วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง water convolvulus, water spinach(Kangkong),
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea aquatica Forssk.
ผักบุ้งมีชื่อภาษาอังกฤษหลายคำเช่น water spinach, River spinach, water morning glory, water convolvulus.
Southeast Asia เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่า Chinese spinach, Swamp cabbage, and Kangkong
Bangladesh บังคลาเทศ เรียกว่า Kalmi Shak
Thai ไทย เรียกว่า Phak bung
Vietnamese เวียดนาม เรียกว่า rau muong
Khmer กัมพูชาหรือเขมร เรียกว่า trokuon
Malay and Indonesian มาเลเซียและอินโดนีเซีย เรียกว่า kangkung
Phillippines ฟิลิปปินส์ นิยมเรียก kangkung และ Chinese kangkong ในระหว่างสงครามอเมริกัน-สเปน

สายพันธุ์
สายพันธุ์ใบไผ่

ผักบุ้ง เป็นพืชกิบใบ ลำต้นอ่อน เกิดขึ้นในเขตร้อน หรือกึ่งเขตร้อน (tropical or subtropical) เช่น แอฟริกา เอเชียเขตร้อน ปลูกมากแทบเอเซียตะวันออกและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ปลูกได้ตลอดปี ในประเทศไทยปลูกได้ตลอดปีเช่นกัน  เจริญเติบโตในที่มีน้ำ หรือดิน หรือมีน้ำเพียงเล็กน้อย  30 วันหรือ 1 เดือนสามารถเก็บเกี่ยวได้ ถ้า 40-50 วัน สามารถเก็บเมล็ดขายได้ ประเทศที่นิยมปลูกมาก คือ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย เวียดนาม นิยมปลูกในเขตชนบท

ลักษณะ รากกลวงและลอยน้ำได้ ลักษณะใบคล้ายหัวลูกศร กว้าง 0.8-3 เซนติเมตร ยาว 2-8 เซนติเมตร ขนาดดอกผักบุ้ง 3-5 เซนติเมตร กลีบดอกเป็นสีขาว ตรงกลางเป็นสีม่วง สามารถสร้างเมล็ดเพื่อสืบพันธุ์ได้

การปลูกผักบุ้ง  การเตรียมแปลงปลูก พรวนดินให้ร่วน ใส่ปุ๋ยคอก  ยกร่องแปลงขึ้นสูง ตากดินเพื่อฆ่าวัชพืชและแมลง  หว่านเมล็ดลงร่องโดยจะเป็นการหว่านทั่วๆหรือ  หว่านเป็นแถว แล้วรดน้ำ ผักบุ้งเจริญเติบโตได้ดีในน้ำหรือแม้พื้นที่มีปริมาณน้ำน้อย


ชาวไต้หวันนิยมทานผักบุ้งเป็นอย่างมาก และเจริญเติบโตได้ด้วย ในช่วงสงครามสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่น-สิงค์โปร์ ผักบุ้งกลายเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในช่วงนั้น เพราะเป็นพืชปลูกง่าย ปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ แม้แต่ในพื้นที่ไม่ร้อน ยังสามารถเจริญเติบโตได้ดี เพียงแต่ต้องอาศัยแดดในการเจริญเติบโต


การปลูก
เริ่มต้นด้วยการปรับปรุงสภาพดิน ปุ๋ยขี้หมู ขี้ไก่ ขี้วัว แล้วพรวนดิน ให้เกิดควาร่วนซุย ดินฟูไม่อัดแน่น โดนเน้นความละเอียดของดินเป็นสำคัญ หากดินคุณภาพไม่ดีและการให้น้ำที่ไม่เพียงพอเมื่อเก็บเกี่ยวต้นผักบุ้งแข็งแกร็น ขายได้ยาก

การทำแปลงปลูกไม่ควรทำแปลงแบบหลังเต่าเด็ดขาด ควรปาดหน้าดินให้เรียบ เมื่อรดน้ำ น้ำจะไหลออกหมด ทำให้ดินแห้งเร็ว

การคัดเลือกพันธุ์ในการปลูก เลือกจากเปอร์เซ็นการงอกของผักบุ้งสูง 80 % ขึ้นไปยิ่งดี แช่น้ำและน้ำยาเร่งราก 6-8 ชั่วโมง(หรือแช่น้ำอุ่นก็ได้ ทิ้งไว้ 1 คืน) ผึ่งให้แห้งเพื่อให้สะเด็ดน้ำ เวลาหว่านเม็ดจะได้กระจาย เมื่อหว่านเสร็จใช้ขุยมะพร้าวหรือฟาง คลุมเพื่อรักษาความชุ่มชื้น รดน้ำวันละ 2 เวลา เช้าและเย็น

หากปลูกผักบุ้งจำนวนมาก เมื่อเก็บผลผลิตไม่ทัน ควรหว่านโดยใช้ระยะห่างเช่น หว่านที่ละ 1 งาน เว้นระยะไว้ 5 วัน จึงหว่านอีกครั้งหนึง  ผักบุ้งเก็บได้ไม่ขาดตลาดและมีเวลาในการเก็บเกี่ยว

ประมาณ 25 วันเริ่มเก็บผลผลิตได้ ลำต้นที่ได้จะกรอบ ถอนทั้งรากและรากน้ำให้สะอาด เก็บแขนงด้านล่างออกทิ้งเพราะใบเหลืองแลดูไม่สวย หากผักบุ้งโตช้าและก้านไม่ยาว ลำต้นที่ได้จะเหนียว ผักบุ้งจะขายได้ยากไม่เป็นที่ค้องการของตลาด

เมล็ดผักบุ้ง 1 กก. หว่านได้ผักบุ้งสด 150 กก หากปลูกเพื่อการค้าควรแบ่งเก็บขายสินค้า 4-5 วัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผักบุ้งราคาถูกและผักบุ้งปล้องสดกรอบ ยอดอ่อน ดังนั้นขั้นตอนหว่านควรหว่านครั้งละ 0.5 กก. หว่านห่างกันทุกๆ 5 วัน ก็จะมีผักบุ้งส่งตลาดทุกวัน


การเก็บเกี่ยว
:อายุเก็บเกี่ยวในฤดูร้อนและฝน 18-22 วัน  ส่วนในฤดูหนาว 25-28 วัน

โรคและปัญหา
ราสนิทขาว ในฤดูฝน บางช่วงฝนตกติดต่อถึง 5 วัน รากผักบุ้งเกิดรา จึงต้องฉัดพ่นในการกำจัดเชื้อราสูง หากไม่ฉีดพ่นผักบุ้งจะไม่เจริญเติบโตและขายสินค้าไม่ได้ หากในฤดูหนาวและร้อนจะไม่เกิดโรคราสนิทขาว หากโรคไม่เป็นมากเด็ดใบผักบุ้งทิ้ง

-หอยทาก กัดกินยอดผักบุ้ง ใบอ่อนยอดผักบุ้ง

-ราจุดใต้ใบ เมื่อเริ่มเป็นใบผักบุ้งจะเป็นใบเหลืองรีบกำจัดเด็ดทิ้ง

การกำจัดผักบุ้ง
ผักบุ้งในสระน้ำหรือในบริเวณธารน้ำธรรมชาติมีการเจริญเติบโตเร็ว จึงต้องกำจัดออกด้วยการปล่อยห่านลงกินหรือปล่อยปลากินพืชเช่นปลานิลกับปลาตะเพียน หรือตัดต้นผักบุ้งเพื่อเป็นอาหารหมูหรือทำปุ๋ยหมัก

การแพร่กระจาย
ในประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐฟลอริดา และแท็กซัส ผักบุ้งเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมของรัฐ กำจัดแล้วไม่ตาย  ปิดกั้นทางน้ำไหล



ดินปนทราย



อาหารเกี่ยวผักบุ้ง
เวียดนาม อาหารที่ชาวเวียดนามนิยมรับประทานคือ Canh Chua เป็นน้ำซุปปลาเปรี้ยว Vietnamese sour fish soup ใช้ส่วนหัวของปลาแซลมอลหรือปลาทูน่าในการทำ salmon and tuna กับผักนานาชนิด ประกอบด้วย สับปะรด  ถั่วงอก หอมแดง กระเทียม มะเขือเทศกระเจี๊ยบ ตะไคร้ ต้นบอนหรือต้นอ้อดิบ
สับปะรด= pineapple
ถั่วงอก= bean sprouts
หอมแดง= shallots
กระเทียม= garlic
มะเขือเทศกระเจี๊ยบ= okra
ตะไคร้ = lemongrass
bac ha(ภาษาเวียดนาม) = ต้นบอนหรืออ้อดิบหรือต้นคูณ Giant Elephant Ears)



ฟืลิปปินส์ อาหารที่ชาวฟิลิปปินส์นำผักบุ้งไปทาน เช่น Adobong kangkong  เป็นอาหารที่ทำง่าย และเป็นเมนูเพื่อสุขภาพ มีส่วนประกอบเช่น ใบผักบุ้งและลำต้นโดยเน้นว่าต้องทำความสะอาดให้เรียบร้อย ซอสถั่วเหลือง น้ำส้มสายชู กระเทียม น้ำ น้ำมันพืช เกลือ พริกไทย

กัมพูชา นิยมนำผักบุ้งมาทำซุปเปรี้ยว ( Samlar machu /Samlor/Salor/Salaw) ส่วนประกอบที่ใช้เช่น มะขาม มะเขือเทศ สับปะรด ใบย่านาง มะนาวดอง ผักบุ้ง เนื้อหมู/ไก่/ปลา

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

พริก

พริก



พริก chilli pepers , chili, or chilli มาจากภาษาสเปนว่า chile ซึ่งเอาไว้เรียกที่พริกขนาดเล็ก แต่ก็มีพริกที่มีขนาดใหญ่ในอเมริกาจะเรียกว่า pepper ในทวีปยุโรปเรียกว่า paprika 

