วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

การประกันภัยพืชผลการเกษตร (Crop Insurance)

การประกันภัยพืชผลทางการเกษตร(Crop Insurance)



ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ฝนแล้ง ไฟไหม้ ลมพายุ ศัตรูพืชและโรคระบาด นับวันจะเกิดภัยบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น เป็นสาเหตุที่ทำให้ความเสียหายแก่ผลผลิต ทรัพย์สินและชีวิต

การลดลงหรือสูญเสียไปซึ่งมูลค่าอันเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอน (ความเสี่ยงภัย) เช่น เราทำนาเสร็จแล้ว น้ำท่วมหรือเกิดภัยแล้งนาข้าวก็ไม่มีผลผลิตให้เราหรือได้น้อยลง

โอกาสที่จะเกิดความเสียหายในอนาคตโดยเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นนั้นเป็นเหตุการณ์ที่มีความไม่แน่นอน และไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ เช่น เราปักนาดำเสร็จแล้วต่อจากนั้นเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า น้ำจะท่วม หรือฝนจะแล้ง
การประกอบอาชีพการเกษตรมีความเสี่ยงที่สำคัญคือ ความเสี่ยงด้านราคาและความเสี่ยงด้านการผลิต

รัฐบาลทุกสมัยได้ให้ความสำคัญ และมีมาตราการรองรับดูแลเกษตรกร โดยการรับจำนำผลผลิต การประกันรายได้ และการแทรกแซงราคา เป็นต้น

ความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่นับวันจะเกิดรุนแรงและมากขึ้น แม้เกษตรกรจะได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาล แต่เมื่อเทียบกับเงินลงทุนทำการผลิตถือว่าน้อยไม่เพีงพอในการลงทุนทำการผลิตใหม่ หากไม่มีเงินทุนสำรองอาจต้องกู้เงินดอกเบี้ยแพง
 

การประกันภัยพืชผลการเกษตรสามารถแก้ปัญหาได้

การประกันภัยพืชผล
เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยลดหรือบรรเทาความเดือดร้อนจากการได้รับความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติต่างๆ "ค่าเบี้ยประกันภัย" ให้กับ "ผู้รับประกันภัย"
เมื่อผู้ทำประกันภัยได้รับความเสียหาย ผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินชดเชย "ค่าสินไหมทดแทน" ให้ "ผู้ทำประกันภัย"


ใครสามารถทำประกันภัยพืชผล
ผู้ที่จะทำประกันภัยพืชผล จะต้องเป็นผู้ที่ทำการผลิตพืชผลนั้นๆด้วยตนเองและเป็นเจ้าของผลผลิตนั้น


ทำประกันภัยพืชผลเมื่อใด
การประกันภัยพืชผลจะกำหนดระยะเวลาคุ้มครองไว้ล่วงหน้า โดยระยะเวลาคุ้มครองนี้จะตรงกับช่วงระยะเวลาเพาะปลูกของพืชแต่ละชนิดดังนั้น การทำประกันภัยจึงต้องทำก่อนเริ่มระยะเวลาเพาะปลูกของพืชแต่ละชนิด

ติดต่อทำประกันภัยพืชผลที่ใด
ผู้รับประกันภัยได้ร่วมกับ ธ.ก.ส. ในการเป็นช่องทางเผยแพร่ข่าวสาร และการให้บริการจัดทำประกันภัยพืชผล ดังนั้น เกษตรกรสามารถขอทำประกันภัยพืชผลและติกต่อสอบถามได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา


ประโยชน์การทำประกันภัยพืชผลคือ
1. ได้รับเงินชดเชย (สินไหมทดแทน) เมื่อเกิดความเสียหาย
2. มีเงินทุนเพียงพอทำการผลิตใหม่ เมื่อเกิดความเสียหาย
3. เกษตรกรมีภูมิคุ้มกันตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง


ศูนย์บริการลูกค้า (Call Center) 0 2555 0555
เลขที่ 2346 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900
โทรศัพท์: 0 2558 6100 ต่อ 8120-3
โทรสาร: 0 2558 6218

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

ผักเสี้ยนดอง

ผักเสี้ยนดอง

การปลูก 
เป็นพืชปลูกหมุนเวียนได้ตลอดเพราะขายได้ตลอดทั้งปี ปลูกได้ในดินทั่วไป รดน้ำ ใส่ปุ๋ย ให้เพียงพอไม่ให้ขาดเพราะจะทำให้พืชที่ได้เกร็ง ไม่สมบูรณ์ส่งผลถึงความหวานของพืชได้  เป็นพืชที่ขึ้นง่ายแข็งแรง ไม่ค่อยเป็นโรค หากเป็นโรครักษาหายง่าย

เมล็ดผักเสี้ยนมีน้ำหนักเบา ก่อนหว่านลงแปลงควรระมัดระวังลมเนื่องจากการปลูกต้องใช้วิธีการหว่าน

ใบ
ใบเลี้ยงเดี่ยว

โรค


การเก็บเกี่ยว
เก็บได้ตั้งแต่ใบจนถึงราก คัดต้นที่อวบอ้วน อ่อน ราคาผักเสี้ยนดองคงที่ตลอด แต่ไม่ควรเก็บขายช่วงเทศกาลหยุดยาว เพราะช่วงนั้นตลาดเงียบ คนไม่นิยมทาน เทศกาลอะไรบ้าง เช่น ปีใหม่ สงกราน

การใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยมูลสัตว์เช่น ขี้ไก่ มูลไส้เดือน การพิจารณาจะใส่มูลสัตว์ชนิดใดนั้น ควรพิจารณาจากอาหารที่สัตว์ชนิดนั้นกิน เช่น ไก่กินรำ เมล็ดพืช แมลง ไส้เดือนกินไม้ผุ วัวควายกินหญ้ามีการเคี้ยวเอื้อง มูลละเอียด ช้างม้ากินหญ้า ใบไม้  ไม้เคี้ยวเอื้อง มูลหยาบ หมูกินรำซื่งคุณค่าทางอาหารสูง พิจารณาเอาว่ามูลสัตว์ที่ได้จะมีคุณค่าอย่างไรต่อพืช
ไส้เดือนย่อยสลายอินทรียวัตถุที่มันกิน เมื่อไส้เดือนถ่ายจึงมีจุลินทรีย์มาก เราจึงใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ไปย่อยอินทรียวัตถุในดินเพื่อแปรสภาพให้กับต้นพืชต่อไป จุลินทรีย์จะตายเมื่อถูกแดดดังนั้นค
วรเก็บปุ๋ยจากไส้เดือนไว้ในที่ร่ม


ผลผลิต
อายุการเก็บเกี่ยวไว ได้ราคาดี ได้เงินเข้ากระเป๋าไว แต่ต้องทำแปลงปลูกบ่อยๆ

อาหาร
ผักเสี้ยนดอง โดยเลือกคัดต้นขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง เพียงแต่ต้องใช้ต้นอ่อน การทำผักเสี้ยนดองควรเน้นที่ความสะอาดเป็นสำคัญ  ผักเสี้ยนดองมีรสชาติหวาน กรอบ จะเป็นที่ถูกปากของผู้ทาน

อีกสูตรในการทำผักเสี้ยนดอง คือ นำมะเขือขื่น ทุบเมล็ดออก ซอยบางๆ ดองรวมกับผักเสี้ยนด้วย แล้วทานกับพริกสด (ลูกโดด) ได้รสชาติทั้งเผ็ดทั้งแซบ


ขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยเมล็ด

ตะไคร้

ตะไคร้

ตะไคร้จัดอยู่ในพืชดอก แม้ไม่มีดอก เป็นพืชรากตื้นไม่สามารถกันการพังทลายของหน้าดินได้
ตะไคร้เป็นที่ต้องการของตลาดสูง ทุกครอบครัว หรือแทบทุกมื้อทานตะไคร้ ชาวต่างชาติมาทำงานในไทยเช่น พม่า เขมร ทานตะไคร้เป็นชีวิตจิตใจ กับข้าวทุกอย่างใช้ตะไคร้เป็นส่วนมาก

พันธุ์ตะไคร้
-พันธุ์เกษตรหรือตะไคร้หยวก สีขาวนวล หยวก  มีความฉุนปานกลาง เป็นพันธุ์ตะไคร้ที่ต้องถึงน้ำ ปุ๋ย และยาเร่งจึงจะได้ตะไคร้สีขาวหยวก
-พันธุ์หัวค้อน หัวเล็กคล้ายหัวค้อน น้ำหนักดี ส่งสินค้าให้กับโรงงาน
-พันธุ์พื้นบ้าน กลิ่นตะไครแรง


การปลูก
ซื้อพันธุ์แนวต้นมาจากตลาด น้ำมาแช่น้ำ เมื่อรากงอกจึงนำไปปลูก เมื่อตะไคร้แตกกอใหญ่ขึ้น จึงขยายต้นออกไปปลูก โดยไม่ควรปลูกให้ห่างกันมากนัก แค่พอเป็นแถวเดินได้ก็พอแล้ว หากกอตะไคร้โดนแสงแดดส่องจะทำให้ต้นมีสีม่วงๆ ซึ่งตะไคร้จะไม่สีขาว  อาจโดนแม่ค้ากดราคาหาว่าตะไคร้แก่ได้

การปลูกตะไคร้เป็นไร่ 1 ไร่ ควรจัดระบบน้ำหยดให้ดี ข้อดีของการปล่อยน้ำหยดก็คือ น้ำจะค่อยๆซึมลงสู่ดิน ให้น้ำทั้งเช้าและเย็น เช้าให้เวลา 8 โมง น้ำจะหยดไปเรื่อยๆ จากนั้น 4 โมงเย็นจึงกลับมารดอีกที การให้ระบบน้ำหยดน้ำในดินยังชุ่มอยู่แม้ผิวดินจะแห้งแล้วก็ตาม ลดการเสียแร่ธาตุในดินจากการชะล้างของน้ำ การให้น้ำให้เฉพาะ 2 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นหากสภาพอากาศแล้งมากค่อยให้น้ำ  เมื่อ 4-5 เดือนเก็บเกี่ยวได้ 1 กอจะให้ผลผลิต 5-6 กิโลกรัม

แต่หัวใจของระบบหยดน้ำคือเครื่องกรอง หากน้ำมีหินปูนหรือตะกอนดินสายน้ำหยดจะตัน3-6 เดือน ต้องเอาเข็มเจาะน้ำ น้ำจะพุ่งออกมามากกว่าปกติกลายเป็นว่าตรงนั้นพืชที่แฉะไม่โต เมื่อนานไประยะ 2-3 ปีต้องเดินสายใหม่

การแก้หินปูน หินปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนต ใช้กรดฟอสฟอรัสแอซิดหรือปุ๋ย 16-60-0 ใส่ลงไปในช่วงพักน้ำจะช่วยให้หินปูนตกตะกอนแล้วยังมีธาตุฟอสฟอรัสช่วยในการออกดอกถือว่าได้ประโยชน์สองต่อ

