วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พันธ์ข้าวลูกผสม ผ่าทางตันวิกฤตข้าวไทย

พันธุ์ข้าวลูกผสม ผ่าทางตันวิกฤตข้าวไทย

‘ราคาข้าวยังพุ่งไม่หยุด’ พาดหัวข่าวปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับ ต่อเนื่องมานานหลายสัปดาห์ บ่งบอกถึงสัญญาณบางอย่างที่ทุกฝ่ายต้องเตรียมการรับมือ และหาทางแก้ไข ซึ่งทางแก้ที่ดีที่สุดในมุมมองของนักวิจัย คือการค้นหาพันธุ์ข้าวที่ให้ปริมาณผลผลิตสูง เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค โดยใช้เทคนิคปรับปรุงพันธุ์ “ข้าวลูกผสม”

สถานการณ์ราคาข้าวผันผวน เริ่มส่งสัญญาณตั้งแต่เดือนต้นปี 2551 จนถึงเดือนเมษายน และยังไม่มีวี่แววที่จะลดลง เหตุผลประการหนึ่งมาจากภาวะความแปรปรวนของสภาพอากาศ พายุไซโครน ทำให้ปริมาณผลผลิตในประเทศส่งออกข้าวเสียหาย ไม่ว่าจะเป็น เวียดนาม พม่า แม้กระทั่งอินเดีย ที่เจอกับภัยแล้ง ฝนฟ้าไม่เอื้ออำนวย เป็นสาเหตุให้ปริมาณสำรองข้าวในตลาดโลกลดลงอย่างเห็นได้ชัด

แต่สิ่งที่ทำให้ตลาดโลกตื่นเต้นกันยกใหญ่ มาจากการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระบุว่า ปรากฏการณ์ธรรมชาติเอลนีโญ อาจเวียนกลับมาอีกรอบในปีนี้ และส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนข้าวครั้งใหญ่ ทำให้ทุกประเทศเร่งกักตุนข้าว ดันให้ราคาข้าวในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นไปอีก

 ดร. ปัทมา ศิริปัญญานักวิจัยและรองคณะบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

ดร.ปัทมา ศิริธัญญา นักวิจัยและรองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง กล่าวในงานเสวนาคุยกันฉันท์วิทย์ พันธุ์ข้าวลูกผสม...ความหวังที่อุดมด้วยผลผลิต ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ทางออกที่จะสามารถแก้ปัญหาข้าวขาดตลาดได้นั้น คือการเพิ่มปริมาณผลผลิตด้วยการปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งแนวโน้มของนักปรับปรุงพันธุ์หลายประเทศมุ่งหน้าพัฒนาคือ “ข้าวลูกผสม” จากเทคนิคผสมข้ามพันธุ์ เพื่อให้ได้ข้าวที่มีปริมาณผลผลิตสูงและต้านทานโรคแมลง


ศ. หยวน ลองปิง บิดาแห่งเทคโนโลยีข้าวลูกผสม

จุดเริ่มต้นของข้าวลูกผสมมาจากประเทศจีน จากเหตุผลที่ปริมาณข้าวไม่เพียงพอต่อการบริโภคของคนในประเทศ ส่งผลให้ ศ.หยวน ลองปิง (Prof.Yuan Longping) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวลูกผสมแห่งจีน (China National Hybrid Rice R&D Center) ได้รับยกย่องให้เป็น บิดาแห่งพันธุ์ข้าวลูกผสม ซึ่งเป็นแนวทางให้นักวิจัยทั่วโลกหันมาทำการวิจัยเพื่อพัฒนาพัฒนาข้าวลูกผสมมากขึ้น
สำหรับการพัฒนาพันธุ์ข้าวในประเทศไทย เริ่มต้นทำในหลายหน่วยงาน ทั้งมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย ตลอดจนภาคเอกชน ที่ต้องการพัฒนาพัฒนาข้าวให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูง เนื่องจากที่ผ่านมาไทยเป็นประเทศส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก แต่ปริมาณข้าวที่ผลิตได้ยังถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น

จากสถิติระบุว่าผลผลิตข้าวของประเทศไทยโดยเฉลี่ย ระหว่างปี 2546-2548 อยู่ที่ประมาณ 450 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งจัดอยู่อันดับที่ 6 ของโลก ต่ำกว่าประเทศเวียดนามที่ผลผลิตข้าวเฉลี่ยราว 750 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่จีนครองอันดับสูงสุดผลิตข้าวเฉลี่ยได้มากกว่า 1,000 กิโลกรัมต่อไร่

