วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การผลิตต้นกล้ากล้วยหอมทอง

การผลิตต้นกล้ากล้วยหอมทอง

ที่มาและความสำคัญ
กล้วยเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูงและมีสรรพคุณทางสมุนไพร สามารถรักษาโรคกระเพาะอาหาร รับประทานได้ทั้งผลสดและแปรรูป เป็นอาหารชนิดต่างๆได้หลากหลาย กล้วยที่เราคุ้นเคยส่วนใหญ่เป็นกล้วยที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเช่น กล้วยน้ำว้า  กล้วยหอม กล้วยไข่

สำหรับพื้นที่ที่เป็นแหล่งปลูกกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออกมีต้นกล้าไม่เพียงพอ ต้นกล้ามีขนาดแตกต่างกันมากทำให้การเก็บเกี่ยวไม่พร้อมกัน ต้นกล้ามีการสะสมเชื้อโรคและแมลง ทำให้ผลผลิตไม่สม่ำเสมอและมีไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ตลอดจนผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ไม่พร้อมกัน ทำให้มีปัญหาในการจัดการแปลง จึงนำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งของการขยายพันธุ์ มาช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนต้นพันธุ์และสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรเพิ่มมากขึ้น


การปลูกและดูแลต้นกล้วยหอมทองเพื่อให้ได้ผลผลิตตามกำหนดเวลา

1. ต้นกล้ากล้วยหอมทองจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้จากการนำหน่ออ่อนมาฟอกให้ปราศจากเชื้อโรคและเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ภายใต้สภาพปลอดเชื้อ

2. ต้นกล้าที่ย้ายออกปลูกสภาพโรงเรือนที่มีความสูง 20-30 ซม. สามารถนำไปปลูกลงแปลงโดยขุดหลุมขนาด 50x50x50 ซม. และใส่ปุ๋ยคอกเก่าหรือปุ๋ยหมักรองพื้นโดยใช้ระยะปลูก 2x2 เมตร

3. การใส่ปุ๋ยและพรวนดิน แบ่ง 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 และ 2 ใส่ปุ๋ย 16-16-16 และปุ๋ยคอกเมื่อลงแปลงปลูกได้หนึ่งเดือนและสามเดือน ทำให้ต้นสมบูรณ์ ครั้งที่ 3 ใส่ปุ๋ย 13-13-21 เมื่อปลูกลงแปลงได้หกเดือน(กล้วยเริ่มออกปลี) เพื่อช่วยให้ผลดกและรสชาติหวานหอม

4. การให้น้ำควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะช่วง 1-4 เดือนแรก ถ้าเป็นการให้น้ำตามร่องควรให้อย่างน้อยอาทิตย์ละหนึ่งครั้ง

5. การกำจัดวัชพืชและดูแลแปลงในช่วงที่ต้นกล้วยยังเล็ก ควรถางหญ้าหรือวัชพืชที่มาแย่งอาหารกล้วยและดูแลแปลงให้สะอาด อย่าให้เป็นสะสมของโรคและแมลง

ุ6. การตัดแต่งหน่อกล้วยหอมทอง เมื่อปลูกกล้วยไปได้ 5-6 เดือน ก่อนตกเครือกล้วยจะแตกหน่อออกมามาก ควรเลือกหน่อไว้แทนต้นแม่เดิมเพียง 2 หน่อแรก ควรเป็นหน่อที่อยู่ตรงข้ามของต้นเดิมซึ่งมีรากลึกและแข็งแรง

7. การป้องกันโรค โรคใบจุด มักจะเป็นช่วงที่ใบแก่หรือต้นเริ่มมีอายุ 5-6 เดือน จะระบาดมากในช่วงฤดูฝน การป้องกันตัดใบที่เป็นโรคออกไปจากแปลงหรือเผาทำลาย

8. การป้องกันแมลง แมลงมักจะระบาดระหว่างเปลี่ยนฤดู ได้แก่ปลายฝน ต้นหนาว และปลายหนาว ต้นร้อน หนอนปลอกกันกินใบและยอดอ่อน ควรหมั้นตรวจตราและตัดใบทิ้งหรือฉีดยาสมุนไพร

9. การป้องกันลม ถ้าลมแรง ทำให้ใบฉีกขาดมาก ต้นหักและล้มตายเป็นจำนวนมากถ้าพื้นที่ปลูกมีลมแรงประจำควรปลูกพืชใหญ่ป้องกันลมหรือใช้ไม้ค้ำต้น เพื่อป้องกันการโค่นล้ม

10. การคลุมผล ใช้ถุงพลาสติกคลุมผลกล้วย หลังจากปลีกล้วยยาวสุดเครือและตัดปลีทิ้ง ให้คลุมถุงได้ทันที(ประมาณ 2 สัปดาห์หลังออกปลี)

11. การเก็บเกี่ยว กรณีต้นกล้วยหอมทองที่ปลูกสมบูรณ์และมีการให้ปุ๋ยและน้ำที่เหมาะสมสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เมื่อปลูกประมาณ 8-10 เดือนหรือเมื่อผลแก่ประมาณ 70-80 %  บ่มแก๊สเป็นเวลาหนึ่งคืนเพื่อให้กล้วยสุก

ประโยชน์
1. ได้ต้นกล้ากล้วยหอมที่สะอาดปราศจากโรคและแมลง
2.สามรถปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเวลาใกล้เคียงและให้ผลผลิตต่อต้นได้มากขึ้น

รายชื่อผู้ประดิษฐ์
1. คุณมณฑา วงศ์มณีโรจน์
2. คุณรงรอง หอมนวล
3. คุณสุลักษณ์ แจ่มจำรัส

ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน  อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
โทรศัพท์ 034-351399, 034-281092
โทรสาร 034-351392
E-mail rdimow@ku.ac.th

ที่มา : เอกสารเผยแพร่

วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ค่า pH ของดิน

ค่า pH ของดิน

ค่า pH ของดินบอกค่าเป็นตัวเลขตั้งแต่ 1-14

ถ้าดินมีค่า pH น้อยกว่า 7 แสดงว่าดินเป็นดินกรด ยิ่งมีค่าน้อยกว่า 7 มาก ก็จะยิ่งเป็นกรดมาก  แต่ถ้าดินมีค่า pH มากกว่า 7 แสดงว่าดินเป็นดินด่าง สำหรับดินที่มี pH เท่ากับ 7 พอดีแสดงว่าดินเป็นกลาง แต่โดยปกติแล้วpHของดินทั่วไปจะมีค่าอยู่ในช่วง 5-8  พืชแต่ละชนิดชอบช่วงของค่า pH แตกต่างกัน  pH ของดินมีความสำคัญต่อการปลูกพืชมาก เพราะเป็นตัวควบคุมการละลายธาตุอาหารในดิน ออกมาอยู่ในรูปของสารละลายหรือน้ำในดิน ถ้าดินมี pH ไม่เหมาะสม ธาตุอาหารในดินอาจละลายออกมาได้น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช หรือในทางตรงกันข้าม ธาตุอาหารบางชนิดอาจละลายออกมาในดินมากเกินไป จนเป็นพิษต่อพืชได้ สำหรับพืชทั่วๆไปมักจะเจริญเติบโตในช่วง pH 6-7




ดินมีค่าเป็นด่าง แก้ไขโดยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีได้ผลเร็วแต่ราคาแพงและทำลายหน้าดิน
ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ให้ผลช้า และต้องมีความชื้นเข้าช่วย จึงได้ pH โครงสร้างดินและชีวภาพที่หลากหลาย

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เพกา

เพกา
ต้นเพกาหรือลิ้นฟ้า หรือมะลิตไม้ ต้นเพกามีความสูง 10-15 เมตร เป็นไม้เนื้ออ่อน ทนความร้อนทำหน้าที่ฉนวนได้ดีเช่นเปลือกไม้เพกา นำมารองมือในการยกหม้อ ในสมัยโบราณ


