เครือกล้วยน้ำว้า
กล้วยน้ำว้าเป็นพืชไม้ล้มลุก เป็นพันธุ์ผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี Musa acuminata x Musa balbisiana
กล้วยน้ำว้าดิบ ให้รสชาติฝาด เป็นอาหารพื้นบ้านนิยมเอาไปแกงบอน สรรพคุณทางการรักษาโรค แก้อาการท้องเดิน โรคกระเพาะอาหารและอาหารไม่ย่อย
กล้วยน้ำว้าสุก ให้รสชาติหวาน จะหวานยิ่งขึ้นหากปล่อยให้สุกงอม สามารถสุกเองโดยธรรมชาติโดยไม่ต้องใช้แก๊ซบ่ม
การทานกล้วยน้ำว้าผลโตๆรับประทานสุกไม่อร่อย สู้กล้วยน้ำสวนขนาดผลย่อมๆไม่ได้ ยิ่งปล่อยให้สุกคาเครือรสชาติยิ่งหวาน ผลโตมักมีรสจืด
เมื่อกล้วยน้ำว้าแก้เต็มที่ หากต้องการให้ผลสุกเร็ว ต้องใช้แก๊ซเอทิลีน Ethylene ในการบ่มซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้พืช ผลไม้ สุก ใบร่วง ซึ่งอยู่ในรูปของแก๊ซ โดยธรรมพืชผักผลไม้จะมีสารนี้อยู่แล้ว หรือจะเรียกสารชนิดนี้ว่า สารแก่ ก็ได้
ข้อดีของการปลูกกล้วยน้ำว้า หยวกกล้วย ปลี ผลอ่อน ประกอบอาหารเองได้ ใบตองนำไปห่อขนมไทยได้ ผลสุกทำขนมบวช ชุบแป้งทอด เลี้ยงนก เลี้ยงไก่ แต่ผลสุกราคาถูกมาก
สายพันธุ์กล้วยน้ำว้า
-กล้วยน้ำว้าพันธุ์ใส้เหลือง ลูกขนาดใหญ่ มักเอาไปแปรรูปเป็นกล้วยตาก
-กลัวยน้ำว้าพันธุ์ใส้ขาว แปรรูปทำกล้วยทอด กล้วยอบเนยจังหวัดพิษณุโลก
-กล้วยน้ำว้าพันธุ์กาบข้าว
-กล้วยน้ำว้าพันธุ์เกษตร
-กล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง ลูกขนาดใหญ่ มักเอาไปแปรรูปเป็นกล้วยตาก
-กล้วยน้ำว้าค่อม
-กล้วยน้ำว้าพันธุ์ปากช่อง 50 ต้นสูงใหญ่มาก ลำต้นอวบใหญ่(เมื่อลมแรงหาไม้ค้ำลำต้นไว้) ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อ สะอาด ปลอดโรค แข็งแรง ผลผลิตสูงขึ้นอยู่กับน้ำ ปุ๋ย ดิน อากาศ เครือยาวประมาณ 12 หวี ผลกล้วยเรียงตัวสวยและใหญ่กว่ากล้วยน้ำว้าทั่วไปเล็กน้อย ข้อเสียคือผลกล้วยไม่สวยมักชอบมีเพลี้ยติดตามผลกล้วย ติดต่อขอพันธุ์กล้าได้ที่ศูนย์วิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 044-311-796
หรืองานเกษตรบางเขน ราคาต้นละ 40-50 บาท
-กล้วยน้ำว้าท่ายาง
-กล้วยน้ำว้าใส้เหลืองปนสีน้ำตาล นิยมนำไปทำข้าวต้มมัด เนื้อกล้วยไม่เละ รสชาติดีกว่าใส้ขาวและเหลือง
-กล้วยน้ำว้าดำ รสชาติอร่อยเหมือนกล้วยอบน้ำผึ้ง หน่อกล้วยราคาแพง
การทานกล้วยน้ำว้าผลโตๆรับประทานสุกไม่อร่อย สู้กล้วยน้ำสวนขนาดผลย่อมๆไม่ได้ ยิ่งปล่อยให้สุกคาเครือรสชาติยิ่งหวาน ผลโตมักมีรสจืด
