วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน

การปรับปรุงดินให้มีสภาพเหมาะสมต่อการเพาะปลูก

โดยการคลุมหน้าดิน
ใบไม้และเศษพืชที่ปกคลุมผิวดิน หน้าดิน ช่วยลดการสูญเสียความชื้น หน้าดินอ่อน รากชอนไชหรือแทรกลงดินได้ดี ต้นไม้จะเริ่มอุดมสมบูรณ์
อาจจะเป็นวัสดุทางธรรมชาติอื่นๆอีกเช่น ฟางข้าว ตอซังพืช หญ้าแห้ง ใบไม้แห้ง ต้นถั่ว ขุยมะพร้าว กากอ้อย แกลบ ขี้ลีบข้าว รำหยาบ ขี้เลื่อย ขุยไผ่ ไส้ปอ เปลือกหรือกากมันสำปะหลัง หรือพลาสติกสำหรับคลุมหน้าดิน

ฟางข้าว มีอัตราการย่อยต่ำ มีคุณค่าทางอาหารต่ำ ฟางเป็นผลผลิตจากลำต้นแห้งของพืช เช่น ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวเจ้า ข้าวไรย์ ข้าวสาลี เป็นต้น คุณประโยชน์ของฟางข้าวได้มีผู้กล่าวไว้ว่า "ผู้ใดเผาฟาง ผู้นั้นกำลังเผาธนบัตรฉบับละ 100 บาท ฉบับละ 500 บาท จำนวนมากของตนเองทิ้ง"
ฟางข้าวประกอบไปด้วยแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และไนโตรเจน หากนำฟางไปคลุมดินจะทำให้พืชผักเจริญเติบโต แข็งแรง ทนต่อศัตรูพืช แต่มีข้อเสียคือระคายผิว

ฟางช่วยปรับโครงสร้างดินที่เป็นกรดหรือด่าง (ดินเป็นกรด Acid Soils หมายความว่าดินที่มีค่า ph ต่ำกว่า 7.0 ดินเป็นด่าง Alkaline Soils หมานถึงดินที่มีค่า ph สูงกว่า 7.0 ) หากไม่มีฟางปกคลุมดินเลย หน้าดินจะเสื่อมและสูญเสียอาหาร จากสายลม น้ำ และแสงแดด จนกลายเป็นดินด้าน แต่หากนำฟางไปคลุมจะเกิดหน้าดินอีกชั้นหนึง ช่วยคุมหญ้าและวัชพืช หากคุมพืชไว้นานโดยไม่ให้อากาศหรือแสงแดดส่องถึงพื้นจะกลายเป็นปุ๋ยหมักตามธรรมชาติอย่างดี "คล้ายรูปแบบต้นไม้ในป่าใหญ่ที่โคนต้นจะมีใบไม้ทับถมหลายชั้น จนเกิดเป็นปุ๋ยหมักตามธรรมชาติ" เกิดแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับพืชครบถ้วน และจุลินทรีย์ สัตว์ขนาดเล็ก เกิดเป็นวัฏจักรของสัตว์ที่มีประโยชน์ต่อดิน เช่น คางคก แย้ จิ้งเหลน แมงมุม แมลงศัตรูพืชจะค่อยๆหายไป หากนำไปใช้ในแปลงพืชพัก พืชพักก็จะดูแลตัวเองโดยที่เราไม่ต้องประคบประหงมมากนัก แถมด้วยการเกิดเห็ดฟางให้เรากินอีกด้วย

ต้นถั่ว โครงสร้างของเปลือกถั่วและเนื้อในเมล็ดมีใยอาหารสูง

ขุยมะพร้าว คือ เปลือกมะพร้าวที่ปั่นเอาใยออก หรือปั่นให้ใยละเอียดเป็นขุยๆละเอียดประมาณเม็ดทราย แห้งสนิท มีคุณสมบัติเบา อุ้มน้ำได้ดี เก็บความชื้นไว้ได้นาน

หญ้าแห้ง ควรตัดหย้าที่แก่เต็มที่ เพราะมีใยอาหารสูงและลิกนินในพืช น้ำระเหยออกจากต้นได้ช้า