พันธุ์เพกา
-เพชรโนนผึ้ง
-เพกาพันธุ์เตี้ย
-พันธุ์เนื้อ
-พันธุ์บาง


ขยายพันธุ์
-การปักชำ
-การสกัดราก




การติดผลเพกา
ต้นเพกาออกดอกดกมาก ออกดอกต้นละกิ่งดอกเต็มช่อ ดอกบานเต็มที่ในเวลากลางคืน  แต่ส่วนใหญ่เกสรไม่ผสมกันดอกจึงร่วงลงพื้น ในทางธรรมชาติค้างคาวเล็บกุดเป็นสัตว์ที่ช่วยผสมเกสรเพราะค้างคาว (ค้างคาวเล็ก ค้างคาวกล้วย)หากินในเวลากลางคืนดูดกินน้ำหวานจากดอกเพกา ในกรณีที่พื้นที่ปลูกเพกาไม่มีค้างคาวการผสมเกสรก็จะได้น้อยลงจากแมลงกลางคืนชนิดอื่นๆ เช่น ผีเสื้อ

การปลูกเพกาแทรกระหว่างต้นไม้ใหญ่อื่นๆเพื่อลดอากาศร้อนลงไม่ให้รังไข่ฝ่อพร้อมการผสมพันธุ์

การผสมเกสรด้วยเทคนิค ต้นเพกามีความสูงมากจึงต้องตัดให้กิ่งใหม่งอกออกมา ตัดประมาณหัวเข่า 50-70 เซนติเมตร  และไม่ควรเอาไว้กิ่งเยอะเพราะจะแย่งอาหารและน้ำ แสงแดดกัน การช่วยผสมเกสรเพื่อให้ติดดอกทำได้ง่ายขึ้น หากผสมเกสรแล้วดอกยังร่วงแสดงว่าต้นเพกาอาจจะไม่สมบูรณ์

สารอาหาร
วิตามินซีสูง

การอาหาร
ผัดน้ำมันหอย , กินเพกาสดกับน้ำพริก ,ลวกจิ้มกับน้ำพริก, เพกาผัดไข่ ,คั่วผักเพกาอ่อน, ,แกงคั่วเพกาอ่อน, ยอดเพกาผัดหมู, รสชาติของเมนูอาหารออกขม หวานเล็กน้อย
ซุปดอกลิ้นฟ้า ,กินกับลาบก้อย
ทานกับน้ำพริก จะทำให้อาหารมีรสเผ็ดมากขึ้น
-การทำให้เพการสขมน้อยลง โดยนำไปปิ้งให้แห้งจะยิ่งขมน้อยลง แล้วไม่ให้โดนน้ำ ถ้านำไปต้มจะขมกว่าปิ้งไฟ



อัญชัน

อัญชัน


การปลูก
เพาะจากเมล็ดลงดิน กลบดิน รดน้ำประมาณ 7 วันจะงอก และออกแบบให้เลื่อยขึ้นไปตามรั้วทั้งแนวตั้งและแนวนอน รับแดดให้มากเพราะเป๋นพืชชอบแดด การปลูกและดูแลไม่ควรใช้สารเคมีเพราะนำไปทำอาหารและยา ผลิตภัณฑ์อาหารที่ต้องการใส่สีเพราะปัจจุบันนิยมใส่สีจากพืชและผลไม้กันจริงจัง และตลาดต่างประเทศต้องการสินค้าปลอดสารพิษจึงจะได้ราคาและกำลังการต่อรอง ลูกค้าจากต่างประเทศก็เช่นญี่ปุ่น รัสเซีย

รั้วที่ใช้เลื้อยเช่น ไม้ ไม้ไผ่ ตอต้นไม้ ไม้ตายซาก กิ่งอัญชันจะเลื้อยออกไปทุกทางเพื่อรับแดด

การรดน้ำรดวันละ 1 ครั้ง ใส่ปุ๋ยเดือนละ 1 ครั้ง

การเก็บเกี่ยว
ดอกอัญชันเริ่มออกดอกตั้งแต่ต้นอายุได้ 45-60 วันในการเพาะจากเมล็ด
เก็บดอกตั้งแต่ 7 โมงเช้าถึงบ่าย 3 โมง
หน้าหนาวดอกอัญชันพักต้น มีดอกประปรายและไม่ค่อยสมบูรณ์ จึงเก็บได้น้อย

เมื่อเริ่มออกดอกในชุดแรกจึงเริ่มเก็บได้เลย และพักต้นสักพักให้โตยืดยาวออกไป แล้วจึงเก็บดอกอีกครั้งจะได้ผลผลิตเยอะกว่าไม่พักต้น

เมื่อเก็บดอกอัญชัน ตากแดดทันที ใช้เวลาตาก 3 แดด ห้ามตากน้ำค้างโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ขึ้นรา ในส่วนของฤดูฝนจำต้องมีโรงอบจึงจะได้ดอกอัญชันแห้ง ในฤดูฝนเก็บดอกอัยชันได้จำนวนเยอะที่สุด

เมื่อได้ดอกอัญชันแห้งบรรจุใส่ถุงมีอายุ 8 เดือนซึ่งสีของดอกจะซีดลงมากๆ หากเก็บไว้นานมากสีของดอกจะไม่เป็นสีน้ำเงินแต่จะเป็นกรมท่าออกเทาๆ

เมล็ดแก่ของอัญชันมีสารพิษ trypsin

ศัตรู
ตั๊กแตนกัดกินดอก

-หนอนกระดึบ อาศัยอยู่ใต้โคนต้นอัญชันและใต้ใบ กินใบอัญชันเป็นอาหารในเวลากลางคืน

การตลาด
การซื้อขายดอกอัญชัน ซื้อขายกันแบบดอกอัญชันแห้ง ราคากิโลกรัมละ 500 บาท เป็นที่ต้องการของตลาดตลอดเวลาเพราะมีจำนวนผู้ผลิตน้อย



วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปุ๋ยคอก

ปุ๋ยคอก

ปุ๋ยคอกที่ใหม่จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยคอกที่เก่าและเก็บไว้นาน ทั้งนี้เนื่องจากส่วนของปุ๋ยละลายได้ง่าย  ถูกชะล้างออกได้ง่าย บางส่วนกลายเป็นก๊าซสูญหาย

1.ขี้ไก่ ไก่กินเมล็ดข้าว เมล็ดพืช รำ แมลงและพืชบางชนิดเป็นอาหาร  มีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้หมู มีปริมาณไนโตรเจนสูงมาก ก่อนนำไปใช้ง่ายทำการหมักเพื่อให้หายร้อนก่อน คล้ายทำการย่อยสลายเพื่อกำจัดแหล่งสะสมของเชื้อโรคโดยเฉพาะเชื้อราในดิน  พืชที่ใส่ขี้ไก่เช่น มะพร้าว มะละกอ

2.ขี้หมู มีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้วัว หมูกินรำข้าวเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน การนำไปใช้เราจะหมักขี้หมูกับ EM กากน้ำตาล จะได้ธาตุอาหารเยอะขึ้น ผสมน้ำหมักขี้หมูกับน้ำเปล่า ฉีดพ่นทางใบหรือรดให้ต้นไม้

3.ขี้วัว ก่อนนำไปใช้ทำการหมักก่อนเพื่กกำจัดวัชพืช เพราะพิจารณาวัวกินหญ้าเพียงอย่างเดียวและเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง

4.ขี้ควาย

5.ขี้ช้าง กินหญ้ากินใบไม้เป็นอาหาร ช้างป่ากินสับปะรด ช้างไม่เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มูลช้างจึงมีเนื้อหยาบไม่ละเอียดเหมือนมูลวัวควาย

6.ขี้เป็ด

7. ขี้ค้างคาว มีปรืมาณฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมสูงมาก

8. มูลกระต่ายมีปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม ทั้งสามชนิดสูงมาก

9. ขี้ม้า ม้าไม่ได้เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มูลจึงหยาบและกลิ่นไม่เหม็นมากสลายตัวช้ากว่ามูลวัวและควาย หากขี้ม้าร้อนแสดงว่ามีจุลินทรีย์และซากพืชจำนวนมาก หากต้องการให้จุลินทรีย์ลดลงเติม EM และกากน้ำตาลหมักไว้จนย่อยสลาย อุณหภูมิจะลดลงด้วย

วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กาแฟ

กาแฟ


พันธุ์กาแฟ
-โรบัสต้า ปลูกในพื้นที่ราบและชื้นสูง ชอบอยู่ใต้ร่มเงา หากปลูกพื้นที่กลางแดดจะไม่โต ภาคใต้ประเทศไทยเหมาะปลูกและได้คุณภาพ แต่ปัจจุบันพบปลูกในภาคอีสานเช่นกัน ปากช่อง โคราช, สกลนคร, ขอนแก่น, กาฬสินธุ์ (แต่ยะงไม่มีการการันตีคุณภาพกาแฟที่ได้)
-อาราบิก้า ส่วนใหญ่เรียกกาแฟสด การนำไปใช้ส่วนใหญ่ผสมกับกาแฟโรบัสต้าเล็กน้อย
เหมาะปลูกบนพื้นที่สูง ภาคเหนือประเทศไทยเหมาะปลูก ต้องการความชื้นสูง อากาศเย็น น้ำดีสมบูรณ์และแดดรำไร

การปลูก
การปลูกกาแฟเน้นพื้นที่ปลูกเป็นสำคัญจึงได้กาแฟรสชาติที่ดี บอดี้ที่ดี กลิ่นที่ดี เมล็ดยิ่งใหญ่ยิ่งมีคุณภาพ เช่น
กาแฟอาราบิก้า ปลูกพื้นที่สูงระดับน้ำทะเลที่ 600 เมตรขึ้นไป เน้นชัยภูมิที่ดีในการปลูก ดินดี อากาศดี มีการทดลองปลูกในพื้นที่ต่ำเช่นกัน ได้ผลผลิตเช่นกัน แต่เมล็ดกาแฟสะสมสารกาแฟไม่ดี พื้นที่ต่ำเมล็ดกาแฟสุกเร็ว สะสมสารกาแฟได้น้อย กาแฟหอมน้อยกว่า รสชาติไม่ดี บอดี้ไม่ดี และเมล็ดกาแฟเล็ก

กาแฟโรบัสต้า ปลูกในที่ราบและชื้นสูง นำไปทำกาแฟผง

-นิสัยส่วนตัวของกาแฟชอบสิงอยู่ใต้ร่มเงา จึงมีผู้ปลูกแบบผสมผสานเช่น ปลูกแซมร่องสวนยางพารา สวนผักหวานป่า
-การเพาะชำกาแฟ ในเวลา 2 เดือนเมล็ดกาแฟจึงงอก ก่อนเพาะเมล็ดผสมเชื้อไตรโคเดอร์ม่าด้วย
-ปีที่ 3 เม็ดกาแฟเริ่มติดต้น



พื้นที่เพาะปลูก



ผลิตภัณฑ์
โรบัสต้าเหมาะกับการนำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ผงกาแฟ

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ผักชี

ผักชี


สายพันธุ์
ผักชีพันธุ์มาเล ลำต้นแข็งแรง ใบผักชีขนาดกลาง ใบหนา ก้านแข็ง ไม่ช้ำง่าย ทนทานต่อการขนส่ง เมล็ดพันธุ์บรรจุโดยกระสอบป่าน
-พันธุ์สายสมร

การขยายพันธุ์
-เพาะเมล็ด
-กกต้นติดราก

การปลูก
เตรียมดินให้ละเอียดที่สุดและรองพื้นด้วยขี้ไก่ เพื่อเป็นปุ๋ยให้ต้นผักชีก้านใหญ่น้ำหนักดี ผักชีก่อนงอกเป็นพืชที่ต้องการน้ำเยอะจนแฉะ หลังจากงอกแล้วลดปริมาณการให้น้ำลง ยิ่งช่วงหน้าฝนไม่ต้องรดน้ำก็ได้ เพราะหากน้ำมากหลังงอกใบจะอ่อนแล้วจะติดเชื้อโรคได้ง่าย
ด้านเมล็ดพันธุ์ผักชีส่วนใหญ่เป็นเมล็ดพันธุ์เคลือบกันรามาแล้ว หว่านลงแปลงได้เลย ถ้านำเมล็ดไปแช่น้ำยาเคลือบกันราจะละลายน้ำหายไปหมด

หากปลูกผักชีใช้ในครัวเรือนเฉพาะและเน้นการปลอดสารพิษและมีพื้นที่ปลูกขนาดเล็ก นำรากผักชีที่ได้มาปักลงดินไม่นานผักชีแตกยอดใหม่ หากเด็ดนำไปใช้ในครัวเรือนก้จะแตกออกมาเรื่อยๆ เมื่อปล่อยให้ต้นแก่เป็นเวลา 2 เดือน ต้นออกดอกเมื่อเอาไว้ทำพันธุ์ต่อไป เป็นวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายและเน้นการปลอดสารพิษเป็นสำคัญ

พรางแสงต้นผักชีไว้กันฝนกระแทก และแสงแดดที่มากเกินไป

การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยยูเรีย ใส่เมื่อผักชีอายุได้ 20 วัน ใส่แล้วผักชีงาม แต่ข้อเสียคือผักชีใบจะเปราะหักง่าย ยามบรรจุภัณฑ์สินค้าและขนส่งใบจะหักเยอะมาก ต้องเด็ดทิ้ง ทำให้น้ำหนักหายไปด้วย

การรดด้วยยูเรีย หากใบผักชีไหม้ควรผสมน้ำเพิ่มขึ้น(เจือจาง)

การรดน้ำผักชีควรรดน้ำตอนเช้าเพื่อล้างน้ำค้างออกจากใบ ไม่งั้นใบจะด่างไม่สวย ราคาซื้อขายจะตกโดนแม่ค้าตำหนิ

โรค
-โรคทางราก หากติดเชื้อต้นจะเริ่มยุบเหี่ยว
-โรคใบไหม้ รักษาด้วยสารมาเน็บ
-โรคเน่าที่ใบและโค่นเน่า ส่วนใหญ่เกิดในฤดูฝน จากแรงฝนตกกระแทกเป็นเวลาหลายวัน วิธีแก้ด้วยสารแมนโคเซบ

ราคา
ราคาต่ำ 15-20 ต่อกิโลกรัม ช่วงฤดูหนาวเดือนมกราคม
ราคาแพง 100-250 ต่อกิโลกรัม

วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มะม่วง

มะม่วง

สายพันธุ์มะม่วง
-มะม่วงแก้ว
-มะม่วงอีทูอาร์ทู
-มะม่วงน้ำดอกไม้
-มะม่วงอกร่อง
-มะม่วงเขียวเสวย
-แก้วเกษตร หรือ แก้วขมิ้น หรือแก้วเขมร 1 ปี ออกลูก 2 ครั้ง เมล้ดเล็กและบางมาก 1 ลูกหนัก 4-5 ขีด เนื้อมีสีเหลือง

การปลูก
การเพาะเมล็ด  
1.ใช้กรรไกรตัดแต่งกิ่งตัดเปลือกที่หุ้มเมล็ดออก จะได้เมล็ดที่ไม่มีเปลือก
2. จัดเตรียมแปลงเพาะ ใช้ดินผสมกับแกลบดำ ดินจะร่วนซุยขึ้น
3. นำเมล็ดที่เตรียมไว้เพาะในแปลงโดยเอาส่วนที่โค้งมากขึ้นด้านบน กลบดินพอท่วมหลังเมล็ด
4. รดน้ำจนต้นกล้ามีใบจริง 3-5 ใบ ถอนแยกออกลงถุงดำ (ใช้ดินกับแกลบดำผสมกัน1/1) ระวังรากแก้วขาด หากขาดอย่าให้ขาดชิดโค่นต้น  ตัดใบออกครึ่งใบทุกใบยกเว้นยอด เพื่อลดการคายน้ำ เลี้ยงจนต่อมีขนาดที่ต้องการ