เมื่อกล้วยน้ำว้าแก้เต็มที่ หากต้องการให้ผลสุกเร็ว ต้องใช้แก๊ซเอทิลีน Ethylene ในการบ่มซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้พืช ผลไม้ สุก ใบร่วง ซึ่งอยู่ในรูปของแก๊ซ โดยธรรมพืชผักผลไม้จะมีสารนี้อยู่แล้ว หรือจะเรียกสารชนิดนี้ว่า สารแก่ ก็ได้
ข้อดีของการปลูกกล้วยน้ำว้า หยวกกล้วย ปลี ผลอ่อน ประกอบอาหารเองได้ ใบตองนำไปห่อขนมไทยได้ ผลสุกทำขนมบวช ชุบแป้งทอด เลี้ยงนก เลี้ยงไก่ แต่ผลสุกราคาถูกมาก
สายพันธุ์กล้วยน้ำว้า
-กล้วยน้ำว้าพันธุ์ใส้เหลือง ลูกขนาดใหญ่ มักเอาไปแปรรูปเป็นกล้วยตาก
-กลัวยน้ำว้าพันธุ์ใส้ขาว แปรรูปทำกล้วยทอด กล้วยอบเนยจังหวัดพิษณุโลก
-กล้วยน้ำว้าพันธุ์กาบข้าว
-กล้วยน้ำว้าพันธุ์เกษตร
-กล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง ลูกขนาดใหญ่ มักเอาไปแปรรูปเป็นกล้วยตาก
-กล้วยน้ำว้าค่อม
-กล้วยน้ำว้าพันธุ์ปากช่อง 50 ต้นสูงใหญ่มาก ลำต้นอวบใหญ่(เมื่อลมแรงหาไม้ค้ำลำต้นไว้) ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อ สะอาด ปลอดโรค แข็งแรง ผลผลิตสูงขึ้นอยู่กับน้ำ ปุ๋ย ดิน อากาศ เครือยาวประมาณ 12 หวี ผลกล้วยเรียงตัวสวยและใหญ่กว่ากล้วยน้ำว้าทั่วไปเล็กน้อย ข้อเสียคือผลกล้วยไม่สวยมักชอบมีเพลี้ยติดตามผลกล้วย ติดต่อขอพันธุ์กล้าได้ที่ศูนย์วิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร. 044-311-796
หรืองานเกษตรบางเขน ราคาต้นละ 40-50 บาท
-กล้วยน้ำว้าท่ายาง
-กล้วยน้ำว้าใส้เหลืองปนสีน้ำตาล นิยมนำไปทำข้าวต้มมัด เนื้อกล้วยไม่เละ รสชาติดีกว่าใส้ขาวและเหลือง
-กล้วยน้ำว้าดำ รสชาติอร่อยเหมือนกล้วยอบน้ำผึ้ง หน่อกล้วยราคาแพง
การขยายพันธุ์
-การเพาะชำหน่อกล้วยในกระถาง
-หน่อกล้วยจากการแตกหน่อตาข้างของต้นแม่
-หน่อกล้วยจากการแตกหน่อตาข้างของต้นแม่
-การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ใช้เวลาในการขยายพันธุ์สั้น ได้จำนวนต้นมากวิธีนี้เหมาะกับการปลูกกล้วยเพื่อส่งออก แต่มีโอกาสในการกลายพันธุ์ได้เช่นกัน พันธุ์ที่ได้ปราศจากโรคและแมลง ประเทศที่นิยมเพาะเนื้อเยื่อได้แก ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน อเมริกากลาง ประเทศเหล่านี้มีการส่งออกกล้วยสูง
-เพาะต้นกล้วยจากเมล็ด บางต้นมี ไม่มีเมล็ดบวกกับเปลือกหุ้มเมล็ดที่หนาและแข็ง ใช้เวลาในการเพาะปลูกนานจึงไม่นิยมปลูกด้วยเมล็ดและกลายพันธุ์ค่อนข้างสูง
-การขยายพันธุ์กล้วยโดยการผ่าเหง้า
การปลูกกล้วยน้ำว้า
