วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

การผลิตชาตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสม

สมพล นิลเวศน์
นักวิชาการเกษตร 8.
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่

กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์






  การผลิตทางการเกษตรอย่างถูกต้องและเหมาะสมสำหรับชา เพื่อให้มีคุณภาพผลผลิต และผลิตภัณฑ์ชาตรงตามมาตรฐานสากล   เกษตรกรสามารถปฏิบัติตามได้และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม การจัดการสวนจะต้องมีความจริงใจใจกิจกรรมที่กำหนด โดยมีขั้นตอนต่าง ๆ ในการจัดการสวนดังจะได้กล่าวต่อไป



การจัดการเพื่อให้ได้ชาที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานสากล
สภาพพื้นที่
  • ชาที่นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาคุณภาพดี ควรปลูกในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล  700 เมตร ขึ้นไป
  • สำหรับสวนชาขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องจักรในการดำเนินการ ควรมีพื้นที่ลาดเอียงไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ ถ้าลาดเอียงมากกว่า  15 เปอร์เซ็นต์  ควรทำขั้นบันได โดยให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 150 เซ็นติเมตร
ลักษณะดิน
  • ดินร่วนทรายมีการระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุสูง ชั้นของหน้าดินลึกอย่างน้อย 50 เซนติเมตร
  • ความเป็นกรด ด่าง 4-6
สภาพภูมิอากาศ  : ชามีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศได้ดี ต้องการอุณหภูมิ  ค่อน
           ข้างเย็น
  • อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส
  • ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศไม่ต่ำกว่า  75  เปอร์เซ็นต์
  • มีปริมาณน้ำฝนอย่างน้อยเฉลี่ยปีละ 1,200 มิลลิเมตรต่อปี  

    พันธุ์ 
  • พันธุ์ชาที่แบ่งตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์ประกอบด้วย 3 กลุ่มพันธุ์  ดังนี้
  1. กลุ่มพันธุ์ชาจีน (C. sinensis var. sinensis)
  2. กลุ่มพันธุ์ชาอัสสัม (C. sinensis var. assamica)
  3. กลุ่มพันธุ์ชาเขมร (C. sinensis var. Indo-china)
  • สำหรับการแบ่งกลุ่มตามประโยชน์ในทางการค้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
  1. กลุ่มชาจีน (China tea) เป็นกลุ่มที่เหมาะสำหรับใช้แปรรูปเป็นชาใบ เช่น ชาเขียว    ชาจีน
  2. กลุ่มชาอัสสัม (Assam tea) เป็นกลุ่มที่เหมาะสำหรับใช้ยอดชาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาฝรั่ง
  3. กลุ่มชาลูกผสม (Hybrid tea) จัดเป็นกลุ่มที่มีปริมาณมากที่สุด เนื่องจากชาเป็นพืชผสมข้าม จึงทำให้ชาที่ปรากฏโดยทั่วไปเป็นชาลูกผสมระหว่างกลุ่มพันธุ์ชาทั้งสามกลุ่มดังกล่าวข้างต้น สำหรับการใช้ประโยชน์จากชากลุ่มนี้ สามารถใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาได้ทั้งชาใบและชาฝรั่ง ส่วนชาเขมร (Indo-china tea) จัดได้ว่าเป็นกลุ่มที่ไม่มีประโยชน์ในทางการค้า แต่จะนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการปรับปรุงพันธุ์ชาเป็นหลัก
  • พันธุ์ชาที่เหมาะสำหรับใช้ปลูกเพื่อแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม แบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้
  1. พันธุ์ชาสำหรับแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาใบ (ชาเขียว, ชาจีน)
    สำหรับแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาจีน ได้แก่ สายพันธุ์ชินชิง เบอร์ 12, สายพันธุ์อู่หลงก้านอ่อน, สายพันธุ์ชินชิงอู่หลง, สายพันธุ์สี่ฤดู, สายพันธุ์ทิกวนอิม

    สำหรับแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาเขียว ได้แก่ สายพันธุ์ยาบูกิตะ, สายพันธุ์ซายามะคาโอริ, สายพันธุ์โออิวาเสะ, สายพันธุ์แม่จอนหลวง เบอร์ 3, สายพันธุ์ฝาง เบอร์ 4, สายพันธุ์แม่จอนหลวง เบอร์ 2
  2. พันธุ์ชาสำหรับแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาฝรั่ง (ชาดำ หรือชาแดง)

    ได้แก่พันธุ์ชาในกลุ่มพันธุ์ชาอัสสัม เช่น สายพันธุ์อัสสัมใบจาง  สายพันธุ์อัสสัมใบเข้ม สายพันธุ์ลูไฉ่

     แหล่งน้ำ
     ควรเป็นพื้นที่ให้น้ำได้ในช่วงฤดูแล้ง
     การปลูกและดูแลรักษา
    1. การเลือกพื้นที่สร้างสวนชา
    พื้นที่ ๆ เหมาะสำหรับปลูกชา ควรมีดินที่ระบายน้ำได้ดี มีอินทรียวัตถุสูง ค่าความเป็นกรด-ด่าง
    (pH) เท่ากับ 4-6  และต้องมีแหล่งน้ำสำหรับชาในฤดูแล้ง
    2.  การเตรียมพื้นที่ปลูกและการย้ายปลูก

     มีการกำจัดวัชพืชเลือกพื้นที่ได้แล้วจะต้องทำการแผ้วถางวัชพืชออก อาจจะเหลือต้นไม้ขนาดใหญ่ไว้เป็นร่มเงาชาก็ได้ ถ้าเป็นพื้นที่ลาดชันควรทำขั้นบันได(กว้างไม่น้อยกว่า 150 ซม.) หรืออาจจะปลูกตามแนวระดับโดยไม่ขุดเป็นขั้นบันไดก็ได้ โดยให้ระยะระหว่างแถวปลูกประมาณ 2 ม.

    • สำหรับแหล่งปลูกที่เป็นพื้นราบ หรือบนที่ลาดชันที่มีการขุดขั้นบันได ทำการเตรียมหลุม โดยขุดเป็นร่องกว้าง 40 ซม. ลึก 40 ซม. ให้ระยะระหว่างร่องห่างกันประมาณ 180 ซม.(สำหรับพื้นที่ราบ) และให้ขุดเป็นร่องเดี่ยวกลางแนวขั้นบันได(สำหรับบนที่ลาดชันที่มีการขุดขั้นบันได) และขุดเป็นหลุมเดี่ยวขนาด 40x40 ซม.(เมื่อไม่ขุดขั้นบันได) ต้องถากเอาวัชพืชคลุกกับปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยรองก้นหลุมลงกลบไว้ในหลุมปลูก (เตรียมหลุมปลูกก่อนย้ายปลูกประมาณ 6 เดือน โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 2 ตัน/ไร่และหินฟอสเฟตอัตรา 50 กก./ไร่ สำหรับรองก้นหลุม)

    • สำหรับแหล่งปลูกที่ไม่มีระบบน้ำ ให้ทำการย้ายปลูกในช่วงต้นฤดูฝนด้วยต้นกล้าชาพันธุ์ดีที่มีอายุ 12-18  เดือน ลงปลูกโดยใช้ระยะระหว่างต้น 40 – 50 ซม.(สำหรับแปลงปลูกบนพื้นราบและบนที่ลาดชันที่มีการขุดขั้นบันได) ส่วนแปลงปลูกแบบเจาะหลุมใช้ระยะระหว่างต้น 50 – 60 ซม.(ตามความเหมาะสมในแต่ละสภาพพื้นที่)

      อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม อาชีพ.คอม
       ที่มา
       http://www.archeep.com/agricultural/tea.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น