พริกเป็นอาหารคู่ครัวของทุกๆประเทศ พริกมีสารที่เรียกว่า capsaicin มีฤทธิ์ระคายเคือง เมื่อเรารับประทานเข้าไปจะรู้สึกแสบร้อน  เมื่อถึงกระเพาะอาหาร กะเพาะจะผลิตเมือกออกมาป้องกันการระคายเคืองและกระต้นการหลั่งน้ำย่อย

สาร capsaicin นี้ ต้นพริกผลิตออกมาเพื่อป้องกันสัตว์จำพวกกินพืช  capsaicinพบในบริเวณเนื้อเยื้อของผลพริกมากกว่าในเมล็ด นอกจากนี้ยังมีสัตว์อีกชนิดที่ผลิตcapsaicinเช่นกันคือแมงมุมทาแรนทูลามีพิษ

พริกมีสารอีกประเภทรียกว่า แคโรทีนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านมะเร็ง สารแคโรทีนอยด์ยังพบในผักชนิดจำพวกที่มีสี เหลือง ส้ม แดง เช่น แครอท มะละกอสุก ฟักทอง  แคโรทีนอยด์รักษาโรคลักปิดลักเปิด หรือเลือดออกตามไรฟัน หากรับประทานมากๆจะทำให้ผิวหนังเป็นสีเหลือง เรียกว่าภาวะ carotenemia 

พันธุ์พริก
-เม็กซิกัน ฮาบาเนโร เรดซาวีนา  และ เยลโลซาวีนา พริกมีความหอม เผ็ดมาก ทำอาหารรสชาติอร่อย นำเข้าพันธุ์จากแคริบเบียน เปรู อิตาลี
-พริกหนุ่ม พันธุ์แม่ปิง 
-พริกเยลโล่ซาวีน่า มีสีเหลืองอ่อน
-ฮอทชิลี
-พริกฮาบาเนโร กลิ่นเหมือนนมหรือกะทิมาก เป็นพริกรสเผ็ดมาก มีสีแดง เหลือง ส้ม สีแดงเผ็ดที่สุด แหล่งปลูกที่ดีที่สุดคือ เปรู เม็กซิโก คอสตาริกา สุรีนัม อัฟริกา เจริญเติบโตในที่แดดตลอดวัน
-พริก ฮาบาเนโร เยลโล่ ซาวีนา HABANERO YELLOW  SAVENA
-พริกตรินิแดด
-พริกสกอเปี้ยน
-พริกนาคา ดีเสิร์ท
-พริกกระจู๋
-พริกกระจู๋แดง
-พริกบุต โจโรเกีย
-พริกจินดา จุดเด่นของพริกจินดาคือดกมาก
-พริกเม็กซิกัน
-พริกขี้หนููู
-พริกซุปเปอร์ฮอท
-พริกกะเหรี่ยง
-พริกหมวกสก็อต
-พริกฟาทาลี Fatalli พริกเผ็ดร้อน เมื่อสุกจะมีสีส้ม
-พริกนากา เป็นพริกที่นำไปทำพริกดองน้ำส้มสายชู
-พริกงูจงอางอินเดีย ผลอ้วนกลม สามเหลี่ยม พริกเผ็ดร้อน เป็นพืชพื้นเมือง 
-พริกปีศาจ Bhut jorokia การเพาะพริกปีศาจ เหมาะเพาะลงวัสดุที่เรียกว่า พืชมอส
-พริกพิโรธ
-พริกพวง
-พริกจานบิน
-พริกเฟรสโน่
-พริกหัวใจ
-พริก purple tiger hot pepper เป็นสายพันธุ์ที่ทนแดดได้ดี 
-พริกตอเซตนากา
-พริกนากาไวเปอร์
-พริกบุชที
-พริกขี้หนูสวน
-พริกขี้หนูหอม เม็ดยาวประมาณ 25-35 มม ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว เผ็ดไม่มาก นิยมแกล้มข้าวขาหมู น้ำพริกกะปิ ต้มยำ แหนม น้ำพริกปลามะนาว 
-พริกฟักทอง 
-พริก หัวใจ
-พริกม่วงใบด่าง

-พริกขี้หนูจืด หรือพริกจืด นำไปใช้ทำยาแก้ถอนพิษเบื่อเมา มีสรรพคุณเช่นเดียวกับ รางจืด กลอยจืด ข่าจืด 




พริกเขียว
การเพาะกล้าพริก
1.ทำโรงเรือนเพาะชำ
2.เตรียมถาดเพาะ ขี้เถ้าแกลบดำ 
3.ดินที่นำไปอบฆ่าเชื้อในดินหรือหน้าดินที่นำไปตากแดดแล้ว
4. เตรียมเมล็ดพริก และคัดเลือกพันธุ์ที่ใช้ปลูกเลือกเมล็ดที่มียาคุม ป้องกันเมล็ดเสีย เมื่อปลูกเสร็จแล้วให้เก็บลงเรือนเพาะชำ รดน้ำให้พอดีอย่าให้แชะเกินไป ถ้าแชะจะทำให้เมล็ดเน่าได้ นำพลาสติกสีดำคลุม หลังจากนั้น 5 วันจึงเปิดผ้าคลุมออก สังเกตเมล็ดพริกงอกหรือยัง ถ้ายังไม่งอกให้คุมพลาสติกดำต่อ

ประมาณ 25 วัน หากต้นพริกไม่ยืดใบเหลืองเพราะขาดธาตุไนโตรเจน แก้ไขโดยการให้ปุ๋ยทางใบสูตร 20-10-10 หรือ 12-12-4 ผสมสารเพิ่มประสิทธิภาพทางใบ และฮอร์โมนอ๊อกซิน ทดลองฉีดพ่น หากเกิดใบไหม้ให้เอาน้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อหยุดอาการไหม้

5. การเตรียมแปลงปลูก โรยปูนโดโลไมท์และขี้ไก่หมัก ไถ่พรวนกลบดินให้เข้ากัน
6.เริ่มปรักไม้กันล้ม หาได้จากไม้ไผ่ หลังจากนั้นถอนหญ้าออกก่อนที่หญ้าโต หากปล่อยให้โตมากจะถอนยาก ยิ่งฝนตกลงทับอีกหญ้ายิ่งงอกเร็ว หากหญ้าขึ้นมากกำจัดโดยกรัมม็อกโซน ระวังการฉีดพ่นอย่าให้โดนต้นพริก
7. นำฟางหรือพลาสติกคลุมแปลงในการปลูก หากคิดต้นทุนกัยจริงๆแล้วใช้พลาสติกคลุมแปลงมีต้นทุนถูกกว่าใช้ฟาง และยังปูแปลงได้เร็วประหยัดแรงงาน ใช้น้ำประหยัด คลุมวัชพืชได้ดีกว่า การดูแลรักษาง่าย
8 พริกโตได้ 10 วัน เริ่มแต่งกิ่งให้เหลือสองกิ่งข้างบนสุด  สักระยะจัดการหมัดต้นพริก มีเหตุผลที่ว่าต้นพริกมีกิ่งก้านสาขาเยอะมากทำให้ต้นล้มและหักลงได้




การปลูกพริก
การปลูกพริกในฤดูฝน ควรเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง วางแผนการปลูกต้องกำหนดเวลาให้ถูกต้องเหมาะสม เช่นเพาะเมล็ด กรกฏาคม ลงปลูกแปลงสิงหาคม เก็บผลผลิตตุลาคม  ส่วนการเตรียมดินปรับปรุงโครงสร้างดินในระบายน้ำได้ดี ใส่ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดินให้เพียงพอเพื่อป้องกันโรคเน่า ไส้เดือนรากปม ต้องหายากำจัดโรคแมลงก่อนที่พริกจะแสดงอาการเพราะจะระบาดเร็วมาก โดยเฉพาะบริเวณใกล้เคียง

การย้ายต้นพริกจากแปลงปลูกอื่น ควรขุดหลุมให้ลึก ประมาณ 12 นิ้ว พยายามอย่าให้รากแก้วขาดและเสียหายน้อยที่สุด แล้วปลูกลงหลุมใหม่ทันที ขุดหลุมใหม่ให้กว้างลึกกว่าเดิมเพื่อให้รากเดินต่อไปได้ รดน้ำ บังแดดไว้ประมาณ 10 วัน รอจนใบพริกตั้ง


การขยายพันธุ์
-การเพาะเมล็ด
-การโน้มกิ่ง โน้มกิ่งของพริกลงฝังไว้ใต้ดิน ให้ยอดโผล่ออกมาเล็กน้อย รอให้รากแตกจึงตัดออกไปปลูก



การติดผลพริก
ช่วงที่เริ่มติดผล ให้แคลเซียม โบรอน โดยเฉพาะพริกต้องการมาก หรือให้ด้วยยิปซั่มเพราะยิปซั่มประกอบไปด้วย แคลเซียม 23%   กำมะถัน17% แก้ปัญหาดินเสื่อมสภาพ ดินแน่น ดินดาน ดินเค็ม

พริกเป็นพืชที่ออกผลผลิตเยอะ จึงต้องการสารอาหารทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ธาตุหลักสิงอยู่ในปุ๋ยเคมี ส่วนธาตุรองและเสริมหาได้ในปุ๋ยคอก
-หากใบพริกสีเขียวเข้มขาดความมันวาวแสดงว่าขาดโพแทสเซียม

