สายพันธุ์ผักหวาน
ผักหวานสายพันธุ์ดง มีใบแหลม จะออกดอกช้าและผลสุกช้าที่สุดในจำนวนสายพันธุ์
ผักหวานสายพันธุ์โคก ใบรี ใบมน
การขยายพันธุ์
-เพาะเมล็ด
-ตอนกิ่ง
-ปลายราก
การขยายพันธุ์
-เพาะเมล็ด
-ตอนกิ่ง
-ปลายราก
รสชาติ มักนิยมนำยอดผักหวานป่ามาประกอบอาหาร ยอดมีสีเขียวอมเหลือง ลักษณะเป็นใบเรียงเดียวสลับกัน แคบรี ปลายใบแหลม รสชาติหวานกรุบ สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเช่น แกงผักหวานป่าใส่ไข่มดแดง ผักหวานป่าผัดน้ำมันหอย ทอดมันผักหวาน แกงเลียงผักหวานป่า ต้มจืดผักหวานป่า หรือแปรรูปเป็นผลิตพันธุ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า หากวิเคราะห์ธาตุอาหารอุดมไปด้วย โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน บีตาแคโรทีน
ต้นผักหวาน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง หากสูงมากต้องต่อตั้งร้านเก็บยอดผักหวาน แต่โดยทั่วไปเพื่อให้ง่ายต่อการเก็บยอดก็ไม่ควรปล่อยให้ต้นสูงมากนัก หรือต้นขนาดเล็กๆเป็นพุ่มก็มี มื่อโตเต็มที่ลำต้นมีสีน้ำตาลปนดำ ขนาดลำต้นเท่าแขน เมื่อใบผักหวานแก่เต็มที่ใบมีรูปร่างรีกว้าง ใบสีเขียวเข้ม เนื้อกรอบ แข็ง
ผลผักหวาน เมื่อผักหวานโตเต็มที่ เริ่มออกช่อประมาณเดือนกุมภาพันธุ์ ช่อดอกคล้ายดอกมะม่วงหรือลำใย เกิดตามกิ่งหรือลำต้น เมื่อช่อติดลูกจะเริ่มเป็นตุ่มสีเขียวมีนวลเคลือบอัดแน่นเป็นกระจุก เมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองหรือส้ม (ผลเริ่มสุกเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม)
ลูกผักหวาน
ลูกผักหวานเมื่อสุกมีสีแหลืองหรือออกเหลืองแกมส้ม จะเพาะผักหวานได้ต้องนำเอาเปลือกและเนื้อผักหวานออกก่อน ควรใส่ถุงมือหรือใส่ลงกะละมังใช้เท้าเหยียบให้เนื้อผักหวานหลุด เมื่อเปลือกออกหมดแล้ว นำเมล็ดใส่ตาข่ายล้างน้ำให้สะอาดจนกระทั่งหมดเนื้อ พอเนื้อหมดแล้วนำมาแช่น้ำเพื่อดูลูกไหนเสียไม่เสีย ลูกไหนลอยแสดงว่าเสียเราจะไม่ใช่ เก็บแต่ลูกจมน้ำมาพึ่งให้แห้ง ประมาณ 1 วันแล้วจึงนำมาเพาะในขี้เถ้าแกลบ
วิธีเพาะลงกระบะ
เมล็ดผักหวานสุกงอม
ขัดเนื้อผักหวานออกจนเห็นเป็นสีขาว
เตรียมทรายลงกะบะ
เรียงเมล็ดลงกะบะ ปิดด้วยทรายและรดน้ำ
รากยาวอายุ 10 วัน
มีสองรากแก้ว
ปลายรากผักหวานเน่า
วิธีเพาะโดยนำเมล็ดลงดิน
ใช้แกลบดำหรือทรายค่อนข้างสะอาดเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา นำแกลบดำโรยบนพื้นดิน หนา 5-10 ซม.(เพาะผักหวานในที่แดดเพราะผักหวานต้องแดดและความชื้น) หว่านเม็ดผักหวานลงไป โปรยแกลบดำปิดทับ ป้องกันแดดด้วยใบมะพร้าวหรือสแลนก็ได้ รดน้ำวันละครั้ง ภายใน 10 วัน รากจะยาวประมาณ 1 นิ้ว แม้ว่ากระทั่งรากขาด รากก็จะงอกออกมาเหมือนเดิม ดังนั้นต้นที่ออกมาใหม่ๆต้องระมัดระวังหรือหาอะไรคอบเอาไว้