เริ่มที่การคัดพันธุ์หน่อกล้วย คัดเลือกขนาดความสูง ขนาดโคลน ให้โตใกล้เคียงกัน หลุมที่ปลูกต้องลึกเท่ากัน มิฉะนั้นหน่อจะเกิดไม่พร้อมกัน ปลูกโซนเดียวกันเพื่อจัดการแปลงปลูกได้ง่าย ดูแลได้ง่าย เก็บผลผลิตตกเครือได้พร้อมกัน ในหนึ่งหลุมควรมีต้นแม่ 1 ต้น ต้นลูกอีกสองต้น หากหลุมหนึ่งมี 4 ต้นผลกล้วยจะเล็ก โคนต้นลอยเมื่อกล้วยติดเครือต้นจะล้มง่ายมาก ขาดธาตุอาหาร
ระยะห่างระหว่าง ควรคำนึงถึงการค้นย้ายเป็นอย่างมาก หากปลูกกล้วยจำนวน 1 ไร่ขึ้นไป ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 3 คูณ 3 เมตร ช่วยผ่อนแรงการค้นย้ายได้ง่ายและ การให้น้ำตรงกับระยะสปริงเกอร์พอดี
การเลือกพื้นที่ที่ปลูกกล้วย คำนึงถึงแรงลมทำให้ใบกล้วยแตก ต้นกล้วยล้ม สุดท้ายจะทำให้ผลผลิตขนาดลดลง
ระยะเวลาจากปลูกลงหลุมถึงระยะแทงปลึใช้เวลา 9 เดือน หรือระยะเวลาอาจสั้นกว่านี้ขึ้นอยู่กับ ดิน น้ำ ปุ๋ย กล่าวโดยรวมคือสภาพแวดล้อม ความสมบูรณ์ของหน่อพันธุ์มีผลทำให้ตกเครือเร็วหรือช้า เช่นหน้าร้อนผลผลิตก้วยโตเร็ว ตัดได้เร็ว หน้าหนาวตัดได้ช้า( กล้วยหนึ่งต้นโดยประมาณ 1 เครือมี 7 หวี)
หากต้นกล่วยน้ำว้าหักกลาง หาไม้ค้ำยันไว้เลือกไม้จำพวกมีง้ามจะสะดวก เช่น ไม้กระถิ่น แต่โดยปรกติกล้วยน้ำว้าจะไม่หักกลางสันนิษฐานว่า จากการซื้อหน่อมาปลูก เลือกหน่อที่ช้ำกลางต้นเมื่อโตขึ้นลำต้นจะหักง่าย
ในช่วงที่กล้วยออกปีให้หยุดการแทงหน่อไว้ก่อนเพราะกระทบต่อความสมบูรณ์ของกล้วย ช่วงเจริญเติบโตแทงหน่อขยายทำพันธุ์ ถ้าไม่แทงหน่อต้นหลังจะไม่ค่อยโตหวีจะไม่สมบูรณ์ เมื่อต้นแม่ออกปลีไว้หน่อสักสองหน่อเพื่อเป็นต้นแม่ต่อไป หน่อที่ไว้ให้อยู่ตรงกันข้ามจะดีที่สุดเพื่อไม่แยงอาหารและน้ำกัน หนึ่งต้นไว้ใบสัก 7 ใบ ที่เหลือตัดใบขาย
-การปลูกกลัวน้ำว้าเพื่อเป็นพี่เลี้ยงให้กับสวนยางพารา
การรื้อกอกล้วยน้ำว้า
อุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้คือเสียม และจอบปิ้นที่ใช้ในการรื้อกอกล้วย เติมปุ๋ยหมักและผสมดินใหม่เพิ่มเพิ่มธาตุอาหารให้กับดิน เพื่อกล้วยจะไม่ขาดธาตุอาหาร หรือ อาจย้ายตำแหน่งปลูกกอใหม่ห่างจากกอเดิมประมาณ 2 เมตร เพื่อป้องกันการขาดธาตุอาหารแม้จะเป็นกล้วยที่ต่างสายพันธุ์ก็ใช้ธาตุอาหารเหมือนกัน โดยทั่วไปสวนกล้วยทุกสายพันธุ์จะเปลี่ยนตำแหน่งปลูกสลับกัน แล้วกลับมาปลูกตำแหน่งเดิมอีกครั้งเมื่อรื้อกอ
เทคนิคในกล้วยน้ำว้าลูกโต
1. เมื่อกล้วยออกเครือให้ปล่อยปลีกล้วยให้ยาวห่างกล้วยหวีสุดท้าย 15-20 ซม.