โรคเชื้อรา โรคกุ้งแห้ง แอนแทรคโนส  เกิดจากเชื้อรา collectotrichum sp. มีลักษณะจุดช้ำหรือวงกลมหรือวงรี แผลบุ๋มลึก หากเม็ดพริกยังเขียวอยู่กดดูจะนิ่มผิดปรกติ เมื่อนำพริกที่เป็นโรคนำไปตากแห้งสีจะเหลืองซีด มักจะเกิดในช่วงฤดูฝนเพราะเชื้อราเติบโตได้ดี รวมทั้งสิ่งแวดล้อมรอบข้างประกอบจำพวกประเภทของดิน โรคนี้ยังสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ได้
โรคกุ้งแห้งพริกมีสองแบบ 
1.โรคกุ้งแห้งแท้ เกิดตามผลพริก ใบ ลำต้น กิ่งก้าน การป้องกัน
- แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่น 50 องศานาน30 นาที ป้องกันการติดเชื้อที่มากับเมล็ด แม้ว่าเมล็ดพันธุ์จะมีราคาแพง
- เมื่อย้ายต้นพริก แล้วปลูกให้ติดดิน ป้องกันโดยสารกำจัดโรคพืช หรือ ใช้มือเด็ดทิ้งออกนอกแปลงให้ไกลหรือเผา
- การใช้เชื้อไตรโคเดอมา หรือบาซิลัส ใช้พร้อมกับยิปซั่มหรือฮิวมิคแอซิดเพื่อปรับสภาพดิน
- สารเคมีคาเบนดาซิม, แมโคเซิบ, เบนโนมิล, ซิสเทน, อามิสตา ,สโตรบี้ 
- คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ติดโรค
- ผสมเมล็ดพันธุ์กับสารแมนโตเซบ
- ปลูกพืชหมุนเวียน
ใส่ปูนขาวและปุ๋ยอินทรีย์
2.โรคกุ้งแห้งเทียม เกิดบริเวณปรายผล มีอาการแห้ง บิดงอ ใบพริกไม่สมบูรณ์ วิธีการแก้โดยการใช้แคลเซียม 




เพลี้ยไฟ ไรขาว อาการยอดหงิก ใบหงิก ต้นแคระแกร็น ใบร่วง พริกติดผลน้อย และรูปร่างบิดเบี้ยว  เกิดจากเพลี้ยไฟดูดน้ำเลี้ยงจากบริเวณเซลล์ใบ ตาดอก  ลักษณะใบพริกหงิกงอ ย่น ขอบใบห่อ ใบขนาดเล็ก มีจุดสีน้ำตาล ใบเหลืองกรอบ  ระบาดในสภาพแห้งแล้ง 
ป้องกัน 1. ให้น้ำ
2. สารฆ่าแมลง อาทิ คาร์บาริล

ไรขาว อาการใบอ่อนที่ยอดเรียวแหลม ก้านใบยาว ขอบใบพับลงด้านล่าง ใบจีงเรียวยาวมากขึ้น โรคมีการระบาดตลอดปี มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
ป้องกัน 1. ตรวงดูต้นพริกอย่างสม่ำเสมอ
2. ใช้สารกำมะถันผง

ไรแดง 

โรคเหี่ยว

โรคผลเน่า


โรคโคนเน่าและรากเน่า
 ใช้เชื้อรา ไตรโคเดอร์ม่า ฮาเซียนั่ม(ไตรซาน) ในการกำจัด หรือ ถมที่ดินให้สูงขึ้นเพื่อปรับสภาพหน้าดินใหม่ 


จิ้งหรีด
จิ้งหรีดแอบกัดกินตามลำต้น

หนอน
หนอนจะเจาะผลพริกตอนเป็นสีเขียว หากแมลงเจาะวางไข่แล้วจะเป็นจุดดำเล็กๆ

-แมลงวันทองวางไข่ มีผลทำให้เมล็ดพริกเขียวไม่แดง หักพริกภายในพบหนอนสีขาวขนาดเล็ก คล้ายเมล็ดข้าวสาร จะเจริญเป็นแมลงวันทองต่อไป


พริกขาดธาตุอาหาร อาการ ใบอ่อนซีดขาว ใบหงิกใบงอ
ป้องกันให้ธาตุแคลเซียม โบรอน

วิธีสังเกตุ
การเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืช  จะเป็นบริเวณกว้างต้นที่อยู่ข้างๆจะแสดงอาการด้วย  
ใบพืชจะมีการพร่องของสีเขียวระหว่างเส้นกลางใบไม่เสมอกัน
การขาดธาตุอาหารจะแสดงออกเป็นบางต้น ใบพืชจะมีการพร่องของสีเขียวระหว่างเส้นกลางใบเสมอกันทั้งสองข้าง ต้นพืชจะทรุดโทรมช้าๆ




ใบพริกขากธาตุเหล็ก



ไรขาว

ราคาพริก
พริกขี้หนูเก็บขายกิโลกรัมละ 80 บาท หากราคาดีกิโลกรัมละ 200 บาท ซึ่งราคาไม่แน่นอน ผักราคามีขึ้นลงทุกวัน ถ้าราคาดีจะเป็นช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธุ์
-พริกเขียวราคาดีช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ของทุกปี ส่วนพริกแดงได้ราคาดีช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม ของทุกปี
-ราคาพริกตกตั้งแต่เดือนมกราคมอีกเช่นกัน จนถึงเดือนมิถุนายน ราคาจะลดลงเรื่อยๆ วิธีแก้ปัญหาส่วนใหญ่เก็บพริกแดงไว้ขายตากแห้ง



พริกแดง



ลำต้นพริก


การเก็บพริก
หักตรงบริเวณรอยต่อของขั้วพริก ห้ามจับพริกดึงหรือกระตุกขั้ว เพราะดอก ใบ เม็ดอ่อนจะติดมาด้วย
หรือ
หาวัสดุเช่นใบตองตัดมารองใต้ต้นพริก แล้วใช้กรรไกรตัดขั้วพริก ตัดหมดแล้วก็รวบพริกบนใบตองใส่ภาชนะ




วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

มะเขือเปราะ

มะเขือเปราะ
ดอกมะเขือเปราะ


มะเขือเปราะ eggplant , brinjal , brinjal eggplant , melongene, garden egg, guinea squash  ,มะเขือเปราะเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศอินเดียเป็นที่นิยมปลูกแทบภาคใต้และภาคตะวันออกของเอเชีย ตำราเกษตรจีนโบราณได้บันทึกมะเขือเปราะไว้เช่นกัน รวมถึงชาวอาหรับ ชาวแอฟริกาเหนือ กรีก และโรมัน


ประเทศในยุโรปและอเมริกาเหนือนิยมปลูกมะเขือสีม่วง รูปทรงยาวรี 12-25ซม กว้าง 6-9 ซม. มีสายพัมธุ์แตกต่างกันทั้งรูปร่างและสี เช่น สีขาว สีม่วง สีดำ

ที่มาของคำว่า "eggplant" เมื่อยุโรปสมัยศตวรรษที่ 18 มะเขือมีสีขาวและสีเหลือง สีคล้ายไข่ไก่หรือไข่ห่าน จึงเรียกว่า "eggplant"

หากมะเขือที่อยู่ในป่า จัดเป็นพฤษศาสตร์ไม้เล็ก ขนาดเมล็ดเล็ก เมล็ดมีรสขม เพราะมีสาร nicotinoid alkaloids ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกับในใบยาสูบ


ผลเป็นรูปทรงไข่  สีวาว เนื้อด้านในเป็นสีขาว  เมื่อผ่าผลมะเขือออกเป็น สองซีก เนื้อจะเริ่มคล้ำเป็นสีน้ำตาล

อาหาร มะเขือมีรสหวาน ขมเล็กน้อย เนื้อภายในเรียบ เมล็ดมีขนาดเล็กอ่อนนุ่มแต่สามารถกินได้ ผิวบาง อาหารที่นิยมไปทำจำพวก ตุ๋น ทอด ย่าง เผา




ลำต้นเป็นหนามเล็กน้อย  ดอกเป็นสีขาว หรือม่วง มีกลีบดอก 5 กลีบ และมีเกสรสีเหลือง

ศัตรู ด้วงหมัด เพลี้ยและไรเดอร์ แมลงมันฝรั่ง วิธีกำจัดคือ ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อควบคุมจำนวนแมลงและแบคทีเรีย ควรปลูกห่างกัน 45-60 ซม. ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์อีกทีหนึง และมีการคุมดินรักษาความชุ่มชื้น เพื่อป้องกันวัชพืชและเชื้อรา


มะขามหวาน

มะขามหวาน

ผลมะขาม เป็นฝักยาวตรง หรือโค้งก็มี แม้แต่มะขามข้อเดียวก็มีซึ่งเป็นมะขามที่ฝักมีข้อเดียวลักษณะกลมป้อม  ฝักอ่อนมีสีเขียวอมเทา เมื่อฝักเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นสีจะเริ่มเข้มจนเป็นสีเทา ส่วนเนื้อภายในเมื่อแก่เต็มที่เนื้อภายในเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ดอยู่

สายพันธุ์
-มะขามหวานทะวาย

การเก็บเกี่ยว
ผลมะขามเริ่มสุกในช่วงปลายปีเดือนธันวาคม




ใบมะขาม ออกตามใบกิ่ง  เป็นใบประกอบ แบบขนนก มีแกนตรงกลาง แยกใบย่อยออกเป็น 2 ทาง คล้ายขนนก ปลายใบสุดมี 2 ใบและโคนใบมน




มะขาม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางและไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เป็นไม้เขตร้อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ทวีปแอฟริกา กระจายมายังทวีปเอเชียเขตร้อน และแทบลาตินอเมริกา





มะขามแตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกแข็ง ผิวขรุขระและหนา สีน้ำตาล หากแก่มากเป็นสีดำและแตกลายงา ไม่มีหนาม เป็นพืชที่กิ่งเหนียวมาก แม้ว่ากิ่งตายแล้วก็ยังคงความเหนียวอยู่ ชาวบ้านนิยมนำมาทำเป็นฟืนหรือถ่าน




