วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

สารเร่ง พด.7

สารเร่งพด .7 สำหรับผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช 50 ลิตร
 น้ำหนักซอง 25 กรัมต่อ 1 ซอง

ด้านหลังซอง
สรรพคุณ
ป้องกันแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยชนิดต่่างๆ หนอนเจาะผลและลำต้น หนอนใยผัก ไรแดง และแมลงหวี่เป็นต้น

วัสดุสำหรับผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช (จำนวน 50 ลิตร)
1.สมุนไพร            30 กิโลกรัม
2.น้ำตาล              10 กิโลกรัม
3.น้ำ                    30 ลิตร
4.สารเร่งพด.7         1 ซอง (25 กรัม)

วิธีทำ
1. สับพืชสมุนไพรให้เป็นชิ้นเล็ก หรือทุบ
2. ละลายสารเร่ง พด.7 ในน้ำ 30 ลิตร ในถังหมักผสมให้เข้ากันนาน 5 นาที
3. นำสมุนไพรและน้ำตาล ผสมลงในถังหมักคลุกเคล้าให้เข้ากัน
4. ปิดฝาไม่ต้องสนิท ทำการหมักเป็นเวลา 20 วัน

อัตราการใช้
สารป้องกันแมลงศัตรูพืช : น้ำ เท่ากับ 1:200  สำหรับพืชไร่และไม้ผล
สารป้องกันแมลงศัตรูพืช : น้ำ เท่ากับ 1:500 สำหรับพืชผักและไม้ดอก

วิธีการใช้
ฉีดพ่นที่ใบ ลำต้น และรดลงดิน ทุก 20 วัน หรือในช่วงที่มีแมลงศัตรูพืชระบาดให้ฉีดพ้นทุกๆ 3 วัน ติดต่อกัน 3 ครั้ง

ข้อควรระวัง
1. เก็บสารเร่ง พด .1 ไว้ในที่ร่ม
2. เมื่อเปิดถุงแล้วใช้ให้หมดในครั้งเดียว
3. กากวัสดุที่เหลือจากการหมักให้นำไปใส่ร่วมกับการผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืชครั้งใหม่ต่อไป



สารเร่งซุปเปอร์ พด.2

สารเร่งซุปเปอร์ พด.2  สำหรับผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

น้ำหนัก 1 ซอง 25 กรัม ผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 50 ลิตร

ด้านหลังซอง
สรรพคุณ
1. เร่งการเจริญเติบโตของราก ลำต้นและใบของพืช
2. ส่งเสริมการออกดอกและติดผล
3. เพิ่มคุณภาพของผลผลิตพืช
4. กระตุ้นการงอกของเมล็ด
5. เพิ่มการย่อยสลายต่อซังพืช

วัสดุสำหรับผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ จำนวน 50 ลิตร
1. ปุ๋ยอินทรีย์น้ำปลาหรือหอยเชอรี่ (ใช้เวลาหมัก 15-20 วัน)
ปลาหรือหอยเชอรี่ 30 กิโลกรัม
ผลไม้ 10 กิโลกรัม
กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม
น้ำ 10 ลิตร
 =3:1:1:1

2. ปุ๋ยอินทรีย์น้ำผักหรือผลไม้ (ใช้เวลาหมัก 7 วัน)

ผักหรือผลไม้ : 40 กิโลกรัม

กากน้ำตาล : 10 กิโลกรัม
น้ำ : 10 ลิตร
= 4:1:1

วิธีทำ
1. ละลายสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จำนวน 1 ซองในน้ำ 10 ลิตร ผสมให้เข้ากันนาน 5 นาที

2. ผสมเศษวัสดุและกากน้ำตาลลงในถังหมักขนาด 50 ลิตร แล้วเทสารละลายซุปเปอร์ พด.2 ในข้อ1 ผสมลงในถังหมัก

3. คลุกเคล้าหรือคนให้ส่วนผสมเข้ากันอีกครั้ง

4. ปิดฝาไม่ต้องสนิท


อัตราการใช้
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ : น้ำเท่ากับ 1:500 - 1:1000


วิธีการใช้
ฉีดพ้นที่ใบและลำต้น 10 วันต่อครั้ง


คำแนะนำ
1. ควรปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์

2. เก็บสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ไว้ในที่ร่ม

3. กากวัสดุที่เหลือจากการทำปุ๋ยอืนทรีย์น้ำให้นำไปใส่เพื่อย่อยสลายในกองปุ๋ยหมักก่อนจึงจะนำไปใส่ลงดินได้


วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2555

พด.1 สารเร่งปุ๋ยซุปเปอร์

วันนี้ได้ พด.1 มาจากกรมพัฒนาที่ดินครับ จริงๆตั้งใจจะไปเอา พด.3 เพื่อเอามาปรับรากต้นมะนาวแต่ไม่มี เลยได้รู้จัก พด. อื่นๆ ได้พด. มา 3อย่างครับ เลยถือโอกาส review ให้ดูครับ

สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 สำหรับผลิตปุ๋ยหมัก

1 ซองน้ำหนัก 100 กรัม ผลิตปุ๋ยหมัก 1 ตัน
ด้านหลังซองกล่าวเรื่องสรรพคุณ วัสดุที่ใช้ทำปุ๋ยหมัก วิธีทำ อัตราและวิธีการใช้ และคำแนะนำ

สรรพคุณ
1. ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพดินทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ดินอุ้มน้ำดีขึ้น
2. ดูดซับธาตุอาหารในดินไม่ให้ถูกชะล้างสูญเสียไปได้ง่าย
3.เป็นแหล่งธาตุอาหารพืชทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุ
4.เพิ่มความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
5.เพิ่มปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน

วัสดุที่ใช้ทำปุ๋ยหมัก
1. เศษพืช                        1 ตัน ( 1,000 กิโลกรัม)
2. มูลสัตว์                      200 กิโลกรัม
3. ปุ๋ยยูเรีย                        2 กิโลกรัม
4.สารเร่งซุปเปอร์ พด.1         1 ซอง


วิธีทำ
1.ละลายสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ในน้ำ 1 ปี๊ป 20ลิตร คนให้เข้ากันนาน 10 นาที
2.ลดสารละลายซุปเปอร์ พด.1 ลงในกองปุ๋ยหมัก
3. ตั้งกองปุ๋ยหมักให้มีความกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร และสูง 1.5 เมตร รดน้ำให้มีความชื้น 60 เปอร์เซ็นต์
4. กลับกองปุ๋ยหมักพร้อมกับรดน้ำทุก 10 วัน จนกระทั่งเป็นปุ๋ยหมัก

อัตราและวิธีการใช้
1.ข้าว ไม้ดอก : ใช้ 2 ตันต่อไร่ หว่านในทั่วพื้นที่แล้วไถ่กลบก่อนปลูกพืช
2.พืชไร่ : ใช้ 2 ตันต่อไร่ โรยเป็นแถวตามแนวปลูกพืช แล้วคลุกเคล้ากับดิน
3.พืชผัก : ใช้ 4 ตันต่อไร่ หว่านให้ทั่วแปลงปลูกไถกลบขณะเตรียมดิน
4.ไม้ผล ไม้ยืนต้น :
เตรียมหลุมปลูก : ใช้ 20 กิโลกรัมต่อหลุม คลุกเคล้าปุ๋ยหมักกับดิน ใส่รองก้นหลุม
ต้นพืชที่เจริญแล้ว : ใช้ 20-50 กิโลกรัมต่อต้น โดยขุดร่องลึก 10 เซนติเมตร ตามแนวทรงพุ่มของต้นใส่ปุ๋ยหมักในร่องและกลบด้วยดิน หรือหว่านให้ทั่วภายใต้ทรงพุ่ม

คำแนะนำด้านล่างท้ายซอง
1. ควรใช้ปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายสมบุรณ์แล้ว สังเกตได้จากปุ๋ยหมักจะมีสีน้ำตาลเข้มหรือดำ มีลักษณะยุ่ยละเอียด ไม่มีกลิ่นเหม็น และความร้อนในกองปุ๋ยหมักลดลง
2. ควรเก็บสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 และปุ๋ยหมักที่เป็นแล้วไว้ในที่ร่ม




วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

หนูเป็นแสนเป็นล้านตัว ฟาร์มประเทศออสเตรเลีย





หนูสามารถผสมพันธุ์และออกลูกได้ตลอดทั้งปี โดยออกลูกปีละ 4-7 ครอก ลูกครอกหนึ่งมีจำนวน 8-12 ตัว เริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 3-5 เดือน เมื่อผสมพันธุ์จะตั้งท้องเพียง 21-22 วัน เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้แทบทุกอย่างและกินไม่เลือก มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 2 ปี ให้ลูกได้ตลอดทั้งชีวิต 6-10 ครอก

การขาดสัตว์ผู้ล่าในประเทศออสเตรเลีย ยกตัวอย่างเช่น จระเข้ไปกินคางคกก็จะตายด้วยพิษคางคก ทำให้จำนวนจระเข้ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งเนื่องจากตายเพราะกินคางคก


วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า



 ยอดผักหวาน


สายพันธุ์ผักหวาน
ผักหวานสายพันธุ์ดง มีใบแหลม จะออกดอกช้าและผลสุกช้าที่สุดในจำนวนสายพันธุ์
ผักหวานสายพันธุ์โคก ใบรี ใบมน