การใส่ปุ๋ย
ใส่ปุ๋ยจากมูลสัตว์ ได้แก่ ขี้ไก่

โรค
หนอนกอ

การเก็บเกี่ยว
การขุดตะไคร้เพื่อขายไม่จำเป็นต้องขุดทั้งกอ เอาเฉพาะต้นขนาดใหญ่ ต้นเล็กเก็บเอาไว้ให้โต แล้วโกยดินรอบๆถมกลับเข้าไป จะทำให้ต้นที่เหลือโตขึ้นแทนที่ เราก็ตัดตะไคร้ขายได้เรื่อยๆ ตะไคร้ที่ได้เมื่อตัดเสร็จแล้วควรแช่น้ำทันทีเพื่อคงความสดไว้ อายุในการเก็บเกี่ยว 4.5 เดือน

ราคา
ต่ำสุดกิโลกรัมละ 8 บาท
เดือนมกราคม 2555 ราคากิโลกรัมละ 56 บาท
ขณะนี้วันที่ 26 มกราคม 2557 ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 15 บาท

การอาหาร
ยำตะไคร้
-ตะไคร้ทอดกรอบ ในน้ำมันปาล์ม โดยตำตะไคร้ให้เป็นเส้นใย แล้วทอดในน้ำมันให้ท่วม จะได้ตะไคร้ทอดกรอบสมใจ

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

พืชผักชนิดออกดอกและผลเร็ว เพื่อปลูกผักทดลองสำหรับเด็ก

พืชผักชนิดออกดอกและผลเร็ว เพื่อปลูกผักทดลองสำหรับเด็ก

หอม กระเทียม
ถั่วเขียว
ดอกดาวกระจาย
ผักชี ผักบุ้ง ยี่หร่า คะน้า กวางตุ้ง ถั่วงอก
คื่นช่าย
มอร์นิ่งกลอรี่ งอกง่าย สังเกตการเจริญเติบโตได้ง่ายเพราะโตทุกวัน มีหลายสี

การเพาะปลูกเตรียมดิน
วัสดุเพาะ
1. ล้างเมล็ดให้สะอาด แช่น้ำอุ่น 6-8 ขั่วโมง
2. เตรียมดิน หรือวัสดุเพาะดังนี้
2.1 ขี้เถ้าแกลบ
2.2 กาบมะพร้าวสับเป็นชิ้นเล็ก
2.3 ขุยมะพร้าวร่อน

วิธีผสม
1. นำขุยมะพร้าวร่อนให้เหลือแต่ขุยมะพร้าวละเอียดๆ 2 ส่วน
2. ขี้เถ้าแกลบ 1 ส่วน ผสมให้เข้ากัน

ขั้นตอน
1. นำกาบมะพร้าวสักเป็นชิ้นเล็กๆ....รองก้นภาชนะปลูก
2. นำส่วนผสมวัสดุเพาะข้างต้นใส่ลงไปเหลือขอบไว้ใส่เมล็ดพันธุ์....รดน้ำให้ชุ่ม
3. โรยเมล็ดพันธุ์ให้เต็มพื้นหน้า (ชั้นเดียว)
4. กลบเมล็ดพันธุ์ด้วยวัสดุเพาะที่เหลือ บางๆ หรือใช้ใยมะพร้าวจากการร่อนปิดบังก็ได้
5. รดน้ำทุกเช้า วางไว้ในที่ร่ม ใช้เวลา 5-7 วัน ก็นำต้นกล้าอ่อนๆมารับประทานได้

Reference: เอกสารแจกฟรี พร พรรณไม้

ประโยชน์ข้อดี-เสีย ปลูกผักไร้ดิน




ประโยชน์ข้อดี-เสีย ปลูกผักไร้ดิน
กล่าวข้อเสียเป็นประการแรก
ปลูกผักไร้ดินเช่นระบบ Hydroponics ถึงแม้จะไม่ต้องคำนึงเรื่องคุณภาพดิน แต่ต้องคำนึงเรื่องน้ำที่ใช้เช่น
-ค่ากรด-ด่าง PH ของน้ำ
-สารอาหารที่จำเป็นต่อผักและพืช ไนโตรเจน(N) , ฟอสฟอรัส(P), โปแตสเซียม(P), แคลเซียม(Ca), กำมะถัน(S), แมกนีเซียม(Mg) และ ซิลิคอน (Si)
ถ้าใช้น้ำอย่างเดียวพืชจะขาดสารอาหาร ซึ่งก็จะเป็นพวกธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง

1. แม้ว่าการปลูก Hydroponics จะคุ้มค่าในระยะยาว แต่ต้องใช้ต้นทุนสูงในระยะแรก อุปกรณ์ราคาแพง ต้นทุนผักที่ปลูกต่อต้น ต่อหนึ่งกิโลกรัมแพงมาก
2. การใช้ปุ๋ยน้ำต้องมีปนิมาณที่แม่นยำ และการติดตั้ง ความยาวของท่อ ความลาดชัน ความเร็วของน้ำ ต้องมีความแม่นยำ
3. กรรมวิธีต้องมีความสะอาด เพราะควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อราได้ยากมาก โดยที่ติดเชื้อราแล้ว จะติดทั้งระบบ
4. พืชแต่ละชนิดจะต้องการแร่ธาตุ และตัวยึดเกาะที่แตกต่างกัน ซึ่งเกษตรกรสามารถสับสนได้ง่าย
5. ต้องมีการควบคุมที่ดี นอกจากระวังเชื้อราแล้ว ต้องระวังไม่ให้ปุ๋ย แร่ธาตุ โดนแสงแดด เพราะแร่ธาตุบางชนิดจะตกตะกอน หรือเปลี่ยนคุณสมบัติเมื่อโดนแสง
6. การลงทุนสูง ต้องมีปัจจัยในการปลูกพืชระบบนี้คือ ไฟฟ้า น้ำ ธาตุอาหารที่พืชต้องการในรูปของสารเคมี   เช่นใช้ไฟฟ้าในการหมุนเวียนของน้ำ ถ้าไฟดับแล้วไม่มีระบบสำรองไฟซึ่งมีราคาแพง สามารถทำให้สูยเสียผลผลิตทั้งหมดได้ ผู้ปลูกต้องศึกษา ทำความเข้าใจในเทคนิคที่เลือกใช้

ข้อดี
-พืชเจริญเติบโตได้เร็วและได้ผลผลิตสูงกว่า
-ปลูกพืชได้ทุกฤดูกาลและทุกสภาพอากาศ
-ปลูกพืชได้แม้ไม่ค่อยมีพื้นที่สำหรับปลูกพืชหรือพื้นที่ดินไม่เหมาะสมสำหรับการปลูก
-ไม่ต้องใช้ดินเพราะดินแต่ละที่มีความแตกต่างทั้งแร่ธาตุและความร่วนซุย
-น้ำที่นำมาใช้ในระบบ สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้เป็นการประหยัดน้ำ ถ้าเทียบกับการปลูกพืชธรรมดาที่น้ำจะซึมลงดินชั้นล่างหมด

-สามารถควบคุมปริมาณปุ๋ยหรือแร่ธาตุที่ให้ ซึ่งถ้าปลูกพืชแบบใช้ดินมักต้องใส่ปุ๋ยเกินไว้ก่อน การปลูกพืชแบบHydroponicsเป็นการประหยัดแร่ธาตุ

- ไม่มีแร่ธาตุหรือสารพิษส่วนเกิน ที่มีผลกระทบให้ผลผลิตเปลี่ยนไป

- สามารถควบคุมโรคและแมลงได้ดีกว่าการปลูกพืชในดิน เพราะอุปกรณ์สีขาวๆ ทำให้สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่สีของดินทำให้เราแยกไม่ออก จนต้องเอาไปเข้าห้องวิจัย หาเชื้อโรค เชื้อรา
-ลดการใช้สารเคมี เนื่องจากมีการควบคุมสภาพแวดล้อม ควบคุมศัตรูพืชได้ง่าย

-การปลูกพืชบนดินจะมีจุลินทรีย์ช่วยสร้างอาหารไว้ส่วนหนึ่ง อีกทั้งดินเป็นตัวแลกประจุ ไม่ต้องใส่ปุ๋ย AB ราคาแพง (ปุ๋ยสำหรับผักไฮโดรโปรนิกส์)

-เป็นผักที่สามารถจำหน่ายได้ราคาในตลาด โดยต้องเจาะกลุ่มตลาดให้ได้   ในช่วงหน้าแล้งผักมีราคาแพง ตลากขาดแคลนสินค้า เป็นช่วงได้เปรียบในการแทรกการตลาด
-มีผลกระทบในเรื่องของสารพิษน้อยซึ่งเป็นเรื่องจุดขายด้วย อันเนื่องมาจากแหล่งน้ำของผักไฮโดรโปรนิกมาจากน้ำประปา

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

Coco"nut" มะพร้าว

Coconut มะพร้าว




มะพร้าวอ่อน

มะพร้าว Coconut palm
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cocos nucifera
ชื่อCoconut ชาวยุโรปเป็นคนตั้งขึ้นมา

80 ประเทศทั่วโลกปลูกมะพร้าว ส่วนใหญ่พบในประเทศที่ติดทะเล อ่าว หรือมหาสมุทร ซึ่งปลูกบริเวณชายฝั่ง มะพร้าวเป็นพืชตระกูลเดียวกับปาล์ม เจริญเติบโตสูงได้ถึง 30 เมตร ใบมะพร้าวมีลักษณะเป็นใบขนนก pinnate ในหนึ่งต้นมียอดเพียงหนึ่งยอดเท่านั้น ใบที่แก่ที่สุดของมะพร้าวจะอยู่ด้านล่างสุดและจะร่วงลงพื้นก่อน เปลือกลำต้นมะพร้าวมีผิวเรียบเป็นคลื่น

รากต้นมะพร้าวมีทั้งรากแก้ว (tap root)เป็นรากที่มีขนาดใหญ่กว่ารากอื่นๆเจริญมาจากradicle หรือembryonicroot ช่วยในการยึดเกาะและพยุงลำต้นตั้งตรง ทรงตัวได้ดี และ root hair มีลักษณะเป็นขนเส้นเล็กๆ เป็นฝอยจำนวนมากอยู่เหนือปลายรากเล็กน้อย เพิ่มพื้นที่ในการดูดซึมน้ำและแร่ธาตุ
มะพร้าวเจริญเติบโตได้ดีในดินทราย และมีแดดส่องถึง แต่จะโตไม่เต็มที่หากขาดน้ำ



