วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

การปลูกมะนาว


ข้อมูลกายภาพ
มะนาวและมะกรูดจัดเป็นพืชในตระกูลส้ม มะนาวเป็นเครื่องเทศเครื่องเคียงอาหารไทยหลากหลายเมนู มีผลผลิตตลอดทั้งปี แต่จะมีราคาแพงและขาดตลาดในฤดูแล้งเป็นประจำทุกปี การรู้เทคนิคในการทำมะนาวนอกฤดูได้ จึงขายมะนาวได้ราคาแพงขึ้น กำไรของผู้ผลิตมากขึ้น

มะนาว มีรสเปรี้ยว กลิ่นหอม ผลสีเขียวสุกจัดจะเป็นสีเหลือง เปลือกบาง ภายในมีเนื้อแบ่งกลีบ ชุ่มน้ำ นิยมใช้เป็นเครื่องปรุงรส นำมาใช้เป็นเครื่องดื่มผสมเกลือและน้ำตาลเป็นน้ำมะนาว หรือเพื่อแต่งรสในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิด และยังมีคุณค่าทางโภชนาการและทางการแพทย์ด้วย เช่นช่วยป้องกันโรคลักปิดลักเปิด

มะนาวมีต้นทรงพุ่มเตี้ย สูงเต็มที่ 5 เมตร "แต่สูงมากไม่ดี เก็บยาก" ก้านมีหนามเล็กน้อย ใบยาวเรียวเล็กน้อยคล้ายใบส้ม ส่วนดอกสีขาวอมเหลือง ปกติมีดอกผลตลอดทั้งปี แต่ในช่วงหน้าหนาว แล้วมีผลน้อยและน้ำน้อย เก็บมะนาวไปขายต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 5 เดือนครึ่งนับแต่มะนาวออกดอก

มะนาวเป็นพืชที่มีรากแขนงแผ่ไกลไปตามผิวดิน ปลูกในพื้นที่ดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดีเนื่องจากมะนาวไม่ชอบน้ำขัง มีอินทรียวัตถุมาก การให้น้ำและปุ๋ยมะนาวจะได้รับปุ๋ยเต็มที่ ต้นเจริญติบโต ใบมีสีเขียวและใหญ่ ผลมะนาวจะดกเต็มต้น

การปลูกมะนาวในปัจจุบันข้อควรคำนึงคือ การดูแล ควรเลือกสายพันธุ์ที่ทนต่อโรค การมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สารเคมี การตลาดมะนาวในปัจจุบันว่าผู้บริโภคนิยมชมชอบมะนาวประเภทใด ร่วมทั้งผู้ประกอบต่างๆ ก็เป็นองค์ประกอบต่อการพิจารณาปลูกต่อสายพันธุ์นั้นๆ

พันธุ์มะนาว
-มะนาวตาฮิติ Tahiti Lime หรือ Seedless Lime เป็นมะนาวไม่มีเมล็ด มีผลขนาดใหญ่กว่าพันธุ์ทูลเกล้า มีทรงผลทั้งทรลกลมและทรงรี การติดผลสู้พันธุ์ทูลเกล้าไม่ได้
-มะนาวทูลเกล้า ลักษณะทรงผลยาว ไม่มีเมล็ด เปลือกบางกว่าตาฮิติเล็กน้อย ติดผลได้ดีกว่าตาฮิติ

-มะนาวด่านเกวียน เปลือกบาง เนื้อสีเหลืองคล้ายส้มเนื่องจากส้มและมะนาวผสมกัน น้ำกลิ่นไม่หอมแต่เปรี้ยว ผลดกมาก มะนาวด่านเกวียนเป็นส้มที่กลายพันธุ์ภาษาอังกฤษเรียกว่า แลงเพอร์ไลม์

-มะนาวพันธุ์พื้นเมืองไทย เปลือกแข็ง แก่จัดผิวเป็นสีเหลือง ลูกดกออกลูกเป็นพวง น้ำเยอะ ทนโรค แต่กลิ่นไม่หอมเหมือนมะนาวแป้น

