วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปุ๋ยเขียว บำรุงดิน เพิ่มผลผลิตข้าว

ปุ๋ยในการบำรุงดิน นาข้าว
1. ปุ๋ยขี้ไก่ หากหาปุ๋ยไก่พันธุ์ไก่ไข่และเปลือกไข่ได้ยิ่งเป็นประโยชน์ ใส่ไร่ละ 50 กิโลกรัม  หากใส่เกินดินอาจจะเค็มได้ (ควรตรวจสอบคุุณภาพ เช็คประวัติ ขี้ไก่ด้วยว่า ล้างเล้าด้วยโซดาไฟหรือไม่ เพราะโซดาไฟทำให้ต้นไม้ตาย  หากมีเวลาควรดูโรงงานผลิตด้วยเพราะบางที่เอาเศษขี้ไก้ธรรมดามาอัดเม็ดแล้วก็ฉีดปุ๋ยน้ำใส่เข้าไป)

2. ขี้วัวแห้ง มีธาตุไนโตรเจนสูง ขี้วัวผสมเศษไม้ใบหญ้า ไถกลบตอซังข้าว เพื่อเพิ่มปุ๋ยในนาข้าว จากนั้นเสริมด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี นทุนการผลสังเกตผลผลิตที่ได้ ในปีต่อๆไปลองลดปุ๋ยเคมีลงเพื่อลดต้นทุนการผลิต    การใส่ขี้วัวนั้นมีข้อเสียคือเมื่อหว่านนาข้าวหญ้าจะขึ้นตอนข้าวเริ่มโต

ขึ้วัวจะมีเมล็ดพืชและตัวอ่อนแมลงกำจัดโดบการหมักชีวภาพเพื่อให้เกิดความร้อนทำลายเมล็ดวัชพืช

3. ปลูกปอเทืองลงนาข้าวเพื่อเพิ่มธาตุไนโตรเจน ให้ข้าวใบเขียวสวย ตั้งตรง หากไม่มีปอเทือง ปลูกพืชอย่างอื่นเสริมก็ได้ธาตุไนโตรเจนเหมือนกัน เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วพร้า หรือแหนแดงเมื่อเริ่มปลูกข้าว ติดต่อขอพันธุ์ได้ที่รัฐ หมอดินประจำตำบล

4.การใช้มูลสุกรในนาข้าว มูลสุกรมีกลิ่นแรงและเน่าเสีย โรยด้วยแกลบข้าว กวาดไว้แล้วนำไปตากแห้ง เก็บใส่กระสอบไว้ใช้โรยในนาข้าวก่อนการไถนา หรือบรรจุใส่กระสอบเพื่อการค้า  อีกหนึ่งวิธีคือ น้ำล้างมูลสุกรซึ่งถูกเก็บในบ่อพักซึ่งมันเป็นน้ำเสีย มีกลิ่นเหม็น เชื้อโรคเยอะ จึงต้องเติมจุลินทรีย์ และ อาหารจุลินทรีย์ เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำขี้หมู หรือใช้วิธีของสำนักงานพัฒนาที่ดินด้วยสูตร พด.6 วึ่งจะแจกฟรี เพียงยื่นบัตรประชาชน กรอกแบบฟอร์มชื่อที่อยู่ให้ชัดเจน

5. ฟางข้าว การไถกลบตอซังข้าว ด้วยการไถตอซังข้าวสดๆ ได้ผลดีมาก ความชื้นในดินเยอะมาก ยามต้นข้าวขาดน้ำในดินยังมีความชื้นอยู่ ข้าวยังคงความเขียวได้นานขึ้น นอกจากนี้ยังมีวิธีการหมักฟางแห้งโดยปล่อยฟางข้าวไว้เฉยๆแล้วปั่นหรือย่ำฟาง หลังจากนั้นปลูกพืชคลุมดินเช่นถั่วหรือปอเทืองเพื่อเพิ่มธาตุอาหารดินก่อนปลูกข้าวในฤดูถัดไป