มะพร้าวแห้ง

ประเทศผู้ผลิตมะพร้าว
อันดับต้นของโลกได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย บราซิล ศรีรังกา ไทย หากรวมผลผลิตทั่วโลกต่อปี 61 ล้านตัน
ประเทศอินเดีย
แหล่งที่พบมะพร้าวในประเทศอินเดียเช่น
รัฐเกรละ (Kerala) เป็นรัฐใต้สุดของประเทศอินเดีย
รัฐทมิฬนาฑู (นา-ดู) (Tamil Nadu)
รัฐพอนดิเชอร์รี่ (Puducherry)
รัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh)
รัฐกรณกฏกะ(Karnataka)
รัฐกัว (Goa) เป็นเมืองชายหาดสวยรายล้อมด้วยมะพร้าวสูงใหญ่ หาดที่มีชื่อเสียงคือ อันจูน่า บีช (Anjuna Beach)
รัฐมหาราษฏระ(Maharashtra) เป็นรัฐที่ร่ำรวยที่สุดของอินเดีย
รัฐโอริสสา (Odissa)
รัฐเบงกอลตะวันตก (West Bengal)
หมู่เกาะลักษทวีป (Lakshadweep) เป็นเกาะที่สวยที่สุดและเป็นรัฐที่เล็กที่สุดของอินเดีย
หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ประเทศอินเดีย Andaman and Nicobar
รัฐเหล่าได้ผลิตสินค้าจากมะพร้าว อาทิเช่น น้ำมะพร้าว, น้ำมันมะพร้าว, เนื้อมะพร้าวแห้งcopra นำไปทำเค้ก คุกกี้ ,น้ำตาลมะพร้าว, ผลิตภัณฑ์จากเปลือกมะพร้าวแห้ง, ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไม้มะพร้าว, ผลิตภัณฑ์จากใบมะพร้าว, ผลิตภัณฑ์จากกาบมะพร้าว (coir pith) ทั้งหมดมวลนี้ สินค้าที่ได้รับยอดนิยมของชาวภารตะคือเนื้อมะพร้าวและกาบมะพร้าว

มัลดีฟ Maldives
นักท่องเที่ยวทั่วโลกหลั่งไหลเข้าสู่มัลดีฟ เมืองมัลดีฟจึงเต็มไปด้วยชาวต่างชาติ ต่างภาษา มะพร้าวจึงกลายเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและชื่นชอบ จึงเป็นผลพลอยได้ให้ลูกมะพร้าวกลายเป็นผลไม้นานาชาติ ชาวพื้นเมืองมัลดีฟใช้ประโยชน์มะพร้าวจาก เนื้อไม้มะพร้าวนำไปสร้างแหล่งที่อยู่อาศัย เรือ ใบมะพร้าวนำไปทำหลังคาบ้าน ลูกมะพร้าวบริโภคเป็นส่วนใหญ่ด้วยวิธีการเก็บลูกมะพร้าวจากขั้นบันได

ตะวันออกกลาง
จุดศูนย์รวมผลิตภัณฑ์มะพร้าวอยู่ที่เมือง Dhofar ประเทศโอมาน โดยแหล่งปลูกมะพร้าวทอดยาวตามอ่าวเปอร์เซีย ทะเลอาราเบียน ทะเลแดง ซึ่งมีสภาพอากาศแบบเขตร้อน
การปลูกมะพร้าวจะเริ่มจากการปลูกในโรงเพาะต้นอ่อน เมื่อโตพอระยะใบมะพร้าวเริ่มออก 3-4 ใบจะเริ่มปลูกลงพื้นที่จริงตามหาดต่างๆโดยใช้น้ำทะเลหรือน้ำจืดรดต้นไม้

ศรีลังกา Sri Lanka
ประเทศศรีลังกาเป็นแหล่งวิจัยมะพร้าว "The Coconut Research Institute of Sri Lanka " เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรมมะพร้าว

สหรัฐอเมริกา
พบมะพร้าวที่รัฐฮาวายและฟลอริดาเท่านั้น ทางด้านอ่าวฟลอริดาตะวันตกและเมลเบิร์นทางอ่าวฟลอริดาตะวันออก เมืองที่พบได้แก่ Tampa ฟลอริดา และเมือง Clearwater ฟลอริดา

ออสเตรเลีย
พบมะพร้าวขึ้นทางอ่าวตอนเหนือของนิวเซาเวลล์


ลำต้นมะพร้าว
ลำต้นมะพร้าว
ชาวมัลดีฟ(Maldives)ใช้ประโยชน์จากลำต้นมะพร้าวไปทำเรือหรือสร้างบ้าน โดยเจาะจงเลือกใช้ต้นที่ใหญ่และแก่ เพื่อให้ได้แกนต้นที่แข็งแรง และใช้ใบมะพร้าวทำหลังคาบ้าน ประเทศมัลดีฟมีพื้นที่ล้อมรอบทะเล การเกษตรกรรมจึงปลูกมะพร้าวเป็นส่วนใหญ่ การใช้ประโยชน์จากมะพร้าวของชาวมัลดีฟแทบจะใช้ทุกส่วนของต้น ผลมะพร้าวยังเป็นผลไม้นานาชาติต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกด้วย


การปลูกมะพร้าว
เริ่มจากการเพาะลูกมะพร้าวต้องเพาะในที่ที่มีความชื้น มีหลากวิธีเพาะเช่น เพาะโดยใช้ฟางข้าวคลุมหรือวางมะพร้าวในท้องร่องน้ำ มะพร้าวที่นำมาใช้ในการเพาะควรเป็นมะพร้าวแก่จัด โดยเลือกลูกที่สุกคาต้นไม่ใช่มะพร้าวที่เขียวคาต้นอยู่

วิธีการปลูกเน้นที่การคัดเลือกพันธุ์ คัดมะพร้าวแจ้หรือมะพร้าวแกรนทิ้ง นำลูกมะพร้าวอ่อนมาเพาะขาย หากปลูกต้นมะพร้าวโตเต็มที่ 3 เดือนแล้วจะตายลงทันที ต้นลีบ หน่อยอดขนาดเล็ก ใบมีจำนวนมากผิดปรกติ

วิธีการนำต้นอ่อนลงดินพึงให้เห็นหน่ออ่อนหรือวันลูกเป็นสำคัญ หากปลูกแบบเอาดินกลบกลางต้น ต้นมะพร้าวจะไม่ขยายตัว

การปลูกมะพร้าวกะทิ
แหล่งปลูกมะพร้าวกะทิเขื่อนเขาแหลม เกาะมะพร้าวอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ที่นั้นจะมีเฉพาะสวนมะพร้าวกะทิ การปลูกมะพร้าวกะทิต้องปลูกห่างจากมะพร้าวพันธุ์พื้นเมือง 5 กิโลเมตร เพื่อกันแมลงผสมเกสร ติดต่อขอซื้พันธุ์มะพร้าวกะทิได้ที่ มหาวิทยาลัยเกษตร บางเขน โทร 0-2579-0113 , 0-2942-8500-11 หรืองานเกษตรแฟร์ประจำปี ประมาณช่วงต้นปีของทุกปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เทคนิคดีๆ จากการปลูก มะพร้าวกระทิ(เพื่อเพิ่มการเป็นกระทิ)
เมื่อได้ต้นพันธ์มาแล้ว(ควรเป็นต้นที่เพิ่งแทงยอดออกมายอดใบยังไม่แตก)
ให้เอาเลื่อยตัดตูดลูกมะพร้วว ให้กระลาขาดเลย
แล้วควักเอาจาวในลูกมะพร้าวออก
จากนั้นให้เอาดินเหนียวผสมขี้เถ้ายัดเข้าไปให้เต็มลูก
แล้วค่อยเอามะพร้าวลูกนั้นไปปลูก

และเพื่อเพิ่มผลที่เป็นกระทิ
เมื่อมะพร้าวนั้นเริ่มออกจั่น(จั่นต้องยังไม่แตก ไม่บาน)
ให้เอาถุงกระดาษห่อจั่นทั้งหมดให้ดอกบานในถุง
การทำเช่นนี้เพื่อให้ดอกมะพร้าวผสมในทะลายเดียวกัน
เกิดเป็น ยีนส์ด่อย จึงทำให้เกิดโอกาศเป็นกระทิสูงขึ้น  (อ้างอิง: ลุงแว่น)

ทะลายมะพร้าว
โรคและศัตรู
หนอนขาว อาศัยอยู่ในดินเป็นตัวอ่อนของแมลงปีกแข็งกินอินทรียวัตถุที่เริ่มย่อยสลายแล้วเป็นอาหารเช่นขี้วัว เศษอาหาร วิธีการกำจัดเอาไปให้ไก่กิน หากใช้สารเคมีในการกำจัดคือ ฟูราดาน แต่ไม่แนะนำเนื่องมีสารพิษแรงและตกค้างเป็นระยะเวลานาน เป็นสารไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส สารตัวนี้ในต่างประเทศห้ามใช้แล้ว

-ด้วงไฟ เข้าไปไข่แล้วกินไส้มะพร้าวเป็นอาหาร รักษาโดยการฉีดยาภายนอกหรือโรยเกลือ

-ด้วงงวงมะพร้าวหรือด้วงสาคู เกิดจากพ่อแม่ด้วงเข้าไปไข่ที่ยอดมะพร้าว ตัวอ่อนจะเข้าทำลายไส้ในด้วยความรวดเร็ว ต้นที่โดนทำลายแล้วผ่าต้นมะพร้าวพบด้วงอยู่ภายในแล้วเอาด้วงมาผัดน้ำมันอร่อยมาก
บริเวณรอบๆสวนหากมีกองขี้เลื่อย โคนต้นมะพร้าว ขี้วัวเก่า เมื่อคุ้ยพบตัวอ่อนจัดการทำลาย และรวบรวมเศษวัสดุทำลายด้วยราเขียวเมตาไรเซี่ยม เป็นสารทำลายวงจรของแมลง



ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว
-เปลือกมะพร้าวปั่นใย ส่งโรงงานทำที่นอน เก้าอี้ ขุยมะพร้าวเอาไปทำปุ๋ย หรือส่งขายสวนกล้วยไม้
-กะลามะพร้าวเผา ขายให้กับโรงงานกรองน้ำหรือโรงงานทำเครื่องกรองอากาศเพราะถ่านกะลากันสารพิษได้ดีที่สุด
-(มีผู้ใช้)น้ำมันมะพร้าว นำมากรองให้สะอาดอย่างต่ำ 3 ไมครอนใช้แทนน้ำมันดีเซลโดยไม่ต้องนำไปผสมน้ำมันก๊าด
-กะลาดิบ
-ถ่านกะลา
-กากเนื้อ
-น้ำมันหีบเย็น
-น้ำมันหีบร้อน
-ผิวมะพร้าวตากแห้ง
-เนื้อมะพร้าวขาว
-น้ำมะพร้าวสามารถนำมาทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพแทนกากน้ำตาลได้
-การผลิตวุ้นน้ำมะพร้าวเพื่อเลี้ยงเชื้อเห็ด
-น้ำมะพร้าวสะอาดนำไว้ใช้ดองหน่อไม้และปลาร้า
-นำไปทำเมนูขาหมูน้ำมพร้าว
-เนื้อมะพร้าวอ่อนที่เหลือนำไปตากแห้งแล้วนำไปขายทำส่วนผสมอาหารสัตว์  หรือ วุ้นมะพร้าวอ่อนแช่เย็น , มะพร้าวแก้ว, ทำเป็นเครื่องขนมหวานเช่น ลอดช่อง ทับทิมกรอบ ไอศครีม , ทำสังขยาในลูกมะพร้าว, เต้าฮวยมะพร้าวอ่อน, น้ำจุลินทรีย์หมักหรือปุ๋ยหมัก