เนื้อมะขามดิบ


การนำไปใช้ประโยชน์
-ใบมะขาม ทำน้ำปุ๋ยหมัก ใบมะขามปกติมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน การนำไปทำปุ๋ยหมักจึงเป็นกรดจางๆ โดยควรเติมโดโลไมท์ลงไปเพื่อลดกรด หากนำไปใส่ต้นไม้ที่ชอบกรดอ่อนๆจะเกิดประโยชน์ เช่น อโกรนีม่า บอนสีจะทำให้ใบมีสีสดมากกว่าปกติ หรือหากจะใส่ในต้นไม้ชนิดอื่นก็ใส่ได้ไม่เป็นอันตราย

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ส้มซ่า


ส้มซ่า


ส้มซ่า Citron หรือมะนาวควาย
ภาษาอังกฤษเรียกได้หลายคำเช่น Bitter orang, Seville orangeแทบยุโรปเรียก, Bigarade orange, Marmalade orange
ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus aurantiuml. CV.Group bouquetier


ส้มซ่าเป็นพันธุ์ผสมระหว่าง Citrus maxima (pomelo) and Citrus reticulata (mandarin) เป็นไม้ยืนต้นสูง 3-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดประเทศอินเดีย

ส้มซ่าเป็นพืชที่มีน้ำมันหอมระเหยที่ได้รับความนิยมมาก เพราะมีกลิ่นหอม นำไปทำเป็นเครื่องเทศปรุงอาหารก็ได้ หรือนำไปล้างทำความสะอาดก็ได้ ในประเทศแทบยุโรปนำส้มซ่าไปทำแยม

ยา
ทางการแพทย์ส้มซ่า ถูกนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรเป็นยากระต้น ระงับอาการความยากอาหาร เป็นยากระตุ้นทำให้เราตื่นตัวเนื่องจากมีสาร synephrine

synephrine : มีอีกชื่อว่า oxedrine เป็นสารที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกับยาเสพติดหลายๆตัว มีคุณสมบัติขยายม่านตาและลดอาการคัดจมูก ปัจจุบัน synephrine เป็นสารเคมีที่ผิดกฏหมายในหลายประเทศเนื่องจากเป็นสารตั้งต้นในการผลิต Metamphetamine
ผลข้างเคียงsynephrineคือ การผิดปรกติของระบบหัวใจ หลอดเลือด ทำให้ใจสั่น และเส้นโลหิตในสมองแตกได้ และมีผลข้างเคียงถึงชีวิต


ระยะดอกตูม ส้มซ่า

ระยะดอกตูนประมาณ 10 วัน

ดอกส้มซ่า จากระยะดอกตูมจนบาน ประมาณ 25 วัน


พันธุ์ส้มซ่า
ในประเทศเวียดนามส้มซ่าเป็นผลไม้พื้นเมืองของชาวเวียดนามหาได้ตามป่าดิบ และประชาชนนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ก็มีการนำส้มซ่ามาทำเป็นแยม เหล้า เหล้าประเภทวอสก้าเช่นยี่ห้อ Grand Marnier และเหล้ายี่ห้อ Curacao การนำดอกส้มซ่ามาทำน้ำมันหอมระเหย aromatic

ในประเทศแทบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จะเรียกส้มซ่าว่า Bitter orange มักนำเปลือกส้มซ่าซึ่งมีผิวหนาเป็นบุ๋มนำมาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์เป็นแยมซึ่งสร้างรายได้กว่าการขายส้มหวานชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ยังเอาไปทำแช่อิ่ม เหล้ารสส้ม

ในประเทศอังกฤษและ แคว้นอันดาลูซีอา(Andalusia)ประเทศสเปน  นำผลผลิตใน 1 ปีของส้มซ่าทั้งหมดมาทำเป็นแยม

ในประเทศอิตาลีนำส้มซ่าไปทำเครื่องดื่มประเภทโซดา และเครื่องดื่่มประเภท soft drink ยี่ห้อChinotto เป็นเครื่องดื่มผลไม้จากดอกเมอร์เทิล(Myrtle)กับส้มซ่า


ในการแพทย์แผนโบราณของจีนและญี่ปุ่น นำต้นDaidai สายพันธุ์ของส้มซ่ามาใช้ในการรักษาซึ่งมีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะและชูกำลัง  ช่วงเทศกาลปีใหม่ชาวจีนและญี่ปุ่นจะนำต้นDaidai มาเฉลิมฉลองเป็นประจำทุกปีเนื่องจากดอกมีความสวยงามและนำผลส้มซ่ามาผสมกับชาเพิ่มความ aromatic


ป่าส้มซ่าฟลอริดาเกิดขึ้นใกล้กับลำธารเล็กๆ ซึ่งเป็นป่าที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ อันเป็นส่วนหนึ่งของป่าฟลอริดาและบาฮามาส เป็นพันธุ์ส้มซ่าของที่นี้ได้มาจากประเทศสเปน


มะกรูดBergamot ซึ่งเป็นพันธุ์ผสมของ ส้มซ่ากับส้มlimetta เป็นที่นิยมในประเทศอิตาลี ในการทำผลิตภัณฑ์น้ำมันมะกรูด เป็นส่วนประกอบของแบรนน้ำหอมและชา เช่น Earl Grey (อ่านว่า เอิร์ลเกรย์)

ยอดอ่อนส้มซ่า



แมลงและศัตรูพืช
เพลี้ยไฟ กำจัดด้วยสาร Natural oil  98.8 % เพื่อไปอุดทางเดินหายใจของเพลี้ยข้างลำตัว ทำให้หายใจไม่ออกเลยตาย และคุณสมบัติอีกอย่างของน้ำมันประเภทนี้คือ มีความหนืด เหนียวๆ เพลี้ยลำตัวขนาดเล็กแรงไม่พอ จึงเหนียวติดต้นไม้ตาย

หรือ เพลี้ยไฟ กำจัดด้วยสารอิมิดาคลอพริด (imidacloprid) สารกำจัดแมลงชนิดดูดซึม ออกฤทธิ์ทั้งถูกตัวตายและกินยาตาย ใช้อัตรา 10 ซ๊ซี ต่อน้ำ 20 ลิตร


ยอดอ่อนส้มซ่า


การใช้งาน
ส้มซ่าที่มีขนาดใหญ่มีลักษณะเป็นแก่นไม้แล้ว มีสีเหลืองและสีขาว นำมาทำเป็นไม้เบสบอลในประเทศคิวบา

 ในการทำพันธุ์ส้มหวาน sweet orange เพื่อจำหน่ายจะนำตอส้มซ่ามาตัดแต่งกิ่ง

ผลส้มซ่าและใบส้มซ่านำมาทำเป็นแชมพูและสบู่ได้


การนำส้มซ่ามาทำอาหาร

ชาวทมิฬ ประเทศอินเดีย นำผลส้มซ่าหั่นเป็นชิ้นเล็กๆหมักกับเกลือ ชาวอินเดียเรียกว่า Narthangai  นำมารับประทานกับข้าวเต้าหู้ (Yoghurt rice/thayir sadam)

กานำน้ำของผลส้มซ่า มาหมักกับเนื้อ เพื่อให้เนื้อนุ่ม หอม น่ารับประทาน เช่น นิการากัว คิวบา โดมินิกัน เฮติ คล้ายกับอาหาร ซิวิชี (Ceviche) ประเทศเปรู ที่นำอาหารทะเลมาหมักกับมะนาว

เปลือกส้มซ่านำมาทำเป็นเหล้าในตระกูล bitters ซึ่งมีกลิ่นฉุนมาก

ในแคว้นยูคะทาน ประเทศเม็กซิโก ใช้ส้มซ่าเป็นส่วนผสมหลักในการทำ Cochinita pibil

ในการทำหมักเบียร์ของประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งเป็นเบียร์ประเภท วิทเบียร์ Witbier ต้องใช้ข้าวสาลีหรือข้าวโอ้ต ผสมกับเครื่องเทศเช่น เปลือกส้มซ่า เบียร์ที่ได้จะมีสีอ่อน ขุ่น มีรสเปรี้ยวเล็กน้อย มีฟองฟู่ฟ่อง ด้วยเบียร์ลักษณะเช่นนี้ บางคนจึงเรียกว่า เบียร์ขาว white beer


ในประเทศฟินแลนด์และสวีเดน ใช้เปลือกส้มซ่าทำขนมปังขิง เรียกว่า "Pepparkakor" และในงานคริสต์มาสจะใช้เปลือกส้มซ่าเป็นส่วนผสมในการทำ Mammi


ในกลุ่มประเทศนอร์ดิก ได้แก่ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน นำส้มซ่าไปทำไวน์ร้อน ซึ่งเอาไว้ดื่มในช่วงหน้าหนาว เมื่อจะดื่มต้องนำไวน์ไปอุ่นก่อน ชาวนอร์ดิกเรียกว่าการเสิร์ฟร้อนหรือเสิร์ฟอุ่น หรือ Glogg

ในกรีซและไซปรัส นำส้มซ่ามาทานกับขนมspoon sweets

เมือง Narenj ประเทศอิหร่าน นำส้มซ่าไปทำน้ำสลัด

ดอกส้มซ่าสดจะมีกลิ่นหอมมาก นำมาทำแยมราคาคุณภาพ


ในตุรกี ในรัฐ Cukurova นำส้มซ่ามาทำน้ำสลัด









ขนุน

ใบขนุน

ขนุน มีใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวด้านในสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบหนา 

ขนุน ภาษาอังกฤษเรียกว่า jackfruit 
ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Artocarpus heterophyllus

ขนุนเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มียางสีขาว ใบเขียวเข้มเป็นมัน แผ่นใบรูปทรงรี มีดอกออกจากลำต้น มีทั้งดอกตัวผู้และตัวเมีย  ผลขนุนมีขนาดใหญ่ แล้วแต่ความสมบูรณ์ เปลือกเป็นหนามขนาดเล็ก เมื่อขนุนเริ่มแก่ขนาดหนามจะกว้างขึ้น และเริ่มมีกลิ่นหอม เนื้อเป็นยวงสีเหลืองจัดอมส้ม รสชาติหวาน แทบทุกส่วนของต้นขนุนนำมารับประทาน เช่น ผลอ่อนนำมากินกับน้ำพริก ผลสุกกินสุกหรือนำมาทำขนมหวาน ใบอ่อนรับประทานกับน้ำพริก  เม็ดขนุนนำมาต้มกับเกลือให้รสชาติมัน

ประวัติของขนุน  ส่วนมากเป็นไปตามคติความเชื่อ  "หลังบ้านปลูกขนุน เคล็ดว่าจะมีคนเกื้อหนุน ผลักดันให้เจริญก้าวหน้า  และยังมีเคล็ดว่า "หากจะปลูกขนุนให้ปลูกในวันศุกร์




ผลขนุนมีผลขนาดใหญ่ เนื้อภายในมีสีเหลือง รสชาติหวาน ซังขนุนก็มีรสชาติหวานรับประทานเป็นผลไม้ได้ บางนำไปทำเป็นเป็นขนมเช่น ไอศรีม ลอดช่องสิงค์โปร์ รวมมิตร ข้าวเหนียวมูน ขนุนอบแห้ง

สายพันธุ์
-ขนุนเพชรดำรง เพชรสายพันธุ์ที่มีการจดสิทธิบัตรอยู่ เกษตรกรหากปลูกจำนวนมากควรศึกษาข้อกฏหมาย
-เพชรราชา
-ขนุนปิยมาดา ลูกขนุนไม่โตมากนักโดยเฉลี่ย 5-6 กิโลกรัม รสชาติหวาน เนื้อหนา วังขนุนมีสีขาว
-ขนุนทองประเสริฐ เป็นสายพันธุ์ที่ดีตลาดต้องการ ขายง่าย ตลาดต่างประเทศต้องการ ส่งออกดี
-ขนุนแดงสุริยา


การขยายพันธุ์
-กิ่งทาบ
-เพาะเมล็ด


โรค
-เชื้อรา ขั้วลูกขนุนเน่า ลูกจึงร่วงลงพื้น ระบาดในฤดูฝนและระยะลูกอยู่กลางทรงพุ่มกิ่งทึบแสงทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย วิธีแก้ฉีดพ่นด้วยไมโครเซ้บในระยะที่มีชุก

-ใบเหลือง เกิดจากรากเน่าเนื่องจากโคนต้นแฉะหรือหนอนเจาะต้น

-เชื้อราไฟทอปธอร่า เกิดจากปัญหาน้ำท่วมขังเพราะจะเป็นปัญหาในเรื่องรากเน่าคล้ายๆกับทุเรียน ก่อนปลูกควรยกร่องสูงเพื่อให้พ้นจากน้ำในช่วงฤดูฝนหรือพื้นที่ที่มีน้ำมาก

-ใบไหม้ อาจเกิดสาเหตุจาก 2 ประการ ดินเค็ม แก้ด้วยการรดน้ำให้มากเพื่อไล่เกลือ  อีกสาเหตุคือ พลาสโมไลซิสคือ ใส่ปุ๋ยแล้วรดน้ำไม่พอปุ๋ยละลายไม่ดี จึงดึงเอาน้ำออกจากต้นไม้ การแก้ไขรดน้ำให้มากขึ้นและบ่อย


การปลูกขนุุน
เมื่อเริ่มปลูกควรยกร่องให้สูงเพื่อให้พ้นจากน้ำในฤดูฝนหรือพื้นที่น้ำมาก เพื่อป้องกันปัญหารากเน่า


ลูกขนุนเมื่อเริ่มติดลูก





ลูกขนุนอ่อน

การอาหาร
ลูกขนุนอ่อน นำไปประกอบอาหารได้ ด้วยกานปลอกเปลือกออกกินสดกับน้ำพริก หรือจะนำไปลวกน้ำร้อนเพื่อกินกับน้ำพริกก็ได้ บ้างนำไปแกงอาหารคาวประกอบเป็นอาหาร





กิ่งขนุน


ผลิตภัณฑ์แปรรูปของขนุน เช่น ขนุนทอดกรอบอบเนย ขนุนกวน ขนุนเชื่อม



เนื้อขนุน

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

กล้วยน้ำว้า

เครือกล้วยน้ำว้า



กล้วยน้ำว้าเป็นพืชไม้ล้มลุก เป็นพันธุ์ผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี Musa acuminata x Musa balbisiana

กล้วยน้ำว้าดิบ ให้รสชาติฝาด เป็นอาหารพื้นบ้านนิยมเอาไปแกงบอน  สรรพคุณทางการรักษาโรค  แก้อาการท้องเดิน โรคกระเพาะอาหารและอาหารไม่ย่อย

กล้วยน้ำว้าสุก ให้รสชาติหวาน จะหวานยิ่งขึ้นหากปล่อยให้สุกงอม สามารถสุกเองโดยธรรมชาติโดยไม่ต้องใช้แก๊ซบ่ม

การทานกล้วยน้ำว้าผลโตๆรับประทานสุกไม่อร่อย สู้กล้วยน้ำสวนขนาดผลย่อมๆไม่ได้ ยิ่งปล่อยให้สุกคาเครือรสชาติยิ่งหวาน ผลโตมักมีรสจืด

เมื่อกล้วยน้ำว้าแก้เต็มที่ หากต้องการให้ผลสุกเร็ว ต้องใช้แก๊ซเอทิลีน Ethylene ในการบ่มซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้พืช ผลไม้ สุก ใบร่วง ซึ่งอยู่ในรูปของแก๊ซ โดยธรรมพืชผักผลไม้จะมีสารนี้อยู่แล้ว หรือจะเรียกสารชนิดนี้ว่า สารแก่ ก็ได้

ข้อดีของการปลูกกล้วยน้ำว้า หยวกกล้วย ปลี ผลอ่อน ประกอบอาหารเองได้ ใบตองนำไปห่อขนมไทยได้ ผลสุกทำขนมบวช ชุบแป้งทอด เลี้ยงนก เลี้ยงไก่ แต่ผลสุกราคาถูกมาก

สายพันธุ์กล้วยน้ำว้า
-กล้วยน้ำว้าพันธุ์ใส้เหลือง ลูกขนาดใหญ่ มักเอาไปแปรรูปเป็นกล้วยตาก
-กลัวยน้ำว้าพันธุ์ใส้ขาว แปรรูปทำกล้วยทอด กล้วยอบเนยจังหวัดพิษณุโลก
-กล้วยน้ำว้าพันธุ์กาบข้าว
-กล้วยน้ำว้าพันธุ์เกษตร
-กล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง ลูกขนาดใหญ่ มักเอาไปแปรรูปเป็นกล้วยตาก
-กล้วยน้ำว้าค่อม

-กล้วยน้ำว้าพันธุ์ปากช่อง 50 ต้นสูงใหญ่มาก ลำต้นอวบใหญ่(เมื่อลมแรงหาไม้ค้ำลำต้นไว้) ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อ สะอาด ปลอดโรค แข็งแรง ผลผลิตสูงขึ้นอยู่กับน้ำ ปุ๋ย ดิน อากาศ เครือยาวประมาณ 12 หวี ผลกล้วยเรียงตัวสวยและใหญ่กว่ากล้วยน้ำว้าทั่วไปเล็กน้อย ข้อเสียคือผลกล้วยไม่สวยมักชอบมีเพลี้ยติดตามผลกล้วย ติดต่อขอพันธุ์กล้าได้ที่ศูนย์วิจัยปากช่อง  สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 044-311-796
หรืองานเกษตรบางเขน ราคาต้นละ 40-50 บาท

-กล้วยน้ำว้าท่ายาง
-กล้วยน้ำว้าใส้เหลืองปนสีน้ำตาล นิยมนำไปทำข้าวต้มมัด เนื้อกล้วยไม่เละ รสชาติดีกว่าใส้ขาวและเหลือง

-กล้วยน้ำว้าดำ รสชาติอร่อยเหมือนกล้วยอบน้ำผึ้ง หน่อกล้วยราคาแพง



การขยายพันธุ์
-การเพาะชำหน่อกล้วยในกระถาง
-หน่อกล้วยจากการแตกหน่อตาข้างของต้นแม่
-การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ใช้เวลาในการขยายพันธุ์สั้น ได้จำนวนต้นมากวิธีนี้เหมาะกับการปลูกกล้วยเพื่อส่งออก แต่มีโอกาสในการกลายพันธุ์ได้เช่นกัน  พันธุ์ที่ได้ปราศจากโรคและแมลง ประเทศที่นิยมเพาะเนื้อเยื่อได้แก ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน อเมริกากลาง ประเทศเหล่านี้มีการส่งออกกล้วยสูง
-เพาะต้นกล้วยจากเมล็ด บางต้นมี ไม่มีเมล็ดบวกกับเปลือกหุ้มเมล็ดที่หนาและแข็ง ใช้เวลาในการเพาะปลูกนานจึงไม่นิยมปลูกด้วยเมล็ดและกลายพันธุ์ค่อนข้างสูง 
-การขยายพันธุ์กล้วยโดยการผ่าเหง้า



