วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ข้าวลูกผสม ความหวังเพิ่มผลผลิต

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวลูกผสมในประเทศไทย เริ่มต้นจากการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่มีความโดดเด่น โดยในปี พ.ศ. 2543 ทีมวิจัยของ ดร.ปัทมา ได้คัดเลือกสายพันธุ์ข้าวหลากหลายสายพันธุ์มาทดสอบคู่ผสม อาทิเช่น สุพรรณบุรี 1, 2 และ 3, ปทุมธานี ข้าวขาวดอกมะลิ โดยใช้เวลาในการวิจัยกว่า 8 ปี จนกระทั่งได้สายพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าเดิม 20% ตลอดจนต้านทานโรคแมลง โดยใช้ชื่อสายพันธุ์ลูกผสมนี้ว่า T6-4


ข้าวลูกผสม T6-4 เป็นพันธุ์แม่ที่ได้จากข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 3 ซึ่งเป็นพันธุ์พ่อ โดยผลจากการทดลองปลูกข้าวลูกผสม T6-4 พบว่าได้ผลผลิตต่อไร่สูงถึง 1,578 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ได้ข้าวลูกผสมที่ให้ผลผลิตต่อไรมากกว่า 2 กิโลกรัมประมาณ 20 สายพันธุ์ ทั้งนี้คาดหวังว่าอีก 3 ปีจะสามารถพัฒนาจนถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ชาวนาได้ลองปลูกเพื่อประเมินว่าคุ้มหรือไม่


ทีมวิจัยได้อาศัยประสบการณ์จากการร่วมทำวิจัยกับ ศ.หยวนที่ประเทศจีน โดยคัดข้าวลูกผสมมา 20 สายพันธุ์จากทั้งหมด 400 สายพันธุ์ หลังจากทดลองปลูกในแปลงขนาดเล็ก พบให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่า 2,000 กิโลกรัม จากที่ตั้งไว้ 1,000 กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม ผลที่ได้เป็นระดับของงานวิจัย หากนำไปปลูกจริง ผลผลิตต่อไร่อาจจะไม่สูงเท่านี้ เพราะความผันแปรของปัจจัยแวดล้อม” ดร.ปัทมากล่าว
 
 
                                                                แปลงผลิตภัณฑ์ข้าวลูกผสม

เมื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมได้แล้ว จากนี้จะนำไปทดสอบปลูกในแปลงสถานี โดยจากนี้จะนำไปปลูกในแปลงทดลองขนาดใหญ่ จากนั้นจึงค่อยไปทดลองปลูกในแปลงเกษตร และให้เกษตรกรเป็นผู้ปลุกในที่สุด เพื่อศึกษาถึงวิธีการปลูกและเงื่อนไขต่าง อาทิ การใส่ปุ๋ย การเก็บเกี่ยว คาดว่าขั้นตอนดังกล่าวจะทำเสร็จในเวลา 3 ปี  


นักวิจัย กล่าวต่อว่า หลังจากนี้ต้องผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อนำไปทดสอบที่สถานีทดลองข้าวในเขตภาคกลางอีกหลายสถานี โดยต้องทดลองปลูกอย่างน้อย 3 ฤดูเก็บเกี่ยวซึ่งใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี จากนั้นจึงนำไปทดสอบกับแปลงเกษตรที่ใหญ่ขึ้น และในขั้นตอนสุดท้ายคือปลูกในแปลงขนาดใหญ่แล้วให้ชาวนาเลือกว่าจะใช้พันธุ์ไหนดีที่สุด


นักวิจัย กล่าวต่อว่า เทคนิคผสมข้ามสายพันธุ์เป็นทางเลือกหนึ่งการปรับปรุงพันธุ์ข้าวนอกเหนือจากเทคนิคทางพัฒนากรรมสมัยใหม่ หรือการดัดแปรพันธุกรรมในระดับยีน หรือ จีเอ็มโอ ซึ่งยังคงเป็นข้อถกเถียงถึงปัญหาด้านความปลอดภัยและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะระบบนิเวศน์ใกล้เคียง

"ทุกวันนี้ผลผลิตเฉลี่ยของข้าวไทยตลอดทั้งปีไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งพันธุ์ข้าวลูกผสมเป็นทางออกที่ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวได้ โดยไม่ต้องพึ่งจีเอ็มโอ" นักวิจัยกล่าว

การวิจัยพันธุ์ข้าวลูกผสมนอกจากจะเพิ่มผลผลิตต่อไร่แล้ว การพัฒนาพันธุ์ข้าวที่ต้านทานโรคแมลง ยังเป็นเป้าหมายที่นักวิจัยต้องการ โดยเฉพาะโรคไหม้ ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ของเกษตรกร ที่ทำให้ผลผลิตได้ไม่ตรงตามที่คาดการณ์ไว้


นอกจากนี้ทิศทางของงานวิจัยพัฒนาพันธุ์ข้าวยังมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มคุณค่าด้านสารอาหารลงในข้าวสายพันธุ์ลูกผสม ให้มีคุณค่าเทียบเท่าข้าวหอมมะลิ มีปริมาณแป้งหรืออะไมเลส (Amylase) สูง เหมาะสำหรับภาคอุตสาหกรรม  ที่ต้องการใช้ข้าวเป็นส่วนผสมหลัก เช่น อุตสาหกรรม แป้ง อุตสาหกรรมยา ซึ่งช่วยเพิ่มทางเลือกของความต้องการผลผลิตข้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม ทดแทนการผลิตเพื่อบริโภคเพียงอย่างเดียว
 
ที่มา เอกวิทย์ เตระดิษฐ์ ณ วิชาการ.คอม 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น