การขยายพันธุ์
-เพาะเมล็ด
-ตอนกิ่ง
-ปลายราก



ผักหวานป่า แรกอยู่ตามเนินเขาป่า เมื่อจะนำมาบริโภคจำต้องเก็บมาจากป่า กระทั่งปัจจุบันเป็นที่นิยม เพื่อเพียงพอต่อความต้องการของตลาดจึงมีการทำสวนผักหวานกันเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น ภาคเหนือที่เชียงใหม่ เชียงราย ตาก ภาคใต้ที่สุราษฎร์ธานี ภาคกลางที่ลพบุรี อุทัยธานี สระบุรี ผักหวานป่าเป็นพืชกึ่งร่มกึ่งแจ้ง ชอบที่เย็น โดยอาศัยร่มเงาจากต้นพี่เลี้ยง การปลูกต้นพี่เลี้ยงและผักหวานป่าจึงเป็นคู่สร้างคู่สม ห่างจากกันไม่ได้  การปลูกพี่เลี้ยงมักปลูกควรอยู่ฝั่งทางตะวันตกเพื่อบังแสงแดดในช่วงบ่าย

รสชาติ มักนิยมนำยอดผักหวานป่ามาประกอบอาหาร ยอดมีสีเขียวอมเหลือง ลักษณะเป็นใบเรียงเดียวสลับกัน แคบรี ปลายใบแหลม รสชาติหวานกรุบ สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเช่น แกงผักหวานป่าใส่ไข่มดแดง ผักหวานป่าผัดน้ำมันหอย ทอดมันผักหวาน แกงเลียงผักหวานป่า ต้มจืดผักหวานป่า หรือแปรรูปเป็นผลิตพันธุ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า หากวิเคราะห์ธาตุอาหารอุดมไปด้วย โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน บีตาแคโรทีน

ต้นผักหวาน  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง หากสูงมากต้องต่อตั้งร้านเก็บยอดผักหวาน แต่โดยทั่วไปเพื่อให้ง่ายต่อการเก็บยอดก็ไม่ควรปล่อยให้ต้นสูงมากนัก หรือต้นขนาดเล็กๆเป็นพุ่มก็มี มื่อโตเต็มที่ลำต้นมีสีน้ำตาลปนดำ ขนาดลำต้นเท่าแขน เมื่อใบผักหวานแก่เต็มที่ใบมีรูปร่างรีกว้าง ใบสีเขียวเข้ม เนื้อกรอบ แข็ง

ผลผักหวาน เมื่อผักหวานโตเต็มที่ เริ่มออกช่อประมาณเดือนกุมภาพันธุ์ ช่อดอกคล้ายดอกมะม่วงหรือลำใย เกิดตามกิ่งหรือลำต้น เมื่อช่อติดลูกจะเริ่มเป็นตุ่มสีเขียวมีนวลเคลือบอัดแน่นเป็นกระจุก เมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองหรือส้ม (ผลเริ่มสุกเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม)

ลูกผักหวาน

ขั้นตอนการเพาะผักหวาน
ลูกผักหวานเมื่อสุกมีสีแหลืองหรือออกเหลืองแกมส้ม จะเพาะผักหวานได้ต้องนำเอาเปลือกและเนื้อผักหวานออกก่อน ควรใส่ถุงมือหรือใส่ลงกะละมังใช้เท้าเหยียบให้เนื้อผักหวานหลุด เมื่อเปลือกออกหมดแล้ว นำเมล็ดใส่ตาข่ายล้างน้ำให้สะอาดจนกระทั่งหมดเนื้อ พอเนื้อหมดแล้วนำมาแช่น้ำเพื่อดูลูกไหนเสียไม่เสีย ลูกไหนลอยแสดงว่าเสียเราจะไม่ใช่ เก็บแต่ลูกจมน้ำมาพึ่งให้แห้ง ประมาณ 1 วันแล้วจึงนำมาเพาะในขี้เถ้าแกลบ

วิธีเพาะลงกระบะ
เมล็ดผักหวานสุกงอม




ขัดเนื้อผักหวานออกจนเห็นเป็นสีขาว



เตรียมทรายลงกะบะ




เรียงเมล็ดลงกะบะ ปิดด้วยทรายและรดน้ำ





รากยาวอายุ 10 วัน




มีสองรากแก้ว




ปลายรากผักหวานเน่า



 

วิธีเพาะโดยนำเมล็ดลงดิน
ใช้แกลบดำหรือทรายค่อนข้างสะอาดเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา นำแกลบดำโรยบนพื้นดิน หนา 5-10 ซม.(เพาะผักหวานในที่แดดเพราะผักหวานต้องแดดและความชื้น) หว่านเม็ดผักหวานลงไป โปรยแกลบดำปิดทับ ป้องกันแดดด้วยใบมะพร้าวหรือสแลนก็ได้ รดน้ำวันละครั้ง ภายใน 10 วัน รากจะยาวประมาณ 1 นิ้ว แม้ว่ากระทั่งรากขาด รากก็จะงอกออกมาเหมือนเดิม ดังนั้นต้นที่ออกมาใหม่ๆต้องระมัดระวังหรือหาอะไรคอบเอาไว้

การปลูกผักหวานป่าทำได้ทั้งการเพาะเมล็ดลงถุงชำเพื่อเป็นต้นกล้า ข้อดีคือมีระยะเวลาหลายเดือนในการเตรียมปลูก หรือโดยวิธีการหยอดเมล็ดลงหลุมปลูกโดยตรง ทำให้ประหยัดต้นทุนและแรงงาน แต่มีข้อจำกัดที่เมล็ดผักหวานที่จะปลูกเก็บไว้ได้ไม่เกิน 10 วันนับจากเก็บลงจากต้น

การปลูกต้นพี่เลี้ยงพร้อมกับต้นกล้าผักหวาน หรือปลูกต้นพี่เลี้ยงไว้ก่อนผักหวานก็ได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของต้นผักหวาน ต้นพี่เลี้ยง ที่สำคัญในระยะเวลาที่เหมาะสมกับอายุของต้นกล้าผักหวาน หากให้ดีควรปลูกต้นพี่เลี้ยงไว้ 3เดือน-1 ปี ขึ้นอยู่กับสภาพดินพี่ทำให้ต้นพี่เลี้ยงโตให้ร่มเงา เมื่อผักหวานเริ่มแทงยอดในช่วง 3-5 เดือนแรก ต้นอ่อนของผักหวานป่าต้องการร่มมาก หากโดนแดดไปเต็มๆยอดจะยุบลงไปทันที การให้ร่มเงาผักหวานหากไม่สะดวกต้นไม้ จะเป็นอุปกรณ์ช่วยก็ได้

เมื่อต้นพี่เลี้ยงอายุได้2-3 ปี ควรตัดความสูงของต้นพี่เลี้ยงให้อยู่ที่ประมาณ 3 เมตร เพื่อป้องกันการโค่นล้มในกรณีการปลูกอยู่กลางแจ้งพื้นที่โล่ง

ขั้นตอนการปลูก
ผักหวานชอบปลูกในที่เนินน้ำไม่ท่วมขัง มีร่มไม้ที่เป็นพี่เลี้ยง เช่น ลำใย มะม่วง ฝรั่ง แต่ถ้าเป็นต้นสัก มะขาม ไผ่ ผักหวานจะไม่ค่อยขึ้นเพราะมีรากเยอะ เลือกพื้นที่ที่จะปลูก พูนดินขึ้น 5-10 ซม. ทำเป็นแอ่งหน่อยๆให้น้ำขังนิดๆ ใช้เหล็กหรืออะไรก็ได้ทิ่มลงไปในดิน ก็จะเกิดรูยาวๆลงดิน นำรากเม็ดผักหวานทิ่มลงไปในดิน กลบดิน 2 ใน 3 ส่วน (เหตุผลที่ใช้เหล็กทิ่มลงไปในดินเนื่องจากผักหวานในช่วงเดือนแรกระบบรากจะเจริญเติบโตเพียงอย่างเดียว จึงใช้เหล็กนำร่องให้รากลงไปในแนวดิ่ง) กดเหล็กลงแล้วหมุนดึงเหล็กออก นำรากผักหวานสอดเข้าไป เอาดินกลบเมล็ดสัก 2 ส่วน พ้นดิน 1 ส่วน เอาเศษฟางปิดทับพอแสงแดดส่องได้ ไม่หนาหรือบางเกินไป

เหตุผลที่เลือกปลูกโดยวิธีนี้เพราะไม่ทำลายโครงสร้างของดินลงไป ให้ดินมีความชื้นโดยธรรมชาติ แต่โดยทั่วไปที่ขุดดินลึกแล้วใส่ปุ๋ยหมัก เพราะมีระบบหยดน้ำช่วยรักษาความชื้น

หลังจากนั้น 2 ปี จึงจะเริ่มเก็บยอดขายได้ โดยจะต้องตัดแต่งกิ่งตั้งแต่เดือนธันวาคม งดให้น้ำจนใบร่วง จึงค่อยรดน้ำและใส่ปุ๋ยคอก ประมาณ 1 สัปดาห์จะเก็บยอดและขายได้ตั้งแต่เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธุ์ ถึงเดือนพฤษภาคม และหยุดเก็บให้ต้นพักตัวและสะสมอาหาร

ไม่ควรปลูกผักหวานป่าบริเวณปลายเนินที่น้ำใต้ดินอยู่ระดับตื้น เสี่ยงก่อให้เกิดรากเน่า เนื่องจากในฤดูแล้งยังมีน้ำในระดับดังกล่าว หากเป็นฤดูฝนดินฉ่ำน้ำทั้งใต้ดินและบนดิน แนะว่าให้ปลูกพืชจำพวกไม้ผลจะดีกว่า  สำหรับผักหวานเหมาะที่สุดช่วงกลางๆของเนินและบนเนิน