ปลีกล้วยน้ำว้า
การปลูกกล้วยน้ำว้า
เริ่มที่การคัดพันธุ์หน่อกล้วย คัดเลือกขนาดความสูง ขนาดโคลน ให้โตใกล้เคียงกัน  หลุมที่ปลูกต้องลึกเท่ากัน มิฉะนั้นหน่อจะเกิดไม่พร้อมกัน ปลูกโซนเดียวกันเพื่อจัดการแปลงปลูกได้ง่าย ดูแลได้ง่าย เก็บผลผลิตตกเครือได้พร้อมกัน ในหนึ่งหลุมควรมีต้นแม่ 1 ต้น ต้นลูกอีกสองต้น หากหลุมหนึ่งมี 4 ต้นผลกล้วยจะเล็ก โคนต้นลอยเมื่อกล้วยติดเครือต้นจะล้มง่ายมาก ขาดธาตุอาหาร

ระยะห่างระหว่าง ควรคำนึงถึงการค้นย้ายเป็นอย่างมาก หากปลูกกล้วยจำนวน 1 ไร่ขึ้นไป ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 3 คูณ 3 เมตร ช่วยผ่อนแรงการค้นย้ายได้ง่ายและ การให้น้ำตรงกับระยะสปริงเกอร์พอดี

การเลือกพื้นที่ที่ปลูกกล้วย คำนึงถึงแรงลมทำให้ใบกล้วยแตก ต้นกล้วยล้ม สุดท้ายจะทำให้ผลผลิตขนาดลดลง

ระยะเวลาจากปลูกลงหลุมถึงระยะแทงปลึใช้เวลา 9 เดือน หรือระยะเวลาอาจสั้นกว่านี้ขึ้นอยู่กับ ดิน น้ำ ปุ๋ย กล่าวโดยรวมคือสภาพแวดล้อม ความสมบูรณ์ของหน่อพันธุ์มีผลทำให้ตกเครือเร็วหรือช้า เช่นหน้าร้อนผลผลิตก้วยโตเร็ว ตัดได้เร็ว หน้าหนาวตัดได้ช้า( กล้วยหนึ่งต้นโดยประมาณ 1 เครือมี 7 หวี)

หากต้นกล่วยน้ำว้าหักกลาง หาไม้ค้ำยันไว้เลือกไม้จำพวกมีง้ามจะสะดวก เช่น ไม้กระถิ่น แต่โดยปรกติกล้วยน้ำว้าจะไม่หักกลางสันนิษฐานว่า จากการซื้อหน่อมาปลูก เลือกหน่อที่ช้ำกลางต้นเมื่อโตขึ้นลำต้นจะหักง่าย

ในช่วงที่กล้วยออกปีให้หยุดการแทงหน่อไว้ก่อนเพราะกระทบต่อความสมบูรณ์ของกล้วย ช่วงเจริญเติบโตแทงหน่อขยายทำพันธุ์ ถ้าไม่แทงหน่อต้นหลังจะไม่ค่อยโตหวีจะไม่สมบูรณ์ เมื่อต้นแม่ออกปลีไว้หน่อสักสองหน่อเพื่อเป็นต้นแม่ต่อไป หน่อที่ไว้ให้อยู่ตรงกันข้ามจะดีที่สุดเพื่อไม่แยงอาหารและน้ำกัน หนึ่งต้นไว้ใบสัก 7 ใบ ที่เหลือตัดใบขาย

-การปลูกกลัวน้ำว้าเพื่อเป็นพี่เลี้ยงให้กับสวนยางพารา




การรื้อกอกล้วยน้ำว้า
อุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้คือเสียม และจอบปิ้นที่ใช้ในการรื้อกอกล้วย  เติมปุ๋ยหมักและผสมดินใหม่เพิ่มเพิ่มธาตุอาหารให้กับดิน เพื่อกล้วยจะไม่ขาดธาตุอาหาร หรือ อาจย้ายตำแหน่งปลูกกอใหม่ห่างจากกอเดิมประมาณ 2 เมตร เพื่อป้องกันการขาดธาตุอาหารแม้จะเป็นกล้วยที่ต่างสายพันธุ์ก็ใช้ธาตุอาหารเหมือนกัน โดยทั่วไปสวนกล้วยทุกสายพันธุ์จะเปลี่ยนตำแหน่งปลูกสลับกัน แล้วกลับมาปลูกตำแหน่งเดิมอีกครั้งเมื่อรื้อกอ






เทคนิคในกล้วยน้ำว้าลูกโต
1. เมื่อกล้วยออกเครือให้ปล่อยปลีกล้วยให้ยาวห่างกล้วยหวีสุดท้าย 15-20 ซม.
2. ทำการเฉือนก้านเครือกล้วยบางๆพอให้มียางกล้วยไหลออก  สัปดาห์ละครั้งจนกว่าจะได้อายุตัดเครือ
ผลที่ได้กล้วยจะมีผลใหญ่ค่อนข้างเสมอกันตลอดหวี
3. การฉีดน้ำไปที่ผลกล้วยจะช่วยลดสัตว์รบกวน เช่น นก หนู มาทำรัง ป้องกันเพลี้ยแป้งราดำ ช่วยให้ผลกล้วยขยายขนาดได้ดีขึ้นและทำให้ผลกล้วยสุกได้ช้าขึ้น อยู่บนต้นได้นานขึ้น ผลใหญ่กว่าเดิมและผลกล้วยไม่เน่าเพราะเอาน้ำฉีด

กล้วยน้ำว้ามีข้อเสียอยู่อย่างก็คือ การติดเมล็ดจากการผสมเกสรข้ามจากล้วยป่าหรือกล้วยตานี ส่วนกล้วยหอมและกล้วยไข่ไม่ติดเพราะเกสรตัวเมียเป็นหมัน

การดูแล
ปลูกด้วยหน่อใบแคบ( sword sucker) โค่นหน่อจะอวบใหญ่ สารอาหารสะสมอุดม ทั้งน้ำและปุ๋ย ผลที่ได้ใบกล้วยจะใหญ่มาก ใบจำนวนมาก หากพบใบกล้วยที่แห้ง เหลืองแล้วตัดทิ้ง ตัดให้ติดต้นเพื่อให้กาบใบแห้งต้นจะขยายได้รวดเร็ว

การให้น้ำกล้วยให้ตลอดช่วงอายุของเครือกล้วย เมื่อตัดปลีแล้วจะลดปริมาณน้ำลงครึ่งหนึง เมื่อหวีล้างลบเหลี่ยมหยุดรดน้ำได้หรือจะรดต่อไปก็ได้ กล้วยจะเริ่มลบเหลี่ยมจากหวีล่างขึ้นบน แต่จะเริ่มสุกจากหวีบนลงล่าง ดังนั้นก่อนตัดกล้วยต้องดูหวีบนเป็นหลัก
 
ศัตรูพืช
-หนอนม้วนใบ

-โรคตายพราย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือติดโรคจากต้นแม่(เชื้อฟิวซาเลียม)  ซึ่งทำลายท่อน้ำเลี้ยงและสารอาหาร สังเกตกลางลำต้นเป็นสีน้ำตาล ใบเหลือง ล้มตายลงไปเองหรือแม้ต้นกล้วยตายไปแล้วเชื้อก็ยังคงกินอยู่ วิธีการแก้ไขตัดต้นและเผาทำลายทันที หลังตัดเสร็จล้างมีดให้สะอาดป้องกันแพร่กระจาย เว้นช่วงปลูกป้องกันโรคระบาด 1 ปีหรือ หาสถานที่อื่นปลูกทดแทน

หลุมที่ปลูกต้นน้ำว้าเดิมหากพบว่าตายลงเพราะโรคตายพราย ไม่ควรหาหน่อกล้วยมาปลูกในหลุมเดิมซ้ำเพราะมันจะเป็นโรคอีก ควรขุดล้างกอทิ้งแล้วหาพืชอย่างอื่นมาปลูกแทนจนเชื้อราลดจำนวนลง เชื่อตัวนี้สามารถติดต่อได้ทางเครื่องมือ น้ำ การเอาจอบไปขุดตรงกอที่เป็นเชื้อแล้วแล้วไม่ล้างทำความสะอาด แล้วเอาจอบไปขุดก่ออื่น ก่อนั้นจะติดเชื้อ

-โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา

-บุ้งกินใบกล้วยแห่วง เกิดจากหนอนในวงจรชีวิตของผีเสื้อ แก้ไขด้วยการตัดครึ่งต้น หรือตัดเฉพาะส่วนของใบที่ถูกกิน หรือฉีดพ่นด้วยน้ำส้มควันทุกสัปดาห์หรือ EM

-สัตว์ที่กินกล้วยได้แก่ ค้างคาว นกกระยาง

การใช้ประโยชน์
กล้วยดิบเอาไว้ใช้วันโกน กล้วยสุกทำสารพัดขนม ใบตองขายได้ราคาพอควร ดีกว่าทิ้งน่ะ ส่วนต้นแก่สับหยาบๆทิ้งไว้เป็นปุ๋ยให้กับดิน

-เชือกกล้วย ทำจากกล้วยน้ำว้าเป็นส่วนใหญ่ใช้แล้วเหนียว ทน ใช้ได้นาน เส้นยาว-เหนียว มักทำจากส่วนก้านใบตอง หรือ กาบกล้วย

ความเชื่อเกี่ยวกับกล้วย
ชาวจีนนิยมน้ำกล้วยมาไหว้ในเทศกาลตรุษจีน เป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ของคนจีนโดยจะมีการไหว้บรรพบุรุษด้วยการเซ่นไหว้จนเป็นประเพณีสืบทอดมาช้านาน กล้วยมีลักษณะคล้ายมือ นิ้วมือ ชาวจีนเชื่อว่าเป็นการกวักเอาโชคลาภ

