารถทำประกันภัยพืชผล
ผู้ที่จะทำประกันภัยพืชผล จะต้องเป็นผู้ที่ทำการผลิตพืชผลนั้นๆด้วยตนเองและเป็นเจ้าของผลผลิตนั้น


ทำประกันภัยพืชผลเมื่อใด
การประกันภัยพืชผลจะกำหนดระยะเวลาคุ้มครองไว้ล่วงหน้า โดยระยะเวลาคุ้มครองนี้จะตรงกับช่วงระยะเวลาเพาะปลูกของพืชแต่ละชนิดดังนั้น การทำประกันภัยจึงต้องทำก่อนเริ่มระยะเวลาเพาะปลูกของพืชแต่ละชนิด

ติดต่อทำประกันภัยพืชผลที่ใด
ผู้รับประกันภัยได้ร่วมกับ ธ.ก.ส. ในการเป็นช่องทางเผยแพร่ข่าวสาร และการให้บริการจัดทำประกันภัยพืชผล ดังนั้น เกษตรกรสามารถขอทำประกันภัยพืชผลและติกต่อสอบถามได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา


ประโยชน์การทำประกันภัยพืชผลคือ
1. ได้รับเงินชดเชย (สินไหมทดแทน) เมื่อเกิดความเสียหาย
2. มีเงินทุนเพียงพอทำการผลิตใหม่ เมื่อเกิดความเสียหาย
3. เกษตรกรมีภูมิคุ้มกันตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง


ศูนย์บริการลูกค้า (Call Center) 0 2555 0555
เลขที่ 2346 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900
โทรศัพท์: 0 2558 6100 ต่อ 8120-3
โทรสาร: 0 2558 6218

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น