(coconut flowers) ดอกต้นมะพร้าว 
ดอกมะพร้าว Coconut flowers
ดอกมะพร้าวนำไปทำน้ำหวานน้ำตาลมะพร้าวสดได้( sweet syrup ) หรือหากนำไปต้มให้เดือดจนแห้งทำเป็นลูกอม (candy) หรือ น้ำตาลมะพร้าวก้อน ( coconut sugar หรือ palm sugar หรือ jaggery)

ไม่เพียงแต่ไทยที่ใช้ประโยชน์จากดอกมะพร้าว ประเทศฟิลิปปินส์ก็นำดอกมะพร้าวมาทำน้ำตาล (ภาษาฟิลิบส์เรียกว่า Tuba) Eng: Toddy และยังได้นำดอกมะพร้าวไปทำว้อดก้ามพร้าว หรือ coconut vodka ชาวฟิลิปปินส์เรียกว่า Lambanog





เมนูอาหาร
น้ำมันมะพร้าวนำไปประกอบอาหารประเภทผัด โรยหน้าขนมปัง คุกกี้ เนื้อขนมปัง มาการีน โดยคัดสรรใช้เนื้อมะพร้าวสดหรือแห้ง
ส่วนน้ำกะทิ นำไปประกอบอาหารคาวหวานเช่น แกงกะหรี่ ขนมไทย น้ำกะทิแตงไทย
แป้งมะพร้าว coconut flour ใช้ในการทำขนมอบ
Coconut chip เน้นไปในการบริการนักท่องเที่ยว
และ Coconut butter


น้ำมะพร้าว Coconut water
เป็นส่วนของเอนโดสเปร์ม มีรสชาติหวาน ประกอบด้วย ไฟเบอร์ โปรตีน เอนติอ๊อกซิเดน Antioxidants วิตามิน มิเนอรัลMinerals การดื่มน้ำมะพร้าวสดจะช่วยให้ร่างกายหายเหนื่อย บำรุงสมอง เหมาะกับผู้ที่เล่นกีฬา

น้ำกะทิ Coconut milk
คั้นจากเนื้อมะพร้าวสดโดยใช้น้ำร้อนเป็นตัวทำละลาย เพื่อให้ได้น้ำกะทิ ประกอบอาหารคาวหวาน น้ำกะทิประกอบด้วยสารอาหารเช่น น้ำมันมะพร้าว และอโรมาติก

น้ำมันมะพร้าว Coconut oil
นำมาประกอบอาหาร จำพวกผัด สามารถใช้แทนนำมันพืชได้เพียงแต่มีราคาแพงกว่า ส่วนใหญ่นำไปทำ butter หรือ lard
ปัจจุบันมีการทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับมะพร้าวยามราคาตก


ยอดมะพร้าว coconut sprout
ยอดมะพร้าว
ยอดมะพร้าวหารับประทานยากมาก การจะได้ยอดมะพร้าวมะต้องแลกด้วยชีวิตมะพร้าวหนึ่งต้น จึงได้ชื่อขนานนามว่า "Heart of palm " หรือ Millionaire's salad หรือ Coconut sprout อาหารนำไปทำเมนู แกงยอดมะพร้าวอ่อน ห่อหมกยอดมะพร้าว



fresh coconut เนื้อมะพร้าวอ่อน

ศัตรูพืช
แมลงดำหนาม  แมลงกินยอดทำให้มะพร้าวยืนต้นตาย บวกกับสภาพอากาศแห้งแล้ง ขาดน้ำ วิธีแก้ไขใช้แตนเบียนแมลงดำหนามมะพร้าวเป็นการกำจัดโดยชีววิธี


Coconut leaves ก้านมะพร้าว

พันธุ์มะพร้าว
-มะพร้าวกะทิน้ำหอม มี 2 สายคือ พันธุ์ข้าวเจ้าน้ำในใส เนื้อไม่ฟูหนา
และอีกสายพันธุ์คือพันธุ์ข้าวเหนียว น้ำข้นเหนียว เนื้อฟู ตลาดนิยม

-มะพร้าวไฟ เปลือกสีเขียว ตรงจุกเป็นสีชมพู ปลายรากมีสีแดง มีขนาดลูกเล็ก เปลือกบาง เนื้อน้อยแต่เนื้อหนา หอมสู้พันธุ์อื่นไม่ได้  ส่วนใหญ่จะเอาทำยา และน้ำรสซ่าคล้ายน้ำอัดลม

-มะพร้าวแกง ผลแก่รสชาติมัน น้ำซ่าไม่มีกลิ่นหอม น้ำไม่หวาน แต่กินน้ำมะพร้าวอ่อนได้เช่นกัน ลูกใหญ่ขนส่งได้น้อย ขึ้นโต๊ะอาหาร ดูใหญ่ไม่สวยแต่มีประโยชน์ทางด้านคั้นกะทิ ทำขนม

-มะพร้าวน้ำหอม ทั้งเนื้อและน้ำหวานหอมอร่อยแต่ลูกเล็ก น้ำน้อย เนื้อน้อย มีทั้งชนิดกินน้ำอย่างเดียวและกินทั้งน้ำและเนื้อเป็นข้อดีทางการค้า ขนาดกำลังดี ขนส่งง่าย ขึ้นโต๊ะสวย ขนาดพอดีมือ ถือกินได้สะดวก 


การขยายพันธุ์
-มะพร้าวไม่สามารถตอนได้ โดยส่วนใหญ่เพาะเนื้อเยื่อและใช้ผลมะพร้าวปลูก  แต่มีงานวิจัยจากอินเดีย กล่าวว่า สามารถตอนมะพร้าวได้เช่นกัน โดยการควั่นเปลือกรอบต้นแล้วหุ้มด้วยขุยมะพร้าวเพื่อให้แตกราก แต่ไม่ได้กล่าวระบุวิธีการขนต้นมะพร้าวที่ตอนลงอย่างไร


Reference: guru google
wikipedia.org

วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

ต้นกก Papyrus

ต้นกก



กก Papyrus
กกเป็นพืชไม้ล้มลุก เป็นพืชธรรมชาติที่ขึ้นอยู่ทั่วทุกภูมิภาค เจริญเติบโตเร็ว ใช้ประโยชน์จากพืชได้จริง กกปลูกในที่มีดินร่วนซุย มีน้ำขังเล็กน้อย ลำต้นของกกคือส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์ ผิวจะเหนียวและอ่อนนุ่ม ลักษณะดอกออกเป็นช่อซึ่งประกอบด้วยดอกย่อย 6-20 ดอก ขยายพันธุ์โดยใช้หัวเหง่าเหมือนข่าและเมล็ด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyperus imbricatus

ต้นกกปลูกในที่มีดินร่วนซุย มีน้ำขังพอให้แฉะ  เตรียมดินโดยการพรวนดินให้ร่วนซุยก่อน จากนั้นนำหน่อต้นกกมาปลูก ปลูกประมาณ 10 วัน รากเริ่มติดดินจึงใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15


ดอกกก

ระยะที่ต้นออกดอก เป็นช่วงที่ต้นกกมีความเหนียว อายุได้ 2-4 เดือน จึงนำลำต้นกกไปใช้ประโยชน์ โดยตัดบริเวณโคนต้นเพื่อให้ต้นกกแตกหน่อขึ้นมาใหม่ได้อีก

การนำต้นกกไปใช้ กรรมวิธีในไทยอาศัยธรรมชาติในกระบวนการ นำต้นกกไปตากแดดให้แข็งเพิ่มความเหนียว เมื่อแห้งจะได้กกสีขาว หลังจากนั้นจึงนำไปย้อมสี แล้วนำกกที่ได้เข้ากระบวนการทอเสื่อเป็นผืน เสื่อที่ได้จะทน เหนียว อายุการใช้งานไม่ต่ำ 5 ปี

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกกพบทั้งในไทยและต่างประเทศ อาจเนื่องจากอิทธิพลทางความคิด ปัจจัยการดำรงชีพมุ่งการใช้สอยในครัวเรือน ของผู้คนในอดีตที่คล้ายกัน

สินค้าจากกก ไม่ได้หยุดอยู่กับที่ ได้ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัยขึ้นทั้งในรูปแบบ ลวดลาย เน้นความเท่โก้เก๋แก่ผู้ใช้ ทั้งสินค้าไทยและต่างประเทศ


การขยายพันธุ์
-โดยเมล็ด
-โดยแขนงเหง่า


เสื่อกกสีและลายธรรมชาติ




การทำนากก
คล้ายกับการทำนาข้าว เริ่มจากไถดิน แล้วปักหน่อกกลงดินคล้ายการทำนา ส่วนขั้นตอนหลัง คือ การดูแล หญ้า วัชพืช ไม่ให้ขึ้น การใส่ปุ๋ย เหมือนการดูแลนาข้าวปกติ

ผลิตภัณฑ์
เสื่อกก, กล่องทิชชู่, เสื่อกกรองแก้วรองจาน, เสื่อกกที่มีลายคล้ายเปลือกไม้, เสื่อยาวถวายวัด, ของชำร่วย, กระเป๋าเลดี้, เสื่อกกแบบที่นอนบุฟองน้ำ, กล่องเอนกประสงค์, เบาะนั่่งกกบุฟองน้ำ, เสื่อกกที่นอนบุยางพารา

การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก ควรเก็บรักษาในที่แห้ง ไม่มีความชื้น ไม่มีรา หากขึ้นราต้องนำตากแดดทันที

ลายเสื่อกก ยอดนิยมเช่น ลายหมากจัก, ลายพานพุ่ม, ลายกาบเพชร, ลายเกล็ดเพชร, ลายตะขอคู่, ลายดอกหาด

ประเทศอียิปต์
กกอียิปต์หรือ Egyptian papyrus ลำต้นขึ้นเป็นกอเหมือนกกไทย ลำต้นชุ่มน้ำ เหนียว เส้นใยเป็นเส้นและมีน้ำยางทำให้เส้นใยเกาะเหนียวแน่น ชาวอียิปต์โบราณจึงนำมาทำเป็นกระดาษ สานหลังคาบ้าน

การบันทึกลงบนกระดาษปาไปรัส เช่น การบันทึกประวัติศาสตร์ของชาวอียิปต์ลงหนังสือ A section of the Egyptian Book of the Dead หรือ หลักฐานการทำสัญญาซื้อขายลงบนปาไปรัส "Bill of sale for a donkey" การเก็บรักษาเอกสารเหล่าจะม้วนเข้ารูปไว้ และเก็บในที่แห้ง เนื่องด้วยสมัยอียิปต์โบราณติดต่อสื่อสารโดยใช้กระดาษปาไปรัสเป็นสื่อกลาง ภายหลังเริ่มคิดค้นกระดาษจากใยฝ้าย กระดาษปาไปรัสจึงได้รับความนิยมลดน้อยลง