การให้ธาตุอาหาร
ปุ๋ยจากมูลสัตว์เช่น มูลวัว ควาย ไก่ รดน้ำด้วยฮอร์โมนเป็นครั้งคราว ซึ่งมีปริมาณธาตุอาหารรับรอง ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์ โพแทสที่ละลายน้ำ ละลายได้ในน้ำ พืชสามารถดูดซึมอาหารเข้าทางรากและทางใบช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของพืชในด้านลำต้นและใบ ในระยะแรกของการเจริญเติบโต แต่ให้ดีควรให้ฮอร์โมนทางดินจะดีกว่า พืชนำประโยชน์ได้มากกว่า ควรพ่นในช่วงเวลาเช้าหรือเย็นในเวลาที่อากาศไม่ร้อน ลมไม่พัดแรง และคาดว่าฝนจะไม่ตก หากฮอร์โมนเหลือใช้ควรเก็บในที่แห้งและร่ม

ในฤดูหนาว ร้อน ควรให้ปุ๋ยแบบน้ำกับผักหวาน บำรุงปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร หรือปุ๋ยเทศบาล (หลังส้วม) นำมารดบริเวณรอบโคนต้นผักหวาน หลุมด้วยวัสดุฟาง หรือใบไม้เพื่อรักษาความชุ่มชื้น รดน้ำตอนเย็นวันละ1ครั้ง หรือ3วันต่อ1ครั้ง

การเก็บยอดผักหวานป่า
ผักหวานมีวิธีเก็บยอดตลอดทั้งปี แต่หากเก็บทั้งปีผลเสียที่ได้ต้นจะโทรม อีกเหตุผลนึงคือ หากเก็บนอกฤดูรสชาติผักหวานจะไม่อร่อย รสชาติจืด กลิ่นไม่หอม  ในฤดูปรกติจะเก็บยอดช่วงเดือน 11 - 6 ของทุกปี ช่วงเดือนเมษาผักหวานป่าจะออกมาก ควรเลี่ยงเก็บช่วงนั้น รสชาติผักที่ได้ในหน้าแล้ง หวาน กรอบ หอม ส่วนเดือนที่เหลืออื่นๆจอยู่ในช่วงพักต้น  การเก็บเอายอดเก็บได้อาทิตย์ละ 1 ครั้ง ในระหว่างเก็บอัดน้ำและปุ๋ยคอกลงไปด้วย หากต้นผักหวานสูงมากควรทำนั่งร้านเก็บรอบต้น

เมื่อผักหวานอายุได้4-5ปี อาจตัดต้นพี่เลี้ยงออกหรือไม่ออกก็ได้ เพราะไม่มีผลกับการออกยอด ออกดอกติดผลของผักหวาน หากผักหวานป่าอยู่ใต้ร่มเงาพี่เลี้ยงยอดที่ออกมาไม่แข็งง่าย คนเก็บไม่ร้อน การออกดอกติดผลของต้นผักหวานเร็ว ดี สมบูรณ์

ผักหวานเจริญเติบโตในช่วงหน้าหนาวและหน้าแล้ง ในช่วงหน้าฝนเป็นช่วงพักการเจริญเติบโต ในหน้าแล้งผักหวานป่าทั้งปุ๋ยและร่มเงาสำหรับเกื้อกูลทั้งระบบทางรากใต้ดินและร่มเงาชั้นบน

การรดน้ำยามผักหวานแตกยอด
ควนรดน้ำตอนเย็นเป็นสำคัญมากที่สุด เมื่อผักหวานแตกยอดแล้วหากรดน้ำตอนเช้าน้ำที่ใช้รดอาจค้างอยู่ที่ยอดได้ เมื่อแดดร้อนเที่ยงจะทำให้ยอดผักหวานไหม้

ต้นไม้พี่เลี้ยง
ต้นแคปลูกติดๆต้นผักหวานได้ 3-4 ปีต้นแคจะเริ่มตาย  ,เพกา, ชะอม,มะขามเทศระยะห่างจากต้นผักหวาน8-10 เมตร , ตะขบ ล้มเงาของตะขบมีหลายชั้นคล้ายฉัตร ทำให้อากาศใต้ร่มเงาเย็นสบาย ไม่ทึบไม่โปร่งแสงเกินไป ,ต้นหน่อยหน่าไม่ควรปลูกเพราะหน่อยหน่ามีระบบรากแก้ว รากแขนง มากกว่ารากฝอย  โดยทั้งหมดปลูกในทิศทางที่บังแดดได้

การปลูกผักหวานกิ่งตอน
การปลูกผักหวานด้วยกิ่งตอนเปอร์เซ็นการรอดค่อนข้างต่ำอย่างปลูก 10 ต้น รอดเพียง 3-4 ต้น ต้นที่ตายจะเริ่มเหี่ยวและแห้งตายไปในที่สุดถึงแม้ต้นจะเริ่มแตกยอดแล้วก็ตาม

โรคและศัตูพืช
เพลี้ยแป้ง อาศัยอยู่ใต้ใบ นิสัยไม่ชอบน้ำ ตัวเต็มวัยสามารถบินได้ กำจัดด้วยน้ำส้มสายชู

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

การผลิตชาตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสม

สมพล นิลเวศน์
นักวิชาการเกษตร 8.
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่

กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์






  การผลิตทางการเกษตรอย่างถูกต้องและเหมาะสมสำหรับชา เพื่อให้มีคุณภาพผลผลิต และผลิตภัณฑ์ชาตรงตามมาตรฐานสากล   เกษตรกรสามารถปฏิบัติตามได้และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม การจัดการสวนจะต้องมีความจริงใจใจกิจกรรมที่กำหนด โดยมีขั้นตอนต่าง ๆ ในการจัดการสวนดังจะได้กล่าวต่อไป



การจัดการเพื่อให้ได้ชาที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานสากล
สภาพพื้นที่
  • ชาที่นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาคุณภาพดี ควรปลูกในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล  700 เมตร ขึ้นไป
  • สำหรับสวนชาขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องจักรในการดำเนินการ ควรมีพื้นที่ลาดเอียงไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ ถ้าลาดเอียงมากกว่า  15 เปอร์เซ็นต์  ควรทำขั้นบันได โดยให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 150 เซ็นติเมตร
ลักษณะดิน
  • ดินร่วนทรายมีการระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุสูง ชั้นของหน้าดินลึกอย่างน้อย 50 เซนติเมตร
  • ความเป็นกรด ด่าง 4-6
สภาพภูมิอากาศ  : ชามีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศได้ดี ต้องการอุณหภูมิ  ค่อน
           ข้างเย็น
  • อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส
  • ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศไม่ต่ำกว่า  75  เปอร์เซ็นต์
  • มีปริมาณน้ำฝนอย่างน้อยเฉลี่ยปีละ 1,200 มิลลิเมตรต่อปี  

    พันธุ์ 
  • พันธุ์ชาที่แบ่งตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์ประกอบด้วย 3 กลุ่มพันธุ์  ดังนี้
  1. กลุ่มพันธุ์ชาจีน (C. sinensis var. sinensis)
  2. กลุ่มพันธุ์ชาอัสสัม (C. sinensis var. assamica)
  3. กลุ่มพันธุ์ชาเขมร (C. sinensis var. Indo-china)
  • สำหรับการแบ่งกลุ่มตามประโยชน์ในทางการค้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
  1. กลุ่มชาจีน (China tea) เป็นกลุ่มที่เหมาะสำหรับใช้แปรรูปเป็นชาใบ เช่น ชาเขียว    ชาจีน
  2. กลุ่มชาอัสสัม (Assam tea) เป็นกลุ่มที่เหมาะสำหรับใช้ยอดชาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาฝรั่ง
  3. กลุ่มชาลูกผสม (Hybrid tea) จัดเป็นกลุ่มที่มีปริมาณมากที่สุด เนื่องจากชาเป็นพืชผสมข้าม จึงทำให้ชาที่ปรากฏโดยทั่วไปเป็นชาลูกผสมระหว่างกลุ่มพันธุ์ชาทั้งสามกลุ่มดังกล่าวข้างต้น สำหรับการใช้ประโยชน์จากชากลุ่มนี้ สามารถใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาได้ทั้งชาใบและชาฝรั่ง ส่วนชาเขมร (Indo-china tea) จัดได้ว่าเป็นกลุ่มที่ไม่มีประโยชน์ในทางการค้า แต่จะนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการปรับปรุงพันธุ์ชาเป็นหลัก
  • พันธุ์ชาที่เหมาะสำหรับใช้ปลูกเพื่อแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม แบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้
  1. พันธุ์ชาสำหรับแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาใบ (ชาเขียว, ชาจีน)
    สำหรับแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาจีน ได้แก่ สายพันธุ์ชินชิง เบอร์ 12, สายพันธุ์อู่หลงก้านอ่อน, สายพันธุ์ชินชิงอู่หลง, สายพันธุ์สี่ฤดู, สายพันธุ์ทิกวนอิม

    สำหรับแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาเขียว ได้แก่ สายพันธุ์ยาบูกิตะ, สายพันธุ์ซายามะคาโอริ, สายพันธุ์โออิวาเสะ, สายพันธุ์แม่จอนหลวง เบอร์ 3, สายพันธุ์ฝาง เบอร์ 4, สายพันธุ์แม่จอนหลวง เบอร์ 2
  2. พันธุ์ชาสำหรับแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาฝรั่ง (ชาดำ หรือชาแดง)

    ได้แก่พันธุ์ชาในกลุ่มพันธุ์ชาอัสสัม เช่น สายพันธุ์อัสสัมใบจาง  สายพันธุ์อัสสัมใบเข้ม สายพันธุ์ลูไฉ่

     แหล่งน้ำ
     ควรเป็นพื้นที่ให้น้ำได้ในช่วงฤดูแล้ง
     การปลูกและดูแลรักษา
    1. การเลือกพื้นที่สร้างสวนชา
    พื้นที่ ๆ เหมาะสำหรับปลูกชา ควรมีดินที่ระบายน้ำได้ดี มีอินทรียวัตถุสูง ค่าความเป็นกรด-ด่าง
    (pH) เท่ากับ 4-6  และต้องมีแหล่งน้ำสำหรับชาในฤดูแล้ง
    2.  การเตรียมพื้นที่ปลูกและการย้ายปลูก

     มีการกำจัดวัชพืชเลือกพื้นที่ได้แล้วจะต้องทำการแผ้วถางวัชพืชออก อาจจะเหลือต้นไม้ขนาดใหญ่ไว้เป็นร่มเงาชาก็ได้ ถ้าเป็นพื้นที่ลาดชันควรทำขั้นบันได(กว้างไม่น้อยกว่า 150 ซม.) หรืออาจจะปลูกตามแนวระดับโดยไม่ขุดเป็นขั้นบันไดก็ได้ โดยให้ระยะระหว่างแถวปลูกประมาณ 2 ม.