6. กาบมะพร้าว ปรับปรุงดินเฉพาะผิวดินลึกลง 30 เซนติเมตร รากพืชในระยะนี้เช่น พืชผัก ใช้ประโยชน์จากอินทรีย์วัตถุ หากถ้าดินเป็นกรดใส่เศษถ่านเผา ลดความเป็นกรด เศษถ่านเผามีฤทธิ์เป็นด่าง
หากดินเป็นดินเหนียวแข็งใส่แกลบสดและแกลบดำ และปุ๋ยคอกจะทำให้ดินร่วนซุยขึ้นและต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร หากต้องการความรวดเร็วหาดินที่ร่วนซุย มีอินทรีย์วัตถุมาเพิ่มลงแปลงปลูกดินมีความพรุนตัวมากขึ้น อากาศในดินมากขึ้นต้นไม้จะไม่เครียด

แต่อันที่จริงประโยชน์ของดินเหนียวก็มีอีกเช่นกัน  ดินเหนียวเก็บน้ำได้นาน โดยการคลุมฟางและโรยแกลบ สามารถทำให้ดินชุ่มตลอดเดือน (หากสามารถให้น้ำได้ ควรรดน้ำทุกวันดินจะร่วมซุยยิ่งขึ้น

ตัวช่วยให้ดินร่วนซุยอีกชนิดหนึงคือ ไส้เดือน แมลง จุลินทรีย์ กลไกของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ทำให้ดินแข็งเป็นดินร่วนซุยขึ้น  มีความอุดมสมบูรณ์ ร่วนซุยขึ้น ระบายน้ำได้ดี ซึ่งปัจจัยดังกล่าวต้องใช้เวลาพอสมควร

7. ปุ๋ยหมักผักตบชวา  ผักตบชวาเป็นวัสดุใกล้ตัวและเหลือใช้ทางการเกษตรและมีปริมาณจำนวนมาก สามารถนำมาทำปุ๋ยหมักโดยใช้สูตรปุ๋ยหมัก พด.1  พด.2  พด.3  ของกรมพัฒนาที่ดิน การทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวานั้นเหมาะสำหรับการนำไปใช้ ในจำนวนไร่ที่น้อย หากคำนึงถึงขั้นตอน แรงงาน ค่าใช้จ่าย

ผู้ที่มีจำนวนไร่เยอะแต่ไม่มีแรงงาน หรือค่าใช้จ่ายพอ การใช้ประโยชน์จากผักตบชวาจึงเหมาะกับวิธีการไถ่กลบมากกว่า  หากทำการเกษตรบนเนื้อที่ 10 ไร่ การไถ่กลบผักตบชวาเป็นทางเลือกที่ดีกว่า แต่ข้อเสียมีดังนี้ ผักตบชวาย่อยสลายค่อนข้างยากเปื่อยและย่อยสลายให้ทันภายใน 1-2 สัปดาห์ไม่ทัน

ธาตุอาหารที่จะได้จากผักตบชวา ผักตบชวาเป็นพืชเจริญในน้ำจึงดูดและลำเลียงธาตุอาหารทางน้ำ หากเป็นน้ำที่ปบเปื้อนสารพิษมากๆ ผักตบชวาก็จะดูดมาเก็บไว้ในต้น เป็นการบำบัดชีววิธีอย่างหนึง การนำผักตบชวาไปใช้ประโยชน์จึงได้ธาตุอาหารจำนวนมากตามไปด้วย

8.ขี้เลื่อยไม้ นำไปทำปุ๋ยหมักโดยโรยลงไปบนคอกวัวเพื่อดับกลิ่นและให้วัวย่ำเพื่อเพิ่มอากาศในกองปุ๋ย ประมาณครึ่งปีจะกลายเป็นปุ๋ยในที่สุด นับว่านานพอสมควร

9. แหนแดง นำไปหมักเป็นปุ๋ยพืชสดโดยหมักกับอินทรีวัตถุอื่นๆหรือฟางข้าว หรือสิ่งของใกล้ตัวอื่นๆ จะได้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนและฟอสฟอรัสสูงกว่าปุ๋ยพืชสดชนิดอื่นๆ

10. วัสดุที่ได้จากไบโอแก๊ส ที่ผ่านการหมักและย่อยสลายมาแล้ว มีความเข้มข้นสูง ก่อนนำไปใช้บำรุงพืชต้องผสมดินก่อนนำไปใช้รากพืชจึงจะปลอดภัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น