วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ต้นกระท้อน

กระท้อน
กระท้อน


ลำต้น



ดอกกระท้อน




การกำเนิดและการแพร่กระจาย
กระท้อนเป็นพืชพันธุ์พื้นเมืองของกลุ่มประเทศอินโดจีน(กัมพูชา ลาว เวียดนาม สิงค์โปร์ พม่า มาเลเซีย) และคาบสมุทรมาเลเซีย ซึ่งเผยแพร่มาจาก ศรีลังกา มอริเซียส และฟิลิปปินส์ กระท้อนถูกเรียกเป็นหลายชื่อเช่น Lolly fruit , yamapi กระท้อนจึงเป็นที่นิยมและแพร่หลายในภูมิภาคดังกล่าวข้างต้น เป็นผลไม้ที่นิยมทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กระท้อนเมื่อสุกจะมีทั้งสายพันธุ์ที่มีสีแดงและสีเหลือง ซึ่งสีของกระท้อนจะปรากฏเมื่อใบกระท้อนเริ่มร่วง  ใบกระท้อนมีสีผสมระหว่างสีเขียวและสีแดงซึ่งไปตัดกับสีของผลกระท้อน ต้นกระท้อนจึงดึงดูดสายตาผู้ชมได้มาก ลูกกระท้อนเมื่อยังเล็กมีสีเขียวเมื่อแก่จะเริ่มออกสีเหลือง จนเหลืองเต็มที่ ขนาด รูปร่าง จะใหญ่ขึ้นผิวค่อนข้างลื่น คล้ายผ้ากำมะหยี่ ผิวมีเปลือกหนา ภายในมีเยื่อขาวๆติดกับเมล็ดให้รสชาติหวานหรือออกเปรี้ยวนิดหน่อย ส่วนเมล็ดรับประทานไม่ได้ เพราะมีขนาดใหญ่ ในกระท้อนบางชนิดที่มีเปลือกหนา แต่เปลือกที่หนาเมื่อเอาผิวออกก็รับประทานได้ เช่นส้มตำกระท้อน จริงๆแล้วผลกระท้อนกินได้ทุกส่วนยกเว้นเมล็ด ในส่วนของวิธีการกิน อาจใช้ช้อนตักกินเนื้อกระท้อน ก็รับประทานได้ง่ายและทันที


สายพันธุ์กระท้อน
-อีล่า
-ปุยฝ้าย



การใช้งาน
เมื่อผลกระท้อนสุกวิธีเก็บเกี่ยว ส่วนใหญ่ปีนขึ้นเก็บได้เลยหรือ ใช้ไม้มีง่ามแข็งสอยเอาก็ได้ ปีนบันไดเก็บก็ได้หากต้นไม่สูงมากนัก
-ผ่าเป็นซี่ๆรับประทานกับพริกเกลือ(น้ำตาล พริก และเกลือผสมกัน) รสเผ็ดหรือหวานตามใจชอบ
เมื่อผลสุกงอมน้ำไปทำเป็นแยมได้
-นำกระท้อนไปแกงกระท้อน แกงกับกะทิและจำพวกเนื้อสัตว์ต่างๆกับพริกแกงไทย) จะเหมือนกับ Bicol อาหารฟิลิปปินส์
-ส่วนเมล็ดรับประทานไม่ได้เพราะมีขนาดใหญ่ เพราะจะทำให้ถ่ายลำบาก
-อาหารไทยนำกระท้อนไปตำส้มแทนมะละกอ โดยใช้พันธุ์ที่มีเนื้อกระท้อนเยอะ โดยเน้นลูกที่ยังไม่สุกเต็มที่ (กระท้อนปุยฝ้ายเนื้อเยอะ ลูกใหญ่)
-น้ำดื่มกระท้อน acid drop
-กระท้อนดอง
-กระท้อนแยม
-ไอติมรสกระท้อน
-แกง ฮังเล เป็นอาหารสไตส์ชาวพม่า โดยแกงกับเนื้อสัตว์ เป็นอาหารพื้นบ้านล้านนา
-แกงหมูกระท้อน
-แกงคั่วกระท้อนกุ้ง
-ใช้แกนไม้กระท้อนเป็นแบบในงานก่อสร้าง ใบและเปลือกไม้มีสรรพคุณเป็นยาพอก ลดการอักเสบ
-สารสกัดจากเมล็ดกระท้อนเป็นสารฆ่าแมลง

การเพาะปลูก
กระท้อนเป็นพืชในเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีบริเวณที่มีสารอินทรีย์ซึ่งรากจะลงดินลึก กระท้อนเจริญได้ดีบริเวณฝนตกกระจายตลอดปี เป็นพืชทนแล้ง เก็บผลผลิตได้หลังจากปลูก 5-7 ปี หากตอนกิ่ง 3-4 ปีก็เก็บเกี่ยวผลผลิตได้

การดูแลกระท้อนก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตตัดแต่งกิ่ง ให้โปร่ง ได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง ตรวจดูแลกิ่งและใบให้มีความสมบูรณ์เพื่อลูกกระท้อนที่แก่จะไม่บิดเบี้ยว ลูกใหญ่ เนื้อฟู เสริมด้วยปุ๋ยสูตร 13-13-21 และปุ๋ยหวาน 0-0-60 ใส่ขณะลูกกระท้อนยังมีขนาดเล็ก(ขนาดเท่าผลมะนาว)

การห่อกระท้อนป้องกันแมลง 
ห่อด้วยถุงห่อผลไม้โดยเฉพาะ เพื่อกันแมลงเจาะ ผลไม้หลุดร่วง


การเก็บเกี่ยว
เมื่อผลกระท้อนเริ่มเหลือง หรือสีเหลืองอมส้ม เนื้อที่ได้จะฉ่ำทานอร่อย แต่เนื่องจากผลกระท้อนต้องห่อผลกันแมลง หนอนเจาะ จึงค่อนข้างสังเกตยากในการเก็บเกี่ยว


โรคและศัตรู
-แมลงวันทอง



อ้างอิง
wikipedia


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น