-มะนาวแป้นพิจิตร 1 เป็นลูกผสมของมะนาวแป้นกับมะนาวน้ำหอม มักไม่เป็นโีรคแคงเกอร์ ใบใหญ่หนา เปลือกหนา โตเร็ว มีหนาม ลูกใหญ่ กลิ่นหอม

-มะนาวแป้น เป็นที่นิยมของตลาด เปลือกบาง น้ำเยอะ แต่มักได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าใช้สารฆ่าแมลงเยอะ

การขยายพันธุ์
-การตอนกิ่ง จะใช้ระบบรากของตัวมันเองในการเจริญเติบโต หาอาหาร
-มะนาวบนตอมะขวิด (เสียบยอด) ใช้ระบบรากของต่อมะขวิดในการหาอาหาร การขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีนี้นำมาใช้แก้ปัญหาดินไม่มีความสมบูรณ์ ใช้ความยาวของกิ่งมะนาว 6 นิ้ว 4-6 ใบคู่ ท่อน้ำท่ออาหาร เนื้อไม้และเปลือกต่อกันสนิทจึงจะต่อติด จากความเห็นของผู้ทดลองปลูก กล่าวว่า ระบบรากแก้วของมะขวิดจะให้พืชหากินได้เก่ง ทนทานต่อโรค แต่อีกฝากของความคิดเห็นกล่าวว่า พืชจะเจริญเติบโตได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้นหลังจากนั้นจะโตคงที่


การเตรียมดิน
ขุดหลุมกว้าง 1 เมตร ลึก 1 หน้าจอบเป็นวงกลม แล้วเอาดินหน้าจอบแรกขึ้นมาไว้ข้างๆ นำปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักสัก 1 ถังถ้าเป็นดินเหนียวใส่ทรายยาบลงไปด้วยเพราะมะนาวชอบดินร่วนปนทราย (ทรายยาบเท่านั้น ทรายละเอียดไม่ได้) พรวนดินลงไปอีกหนึ่งหน้าจอบรวมเป็น 2 หน้าจอบ คุกปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักใส่ลงไป แล้วเอาปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักมาผสมกับดินที่กองไว้ข้างๆตอนหน้าจอบแรก แล้วใส่กลบลงไปในดิน ดินที่ได้เป็นรูปหลังเต่าหรือเป็นรูปกระทะคว่ำเพื่อไม่ให้นำขัง ใส่ปูนขาวผสมลงไปนิดหน่อย เอาฟางข้าวปิดแล้วรดน้ำทุก 5 วัน ทิ้งไว้ครึ่งเดือนแล้วจึงนำน้ำมันมาปลูก

ขั้นตอนการนำมะนาวลงดิน
มะนาวที่ปลูกจะเลือกมะนาวตอนกิ่งหรือมะนาวปักชำก็ได้ซึ่งเพาะใส่ถุงดำไว้ แช่ลงไปในน้ำทิ้งไว้ให้นุ่มๆ เวลาแกะถุงดำออกจะแกะง่าย

เมื่อแกะถุงดำออกเราจะพบว่ารากมะนาวขดลงมาเป็นก้อนๆ หากปลูกลงไปในลักษณะอย่างนั้นรากมะนาวจะดิ่งลงลึก รากมะนาวจะกินอาหารที่ปลายราก เมื่อรากมันดิ่งลงลึก เกษตรกรใส่ปุ๋ยลงบนผิวดิน รากมะนาวจึงไม่ได้อาหาร อายุมะนาวสั้นและเน่าตายไป

นำไปล้างน้ำอีกครั้ง แกะดินออกให้หมด จะพบระบรากทั้งหมดของต้นมะนาว นำต้นมะนาวลงไปในดิน แยกราก จัดรากไปทั่วทุกทิศทาง เอาดินกลบ กดดินให้แน่นเพื่อรากจะได้ดูดอาหารให้เร็ว เหตุผลที่ต้องจัดรากไปทุกทิศทางเพราะว่ามะนาวเป็นพืชรากตื้น รากดูดอาหารทางผิวดิน เวลาให้ปุ๋ยรากจะได้รับอาหารเต็มที่

