วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ใบย่านาง

ใบย่านาง




รอลงรูปภาพ









ประเทศเวียดนามนำใบย่านางมาทำขนมแสนอร่อย ชื่อว่า Vine jelly หรือเรียกในภาษาเวียดนามว่า "Suong sam" เป็นอาหารคลายร้อนให้ความสดชื่นยามอากาศร้อน รับประทานกับน้ำแข็งและน้ำเชื่อม ตัวเยลลี่มีความหวาน อ่อนนุ่ม หั่นเป็นชิ้น ตัดเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู

ในภาษาอังกฤษเรียกใบย่านางว่า Bai ya nang หรือ Ya nang young leaves
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tiliacora triandra
ลักษณะ เถากลม มีสีเขียว ใบสีเขียวสด เป็นใบเดี่ยว ดอกขนาดเล็กสีเหลืองแยกเพศกัน ดังนั้นใบย่านางเป็นflowering plantหรือแปลว่าพืชดอก มีความหมายว่า เป็นพืชที่มีดอกไม้และเมล็ดเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเมล็ดจะกลายเป็นผลไม้

การปลูก
ปลูกได้ในดินทุกชนิด ปลูกได้ทุกฤดูกาล


ใบย่านาง หรือ เพียงย่านาง ยานาง เป็นสายพันธุ์พื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนมากนำใบย่านางประกอบอาหารและสรรพคุณทางยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยหรืออีสานนิยมนำมาแกงหน่อไม้ ประเทศลาวก็เรียกใบย่านางในภาษาลาวว่าใบย่านางเช่นกัน

อาหารของคนภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นำใบย่านางมาประกอบอาหารแกงหน่อไม้ kaeng no mai บางครั้งเรียกว่าแกงลาว kaeng lao เพราะผู้ที่อาศัยอยู่อีสานของไทยมีประชาชนประเทศลาวจำนวนมาก  เช่น ซุปหน่อไม้ ( a chili-hot tasting soup ) ซุปหน่อไม้ทำจากหน่อไม้ พริกเกลือ  เห็ดนางรม เห็ดฟาง ชะอม หรือส่วนประกอบผักชนิดอื่นก็ได้ การใส่ใบย่านางจะคั้นเอาแต่น้ำสดโดยการขยี้กับมือ หากใส่ทั้งใบจะค่อยข้างเหม็นเขียว (อาจเป็นน้ำคั้นใบย่านางสดหรือแบบกระป๋องก็ได้)

ประเทศกัมพูชา ใบย่านางเป็นส่วนผสมในการทำซุปเปรี้ยว เรียกว่า "samlar machu"

ประโยชน์และสารอาหาร
ย่านางเป็นสมุนไพรเย็น อุดมไปด้วยคลอโรฟิลล์ มีคุณสมบัติช่วยแก้พิษในหน่อไม้ ช่วงกระแสดังเคยเป็นน้ำคลอโรฟิลล์ยอดนิยม

ผลิตภัณฑ์ใบย่านาง
สบู่ใบย่านาง ใบย่านางแคปซูล
ใบย่านางพร้อมดื่มผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำตาล น้ำใบเตยหรือน้ำมันมะพร้าว
ชาใบย่านาง
ครีมใบย่านาง
เอนไซม์ใบย่านาง








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น