    • สำหรับแหล่งปลูกที่เป็นพื้นราบ หรือบนที่ลาดชันที่มีการขุดขั้นบันได ทำการเตรียมหลุม โดยขุดเป็นร่องกว้าง 40 ซม. ลึก 40 ซม. ให้ระยะระหว่างร่องห่างกันประมาณ 180 ซม.(สำหรับพื้นที่ราบ) และให้ขุดเป็นร่องเดี่ยวกลางแนวขั้นบันได(สำหรับบนที่ลาดชันที่มีการขุดขั้นบันได) และขุดเป็นหลุมเดี่ยวขนาด 40x40 ซม.(เมื่อไม่ขุดขั้นบันได) ต้องถากเอาวัชพืชคลุกกับปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยรองก้นหลุมลงกลบไว้ในหลุมปลูก (เตรียมหลุมปลูกก่อนย้ายปลูกประมาณ 6 เดือน โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 2 ตัน/ไร่และหินฟอสเฟตอัตรา 50 กก./ไร่ สำหรับรองก้นหลุม)

    • สำหรับแหล่งปลูกที่ไม่มีระบบน้ำ ให้ทำการย้ายปลูกในช่วงต้นฤดูฝนด้วยต้นกล้าชาพันธุ์ดีที่มีอายุ 12-18  เดือน ลงปลูกโดยใช้ระยะระหว่างต้น 40 – 50 ซม.(สำหรับแปลงปลูกบนพื้นราบและบนที่ลาดชันที่มีการขุดขั้นบันได) ส่วนแปลงปลูกแบบเจาะหลุมใช้ระยะระหว่างต้น 50 – 60 ซม.(ตามความเหมาะสมในแต่ละสภาพพื้นที่)

      อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม อาชีพ.คอม
       ที่มา
       http://www.archeep.com/agricultural/tea.htm

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

มะเขือเทศออร์แกนิค (มะเขือเทศอินทรีย์) ดีกว่าหรือไม่?

ผลการวิจัยได้แนะนำว่า การรับประทานมะเขือเทศอินทรีย์ (ที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี) นั้นทั้งมีรสชาติดีกว่าและยังดีต่อสุขภาพมากกว่าแบบที่ไม่ใช่อินทรีย์

          คนส่วนมากยังคงยอมรับว่า ท่ามกลางผักอินทรีย์ต่างๆ (แม้มะเขือเทศในทางทฤษฎีจะเป็นผลไม้ก็ตาม!) มะเขือเทศอินทรีย์มีรสชาติดีกว่าจริงๆ

          จากการวิจัยที่ทำเป็นอย่างดีในสหรัฐอเมริกาได้เปรยไว้ว่า มะเขือเทศอินทรีย์อาจมีคุณค่าทางอาหารที่สูงกว่าด้วย มี งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การอาหารและเกษตรกรรม (Journal of Science of Food and Agriculture) ทำการทดสอบระดับของสารเควอซีติน (Quercetin) และแคมเฟอรอล (Kaempferol) ในกลุ่มตัวอย่างมะเขือเทศแห้ง ตลอดช่วงเวลา 10 ปี พบว่า


 มะเขือเทศ (แห้ง) ที่ปลูกแบบอินทรีย์ พบว่ามีสารเควอซีตินมากกว่าถึงร้อยละ 79 สารเควอซีตินนี้เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำงานในเซลล์ของร่างกายโดยตรงและหยุด เซลล์ไม่ให้หลั่งสารฮิสตามีน (ที่หลั่งออกมาเวลาเกิดภูมิแพ้) นอกจากนี้ยังพบว่ามีแคมเฟอรอลมากกว่าถึงร้อยละ 97 ซึ่งแคมเฟอรอลเป็นฟลาโวนอยด์ธรรมชาติชนิดหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ

          เหตุผลที่นักวิจัยเชื่อก็คือ มะเขือเทศที่ปลูกตามวิธีปกติธรรมดา มักได้รับปุ๋ย (เคมี) จำนวนมาก ซึ่งต่างจาก จำนวนมาก ซึ่งต่างจากมะเขือเทศอินทรีย์ (ที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี) จึงกระตุ้นให้มันสร้างสารฟลาโวนอยด์ในระดับที่สูงกว่า


  “การผลิตสารฟลาโวนอยด์เป็นกลไกการป้องกันของพืชเพื่อตอบสนองต่อการขาดสาร อาหาร" Stephen Daniells จาก NutraIngredients ได้อธิบายตอบต่อการวิจัยนี้ และเพิ่มเติมว่า“ในการปลูกพืชแบบอินทรีย์นั้นการไม่ใส่ปุ๋ย ทำให้ค่าปุ๋ยในดินลดลง ซึ่งสะท้อนให้เห็นโดยการเพิ่มระดับของสารฟลาโวนอยด์เมื่อเวลาผ่านไป”

          เช่นเดียวกับที่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียได้สรุปว่า “การ เพิ่มขึ้นนี้ไม่เพียงแต่สอดคล้องกับปริมาณที่เพิ่มขึ้นของดินอินทรีย์ที่ สะสมในแปลงพืชอินทรีย์ แต่ยังทำให้ลดอัตราการใช้ปุ๋ยลงเมื่อดินในระบบอินทรีย์ถึงระดับสมดุลอีก ด้วย”


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก BlackMore
ที่มา http://www.vcharkarn.com/varticle/43692

ผักสีสดช่วยคุณฟิตได้

เหล่าบรรดาผักผลไม้สีสันสวยงาม ต่างแฝงไปด้วยประโยชน์มากมาย ยกตัวอย่างผักสีสันจี๊ดๆ ที่ประโยชน์ก็แรงไม่แพ้กัน




 มะเขือเทศ
              ใน ผลมะเขือเทศมีสารจำพวกแคโรทีนอยด์ ชื่อไลโคพีน (Lycopene) ซึ่งเป็นสารสีแดง และวิตามินหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินเค โดยเฉพาะวิตามินเอ และวิตามินซี มีในปริมาณสูง มีกลดมาลิค กรดซิตริก ซึ่งให้รสเปรี้ยว และมีกลูตามิค (Glutamic) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหาร นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารเบต้าแคโรทีน และแร่ธาตุหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เป็นต้น

ประโยชน์ของมะเขือเทศ
              ผล มีรสเปรี้ยวช่วยดับกระหาย ทำให้เจริญอาหาร บำรุงและกระตุ้นกระเพาะอาหาร ลำไส้ ไต ให้ทำงานได้ดี ช่วยขับพิษและสิ่งคั่งค้างในร่างกาย เนื่องจากเป็นยาระบายอ่อน ๆ เหมาะที่จะเป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคนิ่ว วัณโรค ไทฟอยด์ หูอักเสบและเยื่อตาอักเสบ ให้รับประทานผลสดลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมาก
              ผิว หนังที่โดนแดดเผา สามารถใช้ใบของมะเขือเทศนำมาตำให้ละเอียดแล้วทาบริเวณที่เป็นนำราก ลำต้น และใบแก่ต้มกับน้ำรับประทานแก้อาการปวดฟัน
              นำน้ำมะเขือเทศพอกหน้า หรือผลมะเขือเทศสุกฝานบาง ๆ แปะบนใบหน้า จะช่วยให้ผิวหน้าอ่อนนุ่มรักษาสิว สมานผิวหน้าให้เต่งตึง
              การ รับประทานมะเขือเทศสุกเป็นประจำจะช่วยลดการแข็งตัวของผนังหลอดเลือด รักษาโรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟัน ช่วยบำรุงสายตา และช่วยย่อยอาหาร ลดความดันโลหิต และช่วยบรรเทาอาการป่วยของผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคตับอักเสบ
              คั้นน้ำมะเขือเทศสุกหรือปั่น ดื่มรับประทาน ลดอาการท้องอืดเฟ้อ และอาหารไม่ย่อย ช่วยดับกระหายคลายร้อน และช่วยรักษาโรคแผลร้อนใน

กะหล่ำปลีม่วง
              ไม่ ว่าจะเป็นกะหล่ำปลีม่วง หรือกะหล่ำปลีแดงก็เป็นผักกะหล่ำชนิดเดียวกัน แต่ถูกเรียกขานแตกต่างกันไป ซึ่งเจ้าผักสีสวยที่หลายคนมักทำเป็นสลัดค่อนข้างมีประโยชน์หลากหลายมากกว่า จะเป็นผักตกแต่งจานเพียงอย่างเดียว