2. ทำการเฉือนก้านเครือกล้วยบางๆพอให้มียางกล้วยไหลออก สัปดาห์ละครั้งจนกว่าจะได้อายุตัดเครือ
ผลที่ได้กล้วยจะมีผลใหญ่ค่อนข้างเสมอกันตลอดหวี
3. การฉีดน้ำไปที่ผลกล้วยจะช่วยลดสัตว์รบกวน เช่น นก หนู มาทำรัง ป้องกันเพลี้ยแป้งราดำ ช่วยให้ผลกล้วยขยายขนาดได้ดีขึ้นและทำให้ผลกล้วยสุกได้ช้าขึ้น อยู่บนต้นได้นานขึ้น ผลใหญ่กว่าเดิมและผลกล้วยไม่เน่าเพราะเอาน้ำฉีด
กล้วยน้ำว้ามีข้อเสียอยู่อย่างก็คือ การติดเมล็ดจากการผสมเกสรข้ามจากล้วยป่าหรือกล้วยตานี ส่วนกล้วยหอมและกล้วยไข่ไม่ติดเพราะเกสรตัวเมียเป็นหมัน
การดูแล
ปลูกด้วยหน่อใบแคบ( sword sucker) โค่นหน่อจะอวบใหญ่ สารอาหารสะสมอุดม ทั้งน้ำและปุ๋ย ผลที่ได้ใบกล้วยจะใหญ่มาก ใบจำนวนมาก หากพบใบกล้วยที่แห้ง เหลืองแล้วตัดทิ้ง ตัดให้ติดต้นเพื่อให้กาบใบแห้งต้นจะขยายได้รวดเร็ว
การให้น้ำกล้วยให้ตลอดช่วงอายุของเครือกล้วย เมื่อตัดปลีแล้วจะลดปริมาณน้ำลงครึ่งหนึง เมื่อหวีล้างลบเหลี่ยมหยุดรดน้ำได้หรือจะรดต่อไปก็ได้ กล้วยจะเริ่มลบเหลี่ยมจากหวีล่างขึ้นบน แต่จะเริ่มสุกจากหวีบนลงล่าง ดังนั้นก่อนตัดกล้วยต้องดูหวีบนเป็นหลัก
ศัตรูพืช
-หนอนม้วนใบ
-โรคตายพราย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือติดโรคจากต้นแม่(เชื้อฟิวซาเลียม) ซึ่งทำลายท่อน้ำเลี้ยงและสารอาหาร สังเกตกลางลำต้นเป็นสีน้ำตาล ใบเหลือง ล้มตายลงไปเองหรือแม้ต้นกล้วยตายไปแล้วเชื้อก็ยังคงกินอยู่ วิธีการแก้ไขตัดต้นและเผาทำลายทันที หลังตัดเสร็จล้างมีดให้สะอาดป้องกันแพร่กระจาย เว้นช่วงปลูกป้องกันโรคระบาด 1 ปีหรือ หาสถานที่อื่นปลูกทดแทน
หลุมที่ปลูกต้นน้ำว้าเดิมหากพบว่าตายลงเพราะโรคตายพราย ไม่ควรหาหน่อกล้วยมาปลูกในหลุมเดิมซ้ำเพราะมันจะเป็นโรคอีก ควรขุดล้างกอทิ้งแล้วหาพืชอย่างอื่นมาปลูกแทนจนเชื้อราลดจำนวนลง เชื่อตัวนี้สามารถติดต่อได้ทางเครื่องมือ น้ำ การเอาจอบไปขุดตรงกอที่เป็นเชื้อแล้วแล้วไม่ล้างทำความสะอาด แล้วเอาจอบไปขุดก่ออื่น ก่อนั้นจะติดเชื้อ
-โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา
-บุ้งกินใบกล้วยแห่วง เกิดจากหนอนในวงจรชีวิตของผีเสื้อ แก้ไขด้วยการตัดครึ่งต้น หรือตัดเฉพาะส่วนของใบที่ถูกกิน หรือฉีดพ่นด้วยน้ำส้มควันทุกสัปดาห์หรือ EM
-สัตว์ที่กินกล้วยได้แก่ ค้างคาว นกกระยาง
การใช้ประโยชน์
กล้วยดิบเอาไว้ใช้วันโกน กล้วยสุกทำสารพัดขนม ใบตองขายได้ราคาพอควร ดีกว่าทิ้งน่ะ ส่วนต้นแก่สับหยาบๆทิ้งไว้เป็นปุ๋ยให้กับดิน