Reference: pages of OTOP Baan Plang
wikipedia.org

วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

กะเพรา

กะเพรา


กะเพรา Ocimum sanctum , Holy basil , Tulasi
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum sanctum
กะเพราเป็นไม้ล้มลุก ขึ้นง่ายก็ตายง่ายเช่นกัน สาเหตุการตายสภาพอากาศร้อนและขาดน้ำรุนแรง  เรามุ่งใช้ประโยชน์จากใบและดอกกะเพราไปในการประกอบอาหาร และในส่วนดอกกะเพราแก่ไว้ใช้ขยายพันธุ์

ลำต้นกะเพรามีความแข็ง ตั้งตรง ลำต้นอ่อนมีสีเขียว ลำต้นแก่มีสีน้ำตาล กะเพรามีขนตามลำต้น ส่วนใบกะเพรามีรูปเป็นมน ขอบใบเป็นคลื่นและมีขนตามใบ ยิ่งมีขนมากกะเพรายิ่งหอม

การปลูกกะเพราปลูกได้ทุกสภาพดิน เพียงให้มีแดดส่องตลอดและให้น้ำสม่ำเสมอ หากปลูกในดินดานหรือดินเปรี้ยวและไม่ค่อยรดน้ำกะเพรายิ่งมีกลิ่นฉุนมากกว่าดินประเภทอื่น


สายพันธุ์
-กระเพราขาว
-กระเพราแดง
-กระเพราลูกผสมระหว่างกระเพราขาวและกระเพราแดง



อาหาร
ผัดกะเพรา เป็นอาหารที่นำเนื้อหมู ไก่ ผัดกับพริกแล้วตบท้ายด้วยใบกระเพรา ทานกับข้าวสวยและไข้ดาว คนไทยรู้จักและทานกันเคยชินแล้ว แต่ในต่างประเทศอย่างญี่ปุ่นกับเป็นเมนูอาหารไทยที่คนญี่ปุ่นชอบมากที่สุด

ผัดกระเพราในประเทศญี่ปุ่นจัดอยู่ในอาหารยอดนิยมพลัสด้วยราคาที่แพง ท่ามกลางอาหารนานาชาติที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบอาทิเช่น อิตาเลียน ฝรั่งเศส จีน เวียดนาม สแกนดิเนเวียน เนปาล อียิป ฮาวาย  เหตุที่ราคาแพงไม่ใช้ว่าแพงเพราะเนื้อหมูหรือเนื้อไก่ แต่คือใบกระเพรา เพราะประเทศญี่ปุ่นกระเพรามีน้อยมาก จะมีก็แต่ที่จังหวัดโอกินาว่าและจิบะซึ่งมีสภาพอากาศใกล้เคียงกับไทย ส่วนใหญ่ใบกระเพราต้องนำเข้ามาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คนญี่ปุ่นชอบในรสชาติผัดกระเพรามาก รสชาติกลมกล่อม หอมกลิ่นกระเพรา เมนูที่ชอบเป็นพิเศษคือ กะเพราหมูสับไข่ดาว คนญี่ปุ่นมีการโฆษณา เมนูผัดกระเพราเช่นกันบนรอไฟสาย yamanote line จึงสะท้อนความนิยมอาหารไทยของคนญี่ปุ่นได้พอสมควร

เมนูอาหารอื่นๆที่เป็นที่ชื่นชอบของคนญี่ปุ่นเช่น แกงเขียวหวาน ยำวุ้นเส้น ทอดมัน ผัดไทย ต้มยำกุ้ง ส้มตำ ข้าวผัดปู

ในหลายๆประเทศที่ไม่สามารถปลูกกระเพราได้ จึงดัดแปลงใช้ Basil แทนกระเพรา Basil คือผักที่ใช้ทำพิซซ่า แต่กลิ่นและรสในอาการจะสู้กระเพราของไทยไม่ได้เลย  ด้วยเหตุนี่ในซุปเปอร์มาเก็ตในประเทศสหรัฐจึงต้องติดฉลากคำว่า Thai Basil เพื่อป้องกันการสับสนของลูกค้า (ประเทศสหรัฐอเมริหาเองก็ชอบเมนูผัดกระเพราเช่นกัน แต่ชอบที่จะให้สับหรือซอยใบกระเพราถี่ๆ)

ใบกระเพราของฝรั่งก็มีเหมือนกันน่ะเช่น Sweet basil , Greek basilหรือBasil bush  Greek basil ได้รับความนิยมจากคออาหารไทยมากกว่าเนื่องจากกลิ่นใกล้เคียงกับกระเพราไทย

โรค
: ใบหงิก เมื่อใบหงิกแล้ว โครงสร้างของใบจะเสียไปแล้วจึงต้องตัดกิ่งทิ้งเพื่อให้แตกใบใหม่ สาเหตุใบหงิกเกิดจากเพลี้ยแป้งหรือเพลี้ยอ่อน

หากตัดกิ่งแล้วแตกยอดมาใหม่แล้วใบยังคงหงิกอยู่ แสดงว่าต้นขาดธาตุแคลเซียม ถ้าหายหงิกแสดงว่าแมลงรบกวน


Reference : wikipedia.org

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

ผักกาดเขียวปลี

ผักกาดเขียวปลี 




ผักกาดเขียวปลี  Mustard greens or Indian mustard or Chinese mustard or Leaf mustard or ผักโสภณ
คนจีนเรียกผักกาดเขียวปลีว่า "ต้๋วฉ่าย"(tua chai) หรือ Gai chai ในภาษาเขียน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica juncea ใช้ระยะการปลูกสั้น ชอบอากาศหนาวเพราะจะทำให้ปลีภายในยิ่งใหญ่ อวบและกรอบมาก

ผักกาดเขียวปลีเป็นพืชจากผักกาดเขียว จัดเป็นผักใบสีเขียว ที่ตัดใบออกให้เหลือแต่ปลีกลมๆภายใน มีลักษณะปลีกลม ยิ่งอากาศหนาวปลียิ่งใหญ่ อวบ กรอบ ในประเทศไทยพื้นที่ภาคเหนือนิยมปลูก ผักกาดเขียวปลีเป็นพืชตระกูลเดียวกับผักกาดหอม คะน้า ส่วนของผักที่ใช้บริโภคเป็นใบ ลำต้น

ผักกาดเขียวมีรสขมมาก การปรุงอาหารจึงต้องนำมาลวกน้ำร้อนก่อนแล้วแช่น้ำเย็นก่อนนำไปผัดเป็นเมนูขึ้นโต๊ะ

สารอาหาร
ผักกาดเขียวปลีให้สารอาหาร วิตามิน เอ วิตามิน เค  แคลเซียม

อาหาร
ไม่เพียงแต่ไทยที่บริโภคผักกาดเขียวเป็นหรอก ประเทศอย่างแอฟริกา อิตาลี อินเดีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อาหารของชาวแอฟริกาในอเมริกา(soul food) เมนูอาหารของพวกเค้าก็อย่างเราๆนี้แหละ ผัดผักในน้ำมัน ผักดอก(canning) ผักกาดดองกระป๋อง มาการีน ต่างประเทศยังนิยมนำเมล็ดผักกาดไปทำมัสตาด น้ำมันพืชจากเมล็ดผักกาดและเป็นหนึ่งในน้ำมันพืชที่ดีที่สุดอีกด้วย

ชาวรัสเซีย ชอบนำเมล็ดผักกาดไปทำน้ำมันเมล็ดผักกาดเพราะเชื่อว่าเป็นหนึ่งในน้ำมันที่ดีที่สุด เมนูอาหารที่นำผักกาดไปทำเช่น มาการีน การดองหรือถนอมอาหาร การทำขนม มาการีนเป็นที่นิยมชมชอบของชาวรัสเซียมากที่สุด

ใบผักกาด เมล็ด ลำต้น ชาวแอฟริกา เนบาล จังหวัดPunjab (อ่านว่า Panjab)ในประเทศอินเดีย ปากีสถานนำมาประกอบอาหารทั้งหมดและ จะเรียกผักกาดเขียวปลีว่า Sarson da saag โดยเฉพาะชาวอินเดียนิยมมัสตาดมากที่สุุดซึ่งมัสตาดของพวกเค้าผลิตจากเมล็ดผักกาดเขียวและผลที่ได้มัสตาดจะมีสีน้ำตาล
(เมนูอย่างผัดผักรวม เรียกว่า "achar")

ผักกาดเขียวปลีเป็นพืชตระกูลเดียวกับคะน้า กระหล่ำ collard greensgเป็นผักชนิดหนึ่งคล้ายคะน้ามาก เมนูอาหารจึงไม่พ้นพวกผัดกับน้ำมัน การผัดผักรวมกับผักสีเขียวชนิดอื่น หรือผักสีอื่นๆ ใส่เนื้อสัตว์ เนื้อหมู ต่างๆ

ในเมนูอาหารจีนและญี่ปุ่น มีความคล้ายคลึงกันชอบใส่ผักกาดเขียวปลีเป็นส่วนประกอบในอาหาร เช่น Takana ซึ่งจริงๆแล้วก็คล้ายผัดผักในไทย อีกอย่างที่ชาวจีนและญี่ปุ่นนำผักกาดเขียวไปทำอาหารคือสตู ซึ่งทำกับมะขามและพริก

Reference: wikipedia.org

วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557

สะเดา

สะเดา

ใบสะเดา

สะเดา หรือ Neem plant หรือ Nimtree หรือ Indian Lilac
ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta indica
สะเดามีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย เจริญเติบโตได้ดีในที่กลางแจ้ง สะเดาไม่ต้องการน้ำมากก็เจริญเติบโตได้ดีและเจริญเติบโตได้ดีในดินทราย ชอบสภาพอากาศร้อนหรือกึ่งเขตร้อน ดินที่แตกระแหงหรือแล้งสะเดาก็เจริญเติบโตได้ดีมากๆ เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ เนื้อไม้สามารถนำไปก่อสร้างบ้านได้ ต้นขนาดใหญ่จะสูง 15-20 เมตร
ใบของสะเดาเขียวชอุ่มตลอด เว้นแต่ในช่วงมกราคมเข้าสู่ช่วงผลัดใบ ใบสะเดาจะเริ่มร่วงจนหมดต้น กิ่งก้านสะเดาแผ่ออกด้านกว้าง เมื่อสะเดาเริ่มมีอายุ 5 ปีขึ้นไปเปลือกจะเริ่มแตกระแหงและมีขนาดหนาขึ้น
มีการเปรียบเทียบว่าต้นสะเดามีความคล้ายคลึงกับต้น ไชน่าเบอร์รี่

ใบสะเดาหากเมื่อร่วงแล้วเป็นวัสดุชั้นดีเพิ่มความโปร่งซุยในดิน เก็บความชื้นในดินได้ดี สะเดาเป็นไม้ที่ตัดแต่งกิ่งได้ง่าย การควบคุมทรงพุ่มก็ง่าย

ใบสะเดามีสีเขียวเข้มและใบดกมาก ลักษณะใบแยกออกจากแกนกลาง ส่วนดอกสะเดามีขนาดเล็ก มีสีขาวและขาวอมม่วง  ในหนึ่งต้นสะเดา ดอกสะเดาจะมีทั้งเพศผู้และเพศเมีย ถือว่าเป็น ไบเซ็กชวล