คนเชื่อว่าหากได้กล้วย 1 หวี ที่มี 15 ลูกครบจนหมดเชื่อว่ารักษาโรคภัยไข้เจ็บ

- น้ำหมักจุลินทรีย์จากกล้วย ใช้ทุกส่วนของกล้วยในการหมัก ใบ กาบ หยวก เหง่า ราก

-ใบตองกิโลกรัมละ 15-20 บาท
-ปลีกล้วยรับประทานกับผัดไท ขนมจีน

กล้วยน้ำว้าผ่าซีก

ผลิตภัณฑ์ (Bananas Processing)
กล้วยตากบางกระทุ่มโดยใช้พันธุ์มะลิอ่องในการทำ ของฝากจากพิษณุโลก
-กล้วยอ่อนรับประทานกับแหนมเนือง ส้มตำ




เปลือกกล้วยด้านใน



การตลาด
ปัจจุบันประเทศไทยได้ลงนามทำสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จากการที่กล้วยน้ำว้าในประเทศไทยขาดแคลนจึงต้องนำเข้าจากประเทศลาว และสินค้าเกษตรอื่นอีกเช่น กระหล่ำปลี ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เม็ดละหุ่ง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มะขามเปียก ข้อมูลเหล่านี้เป็นการชี้ทางให้เกษตรกรหันมาปลูกกล้วยน้ำว้ามากขึ้น วึ่งปัจจุบันราคากล้วยน้ำว้าแพงมากจากมหาอุทกภัยน้ำท่วมต้นกล้วยตายเป็นจำนวนหลายร้อยไร่ในปี 2012 ที่ผ่านมา

-ใบตองกล้วยน้ำว้ากิโลกรัมละ 8-15 บาท
-หน่อกล้วย หน่อละ20-25 บาท
-ผลกล้วย หวีละ 20-25 บาท ราคาเคยสูงถึง 35 บาท
-หัวปลีราคา 8-10 บาท

กล้วยหอมทอง

เครือกล้วยหอมทอง

กล้วยหอมทอง เป็นไม้ล้มลุก ปลูกได้ในเขตเมีองร้อน หรือเขตร้อนชื้น ในประเทศไทยปลูกได้ทุกภูมิภาค เมื่อกล้วยสุกมีสีเหลืองทอง กลิ่นหอมรสหวาน
ชื่อสามัญกล้วยหอมทอง Gros Michel
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Musa AAAGroup) "Kluai Hom Thong"
อาหารแปรรูปผลิตภัณฑ์ จากกล้วยหอมทองล้นตลาด เช่น เค้กกล้วยหอมทอง นมรสกล้วยหอมทอง  กล้วยกวน กล้วยม้วน กล้วยหอมทอด กล้วยหอมฉาบ, กล้วยหอมผง-พร้อมดื่ม, กล้วยหอมทองละแม, กล้วยหอมทองทอดกรอบ, กล้วยหอมทองแผ่นอบม้วน, กล้วยหอมอบเนย, กระยาสารทกล้วยหอม และกล้วยหอมปรุงรส 


พันธุ์
-กล้วยหอมจัน


ปลีกล้วยหอมทอง
ปลีกล้วยหอมรสชาติขม อร่อยสู้ปลีกล้วยน้ำว้าไม่ได้

การเริ่มแทงปลีของกล้วย จะเริ่มแทงใบธงออกมาก่อน ลักษณะเป็นใบสั้น ก้านอวบใหญ่ชี้ตรงขึ้นเหมือนธง ระยะเวลาผ่านไปกาบปลีกล้วยจะเริ่มบานออกไปเรื่อยๆจนสุดเครือ  ถึงจะเริ่มตัดปลีกล้วยได้ ช่วงเวลาการออกปลีถึงตกเครือกล้วยต้องการน้ำและธาตุอาหารจำนวนมาก

หวีกล้วยหวีสุดท้าย จะมีขนาดเล็กกว่าหวีบน ผลมีขนาดป้อมสั้น เรียกว่า ตีนเต่า 






การปลูกกล้วยหอม
เว้นระยะห่างระหว่างต้นไว้พอสมควรเพื่อให้ต้นโดนแสงอย่างเพียงพอ ต้นที่โตจะมีขนาดเท่่ากัน หากต้นกล้วยได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ สะสมธาตุอาหารได้น้อย ผลที่ได้เครือสั้น จำนวนหวีน้อย

ความลึกของหลุม 40-60 เซนติเมตร หรือขึ้นอยู่กับขนาด ความสูงของหน่อกล้วย ถ้าต้นกล้วยสูงมากหลุมต้องลึกไม่งั้นหน่อล้ม แต่ลึกมากเกินไปก็ไม่เหมาะ หากตื้นเกินไปหน่อจะเกิดเร็วและดกมาก

เตรียมปุ๋ยหมักผสมกับดิน เศษใบไม้แห้ง อินทรีย์สารอื่นๆ รองก้นหลุมปลูก เพื่อการระบายน้ำได้ดี และเก็บความชื้นได้นาน วางหน่อกล้วยลง กลบดินไม่ต้องเต็ม พอให้เป็นแอ่งรูปกระทะเพื่อเป็นแอ่งรับน้ำที่โคนต้นไม่ว่าจะเป็นน้ำฝน รากใหม่ของกล้วยจะเจริญออกมาจากด้านในของกาบชั้นนอก และเมื่อแทงออกมาแล้ว มักจะออกมาในแนวนอนมากกว่าแนวดิ่ง

การปลูกกล้วยหอมหน่อใบแคบ
หน่อใบแคบจะมีโคนใหญ่ ปลายเรียว ใบแคบยาวเรียกว่าหน่อใบดาบ ลักษณะหน่อแบบนี้สะสมอาหารและน้ำไว้มากที่ลำต้นแท้และลำต้นเทียม หน่อแบบนี้ไม่จำเป็นต้องตัดใบออกปลูกลงดินได้เลย  เพราะพื้นที่ใบมีน้อย การคายน้ำน้อย กระบวนการสังเคราะห์จึงเกิดน้อยตามไปด้วย ส่งผลให้การสร้างรากใหม่และใบใหม่เกิดขึ้นพร้อมๆกัน

การปลูกกล้วยหอมหน่อใบกว้าง
หน่อใบกว้าง โคนหน่อมักจะลอย รากลอยมองเห็นชัดเจน หน่อจำพวกนี้ขุดง่าย ขุดไปสักสองครั้งก็ได้หรืออาจจะไม่ต้องขุด ก่อนปลูกตัดใบกล้วยที่มีใบสีเขียวออกทุกใบเพื่อลดการที่ต้นนำอาหารมาเลี้ยงใบ เพราะต้องการให้ต้นสร้างรากแต่เพียงอย่างเดียว  เมื่อปลูกไปแล้วเมื่อโตต้นจะสูงมากแต่รากลอย  เมื่อปล่อยไปนานต้นจะล้มหักกลางมักจะไม่ได้กินผลแก่

การปลูกหน่อกล้วยไม่ว่าจะใช้หน่อเล็กหรือใหญ่ระยะเวลาเก็บเกี่ยวจะไม่ต่างกันมากนัก แต่สิ่งที่ควรต้องแน่นคือการเตรียมหลุมปลูกควรใส่อินทรียวัตถุให้สูง  การให้น้ำและระยะการให้น้ำควรสม่ำเสมอ

การตลาด
การซื้อขายหน่อกล้วยเพื่อนำมาปลูกนั้นค่อนข้างหายากเนื่องจากหน่อพันธุ์กล้วยไม่เหมือนพันธุ์ไม้ชนิดอื่น เพราะหน่อกล้วยวางขายโดดๆไม่ได้ใส่ดินหรือในกระถางหรือถุงปลูก หน่อกล้วยจึงมีระยะเวลาจำกัดในการวางขาย ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนรูปแบบการตลาดเช่น การแจกนามบัตร การติดป้ายประกาศ....และฝากหมายเลขเบอร์โทรติดต่อ

ข้อดีของการปลูกกล้วยหอม ราคาดี ผลสุกรสชาติดี ใช้ทำเค้กกล้วยหอมได้ แต่ต้องใช้ไม้ค้ำเครือกล้วย เพราะลำพังลำต้นของเค้าไม่สามารถพยุงเครือกล้วยเองได้ ยิ่งไร่ขนาดใหญ่ยิ่งต้องเตรียมไม้ค้ำจำนวนมาก

กล้วยหอมการส่งขายมีหลายทางเช่น 
ขายผลผลิตเอง
ขายให้สหกรณ์
ขายเพื่อส่งออกญี่ปุ่น ซึ่งมีข้อจำกัดและข้อห้ามค่อนข้างมาก


หน่อกล้วยหอมทอง


การใส่ปุ๋ย
หากเลือกใส่ปุ๋ยคอก ควรใส่ขี้ไก่ จะไม่แนะนำให้ใส่ขี้วัวเพราะจะทำให้เกิดหนอนที่โคนต้น ต้นล้มตาย หากเกิดอาการต้นจะเริ่มเหลือง หากถอนขึ้นมาจะพบหนอนตัวเล็กๆเกาะอยู่และการให้น้ำอย่าให้ขาดเพราะกล้วยต้องการน้ำมาก อย่าให้ดินแห้งแต่ก็ไม่ควรท่วมขัง และควรใส่ปุ๋ยเคมีอีกเล็กน้อยเพื่อความสมบูรณ์ของเครือกล้วย

การแก้ปุ๋ยขี้วัวไม่ให้มีหนอน นำขี้วัวไปหมักให้หมดกลิ่น ความร้อนที่ได้จากการหมักยังทำให้เมล็ดจากหญ้าที่วัวกินไม่งอก