การแต่งกิ่งมะม่วง
การตัดแต่งกิ่งมะม่วงทำหลังจากเก็บผลผลิตหมดแล้ว โดนตัดแต่งกิ่งกระโดงออก (บริเวณกลางทรงพุ่ม) เพื่อให้แสงสาดเข้าไปกลางทรงพุ่มได้ และการตัดกิ่งอีกแบบคือ การตัดกิ่งแขนงออกโดยตัดกิ่งด้านข้างออกเพราะการรับน้ำหนักผลไม้จะไม่ดี ทำให้ทรงพุ่มทึบไม่โปร่งแสง เหลือไว้แต่เพียงกิ่งหลักเพราะการส่งอาหารและรับน้ำหนักดี

การขยายพันธุ์
โดยเมล็ด
การทำต้นตอมะม่วง



การติดลูกมะม่วง
แปรโดยตรงจากสภาพอากาศและ ความชื้น

การห่อมะม่วงกันแมลง
ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์แล้วให้ที่เย็บกระดาษยึด แล้วห่อด้วยถุงก็อบแก๊บ 6*14 มัดแล้วพันให้แน่นให้ถุงพันรอบขั้ว แมลงจะไม่สามารถไต่ลงไปเจาะมะม่วงได้ วิธีนี้ใช้ได้กับกระท้อนและฝรั่งด้วย สุดท้ายเจาะรูเล็กๆไว้ระบายน้ำด้วย

การเก็บเกี่ยว
-เมื่อมะม่วงผลแก่ ผลอวบ นูน สีนวล ก้นเหลือง ลูกที่แก่น้ำหนักจะมากกว่าลูกอ่อนเมื่อมีขนาดเท่ากัน
และสังเกตยางที่ขั้วจะเป็นสีใส หรือบางท่านอาจจะสังเกตก้านเล็กๆเหนือผลมะม่วงหากสุกได้ที่ ก้านจะแห้งและเปราะ

-มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้เมื่อลูกแก่จะมีสีนวลมองดูคล้ายมีแป้งมาทาไว้ ก้นจะเริ่มเหลืองก่อน จึงจะเก็บเอามาบ่มโดยเอาด้านขั้วมะม่วงวางคว่ำลงซึ่งเมื่อสุกจะพร้อมกันทั้งลูก

โรคและปัญหา
-เพลี้ยไฟ ตัวออกเขียวเหลือง ใส ตัวขนาดเล็ก มองแทบไม่เห็น ตาดอก ตาใบ มียางสีขาวๆซึมออกมาเป็นหยดเนื่องมาจากมีบาดแผลโดยแมลงปากกัด ทำให้เกิดบาดแผลได้ หากต้นมะม่วงมียอดอ่อนควรใช้ยาป้องกันและกำจัด

-โรคผลแตก สาเหตุเกิดจากต้นพืชว่างเว้นจากการได้รับน้ำมานาน เมื่อได้รับน้ำในปริมาณมากเกิน เกิดการขยายตัวของผนังเซลล์อย่างรวดเร็วจึงทำให้ผลแตก หรืออีกเหตุผลหนึ่งคือเข้าหน้าฝนพอดีต้นมะม่วงได้รับธาตุ N จากน้ำฝนมากเกินไปเนื่องจากธาตุไนโตรเจนทำให้เกิดเซลล์แบ่งตัวทำให้ผิวมะม่วงแตก  ลักษณะนี้ยังจะทำให้เกิดโรคซ้ำซ้อนเช่น โรคผลเน่า วิธีการป้องกันและแก้ไขคือการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำและหลีกเลี่ยงการให้น้ำเกินความจำเป็นแก่พืช

ข้าวโพด

ข้าวโพด
ข้าวโพดมีทั้งฝักเดี่ยวและฝักคู่  ข้าวโพดไม่ชอบที่ชุ่มน้ำแต่ต้องการน้ำ
ใช้เวลา 75 วันจึงเก็บเกี่ยวข้าวโพดได้

การเตรียมดิน
-การเตรียมดินมีความสำคัญมาก เพราะการเตรียมดินไม่ดีจะทำให้ต้นข้าวโพดมีขนาดไม่เท่ากัน
-เตรียมดินโดยการหว่านด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยขี้ไก่ เพิ่มอินทรียวัตถุ โดยใช้ปริมาณ 1 ตันต่อไร่
-เมื่อต้นข้าวโพดเข้าสู่ช่วงระยะออกดอก จะปล่อยให้ขาดน้ำไม่ได้ เพราะการขาดน้ำช่วงนี้มีผลให้การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ การติดเมล็ดไม่เต็มฟัก


การปลูก
-เมล็ดพันธุ์ที่นำมาปลูกต้องมีคุณภาพ
-พื้นที่ปลูกไม่มีน้ำท่วมขัง และไม่ควรกลบหน้าดินเมล็ดข้าวโพดมากเพราะหากเมื่อแดดแรง ความชื้นไม่พอโอกาสที่เมล็ดจะพองแฟ่บและข้าวโพดขึ้นมีน้อยลง
-การปลูกข้าวโพด 7 วันแรกที่ปลูกต้องให้ความชุ่มชื้นตลอดเวลา หากหน้าดินแห้งจะไม่สามารถปลูกขึ้นได้

-การปลูกข้าวโพดแบบไร่ซึ่งจำนวนไร่มาก โดยเน้นเพื่อการค้า จึงจำเป็นต้องศึกษาระบบการให้น้ำ เนื่องจากข้าวโพดเป็นพืชที่ต้องให้น้ำเยอะโดยเฉพาะตอนเริ่มปลูก และเมื่อช่วงออกดอก


การปรับปรุงดิน
ปอเทือง หรือ ถั่วพร้า ถั่วเขียว ปลูกแล้วไถกลบ 5 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ดินมีความร่วนซุยมากที่สุด หลังจากนั้นทำการตีดินเพื่อบดซากวัชพืชไปในตัว

ดินที่ปลูกต้องไม่ใช่ที่แฉะและน้ำขัง การไถ่พื้นที่ปลูกถึงเรียบเสมอกันแม้เป็นที่ดอน หากปรับดินไม่เรียบหลายจุดจะมีน้แอ่งน้ำขัง หากข้าวโพดไม่ตาย ก็ต้องแคระแกรนหรือไม่โต

การเลือกพันธุ์
สภาพดินฟ้าอากาศ ดิน และฝนจะเป็นตัวกำหนดพันธุ์ที่ใช้ปลูก แต่ละสายพันธุ์มีความเหมาะสมในการปลูกไม่เหมือนกัน หากปลูกโดยอาศัยน้ำฝน ความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ไม่ดีนักหรือเป็นที่ราบเชิงเขา ควรเลือกใช้พันธุ์ที่อายุเก็บเกี่ยวสั้น ทนแล้งได้ดี ปลูกกับปัจจัยฝักหักง่าย สีสวยสด ในเรื่องของสีจะเป็นตัวกำหนดราคารับซื้อ ซึ่งสีสดจะได้ราคาดีกว่า



สายพันธุ์
-ไฮปริกซ์ 3
-แฟนซีสวีท



การปลูก
ขั้นแรกเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ไม่เก่า หรือหมดอายุ เพราะจะงอกน้อยหรือไม่งอกเลย เลือกดูสภาพอากาศว่าฝนจะตกหรือไม่ หรือเมื่อปลูกแล้วฝนจะตกอีกครั้งไหม  ช่วงที่ปลูกข้าวโพดต้องดูแลเรื่องน้ำ ถ้าฝนทิ้งช่วงเดือนไหนผลผลิตจะได้ไม่เต็มที่ เมล็ดไม่ค่อยติดฝัก ข้าวโพดไม่โต แคระแกรน ดังนั้นควรเตรียมแหล่งน้ำไว้แต่เนินๆ

การปลูกในหน้าฝนควรระวังเช่นกัน ในช่วงที่ปลูก 4-5 วันแรก หากมีฝนตกเกือบตลอดทั้งวัน ตกไม่หยุดเลยจะทำให้ข้าวโพดที่งอกออกมามีสีเหลือง ไม่เขียวสดเข้มทั้งๆที่ได้รับน้ำเต็มที่แล้วเหตุเพราะไม่มีแดดช่วยสังเคราะห์แสงจึงทำให้ใบมีสีเหลือง และบางหลุมมีเมล็ดพันธุ์ไหลไปกับสายฝนจึงต้องมาปลูกซ่อมใหม่เสียเวลาและเงิน ก่อนปลูกควรศึกษาสภาพอากาศให้ดีก่อน