ดอกสะเดา
ใบและดอกสะเดามีรสชาติขม ในทางการแพทย์เรียกของที่มีรสขมว่า Bitter ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำลาย ช่วยการย่อยอาหาร ช่วยให้เจริญอาหาร จึงแนะนำให้คนสูงอายุทานของขม เพื่อช่วยการทำงานของระบบทางเดินอาหาร

การให้มียอดสะเดาไว้รับประทานทั้งปี โดยทำการตัดยอดสะเดา ยอดสะเดาจะแตกออกมาให้กินยอดตลอดทั้งปี ซึ่งเน้นที่พันธุ์สะเดามันทะวาย เป็นสะเดาที่มีรสขมน้อยกว่าสะเดาทั่วๆไป รสชาติออกมัน 





ผลสะเดา มีผิวเรียบสีเขียว เมื่อสุกสีจะออกสีเหลือง

ในจังหวัดทางตอนใต้ของอินเดียและปากีสถาน มีสภาพอากาศที่แล้งและดินแตกระแหง ดินสภาพแบบนี้ก็ปลกสะเดาได้ดี น้ำที่ใช้รดสะเดาเป็นน้ำอะไรก็ได้ ไม่คำนึงถึงคุณภาพน้ำ เช่น น้ำบาดาล น้ำบ่อธรรมชาติ น้ำบ่อสร้าง

การขยายพันธุ์ ด้วยการใช้เมล็ด โดยต้องเพาะปลูกทันที เพราะจาวภายในเมล็ดจะแห้งเมื่อปลูกจะไม่งอก





ไม้สะเดาเมื่อเริ่มอายุหลาย 20 ปีขึ้นไปภายในจะเริ่มเป็นโพรง อีกไม่นานก็จะตายลงจึงต้องแปรรูปไม้สะเดาทำเป็นไม้กระดาน(เนื้อไม้ไม่บิดโค้งเหมือนไม้ชนิดอื่นๆ)  ปลวก มอด ไม่กิน สีเนื้อไม้ค่อนข้างสวย หากเป็นแก่นไม้ด้วยแล้วลายยิ่งสวย

สายพันธุ์
-สะเดาช้าง
-สะเดาเทียม


การใช้งาน
สะเดาเป้นสารฆ่าแมลงซึ่งอยู่ในใบและเมล็ด คือสาร อาซาดิเรซติน Azadirachtin  ใบของสะเดาที่แห้ง ชาวอินเดียและปากีสถานจะเอาไว้ในตู้เสื้อผ้าเพื่อป้องกันแมลงกัดกินเสื้อผ้าและเอาไว้ในยุ้งข้าวเพื่อป้องกันมอด

ใบสะเดาที่แห้ง ชาวปากีสถานนำมาเผาจุดไล่ยุง ให้กับคนและสัตว์

ผัก
ยอดสะเดา ดอกสะเดา ซึ่งมีรสขมนำมาต้มสุก เป็นผักลวกจิ้มกับน้ำพริกและปลาดุกย่าง ลาบ น้ำตก พริกแจ่ว น้ำปลาหวาน แต่หากเป็นสะเดาขมมักจะไม่เข้ากับน้ำปลาหวาน  เป็นอาหารคู่เมนูสุขภาพ รับประทานกับข้าวสวยร้อนหรือข้าวเหนียว

ที่อินเดียนำดอกสะเดามาประกอบอาหารเช่นกัน ที่นั้นจะเรียกเมนูนี่ว่า Tamil Nadu
ยอดสะเดาอ่อนเอาไปผัดกับน้ำมันและมะเขือเปราะ เรียกเมนูนี่ว่า Nim begun

ที่พม่านำดอกสะเดาต้มกับมะขาม รับประทานกับน้ำพริกและข้าวสวย

ยา
นำสะเดาไปทำยาอายุรเวช  ตัวอย่างเช่น ยาป้องกันโรคผิวหนัง การสกัดน้ำมันสะเดาเพื่อบำรุงเส้นผม เป็นยาขับสารพิษในกระแสเลือด ควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือด ใบสะเดาใช้ในการทาผิวป้องกันโรค
ในใบและเมล็ดมีสารอาซาดิเรซตินซึ่งเป็นสารฆ่าแมลง การนำไปผลิตยาต้องใช้ด้วยความปลอดภัยและควบคุม วัย โรค และอายุของคนไข้

-ยอดสะเดาจืดและขม
-สารสะเดาฆ่าแมลง
-ต้นสะเดาใช้เลี้ยงมดแดง เลี้ยงโดยให้เศษอาหารและจัดหาน้ำให้มดแดง หากเป็นเศษเนื้อมดแดงยิ่งชอบ

อื่นๆ
น้ำมันสะเดาเป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางค์ สบู่ แชมพู ครีม ยาสีฟัน

ไม้สะเดานำไปทำที่ทำความสะอาดลิ้นเป็นที่นิยมในอินเดีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง

แก่นไม้สะเดาขนาดใหญ่ นำไปทำสิ่งปลูกสร้าง บ้านเรือน เพราะมีลวดลายสวยงาม

วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

พืชที่ให้รสชาติหวาน

พืชที่ให้รสชาติหวาน





ผักหวาน
ผักหวานมีทั้งพันธุ์ผักหวานบ้านและผักหวานป่า ผักหวานป่าเป็นที่นิยมและราคาแพงกว่าพันธุ์ผักหวานบ้าน การประกอบอาหารผักหวานนั้น จะนำส่วนยอดผักหวานมาประกอบอาหาร ซึ่งให้รสชาติหวาน  กรอบ หอมกินผักหวาน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะกลิ่น เมนูอาหารเช่น แกงผักหวานป่าใส่ไข่มดแดง แกงป่าผักหวาน ผัดผัก
สารอาหาร
วิตามินซีช่วยในร่างกายกระปี้กระเป่า ผิวหน้าสดใส เลดูเปล่งปลั่ง ลดการอักเสบของสิว ลดการอักเสบและซ่อมแซมส่วนมี่สึกหรอของร่างกาย
บีต้า แคโรทีนมีความสำคัญต่อการต้านอนุมูลอิสระป้องกันโรคมะเร็ง บำรุงสายตาในส่วนของเรตินา
แคลเซียมและฟอสฟอรัส บำรุงกระดูก ฟันและเหงือกให้แข็งแรง
ใยอาหาร








ดอกหอม Shallot flower stalks
ดอกหอมเป็นผลพวงจากต้นหอมแดง ต้นหอมแดงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium uscalonicum
ดอกหอมอยู่บนส่วนบนสุดของลำต้น ทั้งในส่วนของลำต้นและดอกจะนำไปประกอบอาหาร กลีบดอกหอมมีสีขาวอมม่วง  มีกลีบดอก 6 กลีบ และดอกจะออกในช่วงฤดูร้อน นำไปประกอบอาหารมีรสหวาน
สารอาหาร
น้ำและน้ำตาล ให้ความสดชื่นกระปี้กระเป่า
โปรตีน สารโปรตีนได้ให้ความหวานกับดอกหอม เป็นสารภูมิคุ้มกันจากสิ่งแวดล้อมและช่วยสร้างเซลล์เนื้อเยื่อใหม่
ไฟเบอร์ ช่วยในการขัดลำไส้ให้ลำไส้สะอาด





บวบ Angled Gourd หรือ Angled Loofah
ชื่อวิทยาศาสตร์ Luffa acutangula
บวบเป็นไม้เถา เจริญเติบโตโดยการเลื้อยขึ้นไปบนไม้ค้าง โดยนิยมนำไม้ไผ่ทำไม้ค้างเพราะมีกิ่งแตกแขนงเยอะ ลักษณะต้น รูปแบบการเจริญเติบโต และพฤกษศาสตร์ทางพืชบวบจึงเป็นพืชตระกูลเดียวกับ แตงกวา แตงไทย ดอกของบวบมีสีเหลือง ออกดอกเป็นเดี่ยวๆตามแขนงกิ่ง ผลบวบทรงยาว รูปกระบอก มีเหลี่ยมนูนขึ้นมาบนผิว เปลือกมีสีเขียว เนื้อบวบนั้นนิ่ม รสหวาน เนื้อคล้ายฟองน้ำ หากทานแล้วให้ความสดชื่น คลายร้อน

สารอาหาร
ไฟเบอร์และไซเลม(fiber and xylem) ไฟเบอร์ของบวบ เป็นส่วนที่มีใยอาหารสูงเป็นอย่างมาก ไฟเบอร์ของบวบเป็นเนื้อเยื่อไซเลม (xylem) ที่เป็นส่วนลำเลียงน้ำและแร่ธาตุต่างๆ
ไฟเบอร์มีคุณประโยชน์ต่อลำไส้ ขัดลำไส้ช่วยให้ลำไส้สะอาดป้องกันมะเร็งสำไส้ ถ่ายสะดวก อีกทั้งช่วยบำรุงผิวให้แลดูสดใส เปล่งปลั่ง
ฟอสฟอรัส เป็นธาตุที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตซึ่งทุกการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตเช่น กระบวนการATPในพืช องค์ประกอบของ DNA RNA ล้วนต้องใช้ฟอสฟอรัสในกระบวนการ
ธาตุเหล็ก ช่วยสร้างเม็ดเลือด โดยเฉพาะผู้ที่ขาดธาตุเหล็กในหญิงมีประจำเดือน







น้ำเต้า
น้ำเต้า หรือ Opo squash , bottle gourd , long melon หากดูภายนอกและเพิ่งเริ่มรู้จักเพียวครั้งแรกจะนึกว่าเป็นผลไม้ หากแต่ในความเป็นจริงกับเป็นผักชนิดนึง เลือกภายนอกมีสีเขียว เนื้อภายในมีสีขาว นุ่ม เมล็ดภายในอ่อนนุ่ม รสชาติหวาน  อาหารไทยที่นิยมนำไปรับประทานเช่น แกงเลียง แกงส้ม ผัดน้ำมัน ต้นเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก

คุณค่าทางสารอาหาร เช่น ไฟเบอร์ วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี แคลเซียม โพแทสเซียม ไรโบเฟลวิน เหล็ก ไนอาซิน
ความหมายของสารอาหารแต่ละชนิด
ไนอาซินniacin  ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในหลอดเลือดได้ หากขาดไนอาซินจะก่อให้เกิดโรคเพลลากรา
ไรโบเฟลวินriboflavin เป็นสารการเจริญเติบโตของร่างกาย หากขาดจะเป็นโรคแคระแกรน สลายไขมันในเส้นเลือด และบำรุงสายตาโดยเฉพาะคนเป็นโรคตาแฉะ
วิตามินเอ เป็นสารบำรุงผิวและเซลล์ของร่างกายโดยการทำงานของกรดเรติโนอิกretinoic acid  เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แหล่งที่พบวิตามินเออีกเช่น น้ำมันตับปลา ไก่งวง แครอท มันฝรั่งหวาน