แกลบRice Husk คือผลผลิตจากการสีข้าวในโรงสีจากการผลิตข้าวสาร แกลบเป็นแปลือกของข้าวสาร ข้าวสารมีเมล็ดรูปทรงรี สีเหลืองอมน้ำตาลหรือเหลืองนวล แกลบข้าวยังเป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นวัสดุก่อสร้างได้อีกด้วยซึ่งเป็นส่วนผสมในการทำอิฐ ด้านการเกษตรใช้ผสมเพื่อปรับสภาพดิน ทำปุ๋ยหมักใช้กันความชื้นในคอกสัตว์ อีกทั้งเป็นส่วนผสมในการผลิตซีเมนต์ ส่วนในด้านพลังงานใช้เป็นเชื้อเพลิง เช่น ใช้ทำแท่งถ่านอัดขี้เถ้าแกลบ เพื่อเป็นเชื้อเพลิง เผาเป็นขี้เถ้าขาวจนสภาพเป็นด่าง ใช้เป็นส่วนผสมของสบู่ ยาสระผม และน้ำยาล้างจาน ดูดซับก๊าซจากกระบวนการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม

ข้าวไรย์ Rye หนึ่งในพืชตระกูลข้าวสาลี ลักษณะคล้ายคลึงกันกับข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์มาก แปรรูปทำเป็นแป้ง ขนมปัง วิสกี้และเบียร์


ลดการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร

ฟางข้าว ตอซังข้าว อุดมไปด้วยแร่ธาตุ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และไนโตรเจน เมื่อเกษตรกรเผาทำลายเศษพืชในแต่ละครั้งของฤดูกาลเก็บเกี่ยว แร่ธาตุดังกล่าวลดลงจนไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช หากเผาทำลายบ่อยครั้งหรือทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยวดินเริ่มด้าน แข็ง เกาะกันเป็นก้อนขนาดใหญ่ ไม่ร่วนซุย แม้กระทั่งปล่อยน้ำเข้านาแล้ว หากลองเหยียบดูดินยังคงแข็ง เหยียบไม่จมเท้า ปัญหาที่สำคัญอีกประหนึ่งคือ ระบบรากของต้นพืชอ่อนแอ รากพืชจะดูดวับแร่ธาตุต่างๆได้ที่ปลายรากพืช เมื่อดินแข็งด้าน รากไม่สามารถชอนไชลงดินได้ เมื่อระบบรากอ่อนแอ ต้นข้าวไม่สมบูรณ์ รวงข้าวที่ได้เล็ก แต่ทำไมเกษตรกรยังคงเผา รวบรวมสาเหตุไว้ดังนี้
1. เผาตอซังข้าวทิ้งไป เพื่อปรับหน้าดินให้เสมอได้ง่ายขึ้นเพื่อพร้อมทำนาในครั้งต่อไป
2.เผาเพื่อช่วยให้การไถนาง่ายขึ้น ฟางจะได้ไม่ติดควานไถ

ปัญหาการเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะแต่เกษตรกร แต่ปัญหาได้เกิดขึ้นกับประชาชนในเขตเมืองด้วย ดังตัวอย่างภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย อาทิ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง เชียงราย ปริมาณฝุ่นละอองในอากาศเล็กกว่า 10 ไมครอน และสูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน โดยวัดค่าได้สูงสุด 175.96 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร วึ่งค่ามาตรฐานอยู่ที่ 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ( สถานีตรวจวัดอากาศแบบอัตโนมัติของกรมควบคุมมลพิษ) การแก้ปัญกาเฉพาะหน้าก็ทำได้เพียงการรดน้ำบนถนน ฉีดน้ำจากที่สูง แต่ปัญหาก็ไม่ได้คลี่คลายลงและเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์

ลดการพังทลายของหน้าดิน
เพื่อลดการแพร่กระจายภาวะดินเค็ม  ดินเปรี้ยว อันนำไปสู่การสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดิน
วิธีแก้ไข
ปลูกหญ้าแฝก เพื่ลดการชะล้างหญ้าดินจากน้ำฝนไหลพัดพาหน้าดินออก ลดความรุนแรงและความเร็วของน้ำ รักษาความชุ่มชื้น ดักตะกอนน้ำและคุมวัชพืชไม่ให้เจริญเติบโตเต็มที่

เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด เป็นการให้ธาตุอาหารหลักแก่พืช ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุแก่พืช สร้างจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดินและพืช เป็นการปล่อยธาตุอาหารให้กับพืชแบบช้าๆ เพื่อลดการสูญเสียธาตุอาหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น