หัวข่าผ่าซีก
ข่าในภาษาอังกฤษ เรียกว่า siamese ginger or Galangale
ภาษาไทยเรียกว่า ดอกข่า (Dok-kha), ข่า(Khaa), ข่าลิง(Khaa-ling
ภาษาเวียดนามเรียกว่า Rieng, Rieng nep, Son nai
พันธุ์ข่า
-ข่าเหลือง เนื้อข่าออกสีเหลืองนวลๆ(สีอ่อนกว่าขมิ้นเข้มกว่ากระชาย) มีคุณสมบัติ มีสีเหลืองในน้ำแกง มีกลิ่นหอมกว่าข่าขาว หัวแข็งและเนื้อแน่น นิยมปลูกกันในภาคใต้และภาคอีสาน เป็นเครื่องเทศที่คนไทยใช้บริโภคกันถั่วทุกภาค ข่าเป็นพืชที่ปลูกง่ายต้นทุนต่ำให้ผลผลิตดี 1 กอได้7-8 ต้นข่า ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ตลอดปี นำไปทำสมุนไพร ทำเครื่องสำอางค์ โรคประจำของข่าเหลืองคืดโรคหัวเน่า ใช้เวลาในการปลูก 8-10 เดือนในการปลูกจึงได้หัว
-ข่าหยวกหรือข่าขาว หรือข่าน้ำหรือข่าหมู ลำต้นอวบใหญ่ หัวข่าอวบน้ำ เนื้อหัวข่าออกสีขาว มีกลิ่นและรสชาติที่ไม่รุนแรง
-ข่าตาแดง สีลักษณะสีแดงเกือบทั้งแง่ง
การปลูกข่า
การปลูกข่าจะปลูกในร่ม หรือกลางแดด ปลูกในดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินเหนียว หรือปลูกในสวนเช่นสวนยางพารา สวนผักต่างๆ การใส่ปุ๋ยจะใช้แกลบผสมกับขี้วัวขี้ควายใช้รองพื้นในการปลูกและกลบหน้าดิน ส่วนการให้น้ำควรให้น้ำทุกวัน วันละ1ครั้ง
การปลูกข่าไม่นิยมปลูกเพียงแปลงเดียว จะแบ่งเวียนแปลงปลูกเพื่อที่จะป้องกันโรค เจาะทำลายหัว
การปลูกข่าครั้งแรกต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 8 เดือนจึงจะขุดได้ ครั้งต่อ ๆ ไป 5 - 6 เดือนหรือนานกว่านั้นแล้วแต่การบำรุง
การขุดข่าต้องเว้นข่าอ่อนไว้กอละประมาณ 5 - 6 ต้น เพราะถ้าเว้นข่าแก่ไว้ข่าจะไม่แตกกอหรือแตกกอช้า และต้องกลบหลุมที่ขุดให้ห้เรียบทุกครั้ง ถ้าไม่กลบหลุมครั้งต่อไปข่าจะขุดยากเพราะข่าจะมุดลงไปใต้ดินลึกกว่าเดิม หรืออาจจะแตกกอแถบเดียว
การขุดข่าต้องใช้แรงงานจำนวนมาก คือ ขุด , เคาะดิน , ตัดราก , ล้าง
ใบข่า
ข่าเป็นพืชที่เติบโตจากหัวเหง้า ต้นเป็นก้านแข็ง สูงถึง 2 เมตร ใบยาวมาก มีหน่วยผลสีแดง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และอินโดนีเซีย ประเทศที่นิยมปลูก มีลาว มาเลเซีย และไทย ในประเทศเหล่านี้ล้วนนำข่าไปประกอบอาหารแทบทุกมื้อ โดยนำหัวเหง้าที่มีขนาดแข็ง ไปปรุงอาหาร ได้รสชาติหวาน มีกลิ่นคล้ายพริกไทยดำและสนเข็ม
ส่วนผลของข่านำไปทำเป็นยา โดยการรักษาทางการแพทย์จีน ผลของข่ามีรสชากกระวาน
ชาวทมิฬเรียกข่าว่า chittarattai ซึ่งจะนำข่ามารักษาอาการหวัดและเจ็บคอ
การเก็บเกี่ยว
ห้ามใช้อุปกรณ์ที่เป็นเหล็กขุดข่าเด็ดขาด จะทำให้สีไม่สวย ถ้าดินนิ่มควรเอามีดสแตนเลสจิ้มดินขึ้นมา ควรเอาน้ำรดดินให้นิ่มก่อน ล้างหัวข่าที่ติดดินออกให้หมดหากมีหัวปั๊มน้ำฉีดจะสะอาดยิ่งขึ้น นำไปผึ่งแห้งสักครู่ เมื่อได้ข่ามาจึงนำไปแช่น้ำตะลิงปิง หรือมะนาวก็ได้ เพื่อทำให้ขาว น่าซื้อ น่าทาน แลดูของสด สะอาด
