วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

ผักกาดเขียวปลี

ผักกาดเขียวปลี 




ผักกาดเขียวปลี  Mustard greens or Indian mustard or Chinese mustard or Leaf mustard or ผักโสภณ
คนจีนเรียกผักกาดเขียวปลีว่า "ต้๋วฉ่าย"(tua chai) หรือ Gai chai ในภาษาเขียน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica juncea ใช้ระยะการปลูกสั้น ชอบอากาศหนาวเพราะจะทำให้ปลีภายในยิ่งใหญ่ อวบและกรอบมาก

ผักกาดเขียวปลีเป็นพืชจากผักกาดเขียว จัดเป็นผักใบสีเขียว ที่ตัดใบออกให้เหลือแต่ปลีกลมๆภายใน มีลักษณะปลีกลม ยิ่งอากาศหนาวปลียิ่งใหญ่ อวบ กรอบ ในประเทศไทยพื้นที่ภาคเหนือนิยมปลูก ผักกาดเขียวปลีเป็นพืชตระกูลเดียวกับผักกาดหอม คะน้า ส่วนของผักที่ใช้บริโภคเป็นใบ ลำต้น

ผักกาดเขียวมีรสขมมาก การปรุงอาหารจึงต้องนำมาลวกน้ำร้อนก่อนแล้วแช่น้ำเย็นก่อนนำไปผัดเป็นเมนูขึ้นโต๊ะ

สารอาหาร
ผักกาดเขียวปลีให้สารอาหาร วิตามิน เอ วิตามิน เค  แคลเซียม

อาหาร
ไม่เพียงแต่ไทยที่บริโภคผักกาดเขียวเป็นหรอก ประเทศอย่างแอฟริกา อิตาลี อินเดีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อาหารของชาวแอฟริกาในอเมริกา(soul food) เมนูอาหารของพวกเค้าก็อย่างเราๆนี้แหละ ผัดผักในน้ำมัน ผักดอก(canning) ผักกาดดองกระป๋อง มาการีน ต่างประเทศยังนิยมนำเมล็ดผักกาดไปทำมัสตาด น้ำมันพืชจากเมล็ดผักกาดและเป็นหนึ่งในน้ำมันพืชที่ดีที่สุดอีกด้วย

ชาวรัสเซีย ชอบนำเมล็ดผักกาดไปทำน้ำมันเมล็ดผักกาดเพราะเชื่อว่าเป็นหนึ่งในน้ำมันที่ดีที่สุด เมนูอาหารที่นำผักกาดไปทำเช่น มาการีน การดองหรือถนอมอาหาร การทำขนม มาการีนเป็นที่นิยมชมชอบของชาวรัสเซียมากที่สุด

ใบผักกาด เมล็ด ลำต้น ชาวแอฟริกา เนบาล จังหวัดPunjab (อ่านว่า Panjab)ในประเทศอินเดีย ปากีสถานนำมาประกอบอาหารทั้งหมดและ จะเรียกผักกาดเขียวปลีว่า Sarson da saag โดยเฉพาะชาวอินเดียนิยมมัสตาดมากที่สุุดซึ่งมัสตาดของพวกเค้าผลิตจากเมล็ดผักกาดเขียวและผลที่ได้มัสตาดจะมีสีน้ำตาล
(เมนูอย่างผัดผักรวม เรียกว่า "achar")

ผักกาดเขียวปลีเป็นพืชตระกูลเดียวกับคะน้า กระหล่ำ collard greensgเป็นผักชนิดหนึ่งคล้ายคะน้ามาก เมนูอาหารจึงไม่พ้นพวกผัดกับน้ำมัน การผัดผักรวมกับผักสีเขียวชนิดอื่น หรือผักสีอื่นๆ ใส่เนื้อสัตว์ เนื้อหมู ต่างๆ

ในเมนูอาหารจีนและญี่ปุ่น มีความคล้ายคลึงกันชอบใส่ผักกาดเขียวปลีเป็นส่วนประกอบในอาหาร เช่น Takana ซึ่งจริงๆแล้วก็คล้ายผัดผักในไทย อีกอย่างที่ชาวจีนและญี่ปุ่นนำผักกาดเขียวไปทำอาหารคือสตู ซึ่งทำกับมะขามและพริก

Reference: wikipedia.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น