ประโยชน์ของกะหล่ำปลีสีม่วง
  เนื้อ ของกะหล่ำปลีม่วงออกรสขมกว่ากะหล่ำปลีสีขาวธรรมดาเพราะมีสารอินไทบิน แต่สารอินไทบินตัวนี้มีส่วนสำคัญต่อกระบวนการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายช่วย กระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงตับ ถุงน้ำดี ไต และกระเพาะดีขึ้น นอกจากนี้กะหล่ำปลีสีม่วงยังอุดมด้วยธาตุเหล็กจึงช่วยเสริมฮีโมโกลบินให้แก่ ร่างกาย ซึ่งฮีโมโกลบินเป็นตัวการสำคัญที่นำพาออกซิเจนไปกับเม็ดเลือดแดงเพื่อหล่อ เลี้ยงเซลล์ต่างๆ 

 อีก หนึ่งสาเหตุที่กะหล่ำปลีม่วงเป็นผักยอดฮิตสำหรับสลัด ก็เพราะเป็นพืชที่มีกากใยอาหารสูงและอุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารหลายชนิด เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต โซเดียม และวิตามินซีที่พบว่ามีค่อนข้างมากกว่ากะหล่ำปลีสีเขียวถึงสองเท่า ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน มีสารซัลเฟอร์ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่และต้านสารก่อมะเร็งที่เข้า สู่ร่างกาย

              อย่าง ไรก็ตามในกะหล่ำปลีไม่ว่าจะเขียวหรือม่วงต่างก็มีสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า กอยโตรเจนเล็กน้อย ถ้าสารดังกล่าวมีมากจะไปขัดขวางการทำงานของต่อมไทรอยด์ทำให้นำไอโอดีนใน เลือดไปใช้ได้น้อย ดังนั้นจึงไม่ควรกินกะหล่ำปลีสด ในปริมาณมากเกินไป แต่ถ้าสุกแล้วสารกอยโตรเจนจะหายไป


บร็อกโคลี 
              ถ้า จะกินผัดผักก็ต้องยกให้บร็อกโคลีเป็นที่หนึ่ง เพราะมากด้วยประโยชน์ รสชาติที่ไม่ขม กรอบ อร่อย จนแม้แต่เด็ก ๆ ก็ทานได้โดยไม่งอแง และที่สำคัญสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกายอมรับว่าเป็นพืชที่ต่อต้าน มะเร็ง เพราะประกอบด้วยวิตามินเอ แคลเซียม ไรโบฟลาบิน หรือวิตามินบี 2 เป็นต้น

ประโยชน์ของบร็อกโคลี่
              บร็อกโคลีเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกะหล่ำปลี กะหล่ำดอก คะน้า และผักกาด โดยมีสารที่เรียกว่า ซัลโฟราเฟน ซึ่งเป็นสารป้องกันโรคมะเร็ง
              มีวิตามินซีสูง เพียงปริมาณ 1 ถ้วยตวง ก็ให้วิตามินซีได้มากถึง 13% ของปริมาณวิตามินซีที่เราควรรับประทานต่อวัน
              เปี่ยม ด้วยธาตุซีลีเนียมที่มีสรรพคุณช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้ผิวหนัง ดังนั้นถ้ารับประทานบร็อกโคลีเป็นประจำก็จะช่วยชะลอผิวพรรณไม่ให้เหี่ยวย่น ได้ง่าย
              ป้องกันการเกิดต้อกระจก เนื่องจากมีสารเบต้าแคโรทีนสูง โดยเฉพาะสารลูทีนที่สามารถป้องกันความเสื่อมของดวงตา

พริกหวาน 
              พริก เม็ดโตสีสันสดใส มีลักษณะกลมยาว หลายครัวเรือนนิยมนำมาผัดเพราะไม่มีรสเผ็ด เนื่องจากมีสารแคปไซซินในปริมาณที่ตํ่ามากจนถูกเรียกว่าพริกหวาน

              ใน พริกหวาน 100 กรัม สามารถให้คุณค่าแก่ร่างกายได้มาก โดยให้พลังงาน 22 กิโลแคลอรี ซึ่งประกอบด้วย โปรตีน 0.8 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.0 กรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 2.5 มิลลิกรัม ไทอะมิน 0.10 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.05 มิลลิกรัม วิตามินซี 65 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของพริกหวาน
              พริก หวานมีเบตาแคโรทีนสูง มีวิตามินซี เหล็ก และโพแทสเซียม ซึ่งพริกหวานสีเหลืองจะมีไวตามินมากกว่าพริกหวานสีส้มถึง 4 เท่า ในพริกสีเขียว 100 กรัมก็จะมีไวตามินซี 100 กรัมเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีสารแคบไซซิน ช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือด โรคต้อกระจก และโรคมะเร็ง

              ใน หนึ่งเมนูของวัน ถ้ามีพริกหวานเป็นส่วนประกอบก็จะช่วยกระตุ้นทางการทำงานของกระเพาะอาหาร ทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขั้น ช่วยเจริญอาหารบำรุงธาตุ ขับเหงื่อ ขับลม ขับเสมหะ แก้อาเจียน แก้หิด กลากเกลื้อน และสามารถลดความด้นโลหิตได้ เพราะทำให้หลอดเลือดอ่อนตัว และช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้ดี

 อะโวคาโด 
              ทำ เอาคนทั่วโลกหลงใหลไปกับความเนียนนุ่มและรสสัมผัสมัน ๆ ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับ อะโวคาโด ผลไม้แสนอร่อยจากดินแดนอเมริกาใต้รสชาติของผลอะโวคาโดที่มัน ๆ แต่กินแล้วไม่เลี่ยน ก็เป็นเพราะเนื้อของอะโวคาโดนั้นมีปริมาณไขมันสูง แต่ไขมันที่ว่าเป็นไขมันดีต่อร่างกาย เพราะเป็นกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ชื่อว่ากรดไขมันโอเมก้า 9 มีอยู่ในปริมาณสูงเช่นเดียวกับในน้ำมันมะกอก เมื่อกินผลอะโวคาโดเป็นประจำ ก็จะช่วยลดโคเลสเตอรอลในเส้นเลือดลงได้

ประโยชน์ของอะโวคาโด
              อะ โวคาโดให้พลังงานสูง แต่มีน้ำตาลต่ำ ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจึงสามารถกินได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีโปรตีนสูง ซึ่งเป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย วิตามินสูง ทั้งวิตามินอี วิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซี และยังให้กากใยมาก จึงเป็นประโยชน์ต่อระบบขับถ่ายอย่างมาก

              ถ้า รับประทานเป็นประจำจะทำให้ใบหน้าดูอ่อนกว่าวัย เพราะวิตามินบีในอะโวคาโดจะทำให้ร่างกายเกิดความต้านทานในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการปกป้องผิวหน้าจากมลพิษเสียด้วย

 ขอขอบคุณข้อมูลจากE-Magazine
ที่มา  http://www.vcharkarn.com/varticle/43701

เครื่องสีข้าวขนาดเล็กที่สุดในโลก

รายละเอียดการทำงานโดยสังเขป1. เครื่องสีข้าวแบบแกนเหล็กหล่อ
เป็น นวัตกรรมใหม่โดยการกระเทาะเปลือกข้าวและขัดข้าวให้ขาวด้วยแกนเหล็กซึ่งเป็น เหล็กหล่อทรงเกลียวกระบอกจึงทำให้หน้าแกนเหล็กมีความคมลักษณะเดียวกับหน้า หินเจียร์ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งเหล็กสี่เหลี่ยมยาว ทำหน้าที่ในการอัดเม็ดข้าวเข้าหาแกนเหล็กจึงสามารถกระเทาะเปลือกข้าวและขัด ข้าวได้เร็วกว่าเครื่องสีข้าวขนาดเล็กทั่วไป

2. เครื่องบด, ปั่น
เป็น เครื่องที่สามารถบดปั่นธัญพืชและผลผลิตแห้ง เช่นแกลบ, พริก, พริกไทย, ข้าวโพด,ข้าวแป้งหรือข้าวคั่วให้ละเอียดตามความต้องการในการเลี้ยงสัตว์และ บริโภค เป็นการทำงานแบบชุดหมุนเหวี่ยงใบมีดเหล็กกล้าในการบดปั่น และตะแกรงเหล็กที่มีรูขนาดต่างๆเพื่อกรองธัญพืชและผลผลิตแห้งที่บดปั่นแล้ว ให้มีความละเอียดตามความต้องการได้เป็นอย่างดี

3. มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 2.2 K.W.
เป็น มอเตอร์ขนาดเล็กกินไฟน้อย ซึ่งการใช้งานจะกินไฟฟ้าอยู่ที่ ชั่วโมงละประมาณ 9 บาท ทั้งนี้มอเตอร์มีขนาดเล็กการทำงานจึงควรทำงานต่อเนื่องไม่เกิน 3 ชั่วโมงและควรพักมอเตอร์ประมาณ 20-30 นาที เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพมอเตอร์และเป็นการประหยัดไฟฟ้า

ข้าวเปลือก 1 กก.สีแล้วจะได้ส่วนประกอบอะไรบ้าง จำนวนเท่าไหร่ (ที่ความชื้น 15%)

จากการทดลองสีข้าวจำนวน 1 กิโลกรัม พบว่าใช้เวลาในการสีข้าว 25 วินาที ได้เมล็ดข้าวสารจำนวน 0.6 กิโลกรัม แกลบและ
รำ หยาบ 0.35 กิโลกรัม และปลายข้าว 0.05 กิโลกรัม จากนั้นได้หาเปอร์เซ็นต์ ข้าวหักโดยการสุ่มหยิบข้าวสารที่สีแล้ว 10 ครั้ง ครั้งละ 10 กรัมหาค่าเฉลี่ย พบว่าข้าวสารที่ได้จากการสี 100 กรัม ได้ข้าวสารเต็มเมล็ด
65 เปอร์เซ็นต์ และข้าวสารหัก 35 เปอร์เซ็นต์