นำไม้มาปักกันต้นมะนาวโยก เอาฟางหรือหญ้าคุมเพื่อรักษาความชื้น เพราะถ้าไม่สามารถรักษาความชื้นไว้ที่หน้าดินพอ แดดส่องหน้าดินเกิดความร้อน เมื่อรากได้รับความร้อนรากมะนาวจึงพยายามลงลึกไปในชั้นดินเพื่อหนึความร้อน ฉะนั้นเกษตรควรนำฟางหรือหญ้าคุมไว้เพื่อรักษาความชื้นให้กับรากมะนาว

เราก็จะได้มะนาวที่ปลูกพื้นที่ความกว้าง 1 เมตร อีก 2 เดือนต่อมารากบริเวณที่ปลูกจะเต็มพื้นที่หมดแล้ว เราจึงต้องเตรียมดินเพื่อรองรับการขยายตัวของราก

โรคแคงเกอร์ หรือโรคขี้กลาก
เป็นโรคประจำตัวของมะนาว มักระบาดหนักในช่วงที่มีความชื้นสูง(แคงเกอร์ชอบฤดูฝนมาก) เป็นแล้วรักษาไม่หาย เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย วิธีแก้คือตัดกิ่งที่เป็นโรคทิ้ง เด็ดใบทิ้ง(การตัดแต่งกิ่งเป็นส่วนสำคัญ จำเป็น) หากแคงเกอร์เป็นที่ลูก ลูกจะแตก แล้วนำสารประกอบทองแดงฉีดทางใบรักษาไม่ให้เชื้อแคงเกอร์ระบาด หรือในธรรมชาตินำขี้หมูมาใส่อยู่เป็นประจำ จะระงับการระบาดของแคงเกอร์ได้เพราะขี้หมูมีสารทองแดงอยู่ ส่วนยาที่จะสามารถฆ่าแคงเกอร์ได้คือ สเตรปโตมัยซิน เป็นยาปฎิชีวนะแต่จะฆ่าได้ต่อเมื่อตัดเอาแผลที่เป็นออกก่อน หรือให้สารคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์

การทำลายของแคงเกอร์เข้าทำลายถึงเซลล์ การสร้างเซลล์ผิดปกติได้ง่าย หากนำตอนกิ่งหรือกิ่งพันธุ์ไปขยายพันธุ์จึงเกิดการกลายพันธุ์ขึ้นได้

: โรคแคงเกอร์ มีวิธีกำจัดหลากหลายวิธีดังนี้
1. ปูนขาวผสมน้ำและฉีดพ่น
2. เสต๊ปโตมัยซิน
3. จุลินทรีย์ปราบโรค
4.เชื้อราไคโตรเดอม่า โดยผสมกับน้ำฉีดพ่น และยังป้องกันโรครากเน่าได้อย่างดี
(สายพันธุ์มะนาวมีผลต่อการติดโรคแคงเกอร์ได้เช่นกัน มะนาวแป้นพวง แป้นรำไพ เป็นพันธุ์ไม่ต้านทานต่อโรคแคงเกอร์ การเลือกปลูกพันธุ์ตาฮิติ พิจิตร1 เพื่อเน้นการป้องกันโรคก็เป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน
5. ฉีดพ่นสารประกอบคอปเปอร์
 โรคแคงเกอร์ ลักษณะจุดด่างดำ แข็ง

โรค
หนอนม้วนใบ

-สแคป เกิดจากเชื้อรา มีอาการคล้ายแคงเกอร์เป็นจุดเล็กน้อย หากติดเชื้อแล้วมีอาการจะไม่หาย เกิดในช่วงฝนตกชุก และความชื้นสูง ถ่ายเทอากาศได้ไม่ดี กิ่งมะนาวด้านบนบังทรงพุ่มด้านล่าง ทำให้กิ่งมะนาวด้านล่างติดเชื้อราบ่อย แก้ไขโดยการตัดกิ่งมะนาวในพุ่มตรงกลางโดนแดด หรือใช้คอปเปอร์พ่นเป็นระยะในช่วงที่มีฝนตกบ่อย