เมื่อปลูกควรฉีดยาคุมหญ้า จำพวกยาไกลโฟเซต เป็นยาฆ่าหญ้าชนิดดูดซึม เมื่อยาโดนส่วนหนึ่งส่วนใดของหญ้าตัวยาจะกระจายไปยังทุกส่วนของหญ้า หญ้าจะไม่เจริญเติบโตสังเกตตรงยอดของหญ้า

การปลูกข้าวโพดห้ามให้ข้าวโพดขาดน้ำ หากขาดน้ำใบจะเริ่มแหลม ห่อตัวเหมือนใบม้วน เมื่อทำให้ดินชุ่มชื้นใบจะเริ่มคลายตัวเป็นปกติ

การให้ธาตุอาหารแก่พืช
ปุ๋ยอินทรีย์ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 1 กระสอบและปุ๋ยเคมี 1 กระสอบ ผสมให้เข้ากันปิดปากถุงทิ้งไว้ 1-2 วันแล้วนำมาใช้ การหมักทิ้งปุ๋ยอินทรีย์จะดูดไนโตรเจนเข้าไปในเม็ดปุ๋ยแล้วค่อยๆบ่อยออกมาเพื่อให้พืชค่อยๆดูดซึมนำไปใช้และพืชได้บำรุงดินไปในตัว หากให้แต่ปุ๋ยยูเรียเพียงอย่างเดียวพืชดูดซึมเอาไปใช้ไม่ทันจะระเหยหมด

ระบบราก
รากข้าวโพดมี 3 ชั้น รากแรกคือรากที่อยู่ในชั้นดินซึ่งจะมองไม่เห็น รากที่่สองอยู่เหนือผิวดิน ตอนข้าวโพดกำลังจะออกดอกหรือออกดอกบ้างแล้ว รากชั้นที่สามงอกตัวข้าวโพดออกฝักได้ 5-10 วัน

เตรียมอุปกรณ์
เมล็ดพันธุ์ เมล็ดพันธุ์ 1 โลประมาณ 1000 เม็ด  , ค่าปุ๋ย, ค่ายา ต้องซื้อทุกปี
มอเตอร์ 3 แรงและ สายยาง


การเก็บเกี่ยว
การขายข้าวโพดมี 3 แบบเท่าที่เห็นคือ
ขายแบบทั้งฝัก
ขายแบบฝักสด ปลอกเปลือกแล้ว
ขายแบบกะเทาะเมล็ดออกหรือเรียกว่า สีเมล็ดแล้ว ซึ่งราคาจะดีที่สุด แล้วขายแยกราคาเมล็ดกับราคาแกนฝัก แกนฝักก็ไม่เหลือทิ้งนำไปทำเป็นเชื้อเพลิงต่อได้
จ้างแรงงานหักฟักข้าวโพด กระสอบป่านละ 45-50 บาท วิธีนี้แรงงานจะไม่อู้งาน หักข้าวโพดได้เยอะ

หากข้าวโพดปลูกที่บนดอย เวลาเก็บเกี่ยวจะใช้คนหักข้าวโพดเอาใส่ถุงปุ๋ยไว้

หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวโพดแล้ว เกษตรกรนิยมปลูกถั่วเขียว


แรงงาน แรงเงิน
ไกผาล 7
ปั่นตีดิน
รถหยอด รถแทงร่อง หลังจากนั้นใช้แรงงานคนปลูก
เมล็ดพันธุ์ใช้ไร่ละประมาณ 4 กิโลกรัม
ปุ๋ยรองพื้น
ปุ๋ยแต่งหน้า
น้ำมันสูบน้ำเครื่องยนต์ดีเซล ค่าน้ำมันตกไร่ละ 60-70 บาทต่อไร่ น้ำมันดีเซลลิตรละ 30.30
ยาพาราคอตตอนทำรุ่น


โรคและวัชพืช
เชื้อราที่รากเมื่อข้าวโพดเริ่มโตและเริ่มมีฝักแล้ว ต้นข้าวโพดล้มง่ายทั้งๆที่ต้นยังเขียวสดอยู่
หญ้าคาและเถาวัลย์พันต้นข้าวโพด ใช้กรัมม็อกโซนฆ่าระวังอย่าให้โดนยอดข้าวโพด

โรคแผลใบไหม้ เริ่มเกิดจากใบด้านล่างขึ้นใบบน ลักษณะเป็นจุด หนึ่งต้น 20-50 จุดได้ ส่วนใหญ่เป็นเฉพาะบริเวณน้ำขัง

ต้นเฟื่องฟ้า

เฟื่องฟ้า








เร่งการออกดอกเฟื่องฟ้า
เฟื่องฟ้าจัดอยู่ในประเภทไม้ประเภท บอนไซ และไม้เลี้ยงสวยงาม จึงเหมาะกับการเลี้ยงลงกระถาง และจัดกระถางในที่กลางแดด วิธีการให้เฟื่องฟ้าออกดอก งดการให้น้ำ 7 วันและให้น้ำใหม่ เฟื่องฟ้าจะแตกใบใหม่พร้อมออกดอก

หรือการจะให้เฟื่องฟ้าออกดอก เน้นที่การตัดกิ่งเฟื่องฟ้า การตัดกิ่งเฟื่องฟ้าเพื่อให้เร่งการออกดอกควรตัดที่ปลายกิ่งพอเล็มๆ หากตัดเล็กจนเกินไป จะเหลือแต่กิ่งกระโดงซึ่งเฟื่องฟ้าไม่ติดดอก

โดยปรกติรดน้ำเพียงวัน 1 ครั้ง พึงอย่าลดให้แฉะเกินไปและเน้นที่การระบายน้ำของกระถางให้ดี สาเหตุเพราะเฟื่องฟ้าไม่ชอบสภาพพื้นที่แฉะ

การเตรียมดิน เน้นที่ดินต้องระบายน้ำได้ดี จึงต้องใช้กาบมะพร้าวสับเข้าช่วย ผสมกับดิน แกลบ ปุ๋ยคอก จากนั้นนำกิ่งปักชำเฟื่องฟ้าพร้อมรากงอกลงปลูก








การกำจัดมดในกระถางเฟื่องฟ้า
-น้ำผงซักฟอกซักผ้าแล้วรด
-พริก ขิง ข่า ละลายน้ำรด
-เปลือกไข่ไก่เผา เผาพอให้เปลี่ยนจากสีเดิม บดเป็นผงโรยบริเวณที่มีมด
- เครื่องดื่มชูกำลัง 1 ขวด ผสมกับยางกล้วยปริมาณเล็กน้อย เชกส์ให้เข้ากัน ผสมน้ำ 20 ลิตร รดบริเวณที่มีมดหรือโคนต้น
-หากกระถางวางใกล้บริเวณบ้าน เลือกใช้ตะไคร้หอม มีกลิ่นหอมไม่รบกวนผู้อาสัยในบ้าน
-น้ำส้มควันไม้ผสมสารที่ทำให้เกิดฟอง ฉีดบริเวณโค่นต้นหรือบริเวณที่มดอยู่
-การรดน้ำ บ่อยๆ เป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดสุด

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ผักกูด

ผักกูด
เป็นผักพื้นบ้าน นับเป็นสินค้าขายดีตลอดกาลอีกชนิดนึง ในหน้าแล้งจะขายได้ราคาสูง ต้นมีลักษณะคล้ายเฟิร์น จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับเฟิร์น เป็นผักที่ไม่มีกลิ่นฉุน การบริโภคผักกูดจะใช้ยอดผักกูดมารับประทานอาหาร ซึ่งแตกกิ่งก้านออกมาจากกอ (แตกต่างจากเฟิร์นที่ใบขึ้นมาจากเง่า)