ห้ามใช้อุปกรณ์ที่เป็นเหล็กขุดข่าเด็ดขาด จะทำให้สีไม่สวย ถ้าดินนิ่มควรเอามีดสแตนเลสจิ้มดินขึ้นมา ควรเอาน้ำรดดินให้นิ่มก่อน ล้างหัวข่าที่ติดดินออกให้หมดหากมีหัวปั๊มน้ำฉีดจะสะอาดยิ่งขึ้น นำไปผึ่งแห้งสักครู่ เมื่อได้ข่ามาจึงนำไปแช่น้ำตะลิงปิง หรือมะนาวก็ได้ เพื่อทำให้ขาว น่าซื้อ น่าทาน แลดูของสด สะอาด
ลำต้นข่า
ระยะเวลาการขุดข่า
เมื่อปลูกข่าหยวกลงดินไปแล้ว
เราสามารถขุดขายได้ตั้งแต่อายุ 8 เดือน
และจะทยอยขุดขายไปได้เรื่อยๆ จนต้นข่า
มีอายุได้ประมาณ 2 ปีเศษ
แม้ว่าการ ขุดข่าในช่วงอายุ 8 เดือนนี้
จะเป็นข่าอ่อนทั้งหมดซึ่งตลาดรับซื้อส่วนใหญ่
ต้องการข่าอ่อนก็จริง แต่กอข่าที่มีอายุระหว่าง
8 เดือน — 1ปี นั้น ยังมีขนาดกอเล็ก เมื่อขุดข่า
ขึ้นมาจะได้น้ำหนักเฉลี่ย 3—5 กิโลกรัม ต่อกอ
เท่านั้น ช่วงที่เหมาะต่อการขุดข่าแล้วได้กำไร
สูงสุด คือข่าที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปี ถึง 1ปีครึ่ง
ซึ่งใน 1กอ จะขุดข่าได้น้ำหนักเฉลี่ย 8—10
กิโลกรัม และมีสัดส่วนของข่าอ่อนประมาณ
70% และ ข่าแก่อีก 30 %ซึ่งจะได้เงินมากกว่า
ขุดช่วงอื่นๆ (แต่ถ้าขุดข่าที่มีอายุกอตั้งแต่ 1ปี
ครึ่งขึ้นไปจะได้ข่าแก่เป็นส่วนมาก ซึ่งขายได้
ราคาไม่ดีเท่าข่าอ่อน)
เมื่อตัดแต่งราก— เหง้าและล้างข่าสะอาด
เสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องนำเหง้าข่าจุ่มลงใน
น้ำสะอาดที่ใช้สารส้มกวน จะรักษาสภาพความสด
ของเหง้าข่าได้นาน และเพิ่มสีชมพูสวยงาม
เป็นที่ต้องการของตลาด
(อ้างอิง กลุ่มสื่อส่งเสริมเกษตร ส่วนส่งเสริมและเผยแพร่ สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี)
โรคและศัตรูพืช
โรครากเน่า แก้ไขโดยไตรโครเดอร์มา และ บีที
โรคหนอนเจาะลำต้น
เราสามารถขุดขายได้ตั้งแต่อายุ 8 เดือน
และจะทยอยขุดขายไปได้เรื่อยๆ จนต้นข่า
มีอายุได้ประมาณ 2 ปีเศษ
แม้ว่าการ ขุดข่าในช่วงอายุ 8 เดือนนี้
จะเป็นข่าอ่อนทั้งหมดซึ่งตลาดรับซื้อส่วนใหญ่
ต้องการข่าอ่อนก็จริง แต่กอข่าที่มีอายุระหว่าง
8 เดือน — 1ปี นั้น ยังมีขนาดกอเล็ก เมื่อขุดข่า
ขึ้นมาจะได้น้ำหนักเฉลี่ย 3—5 กิโลกรัม ต่อกอ
เท่านั้น ช่วงที่เหมาะต่อการขุดข่าแล้วได้กำไร
สูงสุด คือข่าที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปี ถึง 1ปีครึ่ง
ซึ่งใน 1กอ จะขุดข่าได้น้ำหนักเฉลี่ย 8—10
กิโลกรัม และมีสัดส่วนของข่าอ่อนประมาณ
70% และ ข่าแก่อีก 30 %ซึ่งจะได้เงินมากกว่า
ขุดช่วงอื่นๆ (แต่ถ้าขุดข่าที่มีอายุกอตั้งแต่ 1ปี
ครึ่งขึ้นไปจะได้ข่าแก่เป็นส่วนมาก ซึ่งขายได้
ราคาไม่ดีเท่าข่าอ่อน)
เมื่อตัดแต่งราก— เหง้าและล้างข่าสะอาด
เสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องนำเหง้าข่าจุ่มลงใน
น้ำสะอาดที่ใช้สารส้มกวน จะรักษาสภาพความสด
ของเหง้าข่าได้นาน และเพิ่มสีชมพูสวยงาม
เป็นที่ต้องการของตลาด
(อ้างอิง กลุ่มสื่อส่งเสริมเกษตร ส่วนส่งเสริมและเผยแพร่ สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี)
โรคและศัตรูพืช
โรครากเน่า แก้ไขโดยไตรโครเดอร์มา และ บีที
โรคหนอนเจาะลำต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น