การปลูกผักหวานป่าทำได้ทั้งการเพาะเมล็ดลงถุงชำเพื่อเป็นต้นกล้า ข้อดีคือมีระยะเวลาหลายเดือนในการเตรียมปลูก หรือโดยวิธีการหยอดเมล็ดลงหลุมปลูกโดยตรง ทำให้ประหยัดต้นทุนและแรงงาน แต่มีข้อจำกัดที่เมล็ดผักหวานที่จะปลูกเก็บไว้ได้ไม่เกิน 10 วันนับจากเก็บลงจากต้น
การปลูกต้นพี่เลี้ยงพร้อมกับต้นกล้าผักหวาน หรือปลูกต้นพี่เลี้ยงไว้ก่อนผักหวานก็ได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของต้นผักหวาน ต้นพี่เลี้ยง ที่สำคัญในระยะเวลาที่เหมาะสมกับอายุของต้นกล้าผักหวาน หากให้ดีควรปลูกต้นพี่เลี้ยงไว้ 3เดือน-1 ปี ขึ้นอยู่กับสภาพดินพี่ทำให้ต้นพี่เลี้ยงโตให้ร่มเงา เมื่อผักหวานเริ่มแทงยอดในช่วง 3-5 เดือนแรก ต้นอ่อนของผักหวานป่าต้องการร่มมาก หากโดนแดดไปเต็มๆยอดจะยุบลงไปทันที การให้ร่มเงาผักหวานหากไม่สะดวกต้นไม้ จะเป็นอุปกรณ์ช่วยก็ได้
เมื่อต้นพี่เลี้ยงอายุได้2-3 ปี ควรตัดความสูงของต้นพี่เลี้ยงให้อยู่ที่ประมาณ 3 เมตร เพื่อป้องกันการโค่นล้มในกรณีการปลูกอยู่กลางแจ้งพื้นที่โล่ง
ขั้นตอนการปลูก
ผักหวานชอบปลูกในที่เนินน้ำไม่ท่วมขัง มีร่มไม้ที่เป็นพี่เลี้ยง เช่น ลำใย มะม่วง ฝรั่ง แต่ถ้าเป็นต้นสัก มะขาม ไผ่ ผักหวานจะไม่ค่อยขึ้นเพราะมีรากเยอะ เลือกพื้นที่ที่จะปลูก พูนดินขึ้น 5-10 ซม. ทำเป็นแอ่งหน่อยๆให้น้ำขังนิดๆ ใช้เหล็กหรืออะไรก็ได้ทิ่มลงไปในดิน ก็จะเกิดรูยาวๆลงดิน นำรากเม็ดผักหวานทิ่มลงไปในดิน กลบดิน 2 ใน 3 ส่วน (เหตุผลที่ใช้เหล็กทิ่มลงไปในดินเนื่องจากผักหวานในช่วงเดือนแรกระบบรากจะเจริญเติบโตเพียงอย่างเดียว จึงใช้เหล็กนำร่องให้รากลงไปในแนวดิ่ง) กดเหล็กลงแล้วหมุนดึงเหล็กออก นำรากผักหวานสอดเข้าไป เอาดินกลบเมล็ดสัก 2 ส่วน พ้นดิน 1 ส่วน เอาเศษฟางปิดทับพอแสงแดดส่องได้ ไม่หนาหรือบางเกินไป
เหตุผลที่เลือกปลูกโดยวิธีนี้เพราะไม่ทำลายโครงสร้างของดินลงไป ให้ดินมีความชื้นโดยธรรมชาติ แต่โดยทั่วไปที่ขุดดินลึกแล้วใส่ปุ๋ยหมัก เพราะมีระบบหยดน้ำช่วยรักษาความชื้น
หลังจากนั้น 2 ปี จึงจะเริ่มเก็บยอดขายได้ โดยจะต้องตัดแต่งกิ่งตั้งแต่เดือนธันวาคม งดให้น้ำจนใบร่วง จึงค่อยรดน้ำและใส่ปุ๋ยคอก ประมาณ 1 สัปดาห์จะเก็บยอดและขายได้ตั้งแต่เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธุ์ ถึงเดือนพฤษภาคม และหยุดเก็บให้ต้นพักตัวและสะสมอาหาร
ไม่ควรปลูกผักหวานป่าบริเวณปลายเนินที่น้ำใต้ดินอยู่ระดับตื้น เสี่ยงก่อให้เกิดรากเน่า เนื่องจากในฤดูแล้งยังมีน้ำในระดับดังกล่าว หากเป็นฤดูฝนดินฉ่ำน้ำทั้งใต้ดินและบนดิน แนะว่าให้ปลูกพืชจำพวกไม้ผลจะดีกว่า สำหรับผักหวานเหมาะที่สุดช่วงกลางๆของเนินและบนเนิน
การให้ธาตุอาหาร