-เชือกกล้วย ทำจากกล้วยน้ำว้าเป็นส่วนใหญ่ใช้แล้วเหนียว ทน ใช้ได้นาน เส้นยาว-เหนียว มักทำจากส่วนก้านใบตอง หรือ กาบกล้วย
ความเชื่อเกี่ยวกับกล้วย
ชาวจีนนิยมน้ำกล้วยมาไหว้ในเทศกาลตรุษจีน เป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ของคนจีนโดยจะมีการไหว้บรรพบุรุษด้วยการเซ่นไหว้จนเป็นประเพณีสืบทอดมาช้านาน กล้วยมีลักษณะคล้ายมือ นิ้วมือ ชาวจีนเชื่อว่าเป็นการกวักเอาโชคลาภ
คนเชื่อว่าหากได้กล้วย 1 หวี ที่มี 15 ลูกครบจนหมดเชื่อว่ารักษาโรคภัยไข้เจ็บ
- น้ำหมักจุลินทรีย์จากกล้วย ใช้ทุกส่วนของกล้วยในการหมัก ใบ กาบ หยวก เหง่า ราก
-ใบตองกิโลกรัมละ 15-20 บาท
-ปลีกล้วยรับประทานกับผัดไท ขนมจีน
เริ่มที่การคัดพันธุ์หน่อกล้วย คัดเลือกขนาดความสูง ขนาดโคลน ให้โตใกล้เคียงกัน หลุมที่ปลูกต้องลึกเท่ากัน มิฉะนั้นหน่อจะเกิดไม่พร้อมกัน ปลูกโซนเดียวกันเพื่อจัดการแปลงปลูกได้ง่าย ดูแลได้ง่าย เก็บผลผลิตตกเครือได้พร้อมกัน ในหนึ่งหลุมควรมีต้นแม่ 1 ต้น ต้นลูกอีกสองต้น หากหลุมหนึ่งมี 4 ต้นผลกล้วยจะเล็ก โคนต้นลอยเมื่อกล้วยติดเครือต้นจะล้มง่ายมาก ขาดธาตุอาหาร
ระยะห่างระหว่าง ควรคำนึงถึงการค้นย้ายเป็นอย่างมาก หากปลูกกล้วยจำนวน 1 ไร่ขึ้นไป ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 3 คูณ 3 เมตร ช่วยผ่อนแรงการค้นย้ายได้ง่ายและ การให้น้ำตรงกับระยะสปริงเกอร์พอดี
การเลือกพื้นที่ที่ปลูกกล้วย คำนึงถึงแรงลมทำให้ใบกล้วยแตก ต้นกล้วยล้ม สุดท้ายจะทำให้ผลผลิตขนาดลดลง
ระยะเวลาจากปลูกลงหลุมถึงระยะแทงปลึใช้เวลา 9 เดือน หรือระยะเวลาอาจสั้นกว่านี้ขึ้นอยู่กับ ดิน น้ำ ปุ๋ย กล่าวโดยรวมคือสภาพแวดล้อม ความสมบูรณ์ของหน่อพันธุ์มีผลทำให้ตกเครือเร็วหรือช้า เช่นหน้าร้อนผลผลิตก้วยโตเร็ว ตัดได้เร็ว หน้าหนาวตัดได้ช้า( กล้วยหนึ่งต้นโดยประมาณ 1 เครือมี 7 หวี)
หากต้นกล่วยน้ำว้าหักกลาง หาไม้ค้ำยันไว้เลือกไม้จำพวกมีง้ามจะสะดวก เช่น ไม้กระถิ่น แต่โดยปรกติกล้วยน้ำว้าจะไม่หักกลางสันนิษฐานว่า จากการซื้อหน่อมาปลูก เลือกหน่อที่ช้ำกลางต้นเมื่อโตขึ้นลำต้นจะหักง่าย
ในช่วงที่กล้วยออกปีให้หยุดการแทงหน่อไว้ก่อนเพราะกระทบต่อความสมบูรณ์ของกล้วย ช่วงเจริญเติบโตแทงหน่อขยายทำพันธุ์ ถ้าไม่แทงหน่อต้นหลังจะไม่ค่อยโตหวีจะไม่สมบูรณ์ เมื่อต้นแม่ออกปลีไว้หน่อสักสองหน่อเพื่อเป็นต้นแม่ต่อไป หน่อที่ไว้ให้อยู่ตรงกันข้ามจะดีที่สุดเพื่อไม่แยงอาหารและน้ำกัน หนึ่งต้นไว้ใบสัก 7 ใบ ที่เหลือตัดใบขาย