คุณสมบัติเฉพาะ
กระบะใส่ข้าวเปลือกขนาด 5 กิโลกรัม 2 ใบ
เครื่องสีข้าว 1 ตัว, เครื่องบด 1 ตัว
มอเตอร์ขนาด 2.2 kw 220V AC 1 ลูก/เครื่องยนต์ดีเซล 3.5 แรงม้า
กำลังการผลิต 160 กิโลกรัม./ชม.(ข้าวสาร
  ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ และการทำงานได้ที่ http://eyelu.blogspot.com/
โทร. 085-0000-641
ดุการทำงานได้ที่ http://www.youtube.com/user/kidtipark?feature=mhee
ที่มา  http://www.vcharkarn.com/vblog/40029/1/#P1

วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน

การปรับปรุงดินให้มีสภาพเหมาะสมต่อการเพาะปลูก

โดยการคลุมหน้าดิน
ใบไม้และเศษพืชที่ปกคลุมผิวดิน หน้าดิน ช่วยลดการสูญเสียความชื้น หน้าดินอ่อน รากชอนไชหรือแทรกลงดินได้ดี ต้นไม้จะเริ่มอุดมสมบูรณ์
อาจจะเป็นวัสดุทางธรรมชาติอื่นๆอีกเช่น ฟางข้าว ตอซังพืช หญ้าแห้ง ใบไม้แห้ง ต้นถั่ว ขุยมะพร้าว กากอ้อย แกลบ ขี้ลีบข้าว รำหยาบ ขี้เลื่อย ขุยไผ่ ไส้ปอ เปลือกหรือกากมันสำปะหลัง หรือพลาสติกสำหรับคลุมหน้าดิน

ฟางข้าว มีอัตราการย่อยต่ำ มีคุณค่าทางอาหารต่ำ ฟางเป็นผลผลิตจากลำต้นแห้งของพืช เช่น ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวเจ้า ข้าวไรย์ ข้าวสาลี เป็นต้น คุณประโยชน์ของฟางข้าวได้มีผู้กล่าวไว้ว่า "ผู้ใดเผาฟาง ผู้นั้นกำลังเผาธนบัตรฉบับละ 100 บาท ฉบับละ 500 บาท จำนวนมากของตนเองทิ้ง"
ฟางข้าวประกอบไปด้วยแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และไนโตรเจน หากนำฟางไปคลุมดินจะทำให้พืชผักเจริญเติบโต แข็งแรง ทนต่อศัตรูพืช แต่มีข้อเสียคือระคายผิว

ฟางช่วยปรับโครงสร้างดินที่เป็นกรดหรือด่าง (ดินเป็นกรด Acid Soils หมายความว่าดินที่มีค่า ph ต่ำกว่า 7.0 ดินเป็นด่าง Alkaline Soils หมานถึงดินที่มีค่า ph สูงกว่า 7.0 ) หากไม่มีฟางปกคลุมดินเลย หน้าดินจะเสื่อมและสูญเสียอาหาร จากสายลม น้ำ และแสงแดด จนกลายเป็นดินด้าน แต่หากนำฟางไปคลุมจะเกิดหน้าดินอีกชั้นหนึง ช่วยคุมหญ้าและวัชพืช หากคุมพืชไว้นานโดยไม่ให้อากาศหรือแสงแดดส่องถึงพื้นจะกลายเป็นปุ๋ยหมักตามธรรมชาติอย่างดี "คล้ายรูปแบบต้นไม้ในป่าใหญ่ที่โคนต้นจะมีใบไม้ทับถมหลายชั้น จนเกิดเป็นปุ๋ยหมักตามธรรมชาติ" เกิดแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับพืชครบถ้วน และจุลินทรีย์ สัตว์ขนาดเล็ก เกิดเป็นวัฏจักรของสัตว์ที่มีประโยชน์ต่อดิน เช่น คางคก แย้ จิ้งเหลน แมงมุม แมลงศัตรูพืชจะค่อยๆหายไป หากนำไปใช้ในแปลงพืชพัก พืชพักก็จะดูแลตัวเองโดยที่เราไม่ต้องประคบประหงมมากนัก แถมด้วยการเกิดเห็ดฟางให้เรากินอีกด้วย

ต้นถั่ว โครงสร้างของเปลือกถั่วและเนื้อในเมล็ดมีใยอาหารสูง

ขุยมะพร้าว คือ เปลือกมะพร้าวที่ปั่นเอาใยออก หรือปั่นให้ใยละเอียดเป็นขุยๆละเอียดประมาณเม็ดทราย แห้งสนิท มีคุณสมบัติเบา อุ้มน้ำได้ดี เก็บความชื้นไว้ได้นาน

หญ้าแห้ง ควรตัดหย้าที่แก่เต็มที่ เพราะมีใยอาหารสูงและลิกนินในพืช น้ำระเหยออกจากต้นได้ช้า

แกลบRice Husk คือผลผลิตจากการสีข้าวในโรงสีจากการผลิตข้าวสาร แกลบเป็นแปลือกของข้าวสาร ข้าวสารมีเมล็ดรูปทรงรี สีเหลืองอมน้ำตาลหรือเหลืองนวล แกลบข้าวยังเป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นวัสดุก่อสร้างได้อีกด้วยซึ่งเป็นส่วนผสมในการทำอิฐ ด้านการเกษตรใช้ผสมเพื่อปรับสภาพดิน ทำปุ๋ยหมักใช้กันความชื้นในคอกสัตว์ อีกทั้งเป็นส่วนผสมในการผลิตซีเมนต์ ส่วนในด้านพลังงานใช้เป็นเชื้อเพลิง เช่น ใช้ทำแท่งถ่านอัดขี้เถ้าแกลบ เพื่อเป็นเชื้อเพลิง เผาเป็นขี้เถ้าขาวจนสภาพเป็นด่าง ใช้เป็นส่วนผสมของสบู่ ยาสระผม และน้ำยาล้างจาน ดูดซับก๊าซจากกระบวนการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม

ข้าวไรย์ Rye หนึ่งในพืชตระกูลข้าวสาลี ลักษณะคล้ายคลึงกันกับข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์มาก แปรรูปทำเป็นแป้ง ขนมปัง วิสกี้และเบียร์


ลดการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร

ฟางข้าว ตอซังข้าว อุดมไปด้วยแร่ธาตุ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และไนโตรเจน เมื่อเกษตรกรเผาทำลายเศษพืชในแต่ละครั้งของฤดูกาลเก็บเกี่ยว แร่ธาตุดังกล่าวลดลงจนไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช หากเผาทำลายบ่อยครั้งหรือทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยวดินเริ่มด้าน แข็ง เกาะกันเป็นก้อนขนาดใหญ่ ไม่ร่วนซุย แม้กระทั่งปล่อยน้ำเข้านาแล้ว หากลองเหยียบดูดินยังคงแข็ง เหยียบไม่จมเท้า ปัญหาที่สำคัญอีกประหนึ่งคือ ระบบรากของต้นพืชอ่อนแอ รากพืชจะดูดวับแร่ธาตุต่างๆได้ที่ปลายรากพืช เมื่อดินแข็งด้าน รากไม่สามารถชอนไชลงดินได้ เมื่อระบบรากอ่อนแอ ต้นข้าวไม่สมบูรณ์ รวงข้าวที่ได้เล็ก แต่ทำไมเกษตรกรยังคงเผา รวบรวมสาเหตุไว้ดังนี้
1. เผาตอซังข้าวทิ้งไป เพื่อปรับหน้าดินให้เสมอได้ง่ายขึ้นเพื่อพร้อมทำนาในครั้งต่อไป
2.เผาเพื่อช่วยให้การไถนาง่ายขึ้น ฟางจะได้ไม่ติดควานไถ

ปัญหาการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะแต่เกษตรกร แต่ปัญหาได้เกิดขึ้นกับประชาชนในเขตเมืองด้วย ดังตัวอย่างภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย อาทิ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง เชียงราย ปริมาณฝุ่นละอองในอากาศเล็กกว่า 10 ไมครอน และสูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน โดยวัดค่าได้สูงสุด 175.96 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วึ่งค่ามาตรฐานอยู่ที่ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ( สถานีตรวจวัดอากาศแบบอัตโนมัติของกรมควบคุมมลพิษ) การแก้ปัญกาเฉพาะหน้าก็ทำได้เพียงการรดน้ำบนถนน ฉีดน้ำจากที่สูง แต่ปัญหาก็ไม่ได้คลี่คลายลงและเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์

ลดการพังทลายของหน้าดิน
เพื่อลดการแพร่กระจายภาวะดินเค็ม  ดินเปรี้ยว อันนำไปสู่การสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดิน
วิธีแก้ไข
ปลูกหญ้าแฝก เพื่ลดการชะล้างหญ้าดินจากน้ำฝนไหลพัดพาหน้าดินออก ลดความรุนแรงและความเร็วของน้ำ รักษาความชุ่มชื้น ดักตะกอนน้ำและคุมวัชพืชไม่ให้เจริญเติบโตเต็มที่

เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด เป็นการให้ธาตุอาหารหลักแก่พืช ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุแก่พืช สร้างจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดินและพืช เป็นการปล่อยธาตุอาหารให้กับพืชแบบช้าๆ เพื่อลดการสูญเสียธาตุอาหาร