ในธรรมชาติผักกูดพบอยู่ริมน้ำ แม่น้ำ เท่านั้น เป็นพืชที่ต้องการความชื้นในการเจริญเติบโต จึงไม่พบผักกูดในสภาพดินทุกทีจึงไม่เป็นที่รู้จัก ซ้ำยังเข้าใจผิดว่าผักกูดคือเฟิร์น แต่แท้จริงแล้วผักกูดคือเฟิร์นชนิดหนึงที่สามารถรับประทานได้

ในทางการค้าขายนั้นแม้ผักกูดจะไม่เป็นที่โด่งดังและรู้จักของบุคคลทั่วไปมาก แต่เป็นผักที่สามารถสร้างรายได้ได้ทั้งปี ผักกูดเก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะหน้าฝนเก็บผักกูดได้มาก จะเก็บได้น้อยก็แต่หน้าหนาว

ใบผักกูดนั้นมีลักษณะม้วนงอ ตามเข็มนาฬิกา ใบเขียวสดและพบใบสปอร์ด้วยคล้ายเฟิร์น



การปลูก
เป็นพืชที่ปลูกง่าย หลับตาปลูกยังได้ ปลูกเพียงครั้งเดียวจะเก็บเกี่ยวได้ตลอด
การปลูกผักกูดจะปลูกบริเวณพื้นที่ที่มีน้ำขัง ปลูกเป็นแถวๆ ดูแลด้วยการใส่ปุ๋ยขี้ไก่

การปลุกผักกูดเพียงได้กอมาสัก 10 กอ ก็สามารถปลูกได้แล้ว ควรปลูกในที่มีความชื้นหากปลูกบนดินเช่น ในสวนผลไม้ สวนผสม ไม้ใหญ่ให้ร่ม  พอให้แสงสาดส่องบ้าง และดินควรมีสภาพอินทรียภาพสูงหรือดินร่วนปนทรายก็ได้ เช่น ใบไม้ใบหญ้า ปุ๋ยคอก

เมื่อได้กอผักกูดมาแล้ว ก็จัดการตัดใบทิ้งสะเพื่อลดการคายน้ำ หากปล่อยทิ้งไว้ใบจะแห้งเหี่ยวและตายได้เนื่องจากสภาพต้นไม่สามารถทนต่ออัตราการระเหยของต้นได้ จากนั้นจัดการเอาลงหลุมสะ กดดินให้แน่น

การใส่ปุ๋ย เลือกใช้ปุ๋ยคอก น้ำจุลินทรีย์หมักเพื่อป้องกันดินเสื่อมสภาพ(ระยะการหมักปุ๋ย 3 เดือน) การใส่ปุ๋ยควรใส่ลงตรงยอด แล้วรดน้ำตามโดยเร็วไม่เช่นนั้นใบผักกูดจะไหม้จากความเค็มปุ๋ย

ผักกูดไม่จำเป็นต้องฉีดยาหรือใส่ปุ๋ยเคมีเลย ปลอดภัยและลดต้นทุนไปในตัว

การเก็บเกี่ยว
ผักกูดเก็บเกี่ยวนำเฉพาะส่วนยอดมารับประทาน เก็บเฉพาะยอดที่หน้างอเท่านั้น มีลักษณะม้วน ใบอ่อนๆ ใบเปราะ กรอบ

ฤดูหนาวผักกูดไม่ค่อยแตกยอด จึงมีเทคนิคการเก็บยอดคือไล่น้ำค้างที่เกาะใบลงทั้งหมด ยอดก็จะพอแตกได้แต่ไม่มาก

ขยายพันธุ์
ผักกูดขยายพันธุ์โดยการใช้หน่อหรือกอ


คุณค่าทางอาหาร
เบต้า-เแคโรทีน เหล็ก วิธีการหารับประทานก็ง่ายๆ แกงส้มผักกูด ผักกูดจิ้มน้ำพริก อาหารประเภทผัด ใบผักกรอบ เปราะ อร่อยเหาะมาก หากคุณไม่มีเวลาเพียงก็นำไปต้มทานน้ำผักกูดก็ได้ ช่วยแก้อาการไข บำรุงสายตา ขับปัสสาวะ ลดคอเลสเตอรอล

แต่หากทานผักกูดที่ขึ้นตามธรรมชาติผักกูดค่อนข้างเป็นเมือก


แหล่งพันธุ์พืช
-โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  จ.นครนายก
-ทองผาภูมิ แถวหินดาด จังหวัดกาญจนบุรี
-แถวห้วยลิ่นถิ่น จังหวัดกาญจนบุรี 


Reference: พ่อใหญ่

วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปุ๋ยเขียว บำรุงดิน เพิ่มผลผลิตข้าว

ปุ๋ยในการบำรุงดิน นาข้าว
1. ปุ๋ยขี้ไก่ หากหาปุ๋ยไก่พันธุ์ไก่ไข่และเปลือกไข่ได้ยิ่งเป็นประโยชน์ ใส่ไร่ละ 50 กิโลกรัม  หากใส่เกินดินอาจจะเค็มได้ (ควรตรวจสอบคุุณภาพ เช็คประวัติ ขี้ไก่ด้วยว่า ล้างเล้าด้วยโซดาไฟหรือไม่ เพราะโซดาไฟทำให้ต้นไม้ตาย  หากมีเวลาควรดูโรงงานผลิตด้วยเพราะบางที่เอาเศษขี้ไก้ธรรมดามาอัดเม็ดแล้วก็ฉีดปุ๋ยน้ำใส่เข้าไป)

2. ขี้วัวแห้ง มีธาตุไนโตรเจนสูง ขี้วัวผสมเศษไม้ใบหญ้า ไถกลบตอซังข้าว เพื่อเพิ่มปุ๋ยในนาข้าว จากนั้นเสริมด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี นทุนการผลสังเกตผลผลิตที่ได้ ในปีต่อๆไปลองลดปุ๋ยเคมีลงเพื่อลดต้นทุนการผลิต    การใส่ขี้วัวนั้นมีข้อเสียคือเมื่อหว่านนาข้าวหญ้าจะขึ้นตอนข้าวเริ่มโต

ขึ้วัวจะมีเมล็ดพืชและตัวอ่อนแมลงกำจัดโดบการหมักชีวภาพเพื่อให้เกิดความร้อนทำลายเมล็ดวัชพืช

3. ปลูกปอเทืองลงนาข้าวเพื่อเพิ่มธาตุไนโตรเจน ให้ข้าวใบเขียวสวย ตั้งตรง หากไม่มีปอเทือง ปลูกพืชอย่างอื่นเสริมก็ได้ธาตุไนโตรเจนเหมือนกัน เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วพร้า หรือแหนแดงเมื่อเริ่มปลูกข้าว ติดต่อขอพันธุ์ได้ที่รัฐ หมอดินประจำตำบล

4.การใช้มูลสุกรในนาข้าว มูลสุกรมีกลิ่นแรงและเน่าเสีย โรยด้วยแกลบข้าว กวาดไว้แล้วนำไปตากแห้ง เก็บใส่กระสอบไว้ใช้โรยในนาข้าวก่อนการไถนา หรือบรรจุใส่กระสอบเพื่อการค้า  อีกหนึ่งวิธีคือ น้ำล้างมูลสุกรซึ่งถูกเก็บในบ่อพักซึ่งมันเป็นน้ำเสีย มีกลิ่นเหม็น เชื้อโรคเยอะ จึงต้องเติมจุลินทรีย์ และ อาหารจุลินทรีย์ เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำขี้หมู หรือใช้วิธีของสำนักงานพัฒนาที่ดินด้วยสูตร พด.6 วึ่งจะแจกฟรี เพียงยื่นบัตรประชาชน กรอกแบบฟอร์มชื่อที่อยู่ให้ชัดเจน