-การปลูกกลัวน้ำว้าเพื่อเป็นพี่เลี้ยงให้กับสวนยางพารา
การรื้อกอกล้วยน้ำว้า
อุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้คือเสียม และจอบปิ้นที่ใช้ในการรื้อกอกล้วย เติมปุ๋ยหมักและผสมดินใหม่เพิ่มเพิ่มธาตุอาหารให้กับดิน เพื่อกล้วยจะไม่ขาดธาตุอาหาร หรือ อาจย้ายตำแหน่งปลูกกอใหม่ห่างจากกอเดิมประมาณ 2 เมตร เพื่อป้องกันการขาดธาตุอาหารแม้จะเป็นกล้วยที่ต่างสายพันธุ์ก็ใช้ธาตุอาหารเหมือนกัน โดยทั่วไปสวนกล้วยทุกสายพันธุ์จะเปลี่ยนตำแหน่งปลูกสลับกัน แล้วกลับมาปลูกตำแหน่งเดิมอีกครั้งเมื่อรื้อกอ
เทคนิคในกล้วยน้ำว้าลูกโต
1. เมื่อกล้วยออกเครือให้ปล่อยปลีกล้วยให้ยาวห่างกล้วยหวีสุดท้าย 15-20 ซม.
2. ทำการเฉือนก้านเครือกล้วยบางๆพอให้มียางกล้วยไหลออก สัปดาห์ละครั้งจนกว่าจะได้อายุตัดเครือ
ผลที่ได้กล้วยจะมีผลใหญ่ค่อนข้างเสมอกันตลอดหวี
3. การฉีดน้ำไปที่ผลกล้วยจะช่วยลดสัตว์รบกวน เช่น นก หนู มาทำรัง ป้องกันเพลี้ยแป้งราดำ ช่วยให้ผลกล้วยขยายขนาดได้ดีขึ้นและทำให้ผลกล้วยสุกได้ช้าขึ้น อยู่บนต้นได้นานขึ้น ผลใหญ่กว่าเดิมและผลกล้วยไม่เน่าเพราะเอาน้ำฉีด
กล้วยน้ำว้ามีข้อเสียอยู่อย่างก็คือ การติดเมล็ดจากการผสมเกสรข้ามจากล้วยป่าหรือกล้วยตานี ส่วนกล้วยหอมและกล้วยไข่ไม่ติดเพราะเกสรตัวเมียเป็นหมัน
การดูแล
ปลูกด้วยหน่อใบแคบ( sword sucker) โค่นหน่อจะอวบใหญ่ สารอาหารสะสมอุดม ทั้งน้ำและปุ๋ย ผลที่ได้ใบกล้วยจะใหญ่มาก ใบจำนวนมาก หากพบใบกล้วยที่แห้ง เหลืองแล้วตัดทิ้ง ตัดให้ติดต้นเพื่อให้กาบใบแห้งต้นจะขยายได้รวดเร็ว
การให้น้ำกล้วยให้ตลอดช่วงอายุของเครือกล้วย เมื่อตัดปลีแล้วจะลดปริมาณน้ำลงครึ่งหนึง เมื่อหวีล้างลบเหลี่ยมหยุดรดน้ำได้หรือจะรดต่อไปก็ได้ กล้วยจะเริ่มลบเหลี่ยมจากหวีล่างขึ้นบน แต่จะเริ่มสุกจากหวีบนลงล่าง ดังนั้นก่อนตัดกล้วยต้องดูหวีบนเป็นหลัก
ศัตรูพืช
-หนอนม้วนใบ
-โรคตายพราย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือติดโรคจากต้นแม่(เชื้อฟิวซาเลียม) ซึ่งทำลายท่อน้ำเลี้ยงและสารอาหาร สังเกตกลางลำต้นเป็นสีน้ำตาล ใบเหลือง ล้มตายลงไปเองหรือแม้ต้นกล้วยตายไปแล้วเชื้อก็ยังคงกินอยู่ วิธีการแก้ไขตัดต้นและเผาทำลายทันที หลังตัดเสร็จล้างมีดให้สะอาดป้องกันแพร่กระจาย เว้นช่วงปลูกป้องกันโรคระบาด 1 ปีหรือ หาสถานที่อื่นปลูกทดแทน