แม้ไทยจะเป็นประเทศส่งออกข้าวติดอันดับหนึ่ง แต่อาจจะต้องเสียแชมป์ให้ประเทศคู่แข่งได้ หากผลผลิตต่อไร่ยังคงหยุดนิ่ง ตรงกันข้ามกับประเทศคู่แข่งที่สามารถเพิ่มผลผลิตได้สูงกว่า” นักวิจัยกล่าว

ความคิดเห็นที่น่าสนใจ
unity sun power "เทคโนโลยีพันธุ์ข้าวลูกผสมจะมาพร้อม ๆ กับเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะกับพันธุ์นั้น ๆ ในประเทศไทยเกษตรกรใช้เทคโนโลยีการผลิตที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่าง ๆ เข่น การเข้าถึงชลประทาน สภาพภูมิศาสตร์ นิเวศน์เกษตร ปริมาณน้ำฝนและการกระจายของฝน ที่ดิน ทุน แรงงาน ขนาดของฟาร์ม การใช้พันธุ์ลูกผสมอาจไม่เพิ่มผลผลิตตามที่หวัง และอาจปลูกได้เฉพาะในเขตชลประทาน ซึ่งมีไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ผลิตข้าว ถ้าจะเพิ่มให้ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ แต่ไทยทำไม่ได้เพราะผู้คัดค้านมีเยอะ จะสร้างเขื่อนทีแสนจะลำบากจะผันน้ำจากแม่น้ำโขงก็ยาก"

alexanderray "ผมว่าที่จริงข้าวแพง น่าจะเป็นสาเหตุเพราะนักเก้งกำไร มากกว่าประเทศเราส่งข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก ถึงเกือบร้อยละ 50 การที่ข้าวแพงแต่ชาวนายากจน เพราะน่าจะมาการกดราคา ข้าวจากชาวนา แล้วขายข้าวแพงให้เราทาน ฉะนั้นเงินก็ตกกับพ่อค้า  ผมว่านอกจากที่เราจะปลูกข้าวลูกผสมแล้ว น่าจะเก็บข่าวพันธุ์พื้นเมืองไว้ด้วยก็ดี เป็นธนาคารข้าว  นอกจากธนาคารข้าว ก็น่าจะมีโรงสีของรัฐ โกง ดังเก็บข้าวของรัฐ โดยไม่ต้องฝากเก็บกับโรงสีข้าวของเอกชน เพราะถ้าเก็บไว้เอกชน รัฐไม่มีเงินมาจ่ายค่าเช่าโกดัง โรงสีเอกชนก็ยักยอกข้าวไปขายเพราะต้องเอาเงินมาดูแลโรงสี แม้จะกู้กับธ.ก.ส. มาก็ไม่คุ้มทุน ลงทุนสร้างโรงสีรัฐครั้งเดียวแต่คุ้มไปถึง สิบ ปี รัฐก็ได้ภาษีข้าวเต็มเม็ดเต็มหน่วย ชาวนา ก็ลืมตาอา ปากได้เพราะรัฐรับซื้อข้าวเป็นราคามาตรฐาน ในตลาด เพราะบ้างที่ราคาข้าวถูกพ่อค้า กดราคาจนน่าเกลียด

เรื่องการชลประทานถ้าหากเราไปเปรียบเทียบกับเวียดนาม ขอบอกว่าเราได้เปรียบที่สภาพภูมิประเทศมาก เรามีแม่นําเยอะ กว่า ข้าวที่ได้มีคุณภาพ เราสามารถทำนาปรัง ปีละสองครั้ง  แต่เราขาด คนเพราะว่า คนส่วนใหญ่มักจะหันน่าเข้าเมือง เพราะว่าการปลูกข้าวนั้นประเทศไทยเรา ยิ่งปลูก ทุนหายกำไรหด ส่วนที่เวียดนามนั้น รัฐจะเข้าไปดูแลเป็นส่วนใหญ่เพราะเป็นปัจจัยหลัก แล้วยังมีระบบการจัดการที่ดีกว่าระบบของไทย มาก"

ที่มา เอกวิทย์ เตระดิษฐ์ ณ วิชาการ . คอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น