5. ฟางข้าว การไถกลบตอซังข้าว ด้วยการไถตอซังข้าวสดๆ ได้ผลดีมาก ความชื้นในดินเยอะมาก ยามต้นข้าวขาดน้ำในดินยังมีความชื้นอยู่ ข้าวยังคงความเขียวได้นานขึ้น นอกจากนี้ยังมีวิธีการหมักฟางแห้งโดยปล่อยฟางข้าวไว้เฉยๆแล้วปั่นหรือย่ำฟาง หลังจากนั้นปลูกพืชคลุมดินเช่นถั่วหรือปอเทืองเพื่อเพิ่มธาตุอาหารดินก่อนปลูกข้าวในฤดูถัดไป

6. กาบมะพร้าว ปรับปรุงดินเฉพาะผิวดินลึกลง 30 เซนติเมตร รากพืชในระยะนี้เช่น พืชผัก ใช้ประโยชน์จากอินทรีย์วัตถุ หากถ้าดินเป็นกรดใส่เศษถ่านเผา ลดความเป็นกรด เศษถ่านเผามีฤทธิ์เป็นด่าง
หากดินเป็นดินเหนียวแข็งใส่แกลบสดและแกลบดำ และปุ๋ยคอกจะทำให้ดินร่วนซุยขึ้นและต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร หากต้องการความรวดเร็วหาดินที่ร่วนซุย มีอินทรีย์วัตถุมาเพิ่มลงแปลงปลูกดินมีความพรุนตัวมากขึ้น อากาศในดินมากขึ้นต้นไม้จะไม่เครียด

แต่อันที่จริงประโยชน์ของดินเหนียวก็มีอีกเช่นกัน  ดินเหนียวเก็บน้ำได้นาน โดยการคลุมฟางและโรยแกลบ สามารถทำให้ดินชุ่มตลอดเดือน (หากสามารถให้น้ำได้ ควรรดน้ำทุกวันดินจะร่วมซุยยิ่งขึ้น

ตัวช่วยให้ดินร่วนซุยอีกชนิดหนึงคือ ไส้เดือน แมลง จุลินทรีย์ กลไกของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ทำให้ดินแข็งเป็นดินร่วนซุยขึ้น  มีความอุดมสมบูรณ์ ร่วนซุยขึ้น ระบายน้ำได้ดี ซึ่งปัจจัยดังกล่าวต้องใช้เวลาพอสมควร

7. ปุ๋ยหมักผักตบชวา  ผักตบชวาเป็นวัสดุใกล้ตัวและเหลือใช้ทางการเกษตรและมีปริมาณจำนวนมาก สามารถนำมาทำปุ๋ยหมักโดยใช้สูตรปุ๋ยหมัก พด.1  พด.2  พด.3  ของกรมพัฒนาที่ดิน การทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวานั้นเหมาะสำหรับการนำไปใช้ ในจำนวนไร่ที่น้อย หากคำนึงถึงขั้นตอน แรงงาน ค่าใช้จ่าย

ผู้ที่มีจำนวนไร่เยอะแต่ไม่มีแรงงาน หรือค่าใช้จ่ายพอ การใช้ประโยชน์จากผักตบชวาจึงเหมาะกับวิธีการไถ่กลบมากกว่า  หากทำการเกษตรบนเนื้อที่ 10 ไร่ การไถ่กลบผักตบชวาเป็นทางเลือกที่ดีกว่า แต่ข้อเสียมีดังนี้ ผักตบชวาย่อยสลายค่อนข้างยากเปื่อยและย่อยสลายให้ทันภายใน 1-2 สัปดาห์ไม่ทัน

ธาตุอาหารที่จะได้จากผักตบชวา ผักตบชวาเป็นพืชเจริญในน้ำจึงดูดและลำเลียงธาตุอาหารทางน้ำ หากเป็นน้ำที่ปบเปื้อนสารพิษมากๆ ผักตบชวาก็จะดูดมาเก็บไว้ในต้น เป็นการบำบัดชีววิธีอย่างหนึง การนำผักตบชวาไปใช้ประโยชน์จึงได้ธาตุอาหารจำนวนมากตามไปด้วย

8.ขี้เลื่อยไม้ นำไปทำปุ๋ยหมักโดยโรยลงไปบนคอกวัวเพื่อดับกลิ่นและให้วัวย่ำเพื่อเพิ่มอากาศในกองปุ๋ย ประมาณครึ่งปีจะกลายเป็นปุ๋ยในที่สุด นับว่านานพอสมควร

9. แหนแดง นำไปหมักเป็นปุ๋ยพืชสดโดยหมักกับอินทรีวัตถุอื่นๆหรือฟางข้าว หรือสิ่งของใกล้ตัวอื่นๆ จะได้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนและฟอสฟอรัสสูงกว่าปุ๋ยพืชสดชนิดอื่นๆ

10. วัสดุที่ได้จากไบโอแก๊ส ที่ผ่านการหมักและย่อยสลายมาแล้ว มีความเข้มข้นสูง ก่อนนำไปใช้บำรุงพืชต้องผสมดินก่อนนำไปใช้รากพืชจึงจะปลอดภัย

วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การไล่นก หนู ที่มาจิก(กิน)ข้าว

การไล่นกที่มาจิกข้าว
ชนิดนกที่เข้ามาจิกกินข้าวเช่น นกกระจาบทุ่ง

1.นำตาข่าย ขึงด้านที่นกมาบ่อยๆ นกติดตาข่ายทันที

วิธีที่สอง
ตั้งเสาไม้หลายๆเสา ขึงเชือกเส้นเล็กๆไปมากับเสา สูงพอที่จะเอื้อมมือไปถึง นำแผ่นซีดีเก่าไปผูกแขวนให้ทั่วบริเวณ

วิธีที่สาม  ใช้ประทัด ขนาดเสียงดังมาก นกจะตื่นกลัวหนีไป

วิธีที่สี่ หุ่นไล่กา ตีปี๊ปไล่

วิธีที่ห้า ขึงเชือก  หรือ สายของม้วนเทปเก่า    ขึงกลับไปกลับมาซิกแซ๊ก  ไม่ต้องเอาอะไรห้อย ขึงถี่ๆหน่อย นกมันจะบินชน แล้วจะไม่กล้าลงมาอีกเพราะกลัวชน    วิธีนี้บ่อปลา บ่อกุ้งทำกันเยอะ

วิธีที่หกเป็นวิธีชาวนาอินโดนีเซีย เค้าเอาพวกริบบิ้นที่มันสะท้อนแสงได้มาขึงระหว่างนา แต่ก่อนจะขึงเนี่ยจับริบบิ้นให้ม้วนเป็นเกลียว ๆ หน่อย แล้วขึงไว้หย่อน ๆ เวลามีลมพัด ริบบิ้นที่ม้วนเป็นเกลียวก็จะบิดไปบิดมาสะท้อนแสงได้ เค้าว่านกเห็นแล้วจะไม่กล้าลงมากินข้าว แต่ได้ผลขนาดไหนต้องลองเอามาใช้ดูครับ ไม่รู้ว่านกที่ไทยกับนกที่อินโดนีเซียจะกลัวเหมือนกันรึเปล่า

วิธีที่เจ็ด การทำปืนใหญ่ไล่นก เสียงดังมาก ประมาณ 100 เมตรครับ นกหนีนะ ถ้ามันคุ้นแล้วมันก็มาใหม่อยู่ดี ก็จุดอีก แต่เราอยู่ในร่มทำได้ (นั่งพัก แล้วไล่ไปด้วย มันส์ไปด้วย) เผื่อจะเป็นความรู้เอาไปใช้ แถวบ้านผมใช้กัน เวลาไปทุ่งแบกปืนใหญ่ไปด้วยเท่ไม่เบา
เจอกับคนแบกปืนใหญ่ไปตอนเช้า ก็ไปลองเสียงกันหน่อย บางคนเตรียมมา 2-3 กระบอก ตั้งไว้เป็นจุดๆ ขี้เกียจพกพา ก็เอาแต่หินแก๊สติดตัว และหิ้วน้ำไปกระป๋องนึง