ทั้งทีสารอาหารในน้ำเต้ามีคุณค่าอย่างมากแต่คนส่วนใหญ่กับไม่นิยมนำมารับประทาน แต่นำไปให้ประโยชน์อย่างอื่นอีกเช่น เป็นขวดบรรจุน้ำและสุราในชาวจีนโบราณ เป็นเครื่องดนตรีโคร่าKora ในแอฟริกา เป็นเครื่องประดับตบแต่งบ้านจากการใช้รูปทรงที่สวยงามของน้ำเต้าทรงเซียน




ข้าวโพดอ่อน Baby Corn 
ข้าวโพดเป็นพันธุ์ข้าวโพดหวานและข้าวโพดไร่ในระยะที่ฝักข้าวโพดเริ่มออกหูจากต้นข้าวโพด ข้าวโพดที่ได้มีขนาดเล็กเอ็มบริโอยังไม่เจริญเติบโตเต็มทีเลย รสชาติข้าวโพดอ่อนหวาน กรอบ อาหารยุโรปและอเมริกาไม่นิยมนำข้าวโพดอ่อนไปประกอบอาหารแต่กลับนิยมในฝั่งเอเซียโดยเฉพาะอาหารจีนและอาหารไทย

ความอร่อยของข้าวโพดอ่อนคงอยู่ที่ความหวานและกรอบ นำไปประกอบอาหารคาวได้รสชาติกลมกล่อมและเนื้อข้าวโพดกรอบพอดีคำ







ฟักทอง pumpkin

ฟักทองเป็นพืชเถา เจริญเติบโตโดยการเลื้อยขนานไปกับพื้นดิน บ้างในเกาะกับกิ่งไม้เพื่อช่วยในการเลื้อย ผิวภายนอกมีสีเขียวขรุขระ เมื่อแก่จะมีสีเหลือง เนื้อฟักทองมีสีเหลืองแข็ง เมื่อทำให้สุกจะนิ่ม รสชาติหวาน มัน  แกนกลางลูกฟักทองเป็นศูนย์รวมของลูกฟักทอง

สารอาหาร คาร์โบไฮเดรต, lutein, alpha, beta carotene, vitamin A
คาร์โบไฮเดตรเป็นแหล่งพลังงานของสิ่งมีชีวิต เป็นโครงสร้างของพืชcellulose เป็นตัวกลางที่สำคัญในกระบวนการ ATP ในสิ่งมีชีวิตหากขาดคาร์โบไฮเดรตจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เลย
lutein คือสารแคโรทีนอยด์สีเหลือง พบได้ในฟักทองซึ่งมีสีเหลือง  มีความสำคัญต่อการต้านอนุมูลอิสระป้องกันโรคมะเร็ง บำรุงสายตาในส่วนของเรตินา
vitamin A ช่วยบำรุงสายตา  กระดูก ผม ฟันและเหงือกในช่องปากแข็งแรง  บำรุงผิวพรรณ ลดการอักเสบของสิว ช่วยลบจุดด่างดำ







กระหล่ำดอก Caulifower
ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica oleracea
กระหล่ำดอกมีลักษณะเป็นก้อนๆ ดอกอัดกันแน่น ผิวเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกมีหลายสีแล้วแต่สายพันธุ์แต่มีขาวนิยมบนเมนูอาหารมากที่สุด เนื้อของดอกกรอบ รสชาติหวาน

พันธุ์ดั้งเดิมของกระหล่ำดอกแท้จริงมีสีขาว ส่วนในพันธุ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเช่น
สีส้ม ซึ่งแตกต่างจากดอกสีขาวตรงที่มี วิตามินเอมากกว่าดอกสีขาว เป็นพืชพื้นเมืองจากแคนาดา ชาวแคนาดาเรียกว่า Cheddar และ Orange Bouquet
สีเขียว บางครั้งเรียกว่า broccoflower
สีม่วง ที่แสดงออกเป็นสีม่วงเพราะมีสาร antioxidant ซึ่งเป็นสารเดียวกับที่พบใน red cabbage และ red wine

สารอาหารในกระหล่ำดอก
สารอาหารลดความอ้วน เช่น ไฟเบอร์ โฟเลต วิตามินซี
Sulforaphane
Carotenoids






แตงกวา Cucumber
เป็นพืชไม้เถาตระกูลเดียวกับฟักทอง แต่การเจริญเติบโตของแตงกวาบางสายพันธุ์สามารถเลื้อยขึ้นตั้งฉากกับพื้นโลกได้ จึงเห็นเกษตรกรทำไม้ค้างช่วยให้แตงกวาเลื้อยขึ้นได้
ดอกของแตงกวามีสีเหลือง ขนาดเล็ก ยามเช้าดอกจะบาน ยามตะวันตกดินดอกจะหุบ
สารอาหารแตงกวา
น้ำเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของแตงกวา แก้กระหายน้ำ เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว กำจัดของเสียตกข้างในร่างกาย
มีวิตามินซี ช่วยในร่างกายกระปี้กระเป่า ผิวหน้าสดใส เลดูเปล่งปลั่ง ลดการอักเสบของสิว ลดการอักเสบและซ่อมแซมส่วนมี่สึกหรอของร่างกาย
หากรับประทานส่วนเปลือกของแตงกวาช่วยเพิ่มกากใยอาหารช่วยขัดลำไส้ ถ่ายสะดวก ป้องกันท้องผูกและมะเร็วลำไส้ในระยะยาว เปลือกแตงกวายังอุดมด้วยแร่ธาตุเช่น ซิลิก้า โพแทสเซียม โมลิบดีนั่ม แมงกานีส แมกนีเซียม

วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

น้ำมันที่ได้มาจากพืช

น้ำมันที่ได้มาจากพืช


น้ำมันงา
งาที่ใช้ทำน้ำมันงา เป็นทั้งชนิดงาดำ และงาขาว  ซึ่งผลที่ได้ทั้ง น้ำมันงาดำ และน้ำมันงาขาว แต่ในกระบวนการแยกน้ำมันงาออกจากงาเป็นกระบวนการเดียวกัน
กระบวนการแรก ได้จากวิธีการบดจากเครื่องบดHammer Mill  แล้วนำมากรองเพื่อให้ได้น้ำมันงา น้ำมันงาที่ได้ สี กลิ่น รสชาติ เป็นธรมมชาติล้วนๆ นำมาใช้ในครัวเรือน
กระบวนการที่สอง การใช้เครื่องบีบอัดจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือการสกัดด้วยตัวทำละลาย ตัวทำละลายที่ใช้สกัดน้ำมันงาคือ เฮกเซน(hexane) เพื่อละลายน้ำมันงาออกจากเมล็ดงา น้ำมันงาที่ได้จะมีเฮกเซนผสมอยู่ เฮกเซนไม่สามารถรับประทานได้เพราะเป็นอันตรายต่อระบบหายใจ จึงต้องนำไปกลั่นแยกลำดับส่วนเพื่อแยกเฮกเซนออกจากน้ำมันงา ก็จะได้น้ำมันงาบริสุทธิ์ที่ต้องการใช้ หรือหลังจากนี้อาจจะมีกระบวนการฟอกสี ดูดกลิ่น ให้มีความหอมและน่ารับประทานยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการตลาดให้ง่ายยิ่งขึ้น

น้ำมันงาบริสุทธิ์ที่ได้มีสีเขียวอมเหลือง และสีน้ำตาล แล้วแต่ประเภทงา น้ำมันงาบริสุทธิ์มีกลิ่นหอมมากจึงใช้ในการแต่งกลิ่นอาหาร โดยไม่นิยมนำไปทอดกับเนื้อสัตว์





น้ำมันถั่วเหลือง
จัดอยู่ในจำพวกน้ำมันจากพืช น้ำมันถั่วเหลืองเป็นน้ำมันที่ดึงออกมาจากเมล็ดถั่วเหลือง soybean โดยใช้ีวิธีสกัด สกัดโดยตัวทำละลาย ตัวทำละลายมีหลายชนิด แต่ที่เหมาะสำหรับถั่วเหลืองคือ เฮกเซน hexane
เมล็ดถั่วเหลืองมีเปือกสีขาว ออกเหลืองนวล ค่อนข้างแข็ง โดยนำไปบดให้แตก อาจจะใช้เครื่องบดหรือ hammer mill จากนั้นต้องสกัดน้ำมันออกจากถั่วเหลืองโดยใช้เฮกเซนสกัดเป็นตัวทำละลาย น้ำมันถั่วเหลืองที่ได้จะมีเฮกเซนผสมอยู่ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบหายใจ  ต้องแยกเฮกเซนออกโดยวิธีระเหยหรือกลั่นแยกเฮกเซนออก ก็จะได้น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ ส่วนกากถั่วเหลืองที่เหลือเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานอาหารสัตว์ หรือ ผลิตเป็นเลซิติน lecithin ซึ่งในถั่วเหลืองเป็นพืชที่มีปริมาณเลซิตินสูงที่สุด

เลซิตินเป็นส่วนประกอบของเยื่อบุเซลล์ในพืชและสัตว์ เป็นสารที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิต มีหน้าที่และคุณสมบัติ ช่วยบำรุงระบบประสาท บำรุงสมอง ป้องกันและบำรุงอวัยวะภายในเช่น ถุงน้ำดีและตับ






น้ำมันรำข้าว
รำข้าวที่ใช้สกัดเป็นน้ำมันรำข้าว เป็นส่วนผนังของเปลือกข้าว ซึ่งเป็นส่วนที่หุ้มเอ็มบริโอและเอ็นโดสเปิร์มอยู่
รำข้าว มีส่วนประกอบดังนี้
Pericarp คือ เนื้อเยื่อพืช
Seed coat หรือ spermoderm คือ เปลือกหุ้มเมล็ด
Nucellus คือ เป็นเนื้อเยื่อหุ้มถุงเอ็มบริโอที่กำลังเจริญเติบโตอยู่ข้างใน
Aleurone layer คือ เยื่ออาลูโรนหรือชั้นรำข้าวซึ่งจะอยู่ติดเอ็นโดสเปิร์ม ซึ่งตรงนี้เองจะเป็นส่วนของน้ำมันรำข้าว โดยอุดมด้วยโปรตีนและไขมัน

รำข้าวที่นำมาสกัด ต้องเป็นรำข้าวสด มีสีแดงและทองผสมอยู่ พร้อมสกัดได้ทันที จะไม่เก็บรำข้าวไว้เพราะรำข้าวมีไขมันสูงจะหืนง่าย ยิ่งอากาศร้อนยิ่งหืนเร็วและปริมาณความชื้นสูง

การสกัดรำข้าวใช้ตัวทำละลายสกัด เช่น เฮกเซน แต่เนืื่องจากเฮกเซนเป็นสารอันตรายจึงต้องแยกเฮกเซนออกด้วยจึงจะได้น้ำมันรำข้าวบริสุทธิ์

ตัวอย่างของการนำน้ำมันรำข้าวไปใช้ประโยชน์ เช่น
ปรุงอาหาร ทำเนยขาว น้ำมันสลัด สบู่ สารกันผุกร่อน และกันสนิม




