วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มะม่วง

มะม่วง

สายพันธุ์มะม่วง
-มะม่วงแก้ว
-มะม่วงอีทูอาร์ทู
-มะม่วงน้ำดอกไม้
-มะม่วงอกร่อง
-มะม่วงเขียวเสวย
-แก้วเกษตร หรือ แก้วขมิ้น หรือแก้วเขมร 1 ปี ออกลูก 2 ครั้ง เมล้ดเล็กและบางมาก 1 ลูกหนัก 4-5 ขีด เนื้อมีสีเหลือง

การปลูก
การเพาะเมล็ด  
1.ใช้กรรไกรตัดแต่งกิ่งตัดเปลือกที่หุ้มเมล็ดออก จะได้เมล็ดที่ไม่มีเปลือก
2. จัดเตรียมแปลงเพาะ ใช้ดินผสมกับแกลบดำ ดินจะร่วนซุยขึ้น
3. นำเมล็ดที่เตรียมไว้เพาะในแปลงโดยเอาส่วนที่โค้งมากขึ้นด้านบน กลบดินพอท่วมหลังเมล็ด
4. รดน้ำจนต้นกล้ามีใบจริง 3-5 ใบ ถอนแยกออกลงถุงดำ (ใช้ดินกับแกลบดำผสมกัน1/1) ระวังรากแก้วขาด หากขาดอย่าให้ขาดชิดโค่นต้น  ตัดใบออกครึ่งใบทุกใบยกเว้นยอด เพื่อลดการคายน้ำ เลี้ยงจนต่อมีขนาดที่ต้องการ

การแต่งกิ่งมะม่วง
การตัดแต่งกิ่งมะม่วงทำหลังจากเก็บผลผลิตหมดแล้ว โดนตัดแต่งกิ่งกระโดงออก (บริเวณกลางทรงพุ่ม) เพื่อให้แสงสาดเข้าไปกลางทรงพุ่มได้ และการตัดกิ่งอีกแบบคือ การตัดกิ่งแขนงออกโดยตัดกิ่งด้านข้างออกเพราะการรับน้ำหนักผลไม้จะไม่ดี ทำให้ทรงพุ่มทึบไม่โปร่งแสง เหลือไว้แต่เพียงกิ่งหลักเพราะการส่งอาหารและรับน้ำหนักดี

การขยายพันธุ์
โดยเมล็ด
การทำต้นตอมะม่วง



การติดลูกมะม่วง
แปรโดยตรงจากสภาพอากาศและ ความชื้น

การห่อมะม่วงกันแมลง
ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์แล้วให้ที่เย็บกระดาษยึด แล้วห่อด้วยถุงก็อบแก๊บ 6*14 มัดแล้วพันให้แน่นให้ถุงพันรอบขั้ว แมลงจะไม่สามารถไต่ลงไปเจาะมะม่วงได้ วิธีนี้ใช้ได้กับกระท้อนและฝรั่งด้วย สุดท้ายเจาะรูเล็กๆไว้ระบายน้ำด้วย

การเก็บเกี่ยว
-เมื่อมะม่วงผลแก่ ผลอวบ นูน สีนวล ก้นเหลือง ลูกที่แก่น้ำหนักจะมากกว่าลูกอ่อนเมื่อมีขนาดเท่ากัน
และสังเกตยางที่ขั้วจะเป็นสีใส หรือบางท่านอาจจะสังเกตก้านเล็กๆเหนือผลมะม่วงหากสุกได้ที่ ก้านจะแห้งและเปราะ

-มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้เมื่อลูกแก่จะมีสีนวลมองดูคล้ายมีแป้งมาทาไว้ ก้นจะเริ่มเหลืองก่อน จึงจะเก็บเอามาบ่มโดยเอาด้านขั้วมะม่วงวางคว่ำลงซึ่งเมื่อสุกจะพร้อมกันทั้งลูก

โรคและปัญหา
-เพลี้ยไฟ ตัวออกเขียวเหลือง ใส ตัวขนาดเล็ก มองแทบไม่เห็น ตาดอก ตาใบ มียางสีขาวๆซึมออกมาเป็นหยดเนื่องมาจากมีบาดแผลโดยแมลงปากกัด ทำให้เกิดบาดแผลได้ หากต้นมะม่วงมียอดอ่อนควรใช้ยาป้องกันและกำจัด

-โรคผลแตก สาเหตุเกิดจากต้นพืชว่างเว้นจากการได้รับน้ำมานาน เมื่อได้รับน้ำในปริมาณมากเกิน เกิดการขยายตัวของผนังเซลล์อย่างรวดเร็วจึงทำให้ผลแตก หรืออีกเหตุผลหนึ่งคือเข้าหน้าฝนพอดีต้นมะม่วงได้รับธาตุ N จากน้ำฝนมากเกินไปเนื่องจากธาตุไนโตรเจนทำให้เกิดเซลล์แบ่งตัวทำให้ผิวมะม่วงแตก  ลักษณะนี้ยังจะทำให้เกิดโรคซ้ำซ้อนเช่น โรคผลเน่า วิธีการป้องกันและแก้ไขคือการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำและหลีกเลี่ยงการให้น้ำเกินความจำเป็นแก่พืช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น