วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557

สะเดา

สะเดา

ใบสะเดา

สะเดา หรือ Neem plant หรือ Nimtree หรือ Indian Lilac
ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta indica
สะเดามีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย เจริญเติบโตได้ดีในที่กลางแจ้ง สะเดาไม่ต้องการน้ำมากก็เจริญเติบโตได้ดีและเจริญเติบโตได้ดีในดินทราย ชอบสภาพอากาศร้อนหรือกึ่งเขตร้อน ดินที่แตกระแหงหรือแล้งสะเดาก็เจริญเติบโตได้ดีมากๆ เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ เนื้อไม้สามารถนำไปก่อสร้างบ้านได้ ต้นขนาดใหญ่จะสูง 15-20 เมตร
ใบของสะเดาเขียวชอุ่มตลอด เว้นแต่ในช่วงมกราคมเข้าสู่ช่วงผลัดใบ ใบสะเดาจะเริ่มร่วงจนหมดต้น กิ่งก้านสะเดาแผ่ออกด้านกว้าง เมื่อสะเดาเริ่มมีอายุ 5 ปีขึ้นไปเปลือกจะเริ่มแตกระแหงและมีขนาดหนาขึ้น
มีการเปรียบเทียบว่าต้นสะเดามีความคล้ายคลึงกับต้น ไชน่าเบอร์รี่

ใบสะเดาหากเมื่อร่วงแล้วเป็นวัสดุชั้นดีเพิ่มความโปร่งซุยในดิน เก็บความชื้นในดินได้ดี สะเดาเป็นไม้ที่ตัดแต่งกิ่งได้ง่าย การควบคุมทรงพุ่มก็ง่าย

ใบสะเดามีสีเขียวเข้มและใบดกมาก ลักษณะใบแยกออกจากแกนกลาง ส่วนดอกสะเดามีขนาดเล็ก มีสีขาวและขาวอมม่วง  ในหนึ่งต้นสะเดา ดอกสะเดาจะมีทั้งเพศผู้และเพศเมีย ถือว่าเป็น ไบเซ็กชวล

ดอกสะเดา
ใบและดอกสะเดามีรสชาติขม ในทางการแพทย์เรียกของที่มีรสขมว่า Bitter ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำลาย ช่วยการย่อยอาหาร ช่วยให้เจริญอาหาร จึงแนะนำให้คนสูงอายุทานของขม เพื่อช่วยการทำงานของระบบทางเดินอาหาร

การให้มียอดสะเดาไว้รับประทานทั้งปี โดยทำการตัดยอดสะเดา ยอดสะเดาจะแตกออกมาให้กินยอดตลอดทั้งปี ซึ่งเน้นที่พันธุ์สะเดามันทะวาย เป็นสะเดาที่มีรสขมน้อยกว่าสะเดาทั่วๆไป รสชาติออกมัน 





ผลสะเดา มีผิวเรียบสีเขียว เมื่อสุกสีจะออกสีเหลือง

ในจังหวัดทางตอนใต้ของอินเดียและปากีสถาน มีสภาพอากาศที่แล้งและดินแตกระแหง ดินสภาพแบบนี้ก็ปลกสะเดาได้ดี น้ำที่ใช้รดสะเดาเป็นน้ำอะไรก็ได้ ไม่คำนึงถึงคุณภาพน้ำ เช่น น้ำบาดาล น้ำบ่อธรรมชาติ น้ำบ่อสร้าง

การขยายพันธุ์ ด้วยการใช้เมล็ด โดยต้องเพาะปลูกทันที เพราะจาวภายในเมล็ดจะแห้งเมื่อปลูกจะไม่งอก





ไม้สะเดาเมื่อเริ่มอายุหลาย 20 ปีขึ้นไปภายในจะเริ่มเป็นโพรง อีกไม่นานก็จะตายลงจึงต้องแปรรูปไม้สะเดาทำเป็นไม้กระดาน(เนื้อไม้ไม่บิดโค้งเหมือนไม้ชนิดอื่นๆ)  ปลวก มอด ไม่กิน สีเนื้อไม้ค่อนข้างสวย หากเป็นแก่นไม้ด้วยแล้วลายยิ่งสวย

สายพันธุ์
-สะเดาช้าง
-สะเดาเทียม


การใช้งาน
สะเดาเป้นสารฆ่าแมลงซึ่งอยู่ในใบและเมล็ด คือสาร อาซาดิเรซติน Azadirachtin  ใบของสะเดาที่แห้ง ชาวอินเดียและปากีสถานจะเอาไว้ในตู้เสื้อผ้าเพื่อป้องกันแมลงกัดกินเสื้อผ้าและเอาไว้ในยุ้งข้าวเพื่อป้องกันมอด

ใบสะเดาที่แห้ง ชาวปากีสถานนำมาเผาจุดไล่ยุง ให้กับคนและสัตว์

ผัก
ยอดสะเดา ดอกสะเดา ซึ่งมีรสขมนำมาต้มสุก เป็นผักลวกจิ้มกับน้ำพริกและปลาดุกย่าง ลาบ น้ำตก พริกแจ่ว น้ำปลาหวาน แต่หากเป็นสะเดาขมมักจะไม่เข้ากับน้ำปลาหวาน  เป็นอาหารคู่เมนูสุขภาพ รับประทานกับข้าวสวยร้อนหรือข้าวเหนียว

ที่อินเดียนำดอกสะเดามาประกอบอาหารเช่นกัน ที่นั้นจะเรียกเมนูนี่ว่า Tamil Nadu
ยอดสะเดาอ่อนเอาไปผัดกับน้ำมันและมะเขือเปราะ เรียกเมนูนี่ว่า Nim begun

ที่พม่านำดอกสะเดาต้มกับมะขาม รับประทานกับน้ำพริกและข้าวสวย

ยา
นำสะเดาไปทำยาอายุรเวช  ตัวอย่างเช่น ยาป้องกันโรคผิวหนัง การสกัดน้ำมันสะเดาเพื่อบำรุงเส้นผม เป็นยาขับสารพิษในกระแสเลือด ควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือด ใบสะเดาใช้ในการทาผิวป้องกันโรค
ในใบและเมล็ดมีสารอาซาดิเรซตินซึ่งเป็นสารฆ่าแมลง การนำไปผลิตยาต้องใช้ด้วยความปลอดภัยและควบคุม วัย โรค และอายุของคนไข้

-ยอดสะเดาจืดและขม
-สารสะเดาฆ่าแมลง
-ต้นสะเดาใช้เลี้ยงมดแดง เลี้ยงโดยให้เศษอาหารและจัดหาน้ำให้มดแดง หากเป็นเศษเนื้อมดแดงยิ่งชอบ

อื่นๆ
น้ำมันสะเดาเป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางค์ สบู่ แชมพู ครีม ยาสีฟัน

ไม้สะเดานำไปทำที่ทำความสะอาดลิ้นเป็นที่นิยมในอินเดีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง

แก่นไม้สะเดาขนาดใหญ่ นำไปทำสิ่งปลูกสร้าง บ้านเรือน เพราะมีลวดลายสวยงาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น