น้ำมันเมล็ดทานตะวัน
การแยกน้ำมันเมล็ดทานตะวันออกจากเมล็ดทานตะวันใช้วิธีการบีบโดยเครื่องบีบอัดเพื่อให้ได้น้ำมันเมล็ดทานตะวัน
โครงสร้างของเมล็ดทานตะวันที่นำมาทำน้ำมันทานตะวัน เป็นในส่วนของ เอ็นโดสเปิร์มendosperm ซึ่งอุดมด้วยโปรตีน ไขมัน และแป้งในรูปของสตาร์ชstarch
starchคือคาร์โบไฮเดรต โดยใช้วิธีการสตาร์ชนำสารประกอบอื่นๆออกจากคาร์โบไฮเดรต เพื่อให้ได้คาร์โบไฮเดรตดพียงอย่างเดียว
น้ำมันเมล็ดทานตะวันที่ได้ จะประกอบด้วยโปรตีน เหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินอีซึ่งสูงกว่าพืชชนิดอิ่นๆ กรดลิโนเลอิก
การใช้ประโยชน์จากน้ำมันทานตะวัน
การปรุงอาหาร น้ำมันสลัด อุตสาหกรรมอาหาร ทำครีมนวดผม ครีมและโลชั่น สี น้ำมันชักเงา เรซิน ผสมน้ำมันดีเซลเป็นไบโอดีเซลเพื่อใช้ในการเกษตรโดยเฉพาะ






น้ำมันปาร์ม
น้ำมันปาล์มผลิตมาจากผลปาล์มในส่วนผนังผลชั้นกลางของลูกปาล์ม โดยซื้อจากเกษตรกรทั้งปาล์มทะลายและปาล์มร่วง ซึ่งราคาปาล์มร่วงมีราคาดีกว่าปาล์มทะลาย
ในผลปาล์มสามารถผลิตน้ำมันได้ 2 ชนิดคือ 1. น้ำมันปาล์มดิบCrude palm oil ได้จากส่วนเปลือกของผลปาล์ม และอีกชนิดนึงคือ น้ำมันเมล็ดในปาล์ม Crude palm karnel oilผลิตจากเมล็ดของผลปาล์ม  ในน้ำมันปาล์มอุดมด้วย กรดไขมัน  สารแคโรทีนCarotenes เพราะผลปาล์มมีสีแดง

ในกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์มจากผลปาล์มใช้วิธีการสกัดจากตัวทำละลาย โดยการสกัดใช้เฮกเซน เฮกเซนเป็นของเหลวเป็นอันตรายต่อระบบหายใจ จึงต้องกลั่นแยกเฮกเซนทิ้งอีที จึงได้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์
การนำน้ำมันปาล์มไปใช้ เช่น เป็นส่วนผสมของมายองเนสและน้ำมันสลัด สบู่ ผงซักฟอก และที่นิยมในปัจจุบันคือการทำไบโอดีเซล

น้ำมันมะกอก
กระบวนการผลิตใช้วิธี cold press แปลลว่าสกัดโดยไม่ใช้ความร้อน แต๋่การสกัดด้วยความร้อนก็มี ต่างกันตรงที่การสกัดแบบ cold press ได้คุณภาพมะกอกที่ดีมากและดีที่สุด

น้ำมันมะกอกที่ดีที่สุดจะสกัดแบบ cold press น้ำมันจะออกมาจากส่วนเนื้อมะกอกเพราะจะต่างจากจำพวกที่ได้น้ำมันจากเมล็ดเช่น เมล้ดถั่วเหลือง งา เมล็ดทานตะวัน ข้าวโพด แต่ผลิตได้จำนวนน้อยมาก น้ำมันมีคุณภาพที่สุด เรียกน้ำมันชนิดนี้ว่า Extra Virgin Olive oil รสชาติและกลิ่นได้ได้มะกอกมาทั้งหมด วิตามิน สารอาหารต่างๆครบถ้วน กลิ่นหอมมาก วิธีเก็บเกี่ยวก็เก็บเอากับมือ เก็ลเฉพาะลูกสีเขียวเพราะจะได้น้ำมันที่มีคุณภาพ ต้องเก็บเดือน 10 11 12 เท่านั้น หากเก็บลูกสุกเกินไปน้ำมันที่ได้จะหืนมาก เก็บแล้วต้องเข้ากระบวนการสกัดทันทีจึงจะได้น้ำมันมะกอกที่สุดยอดของคุณภาพ โดยจะไม่นิยมนำน้ำมันมะกอกชนิดนี้ไปทอด เพราะการผ่านความร้อนจะทำให้มะกอกเสียรสชาติและกลิ่น เค้าจะเอาไปกินกับ salad ,soup ราดปลา นำไปจิ้มกับขนมปัง  ประเทศที่ชอบกินน้ำมันมะกอกแบบนี้มากที่สุดในโลกคือ อิตาลี โดยเมนูอาหารมีน้ำมันมะกอกเป็นส่วนประกอบมาก ส่วนประเทศที่ผลิตน้ำมันมะกอกมากที่สุดกลับเป็นสเปน

หากจะนำน้ำมันมะกอกมาทอด ควรเป็นน้ำมันมะกอกแบบ Pure Olive oil  เพราะน้ำมันราคาถูก สกัดแบบใช้ความร้อน

น้ำมันมะกอกเมื่อเปิดแล้วควรใช้ให้หมดภายใน 2 เดือน  เพราะจะเกิดปฏิกิริยา Oxidation  น้ำมันจะหืน





น้ำมันมะพร้าว 
เนื้อมะพร้าวถูกบีบอัดหรือต้มเพื่อที่จะนำมาทำน้ำมันมะพร้าวโดยใช้เนื้อมะพร้าวที่แห้งแล้วเรียกว่า Copra เนื้อมะพร้าวเป็นส่วนของเอนโดสเปร์มแบบแข็ง ส่วนน้ำมะพร้าวเป็นเอนโดสเปิร์มแบบเหลว
ในส่วนของกะลามะพร้าว ซึ่งคือส่วนที่ติดกับเยื่อเนื้อมะพร้าวสามารถนำไปทำน้ำมัน paring oil
เนื้อมะพร้าวอุดมไปด้วยสารประกอบเช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน น้ำตาล เหล็ก วิตามินบี5 ฟอสฟอรัส สังกะสี
ประโยชน์น้ำมันมะพร้าว
เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงและดูแลกระดูกให้แข็งแรง เสริมสร้างการทำงานตับให้ช่วยย่อยไขมันได้ง่ายขึ้น ดูแลรากผมและหนังศรีษะและยังสามารถช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดโดยใช้น้ำมันนวดตัวหรือตำหรับสปา

น้ำมันข้าวโพด
ส่วนของเมล็ดข้าวโพดเป็นเอ็มบริโอของต้นข้าวโพดจะนำมาทำน้ำมันข้าวโพด (Feed Maize  or Corn Kernel) มีคุณค่า พลังงานสูงมากenergy  แมกนีเซียม โปรตีน ไขมัน วิตามินบี 6 , ไรโบเฟลวินRiboflavinหรือวิตามินบี 2 , ลูทีน+ซีแซนทีน (Lutein+Zeaxanthin)

ข้าวโพดมีหลายสายพันธุ์แยกออกตามวัตถุประสงค์ของการใช้ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เมล็ดจะแห้งแข็ง เป็นพันธุ์ข้าวโพดไร่(Field Corn) ถ้าเอาไปแป้งข้าวโพดเป็นพันธุ์ข้าวโพดแป้ง(Flour Corn) ส่วนที่เรารับประทานและประกอบอาหารเป็นพันธุ์ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดคั่ว ข้าวโพดเทียนเนื้อเมล็ดเหนียวออกสีขาวๆ

การสกัดเมล็ดข้าวโพดเป็นน้ำมันข้าวโพด ต้องจัดการบด บีบ เมล็ดข้าวโพดให้แตกเสียก่อน จึงจะนำไปสกัดด้วยตัวทำละลาย ใช้ชนิดเฮกเซน จึงจะได้น้ำมันข้าวโพด แต่ก็ต้องแยกกลั่นเฮกเซนออกด้วยจึงจะได้น้ำมันข้าวโพดบริสุทธิ์

การนำไปใช้ประโยชน์
จากพืชดังเดิมที่ปลูกข้าวโพดเพื่อเลี้ยงสัตว์ นำไปทำอุตสาหกรรสบู่และสี เมื่อพลังงานปิโตรเลียมเริ่มลดลงและมีราคาแพงจึงนำน้ำมันข้าวโพดมาทำเอทานอลเป็นพลังงานไบโอใช้กับเครื่องยนต์




น้ำมันเมล็ดฝ้าย Linseed oil or Flax seed oil 
การดึงน้ำมันในเมล็ดฝ้ายออกมานั้นต้องบีีบเพื่อนำน้ำมันออกมา น้ำมันเมล็ดฝ้ายมีสีใสเหลือง วิตามินอี กรดไขมันโอเลอิก ปฏิกิริยาการคายความร้อนสูง มีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำ มีจุดเดือดสูง เหมาะกับการทอดแบบ Deep Fried จะได้อาหารกรอบทั่วถึง  กรอบนาน ไม่เหม็นหืนง่าย

น้ำมันเมล็ดฝ้ายมีสารพิษอยู่จริงคือ กอลสิพอลGossypol , Cyclopropenoid fatty acid และถูกกำจัดออกโดยใช้ไอน้ำ






น้ำมันถั่วลิสง
มีปริมาณโปรตีนและไขมันสูงโดยเฉพาะไขมันมีอยู่หลากชนิด จึงนำมาทำน้ำมันพืชเพื่อใช้ในการปรุงอาหารหรือประกอบอาหาร ชาติที่อาหารนิยมใช้น้ำมันน้ำมันถั่วลิสงมากคือ ชาติจีนและฮ่องกง

น้ำมันถั่วลิสงมีกลิ่นเฉพาะแรงมาก บางเมนูอาหารอาจได้กลิ่นถั่วลิสงรุนแรงจึงไม่นิยมรับประทาน ส่วนใหญ่ที่นำน้ำมันถั่วลิสงไปใช้ เช่นอาหารจำพวกทอด แต่ก็ควรระวังน้ำมันจะหืนง่าย ไม่ควรเก็บไว้นงจนเกินไป ไม่ควรใช้น้ำมันหลายๆครั้ง และหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกทอดที่ต้องใช้น้ำมันจนท่วม เช่น ปาท่องโก๋

การดึงน้ำมันออกมาจากถั่วลิสง ใช้วิธีบีบอัดโดยเครื่องมือ หรือสกัดด้วยตัวทำละลายเช่น เฮกเซน โดยในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นิยมใช้วิธีการสกัดจากตัวทำละลาย โดยขั้นสุดท้ายของการได้น้ำมันที่บริสุทธิ์จะต้องสกัดเฮกเซนออกด้วย จึงจะนำน้ำมันถั่วลิสงไปใช้ประโยชน์ให้เกิดตามวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องและเหมาะสม