โรคและศัตรู
เชื้อรา เกิดจากความชื้นสูง วิธีแก้ตัดแต่งใบหญ้าให้โปร่ง แดดส่องถึง ใบไหนเป็นเชื้อราให้ตัดออก ไม่จำเป็นต้องตัดทั้งใบ ตัดส่วนที่เป็นราก็พอ และต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมออย่าให้หน้าดินแห้ง  หากขาดน้ำกล้วยจะเกิดอาการคอกิ่ว เครือเล็ก คอหักง่าย 

-โรคใบเหลือง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าทำลายเซลล์จนผนังเซลล์เริ่มอ่อนแอเนื่องจากขาดแคลเซี่ยม ห้ามขุดหน่อในกอนั้นไปปลูกป้องกันโรคระบาด

-การขาดน้ำ สาเหตุเพราะลดน้ำแล้ว น้ำซึมลงไม่ถึงราก เนื่องจากกลบหลุมดินด้วยดินเหนียวน้ำไม่ซึม ขาดอินทรียวัตถุ

-หน่อมีอาการไส้แตก สาเหตุเกิดจากถูกเสียมงัดขึ้นจากดิน ทำให้โคนหน่อข้างในแตก ท่อลำเลียงน้ำและอาหารขาด ส่งขึ้นไปเลี้ยงส่วนบนลำต้นไม่ได้ แก้ไขโดยการขุดหน่อให้ห่างจากโคนต้น กว้างประมาณใบจอบพอที่จะลากดินขึ้นมาได้

-หน่อกล้วยแช่น้ำ สาเหตุเพราะหลุมไม่ซึมน้ำ เป็นดินดาน เหนียว เปรียบหลุมกล้วยกลายเป็นถังน้ำ ปลูกลงไปเหมือนเอาหน่อกล้วยไปแช่น้ำ ยิ่งใส่ปุ๋ยคอกเข้าไปยิ่งเร่งให้เน่า แก้โดยการขุดหลุมให้กว้างยาวเป็นพิเศษ แล้วรดน้ำแต่น้อยๆ บ่อยๆ

-หนอนใบกล้วย จะทำให้ใบกล้วยหัก แก้โดยการตัดส่วนที่หักออกเพราะใบส่วนที่หักสังเคราะห์แสงไม่ได้แล้ว

-โรคตายพราย(Panama disease ) เกิดจากเชื้อรา Fusarium มักเกิดกับต้นกล้วยที่โตมากแล้ว ใบกล้วยแสดงอาการขาวเหลืองซีดที่ใบล่างก่อนจึงลามไปที่ยอด เชื้อแพร่กระจายไปกับน้ำและดินที่มีเชื้ออยู่ ก้านใบพับตก แนบลำต้น ยอดอ่อนกล้วยมีอาการเหมือนถูกน้ำร้อนลวก ยอดกุดไม่โต หากเมื่อติดเชื้อขณะกล้วยออกปลีจะเสียผลผลิตทันที กล้วยจะไม่โตแล้ว แก้ไขโดยการฟันทิ้งแล้วหาพืชชนิดอื่นมาปลูกแทนจนเชื้อราค่อยๆหายไปจึงลงหน่อกล้วยใหม่ พึงควรอุปกรณ์การเกษตรด้วยล้างให้สะอาดก่อนนำไปใช้กออื่นๆ

เชื้อฟิวซาเรียม แพร่กระจายมาจากอเมริกาลาง ปานามา กัวเตมาลา เป็นพื้นที่ปลูกกล้วยส่งบริษัทอเมริกา โรคนี้จึงเรียกอีกอย่างว่า ปานามา ดีซีส มีการพัฒนาให้อยู่รอดได้หลากหลาย แก้ไขด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลดปริมาณเชื้อ เกิดขึ้นกับกล้วยได้ทุกระยะ ในช่วงที่มีเครือจะทำให้ไส้ของผลมีลักษณะแข็งเป็นไต เรียกว่า กล้วยกระสือสูบ

-หนอนกอ  ใบล่างต้นกล้วยแห้ง แล้วไม่ตัดสางใบทิ้ง ปล่อยห้อยข้างต้นกล้วย บางส่วนห้อยติดโคนต้นแล้วย่อยสลายที่โคนต้น หรือเกิดจากมูลสัตว์ที่ไม่ได้หมัก เมื่อนำมาใส่โคนต้นเกิดการหมัก แมลงปีกแข็งจึงเข้าวางไข่ ไข่พัฒนาเป็นหนอนแล้วเจาะต้นกล้วยเข้าไปเพื่อหาอาหารและน้ำ


ไม้ค้ำต้นกล้วยหอมทองเพื่อป้องกันลำต้นหกล้ม และควรตรวจดูให้ไม้ค้ำอยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง (ควรเริ่มค้ำตั้งแต่เครือตัดปรีแล้ว)

กล้วยหอมเป็นกล้วยที่ต้องการน้ำมากที่สุด ฉ่ำน้ำมากที่สุดในบรรดากล้วย อีกทั้งเครือมีน้ำหนักมาก เมื่อตัดเครือจึงต้องใช้ไม้ค้ำ ต้นจะหัก ไม่ว่าสวนจะมีลมแรงหรือไม่ก็ตาม ยิ่งปลูกจำนวนมากเมื่อเห็นปลีกล้วยต้องรีบหาไม้ค้ำไว้รอแล้ว เตรียมไม้ค้ำไว้เยอะๆ

การตัดกล้วยเมื่อกล้วยแก่เต็มที่
เมื่อผลกล้วยแก่ ผลกล้วยต้องลบเหลี่ยมทั้งเครือ ผิวต้องขึ้นนวล  เมื่อสุกจะหวานมากและเนื้อกล้วยฟู โดยเริ่มจากหวีด้านล่างจะเริ่มลบเหลี่ยมก่อนจนถึงหวีบน

กล้วยหอมสุกเต็มที่บ่มด้วยแก๊สก้อน หรือถ่านแก๊ส พวกนี้เป็นสารเอธิลีน หรือถ่านแคลเซียมคาร์ไบด์ ใส่ให้พอเหมาะเพื่อให้ผลกล้วยสุกพร้อมกัน แต่หากใส่มากเกินไปกล้วยจะสุกเร็วเกินไปโดยที่เนื้อข้างในยังแข็งอยู่


การยืดอายุกล้วยสุก
เมื่อกล้วยที่ทานไม่หมด หากปล่อยทิ้งไว้กล้วยจะงอม รสชาติและเนื้อจะไม่อร่อย จึงต้องยืดอายุกล้วยออกไปคือ ห่อกล้วยพลาสติกที่ห่ออาหารห่อละ 1 ผล ม้วนปิดให้สนิททุกด้านแล้วเก็บในตู้เย็นช่องแช่ผัก ปรับอุณหภูมิตู้ให้เย็นปานกลางหรือต่ำ ผลกล้วยก็จะหยุดกระบวนการหายใจและหยุดการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลหรือมีบ้างแต่น้อย  สีเปลือกคล่ำขึ้นเป็นสีน้ำตาล แต่รสชาติของเนื้อยังคงเดิมหรือเปลี่ยนแปลงลงนิดหน่อย





ลำต้นกล้วยหอมทอง กาบลำต้นด้านนอกมีประดำ ด้านในสีเขียวอ่อนและมีเส้นลายสีชมพู

ด้วงอิฐ และฟอสฟีส


ด้วงอิฐ "Khapra beetle"
มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Trogoderma graniarum Everts
การค้นพบ ด้วงอิฐมีถิ่นกำเนิดในอินเดีย แต่ค้นพบในทวีปอเมริกาเหนือ ในผลิตผลทางการเกษตร เช่น ข้าว มอลต์ ถั่วลิสง วอลนัท อัลมอนด์ ลูกเกด โรงงานแปรรูป  ร้านค้าขายผลิตผลทางการเกษตร หรือแม้แต่ตู้กับข้าว

ปรเเทศที่ค้นพบ   ค้นพบเนื่องจากเป็นแมลงที่มีอยู่ในถิ่นฐานเดิมอยู่แล้ว และจากการกักกันสินค้านำเข้า เช่น อัฟกานิสถาน Afghanistan , แอลจีเรีย บังคลาเทศ อินเดีย อิหร่าน อิรัก อิสราเอล ลิเบีย พม่า ปากีสถาน ซาอุดิอาราเบีย ศรีลังกา ซูดาน ตุรกี และ United Arab Emirates โดยแพร่กระจายไปทั่วโลก จากรายชื่อก็จะมีแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตะวันออกกลาง เอเชีย และแอฟริกา ทวีปอเมริกาเหนือ

แหล่งอาศัย ผลิตผลทางการเกษตร ทนในที่แห้งและร้อนได้นาน ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่กินอาหารเป็นเวลานาน หากเป็นเม็ดข้าวสาร ด้วงจะฝังอยู่ในเม็ดขาว สังเกตเป็นสีฝ้าขาวๆมีอะไรข้างในดำๆ ใช้นิ้วบีบดูเมล็ดข้าวสารเป็นผงแป้ง

การกำจัด ฟอสฟีน หรืออลูมิเนียมฟอสไฟต์  เป็นก๊าซไม่มีสี มีกลิ่นเล็กน้อย คล้ายกระเทียม เป็นพิษต่อแมลงและสัตว์เลือดอุ่น หากมนุษย์ได้รับเข้าไป เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ปวดศรีษะ เจ็บหน้าอก ลิ้นแข็ง  พูดไม่ชัด ในปริมาณมากอาจทำให้เสียชีวิตได้


การเก็บข้าวสาร ป้องกันด้วงอิฐ
-ใช้ใบมะกรูดวางไว้ก้นถังข้าว
-ข้าวสารที่ต้องเก็บไว้กินนานๆ บรรจุใส่ขวดพลาสติกไว้ ปิดฝาให้แน่นไม่ให้อากาศเข้า ด้วงจะไม่ฝักเป็นตัว