ปุ๋ยจากมูลสัตว์เช่น มูลวัว ควาย ไก่ รดน้ำด้วยฮอร์โมนเป็นครั้งคราว ซึ่งมีปริมาณธาตุอาหารรับรอง ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์ โพแทสที่ละลายน้ำ ละลายได้ในน้ำ พืชสามารถดูดซึมอาหารเข้าทางรากและทางใบช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของพืชในด้านลำต้นและใบ ในระยะแรกของการเจริญเติบโต แต่ให้ดีควรให้ฮอร์โมนทางดินจะดีกว่า พืชนำประโยชน์ได้มากกว่า ควรพ่นในช่วงเวลาเช้าหรือเย็นในเวลาที่อากาศไม่ร้อน ลมไม่พัดแรง และคาดว่าฝนจะไม่ตก หากฮอร์โมนเหลือใช้ควรเก็บในที่แห้งและร่ม
ในฤดูหนาว ร้อน ควรให้ปุ๋ยแบบน้ำกับผักหวาน บำรุงปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร หรือปุ๋ยเทศบาล (หลังส้วม) นำมารดบริเวณรอบโคนต้นผักหวาน หลุมด้วยวัสดุฟาง หรือใบไม้เพื่อรักษาความชุ่มชื้น รดน้ำตอนเย็นวันละ1ครั้ง หรือ3วันต่อ1ครั้ง
การเก็บยอดผักหวานป่า
ผักหวานมีวิธีเก็บยอดตลอดทั้งปี แต่หากเก็บทั้งปีผลเสียที่ได้ต้นจะโทรม อีกเหตุผลนึงคือ หากเก็บนอกฤดูรสชาติผักหวานจะไม่อร่อย รสชาติจืด กลิ่นไม่หอม ในฤดูปรกติจะเก็บยอดช่วงเดือน 11 - 6 ของทุกปี ช่วงเดือนเมษาผักหวานป่าจะออกมาก ควรเลี่ยงเก็บช่วงนั้น รสชาติผักที่ได้ในหน้าแล้ง หวาน กรอบ หอม ส่วนเดือนที่เหลืออื่นๆจอยู่ในช่วงพักต้น การเก็บเอายอดเก็บได้อาทิตย์ละ 1 ครั้ง ในระหว่างเก็บอัดน้ำและปุ๋ยคอกลงไปด้วย หากต้นผักหวานสูงมากควรทำนั่งร้านเก็บรอบต้น
เมื่อผักหวานอายุได้4-5ปี อาจตัดต้นพี่เลี้ยงออกหรือไม่ออกก็ได้ เพราะไม่มีผลกับการออกยอด ออกดอกติดผลของผักหวาน หากผักหวานป่าอยู่ใต้ร่มเงาพี่เลี้ยงยอดที่ออกมาไม่แข็งง่าย คนเก็บไม่ร้อน การออกดอกติดผลของต้นผักหวานเร็ว ดี สมบูรณ์
ผักหวานเจริญเติบโตในช่วงหน้าหนาวและหน้าแล้ง ในช่วงหน้าฝนเป็นช่วงพักการเจริญเติบโต ในหน้าแล้งผักหวานป่าทั้งปุ๋ยและร่มเงาสำหรับเกื้อกูลทั้งระบบทางรากใต้ดินและร่มเงาชั้นบน
การรดน้ำยามผักหวานแตกยอด
ควนรดน้ำตอนเย็นเป็นสำคัญมากที่สุด เมื่อผักหวานแตกยอดแล้วหากรดน้ำตอนเช้าน้ำที่ใช้รดอาจค้างอยู่ที่ยอดได้ เมื่อแดดร้อนเที่ยงจะทำให้ยอดผักหวานไหม้
ต้นไม้พี่เลี้ยง
ต้นแคปลูกติดๆต้นผักหวานได้ 3-4 ปีต้นแคจะเริ่มตาย ,เพกา, ชะอม,มะขามเทศระยะห่างจากต้นผักหวาน8-10 เมตร , ตะขบ ล้มเงาของตะขบมีหลายชั้นคล้ายฉัตร ทำให้อากาศใต้ร่มเงาเย็นสบาย ไม่ทึบไม่โปร่งแสงเกินไป ,ต้นหน่อยหน่าไม่ควรปลูกเพราะหน่อยหน่ามีระบบรากแก้ว รากแขนง มากกว่ารากฝอย โดยทั้งหมดปลูกในทิศทางที่บังแดดได้
การปลูกผักหวานกิ่งตอน
การปลูกผักหวานด้วยกิ่งตอนเปอร์เซ็นการรอดค่อนข้างต่ำอย่างปลูก 10 ต้น รอดเพียง 3-4 ต้น ต้นที่ตายจะเริ่มเหี่ยวและแห้งตายไปในที่สุดถึงแม้ต้นจะเริ่มแตกยอดแล้วก็ตาม
โรคและศัตูพืช
เพลี้ยแป้ง อาศัยอยู่ใต้ใบ นิสัยไม่ชอบน้ำ ตัวเต็มวัยสามารถบินได้ กำจัดด้วยน้ำส้มสายชู
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น