หลุมที่ปลูกต้นน้ำว้าเดิมหากพบว่าตายลงเพราะโรคตายพราย ไม่ควรหาหน่อกล้วยมาปลูกในหลุมเดิมซ้ำเพราะมันจะเป็นโรคอีก ควรขุดล้างกอทิ้งแล้วหาพืชอย่างอื่นมาปลูกแทนจนเชื้อราลดจำนวนลง เชื่อตัวนี้สามารถติดต่อได้ทางเครื่องมือ น้ำ การเอาจอบไปขุดตรงกอที่เป็นเชื้อแล้วแล้วไม่ล้างทำความสะอาด แล้วเอาจอบไปขุดก่ออื่น ก่อนั้นจะติดเชื้อ
-โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา
-บุ้งกินใบกล้วยแห่วง เกิดจากหนอนในวงจรชีวิตของผีเสื้อ แก้ไขด้วยการตัดครึ่งต้น หรือตัดเฉพาะส่วนของใบที่ถูกกิน หรือฉีดพ่นด้วยน้ำส้มควันทุกสัปดาห์หรือ EM
-สัตว์ที่กินกล้วยได้แก่ ค้างคาว นกกระยาง
การใช้ประโยชน์
กล้วยดิบเอาไว้ใช้วันโกน กล้วยสุกทำสารพัดขนม ใบตองขายได้ราคาพอควร ดีกว่าทิ้งน่ะ ส่วนต้นแก่สับหยาบๆทิ้งไว้เป็นปุ๋ยให้กับดิน
-เชือกกล้วย ทำจากกล้วยน้ำว้าเป็นส่วนใหญ่ใช้แล้วเหนียว ทน ใช้ได้นาน เส้นยาว-เหนียว มักทำจากส่วนก้านใบตอง หรือ กาบกล้วย
ความเชื่อเกี่ยวกับกล้วย
ชาวจีนนิยมน้ำกล้วยมาไหว้ในเทศกาลตรุษจีน เป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ของคนจีนโดยจะมีการไหว้บรรพบุรุษด้วยการเซ่นไหว้จนเป็นประเพณีสืบทอดมาช้านาน กล้วยมีลักษณะคล้ายมือ นิ้วมือ ชาวจีนเชื่อว่าเป็นการกวักเอาโชคลาภ
คนเชื่อว่าหากได้กล้วย 1 หวี ที่มี 15 ลูกครบจนหมดเชื่อว่ารักษาโรคภัยไข้เจ็บ
- น้ำหมักจุลินทรีย์จากกล้วย ใช้ทุกส่วนของกล้วยในการหมัก ใบ กาบ หยวก เหง่า ราก
-ใบตองกิโลกรัมละ 15-20 บาท
-ปลีกล้วยรับประทานกับผัดไท ขนมจีน
กล้วยน้ำว้าผ่าซีก
ผลิตภัณฑ์ (Bananas Processing)
กล้วยตากบางกระทุ่มโดยใช้พันธุ์มะลิอ่องในการทำ ของฝากจากพิษณุโลก
-กล้วยอ่อนรับประทานกับแหนมเนือง ส้มตำ
-กล้วยอ่อนรับประทานกับแหนมเนือง ส้มตำ
เปลือกกล้วยด้านใน
การตลาด
ปัจจุบันประเทศไทยได้ลงนามทำสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จากการที่กล้วยน้ำว้าในประเทศไทยขาดแคลนจึงต้องนำเข้าจากประเทศลาว และสินค้าเกษตรอื่นอีกเช่น กระหล่ำปลี ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เม็ดละหุ่ง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มะขามเปียก ข้อมูลเหล่านี้เป็นการชี้ทางให้เกษตรกรหันมาปลูกกล้วยน้ำว้ามากขึ้น วึ่งปัจจุบันราคากล้วยน้ำว้าแพงมากจากมหาอุทกภัยน้ำท่วมต้นกล้วยตายเป็นจำนวนหลายร้อยไร่ในปี 2012 ที่ผ่านมา
-ใบตองกล้วยน้ำว้ากิโลกรัมละ 8-15 บาท
-หน่อกล้วย หน่อละ20-25 บาท
-ผลกล้วย หวีละ 20-25 บาท ราคาเคยสูงถึง 35 บาท
-หัวปลีราคา 8-10 บาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น