-หนอนชอนใบ ที่เกิดจากผีเสื้อกลางคืน กัดกินเนื้อเยื่อภายใน

-หนอนแก้ว

-หนอนผีเสื้อกินใบมะนาว

เทคนิคการทำให้มะนาวดกในฤดูแล้ง
มะนาวจะมีราคาแพงเดือนเมษายน ราคาถึงลูกละ 7 บาท แต่ผลผลิตในช่วงนั้นตกต่ำ  มะนาวใช้เวลา 5 เดือนครึ่งนับแต่ออกดอกจึงเก็บขายได้  ฉะนั้นดอกมะนาวจะต้องออกเดือนพฤศจิกายนจึงจะเก็บมะนาวขายในเดือนเมษายนได้

เดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคมเป็นช่วงฤดูหนาว ความชื้นในอากาศจะน้อย กระตุ้นการผลิตเอทิลีนหรือเรียกว่าสารแก่(ethylene) ไปกระตุ้นการพักตัวของพืช ใบไม้จะเหลืองและร่วง หากมะนาวออกดอกในช่วงนั้น ดอกก็จะไม่ค่อยติดลูก ดังนั้นจำต้องทำลายการพักตัวของพืชโดยให้สารจิบเบอเรลลินหรือสารหนุ่ม (Gibberellin) ไปทำลายการพักตัวของพืชโดยข่มฤทธิ์ของ ABA ซึ่งทำให้เกิดระยะพักตัว เมื่อใส่สารจิบเบอเรลลินทำให้พืชอยู่ในสภาวะอ่อนวัยและพร้อมที่จะสืบพันธุ์ได้ กระตุ้นการออกดอก กระตุ้นการติดผล มะนาวที่ได้รับสารจิบเบอเรลลินจะติดผลลูกดก ปัญหาที่พบกับยังไม่หมดอยู่แค่นั้นเมื่อเข้าสู่เดือนมกราคมสภาพอากาศแปรปรวน 1 เดือนมีถึงสภาพอากาศทั้งหนาวจัด ร้อนมาก และฝนหลงฤดู ทำให้ดอกมะนาวที่เพิ่งออกดอกกับร่วง ผลผลิตตกต่ำอีก

การออกดอกของมะนาว เป็นผลจากการที่พืชเกิดภาวะเครียด อันเกิดจากพืชเกิดบาดแผล(ใบร่วง) ทำให้ระบบการBalance ธาตุอาหารในพืชไม่สมดุลกันเป็นผลให้พืชออกดอก วิธีการให้ใบร่วงเด็ดออกบ้าง หรือเอาปุ๋ยยูเรียผสมน้ำแล้วฉีดพ่นไปทางใบ ใบจะร่วงออกทั้งหมดเมื่อแตกยอดให้ ดอกจะออกมาพร้อมกัน

ยามที่ดอกมะนาวออกแล้ว ไม่ต้องพ่นสารเคมี ควรให้น้ำตามปกติ ใส่ปุ๋ยสูตรเร่งขยายผล และธาตุอาหารเสริม พ่นฮอโมนเพื่อป้องกันการหลุดร่วง
สาเหตุลูกมะนาวร่วงเกิดจากหลายปัจจัย เช่น อาหารภายในต้นไม่เพียงพอ ขั้วมะนาวหลุดร่วง หรือเกิดจากเชื้อราเข้าขั้วโดยปรากฎที่ขั้วเป็นสีเหลือง  ฝนตกติดต่อกันหลายวัน ท้องฟ้าปิดเป็นเวลานาน ดินชุ่มเกินไปทำให้รากขาดอากาศและไม่สร้างอาหาร


การเก็บผลมะนาว
คัดเลือกลูก ผิวตึงวาวเป็นมัน เปลือกบางใส สัมผัสแล้วนิ่มมือ รูขุมจะเล็ก และมีแต้มสีเหลือง ผลมีขนาดเต็มที่แล้ว ตูดของลูกออกแป้นๆแบนๆค่อนข้างเรียบ


ผลิตภัณฑ์และการแปรรูป
-น้ำยาล้างจานมะนาว
-มะนาวดอง

การนำไปใช้
-มะนาวทั้งเปลือกใช้ตำส้มอร่อยแซ่บหลาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น