อุปกรณ์มีดังนี้ครับ
1 ชุดมี

ไม้ไผ่ (ไม้สีสุกครับ หนาดี ไม่แตกเวลาจุดระเบิด) ไม้แก่นะครับ แต่ไม่ต้องถึงกับเหลือง เดี๋ยวเจาะรูไม่เข้า
กระป๋องน้ำ
หินแกสครับ (สีออกขาวๆ อาจเรียกไม่เหมือนกันแต่ละพื้นที่ หินนี้เวลาโดนน้ำ มันจะเดือด และมีแก๊สครับ และเหม็นมาก)
ไฟแช็คครับ

1 เอาไม้ไผ่ ต้องไผ่สีสุกนะครับ ยิ่งลำใหญ่เสียงจะดังมาก แข็งและหนา ตัดความยาวประมาณ 3 ลำครับ  เจาะตาปล้องให้ทะลุถึงกัน
   เหลือตาปล้องล่างสุดนะครับ แล้ว กะประมาณ 1 ฝ่ามือเจาะรูเข้าไป เท่านิ้วชี้  แค่นี้ก็ได้กระบอกปืนใหญ่แล้วครับ
2 ตักน้ำใส่กระป๋องไว้ ใกล้ๆ
3 ตั้งกระบอกเฉียงๆ ประมาณ 60 องศา หันปากไปที่นกมันลง  เอาด้านที่เราเจาะ 1 นิ้วขึ้นบนนะ
3 เอาหินแก๊ส ใส่ลงไป ประมาณก้อน เท่าหัวนิ้วโป้ง แล้ว วักน้ำตามเข้าไป ประมาณ 1 ชิ้นโต๊ะ พอให้หินเปียก กะประมาณเอานะถ้า
   น้ำเยอะมันจะไม่ดัง  
4 สังเกตุตรงรูที่เราเจาะเท่ากับ นิ้วชี้ ถ้ามีควันออกให้ เอาไฟแช็ค จุดตรงปากรูเลยครับ ตูม!!!! สนั่น

** หินก้อนเท่านิ้วโป้งจะยิงได้ประมาณ 3-5 ครั้ง ครับ หินแก๊ส ซื้อถุงละ 20 บาทใช้ได้ 2-5 วันแล้วแต่เราอยากยิงเพื่อความมันส์
    คำเตือน อย่าใส่หินแก๊สเยอะเกินไปนะครับ ปืนใหญ่ท่านอาจแตกได้
  
ยิงแต่ละครั้งนกกระเจิงเลย  ไม่เป็นอันตรายกับคนที่อยู่ใกล้ และมือที่ไปจุดใกล้ๆครับ  ถ้าให้ดี หาอะไรยัดหูไว้ด้วย ไม่ปิดหูนี่ วิ้งๆๆๆๆ เลยหล่ะ
ไปไล่นกกับพื้นที่ใกล้ๆกัน ยิงกันสนั่นเลย ตูมๆๆ ไม่ได้รบกันเหมือนชายแดนนะ 555 เรายิงตรงนี้ มันไปลงที่ของอีกคน อีกคนยิง มันส์ดีครับ มีแข่งเสียงกันด้วยนะ ใครฝีมือทำกระบอกปืนใหญ่ดีก็เสียงดังหน่อย บางทีคลานๆ ไปใกล้นกแล้วยิงใส่มันสะใจดี วิธีการนี้แค่ไล่นกนะไม่ได้ทำให้มันตาย ยกเว้นมันเอามือปิดหูแล้วร่วงลงมาตายครับ 5555 (อ้างอิง: durmuj)



วิธีที่แปด การไล่ด้วยลูกโว๊ด
อุปกรณ์ง่ายๆ มีดังนี้ 
     1 ดินเหนียว นวดเยอะๆ ให้มันเหนียวๆเลย
     2 ต้นข้าว เลือกปล้องใหญ่ๆ หน่อย
     3 ไม้ไผ่ ประมาณ นิ้วก้อย ผ่า 4 ส่วน ใช้ทำได้ 4 อัน  ยาวประมาณ 1 เมตร 

วิธีทำ ปั้นดินเหนียว ทรงกระบอก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 นิ้ว ยาวประมาณ 4 นิ้ว (ก้อนเล็กๆ) แล้วเอาปล้องข้าว ตัด ยาวประมาณ 5 นิ้ว และ ตัดสั้นลงมา ห่างกันประมาณ 1 ซม ติดให้รอบดินเลยครับ (ลักษณะคล้ายๆกับแคนอีกสานที่กลมๆน่ะครับ) แล้วเอา ไม้ไผ่(หาง)ติดไว้ด้วย แล้วเอาดินเหนียวหุ้มอีกทีหนาประมาณ 1 ซม หาเชือกเส้นเล็กๆ มัดก็ดีครับกันดินหลุดเวลาโยน อย่าให้ดินปิดรูปล้องข้าว นะ ทีนี้เอาไปตากพอให้หมาด ทำไว้หลายๆอันก็ดีครับ 
      จากนั้นเมื่อจะใช้ เห็นนกมันลงแล้ว ก็ให้ จับที่หาง ลูกโว๊ด แล้วควงเบาๆ เป็นวงกลมขึ้นลง ได้จังหวะ แล้วโยนไปตรงที่นกมันลง แล้วมันจะมีเสียงครับ จะดัง โว๊ดๆๆๆๆๆๆ ยาวๆ คล้ายเสียงรถไฟ ดังๆ(เสียงนี้เกิดจากลมผ่าน ปล้องข้าวน่ะแหละครับ )แล้วไปตกกลางกลุ่มนก นกก็จะบินหนีไป คนเก่งๆ โยนไกลเป็นร้อยเมตรเลยครับ ผมโยนทีไร ไม่ถึง 50 เมตรซะที  (อ้างอิง: durmuj)


วิธีที่เก้า กระป๋องไล่นก
เอาไม้ไผ่ 1 ลำปักไว้ที่ปลายนา   ผูกกระป๋องไว้ที่ปลายหลาย ๆ กระป๋อง  ถ้าจะให้ดีใส่หินไปนิดหน่อยเวลาเขย่าจะได้เกิดเสียงดัง  จากนั้นโยงเชือกที่ปลายไม้ ไปที่ใต้ร่มไม้     (ใช้เชือกเขียวเส้นเล็ก )  ทำแบบนี้สักกี่ชุดก็ได้แล้วแต่สดวก  แล้วแต่ว่ามีพื้นที่เท่าไหร่

เมื่อทำเสร็จแล้วเราก็มานั่งที่ใต้่ต้นไม้ดึงเชือกเพื่อเขย่ากระป๋องที่อยู่บนปลายไม้  ดึงพร้อมกันที่เดียวหมดเลยก็ได้  ผูกปลายเชือกไว้กับไม้

วิธีที่สิบการใช้สารเคมีไล่นก
 เมซูรอลหรือ
    เมทิโอคาร์บ ในอัตรา 12 ช้อนแกง
    ต่อไร่ ผสมน้ำ 20 ลิตร (1 ปิ๊บ)
    ฉีดพ่นครั้งแรกในระยะที่ข้าวเป็น
    น้ำนม หลังจากนั้นอีก 12 วัน
    ให้ฉีดพ่นซ้ำอีกครั้ง โดยสารเคมีนี้
    จะไม่เป็นอันตรายต่อนก เพียงแต่
    ทำให้นกกินแล้วเข็ดและบินหนี้ไป
    เท่านั้น



วิธีที่สิบเอ็ด การไล่หนูู
การป้องกันกำจัด   : 1. ทำความสะอาดแปลงนา ไม่ให้เป้น
    ที่อยู่อาศัยของหนู
    2. ใช้ซิงค์ฟอสไฟด์ ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์
    เร็ว ในอัตรา 1 ส่วนต่อปลายข้าว
    100 ส่วน แล้ววางไว้บริเวณรอบ ๆ
    แปลงนา ถ้าจำนวนหนูยังมีมากอยู่
    ให้ใช้ราคูมินหรือวอร์ฟาริน ซึ่งเป็น
    สารออกฤทธิ์ช้า ในอัตรา 1 ส่วน
    ต่อปลายข้าว 19 ส่วน แล้วนำไป
    ใส่ในภาชนะที่กันฝนได้ วางไว้ใน
    บริเวณรอบๆ แปลงนา