ธาตุอาหารของพืช

ธาตุอาหารของพืช
1. จากปุ๋ยเคมี เช่นปุ๋ยยูเรีย ละลายน้ำได้ง่าย พืชดูดนำไปใช้ได้เร็ว เนื่องจากธาตุอาหารอยู่ในรูปไอออน รากพืชดูดนำไปใช้ได้เลย
2. จากปุ๋ยอินทรีย์ หากเป็นโพแทสเซียมในรูปไอออนพืชดูดนำไปใช้ได้ง่าย ส่วนรูปสารอื่นๆของอินทรีย์มีโมเลกุลใหญ่พืชดูดนำไปใช้ไม่ได้ แต่สารอินทรีย์เหล่านั้นจะถูกจุลินทรีย์แปรสภาพให้โมเลกุลเล็กลง ต่อจากนั้นโมเลกุลขนาดเล็กจะแปรสภาพเป็นอนินทรีย์ที่ละลายน้ำและแตกตัวเป็นไอออนได้ ปลดปล่อยอาหารที่จำเป็นให้แก่พืช รากพืชจะดูดไปใช้ได้โดยกระบวนการเป็นไปอย่างช้าๆ

ธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน นำไปสร้าง DNA และโครงสร้างส่วนแข็งที่มีลิกนิน สร้างกรดอะมิโน ซึ่งมีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบซึ่งอยู่ในหมู่อะมิโน

การให้ธาตุ N มากเกินไปจะทำให้ต้นยาวสูงเร็ว แต่ลำต้นไม่แข็งแรง ควรเพิ่มฟอสฟอรัสเพื่อให้ระบบรากแข็งแรง ขยายต้นออกด้านข้าง  ส่วนธาตุโพแทสเซียม จะเป็นการช่วยส่งเสริมให้พืชดูดธาตุไนโตรเจน N ได้มาก ยิ่งทำให้ต้นสูงขึ้นอีก


                      ฟอสฟอรัส
                      โพแทสเซียม
ธาตุอาหารรอง   กำมะถัน
                      แคลเซียม
                      แมกนีเซียม
จุลธาตุ             แมงกานีส
                      ทองแดง
                      โบรอน
                      โมลิบดินัม
                      เหล็ก
                      สังกะสี

ปุ๋ยเคมี

ปุ๋ยเคมีเริ่มเข้ามาในประเทศไทย พ.ศ. 2503 จากโครงการ "ปฏิวัติเขียว" เพื่แก้ปัญหาความมั่นคงทางด้านอาหารของประชากรโลก เกษตกรของไทยใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี และยาฆ่าหญ้ากันทั้งประเทศ ตลอด 40-50 ปีที่ผ่านมา ก็ให้เกิดผลเสียดินเพาะปลูกเสื่อมสภาพ ดินเป็นกรด ดินแน่น แข็ง เมื่อดินแข็งรากพืชไม่สามารถแทรกลงไปในเนื้อดินได้ดี

ความเป็นกรดของดินทำให้เกิดการละลายของธาตุอลูมิเนียมออกมาหรือพูดอีกแบบก็คือธาตุอลูมิเนียมเป็นพิษในดิน แล้วดูดซึมเข้าทางรากพืช ทำให้พืชไม่แข็งแรงกลายเป็นโรคง่าย วิธีการแก้ก็คือ ใส่ปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนต(CaCO3) จึงเพิ่มค่า ph เป็น 6.0 หรือ 6.5 และลดพิษของอลูมิเนียมในดินได้

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

การปลูกมะนาว


ข้อมูลกายภาพ
มะนาวและมะกรูดจัดเป็นพืชในตระกูลส้ม มะนาวเป็นเครื่องเทศเครื่องเคียงอาหารไทยหลากหลายเมนู มีผลผลิตตลอดทั้งปี แต่จะมีราคาแพงและขาดตลาดในฤดูแล้งเป็นประจำทุกปี การรู้เทคนิคในการทำมะนาวนอกฤดูได้ จึงขายมะนาวได้ราคาแพงขึ้น กำไรของผู้ผลิตมากขึ้น

มะนาว มีรสเปรี้ยว กลิ่นหอม ผลสีเขียวสุกจัดจะเป็นสีเหลือง เปลือกบาง ภายในมีเนื้อแบ่งกลีบ ชุ่มน้ำ นิยมใช้เป็นเครื่องปรุงรส นำมาใช้เป็นเครื่องดื่มผสมเกลือและน้ำตาลเป็นน้ำมะนาว หรือเพื่อแต่งรสในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิด และยังมีคุณค่าทางโภชนาการและทางการแพทย์ด้วย เช่นช่วยป้องกันโรคลักปิดลักเปิด

มะนาวมีต้นทรงพุ่มเตี้ย สูงเต็มที่ 5 เมตร "แต่สูงมากไม่ดี เก็บยาก" ก้านมีหนามเล็กน้อย ใบยาวเรียวเล็กน้อยคล้ายใบส้ม ส่วนดอกสีขาวอมเหลือง ปกติมีดอกผลตลอดทั้งปี แต่ในช่วงหน้าหนาว แล้วมีผลน้อยและน้ำน้อย เก็บมะนาวไปขายต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 5 เดือนครึ่งนับแต่มะนาวออกดอก

มะนาวเป็นพืชที่มีรากแขนงแผ่ไกลไปตามผิวดิน ปลูกในพื้นที่ดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดีเนื่องจากมะนาวไม่ชอบน้ำขัง มีอินทรียวัตถุมาก การให้น้ำและปุ๋ยมะนาวจะได้รับปุ๋ยเต็มที่ ต้นเจริญติบโต ใบมีสีเขียวและใหญ่ ผลมะนาวจะดกเต็มต้น

การปลูกมะนาวในปัจจุบันข้อควรคำนึงคือ การดูแล ควรเลือกสายพันธุ์ที่ทนต่อโรค การมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สารเคมี การตลาดมะนาวในปัจจุบันว่าผู้บริโภคนิยมชมชอบมะนาวประเภทใด ร่วมทั้งผู้ประกอบต่างๆ ก็เป็นองค์ประกอบต่อการพิจารณาปลูกต่อสายพันธุ์นั้นๆ

พันธุ์มะนาว
-มะนาวตาฮิติ Tahiti Lime หรือ Seedless Lime เป็นมะนาวไม่มีเมล็ด มีผลขนาดใหญ่กว่าพันธุ์ทูลเกล้า มีทรงผลทั้งทรลกลมและทรงรี การติดผลสู้พันธุ์ทูลเกล้าไม่ได้
-มะนาวทูลเกล้า ลักษณะทรงผลยาว ไม่มีเมล็ด เปลือกบางกว่าตาฮิติเล็กน้อย ติดผลได้ดีกว่าตาฮิติ

-มะนาวด่านเกวียน เปลือกบาง เนื้อสีเหลืองคล้ายส้มเนื่องจากส้มและมะนาวผสมกัน น้ำกลิ่นไม่หอมแต่เปรี้ยว ผลดกมาก มะนาวด่านเกวียนเป็นส้มที่กลายพันธุ์ภาษาอังกฤษเรียกว่า แลงเพอร์ไลม์

-มะนาวพันธุ์พื้นเมืองไทย เปลือกแข็ง แก่จัดผิวเป็นสีเหลือง ลูกดกออกลูกเป็นพวง น้ำเยอะ ทนโรค แต่กลิ่นไม่หอมเหมือนมะนาวแป้น

-มะนาวแป้นพิจิตร 1 เป็นลูกผสมของมะนาวแป้นกับมะนาวน้ำหอม มักไม่เป็นโีรคแคงเกอร์ ใบใหญ่หนา เปลือกหนา โตเร็ว มีหนาม ลูกใหญ่ กลิ่นหอม

-มะนาวแป้น เป็นที่นิยมของตลาด เปลือกบาง น้ำเยอะ แต่มักได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าใช้สารฆ่าแมลงเยอะ

การขยายพันธุ์
-การตอนกิ่ง จะใช้ระบบรากของตัวมันเองในการเจริญเติบโต หาอาหาร
-มะนาวบนตอมะขวิด (เสียบยอด) ใช้ระบบรากของต่อมะขวิดในการหาอาหาร การขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีนี้นำมาใช้แก้ปัญหาดินไม่มีความสมบูรณ์ ใช้ความยาวของกิ่งมะนาว 6 นิ้ว 4-6 ใบคู่ ท่อน้ำท่ออาหาร เนื้อไม้และเปลือกต่อกันสนิทจึงจะต่อติด จากความเห็นของผู้ทดลองปลูก กล่าวว่า ระบบรากแก้วของมะขวิดจะให้พืชหากินได้เก่ง ทนทานต่อโรค แต่อีกฝากของความคิดเห็นกล่าวว่า พืชจะเจริญเติบโตได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้นหลังจากนั้นจะโตคงที่


การเตรียมดิน
ขุดหลุมกว้าง 1 เมตร ลึก 1 หน้าจอบเป็นวงกลม แล้วเอาดินหน้าจอบแรกขึ้นมาไว้ข้างๆ นำปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักสัก 1 ถังถ้าเป็นดินเหนียวใส่ทรายยาบลงไปด้วยเพราะมะนาวชอบดินร่วนปนทราย (ทรายยาบเท่านั้น ทรายละเอียดไม่ได้) พรวนดินลงไปอีกหนึ่งหน้าจอบรวมเป็น 2 หน้าจอบ คุกปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักใส่ลงไป แล้วเอาปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักมาผสมกับดินที่กองไว้ข้างๆตอนหน้าจอบแรก แล้วใส่กลบลงไปในดิน ดินที่ได้เป็นรูปหลังเต่าหรือเป็นรูปกระทะคว่ำเพื่อไม่ให้นำขัง ใส่ปูนขาวผสมลงไปนิดหน่อย เอาฟางข้าวปิดแล้วรดน้ำทุก 5 วัน ทิ้งไว้ครึ่งเดือนแล้วจึงนำน้ำมันมาปลูก

