วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เพกา

เพกา
ต้นเพกาหรือลิ้นฟ้า หรือมะลิตไม้ ต้นเพกามีความสูง 10-15 เมตร เป็นไม้เนื้ออ่อน ทนความร้อนทำหน้าที่ฉนวนได้ดีเช่นเปลือกไม้เพกา นำมารองมือในการยกหม้อ ในสมัยโบราณ


พันธุ์เพกา
-เพชรโนนผึ้ง
-เพกาพันธุ์เตี้ย
-พันธุ์เนื้อ
-พันธุ์บาง


ขยายพันธุ์
-การปักชำ
-การสกัดราก




การติดผลเพกา
ต้นเพกาออกดอกดกมาก ออกดอกต้นละกิ่งดอกเต็มช่อ ดอกบานเต็มที่ในเวลากลางคืน  แต่ส่วนใหญ่เกสรไม่ผสมกันดอกจึงร่วงลงพื้น ในทางธรรมชาติค้างคาวเล็บกุดเป็นสัตว์ที่ช่วยผสมเกสรเพราะค้างคาว (ค้างคาวเล็ก ค้างคาวกล้วย)หากินในเวลากลางคืนดูดกินน้ำหวานจากดอกเพกา ในกรณีที่พื้นที่ปลูกเพกาไม่มีค้างคาวการผสมเกสรก็จะได้น้อยลงจากแมลงกลางคืนชนิดอื่นๆ เช่น ผีเสื้อ

การปลูกเพกาแทรกระหว่างต้นไม้ใหญ่อื่นๆเพื่อลดอากาศร้อนลงไม่ให้รังไข่ฝ่อพร้อมการผสมพันธุ์

การผสมเกสรด้วยเทคนิค ต้นเพกามีความสูงมากจึงต้องตัดให้กิ่งใหม่งอกออกมา ตัดประมาณหัวเข่า 50-70 เซนติเมตร  และไม่ควรเอาไว้กิ่งเยอะเพราะจะแย่งอาหารและน้ำ แสงแดดกัน การช่วยผสมเกสรเพื่อให้ติดดอกทำได้ง่ายขึ้น หากผสมเกสรแล้วดอกยังร่วงแสดงว่าต้นเพกาอาจจะไม่สมบูรณ์

สารอาหาร
วิตามินซีสูง

การอาหาร
ผัดน้ำมันหอย , กินเพกาสดกับน้ำพริก ,ลวกจิ้มกับน้ำพริก, เพกาผัดไข่ ,คั่วผักเพกาอ่อน, ,แกงคั่วเพกาอ่อน, ยอดเพกาผัดหมู, รสชาติของเมนูอาหารออกขม หวานเล็กน้อย
ซุปดอกลิ้นฟ้า ,กินกับลาบก้อย
ทานกับน้ำพริก จะทำให้อาหารมีรสเผ็ดมากขึ้น
-การทำให้เพการสขมน้อยลง โดยนำไปปิ้งให้แห้งจะยิ่งขมน้อยลง แล้วไม่ให้โดนน้ำ ถ้านำไปต้มจะขมกว่าปิ้งไฟ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น