วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การเพิ่มมูลค่าข้าว


1. วิธีการลดต้นทุนการผลิต หากเราเป็นผู้ผลิตข้าวและค้าข้าวไปด้วย ผลที่ได้จากการสีข้าว แกลบ รำข้าว นำไปขายสร้างมูลค่าลดต้นทุนการผลิตน้อย ปัจจุบันพบเกษตรกรเป็นผู้ค้าขายหาลูกค้าจาก social media เช่น facebook 

2.การวัดความหอมคุณภาพของข้าว เป็นการเพิ่มเอกลักษณ์พิเศษในตัวสินค้า แรงดลใจต่อผู้ซื้อ และส่วนใหญ่สินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีราคาแพง เช่น Nepal tea , Parmesan cheese  สินค้าเหล่านี้ล้วนใช้ความหอมของสินค้าเป็นจุดขาย  

3. Fair trade  การสร้างระบบยุติธรรมทางการค้า Fairtrade ทางด้านแรงงาน สิ่งแวดล้อม สังคม ราคาสินค้า รับรองโดย FLO ( Fairtrade Labelling Organizations) โดยสมาชิกต่างๆจากโลกที่หนึ่ง
 

4.ช่องทางการส่งข้าว  การเพิ่มยอดขาย ให้ผู้ซื้อเริ่มรู้จักสินค้า ให้ความสะดวกกับผู้ซื้อ เป็นวิธีการปรับตัวธุรกิจในปัจจุบันเพื่อแข่งขันกับผู้ค้ารายใหญ่ในตลาด หากผู้ขายมีธุรกิจหลักซึ่งอาศัยโลจิสติกส์เป็นหลักอำนวยความสะดวกให้กับผู้ค้าเช่น ธุรกิจสิ่งพิมพ์  การขายน้ำดื่ม  การขายข้าวสารถุงเสริมการขายในธุรกิจดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายเป็นอย่างมาก

5. สินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์  ประสบการณ์โดยตรงของผู้ซื้อข้าวหอมมะลิรับประทานหากมีโอกาสไปเที่ยวหรือธุระส่วนตัวในเขตภาคอีสานเช่น บุรีรัมย์  สุรินทร์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ ยโสธร ร้อยเอ็ด หากคุณลองซื้อข้าวหอมมะลิเฉพาะพื้นที่เหล่านี้มารับประทาน  มีรสชาติอร่อยและหอมกว่าข้าวหอมมะลิภาคอื่นๆของประเทศ  ลักษณะการผลิตสินค้าจากพื้นที่ภูมิศาสตร์โดยเฉพาะเรียกว่า GI ย่อมาจาก Geographical indications  การสร้างเอกลักษณ์สินค้าทางภูมิศาสตร์ต้องในเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น หากไปปลูกในพื้นที่อื่นคุณภาพสินค้าลดลง  เมื่อสินค้าออกสู่ตลาดน้อย มีเฉพาะบางพื้นที่ จึงเป็นการสร้างแบรนด์ให้มูลค่าสินค้าสูงขึ้น สินค้าเหล่านี้มีทั่วโลกเช่น  แชมเปญ ต้องผลิตขี้นจากเมือง Champagneประเทศฝรั่งเศส อีกตัวทีเป็นไอเดียหลักคือ Nepal Tea เป็นชาจากเมือง Dhankutamkตั้งทางภาคตะวันออกของเนปาล โด่งดังจากตัว Aromatic Tea ได้รับการสนับสนุนเป็นสินค้า GI จากการเมืองเนปาล  เกษตรกร องค์กร ภาคเอกชนเช่นตระกูลVidya  ชาโด่งดังมากในเยอรมัน อเมริกา ญี่ปุ่น
6. การผลิตสินค้าและการบริการใหม่ ( new products and services )  สิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับเศรษฐกิจ สังคม ความทันยุคทันสมัย  เรียนรู้พฤติกรรมผู้บริโภค สินค้าเหล่านี้ได้รับผลตอบแทนสูงเนื่องจากเป็นผู้นำตลาดและได้รับการยกย่องจากสังคมเพราะต้องใช้การครีเอทีฟ และเอาใจใส่สินค้าและผู้บริโภค

7. นักออกแบบผลิตภัณฑ์และนักสร้างแบรนด์ ( packaging designer and branding ) ผู้ผลิตสินค้าตัวจริงอย่างเกษตรกร หากเรียนรู้และสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ของตนเองขึ้นมา 

8. สร้างจุดขายสินค้าใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเจเบื่อหน่าย ( สินค้ายอดนิยมและความเบื่อหน่ายจำเจพึงระลึกอยู่จุดเดียวกัน) 

9. การสร้างสินค้าที่มีจำนวนจำกัด ( Limited edition) ตัวอย่างเช่นลักษณะข้าวที่มีเฉพาะในท้องถิ่นอย่างข้าวดอยจังหวัดเชียงราย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น