ขั้นตอนการนำมะนาวลงดิน
มะนาวที่ปลูกจะเลือกมะนาวตอนกิ่งหรือมะนาวปักชำก็ได้ซึ่งเพาะใส่ถุงดำไว้ แช่ลงไปในน้ำทิ้งไว้ให้นุ่มๆ เวลาแกะถุงดำออกจะแกะง่าย

เมื่อแกะถุงดำออกเราจะพบว่ารากมะนาวขดลงมาเป็นก้อนๆ หากปลูกลงไปในลักษณะอย่างนั้นรากมะนาวจะดิ่งลงลึก รากมะนาวจะกินอาหารที่ปลายราก เมื่อรากมันดิ่งลงลึก เกษตรกรใส่ปุ๋ยลงบนผิวดิน รากมะนาวจึงไม่ได้อาหาร อายุมะนาวสั้นและเน่าตายไป

นำไปล้างน้ำอีกครั้ง แกะดินออกให้หมด จะพบระบรากทั้งหมดของต้นมะนาว นำต้นมะนาวลงไปในดิน แยกราก จัดรากไปทั่วทุกทิศทาง เอาดินกลบ กดดินให้แน่นเพื่อรากจะได้ดูดอาหารให้เร็ว เหตุผลที่ต้องจัดรากไปทุกทิศทางเพราะว่ามะนาวเป็นพืชรากตื้น รากดูดอาหารทางผิวดิน เวลาให้ปุ๋ยรากจะได้รับอาหารเต็มที่

นำไม้มาปักกันต้นมะนาวโยก เอาฟางหรือหญ้าคุมเพื่อรักษาความชื้น เพราะถ้าไม่สามารถรักษาความชื้นไว้ที่หน้าดินพอ แดดส่องหน้าดินเกิดความร้อน เมื่อรากได้รับความร้อนรากมะนาวจึงพยายามลงลึกไปในชั้นดินเพื่อหนึความร้อน ฉะนั้นเกษตรควรนำฟางหรือหญ้าคุมไว้เพื่อรักษาความชื้นให้กับรากมะนาว

เราก็จะได้มะนาวที่ปลูกพื้นที่ความกว้าง 1 เมตร อีก 2 เดือนต่อมารากบริเวณที่ปลูกจะเต็มพื้นที่หมดแล้ว เราจึงต้องเตรียมดินเพื่อรองรับการขยายตัวของราก

โรคแคงเกอร์ หรือโรคขี้กลาก
เป็นโรคประจำตัวของมะนาว มักระบาดหนักในช่วงที่มีความชื้นสูง(แคงเกอร์ชอบฤดูฝนมาก) เป็นแล้วรักษาไม่หาย เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย วิธีแก้คือตัดกิ่งที่เป็นโรคทิ้ง เด็ดใบทิ้ง(การตัดแต่งกิ่งเป็นส่วนสำคัญ จำเป็น) หากแคงเกอร์เป็นที่ลูก ลูกจะแตก แล้วนำสารประกอบทองแดงฉีดทางใบรักษาไม่ให้เชื้อแคงเกอร์ระบาด หรือในธรรมชาตินำขี้หมูมาใส่อยู่เป็นประจำ จะระงับการระบาดของแคงเกอร์ได้เพราะขี้หมูมีสารทองแดงอยู่ ส่วนยาที่จะสามารถฆ่าแคงเกอร์ได้คือ สเตรปโตมัยซิน เป็นยาปฎิชีวนะแต่จะฆ่าได้ต่อเมื่อตัดเอาแผลที่เป็นออกก่อน หรือให้สารคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์

การทำลายของแคงเกอร์เข้าทำลายถึงเซลล์ การสร้างเซลล์ผิดปกติได้ง่าย หากนำตอนกิ่งหรือกิ่งพันธุ์ไปขยายพันธุ์จึงเกิดการกลายพันธุ์ขึ้นได้

: โรคแคงเกอร์ มีวิธีกำจัดหลากหลายวิธีดังนี้
1. ปูนขาวผสมน้ำและฉีดพ่น
2. เสต๊ปโตมัยซิน
3. จุลินทรีย์ปราบโรค
4.เชื้อราไคโตรเดอม่า โดยผสมกับน้ำฉีดพ่น และยังป้องกันโรครากเน่าได้อย่างดี
(สายพันธุ์มะนาวมีผลต่อการติดโรคแคงเกอร์ได้เช่นกัน มะนาวแป้นพวง แป้นรำไพ เป็นพันธุ์ไม่ต้านทานต่อโรคแคงเกอร์ การเลือกปลูกพันธุ์ตาฮิติ พิจิตร1 เพื่อเน้นการป้องกันโรคก็เป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน
5. ฉีดพ่นสารประกอบคอปเปอร์
 โรคแคงเกอร์ ลักษณะจุดด่างดำ แข็ง

โรค
หนอนม้วนใบ

-สแคป เกิดจากเชื้อรา มีอาการคล้ายแคงเกอร์เป็นจุดเล็กน้อย หากติดเชื้อแล้วมีอาการจะไม่หาย เกิดในช่วงฝนตกชุก และความชื้นสูง ถ่ายเทอากาศได้ไม่ดี กิ่งมะนาวด้านบนบังทรงพุ่มด้านล่าง ทำให้กิ่งมะนาวด้านล่างติดเชื้อราบ่อย แก้ไขโดยการตัดกิ่งมะนาวในพุ่มตรงกลางโดนแดด หรือใช้คอปเปอร์พ่นเป็นระยะในช่วงที่มีฝนตกบ่อย

-หนอนชอนใบ ที่เกิดจากผีเสื้อกลางคืน กัดกินเนื้อเยื่อภายใน

-หนอนแก้ว

-หนอนผีเสื้อกินใบมะนาว

เทคนิคการทำให้มะนาวดกในฤดูแล้ง
มะนาวจะมีราคาแพงเดือนเมษายน ราคาถึงลูกละ 7 บาท แต่ผลผลิตในช่วงนั้นตกต่ำ  มะนาวใช้เวลา 5 เดือนครึ่งนับแต่ออกดอกจึงเก็บขายได้  ฉะนั้นดอกมะนาวจะต้องออกเดือนพฤศจิกายนจึงจะเก็บมะนาวขายในเดือนเมษายนได้

เดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคมเป็นช่วงฤดูหนาว ความชื้นในอากาศจะน้อย กระตุ้นการผลิตเอทิลีนหรือเรียกว่าสารแก่(ethylene) ไปกระตุ้นการพักตัวของพืช ใบไม้จะเหลืองและร่วง หากมะนาวออกดอกในช่วงนั้น ดอกก็จะไม่ค่อยติดลูก ดังนั้นจำต้องทำลายการพักตัวของพืชโดยให้สารจิบเบอเรลลินหรือสารหนุ่ม (Gibberellin) ไปทำลายการพักตัวของพืชโดยข่มฤทธิ์ของ ABA ซึ่งทำให้เกิดระยะพักตัว เมื่อใส่สารจิบเบอเรลลินทำให้พืชอยู่ในสภาวะอ่อนวัยและพร้อมที่จะสืบพันธุ์ได้ กระตุ้นการออกดอก กระตุ้นการติดผล มะนาวที่ได้รับสารจิบเบอเรลลินจะติดผลลูกดก ปัญหาที่พบกับยังไม่หมดอยู่แค่นั้นเมื่อเข้าสู่เดือนมกราคมสภาพอากาศแปรปรวน 1 เดือนมีถึงสภาพอากาศทั้งหนาวจัด ร้อนมาก และฝนหลงฤดู ทำให้ดอกมะนาวที่เพิ่งออกดอกกับร่วง ผลผลิตตกต่ำอีก

การออกดอกของมะนาว เป็นผลจากการที่พืชเกิดภาวะเครียด อันเกิดจากพืชเกิดบาดแผล(ใบร่วง) ทำให้ระบบการBalance ธาตุอาหารในพืชไม่สมดุลกันเป็นผลให้พืชออกดอก วิธีการให้ใบร่วงเด็ดออกบ้าง หรือเอาปุ๋ยยูเรียผสมน้ำแล้วฉีดพ่นไปทางใบ ใบจะร่วงออกทั้งหมดเมื่อแตกยอดให้ ดอกจะออกมาพร้อมกัน

ยามที่ดอกมะนาวออกแล้ว ไม่ต้องพ่นสารเคมี ควรให้น้ำตามปกติ ใส่ปุ๋ยสูตรเร่งขยายผล และธาตุอาหารเสริม พ่นฮอโมนเพื่อป้องกันการหลุดร่วง
สาเหตุลูกมะนาวร่วงเกิดจากหลายปัจจัย เช่น อาหารภายในต้นไม่เพียงพอ ขั้วมะนาวหลุดร่วง หรือเกิดจากเชื้อราเข้าขั้วโดยปรากฎที่ขั้วเป็นสีเหลือง  ฝนตกติดต่อกันหลายวัน ท้องฟ้าปิดเป็นเวลานาน ดินชุ่มเกินไปทำให้รากขาดอากาศและไม่สร้างอาหาร


การเก็บผลมะนาว
คัดเลือกลูก ผิวตึงวาวเป็นมัน เปลือกบางใส สัมผัสแล้วนิ่มมือ รูขุมจะเล็ก และมีแต้มสีเหลือง ผลมีขนาดเต็มที่แล้ว ตูดของลูกออกแป้นๆแบนๆค่อนข้างเรียบ


ผลิตภัณฑ์และการแปรรูป
-น้ำยาล้างจานมะนาว
-มะนาวดอง

การนำไปใช้
-มะนาวทั้งเปลือกใช้ตำส้มอร่อยแซ่บหลาย