ดอกมะละกอเพศเมีย
ดอกมะละกอเพศเมียจะติดผลต้องใช้เกสรตัวผู้ช่วยผสมจึงจะติดผล หากไม่ติดผลดอกจะร่วงได้
ดอกมะละกอเพศผู้ เป็นช่อ ผอม
ดอกมะละกอกะเทย (ยังไม่มีรูป) คล้ายดอกจำปี ลูกยาวเป็นทรงกระบอก
มะละกอเป็นพืชที่ต้องการปุ๋ย น้ำ อย่างต่อเนื่องจึงเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ ดูแลโดยการใส่อินทรียวัตถุ การ ไม่ให้น้ำท่วมขัง แต่เป็นพืชชอบน้ำ หรือหากปลูกในสภาพดินเหนียวต้นจะไม่โตและชะงักการเจริญเติบโต
โดยแท้จริงแล้วมะละกอไม่เป็นพืชประจำถิ่นไทย โดยมีถิ่นกำเนิดจากอเมริกากลาง นำเข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยชาวโปรตุเกสยุคสมัยล่าอาณานิคม
เพศของมะละกอนั้นถูกกำหนดมาแล้วจากลักษณะพันธุกรรม จะเปลี่ยนแปลงภายหลังไม่ได้ แม้จะมีการรายงานว่าการตัดรากแก้วมะละกอจะทำให้เป็นกะเทย ยังไม่มีหลักฐานการวิจัยยืนยัน
การขยายพันธุ์
-โดยเมล็ด
-ขยายพันธุ์ด้วยการไม่อาศัยเพศหรือทางด้านกิ่งใบ เช่น ตอน ตัดชำ ติดตา เสียบยอด
พันธุ์
:มะละกอเป็นพืชผสมเปิดมีโอกาสกลายพันธุ์ได้ตลอดเวลา ดังนั้นการปลูกมะละกอจึงต้องมีการควบคุมพันธุ์ เช่น ปลูกพันธุ์ชนิดเดียวกันในแปลงปลูก
วิธีการปลูก
ขั้นตอนแรกก่อนปลูกควรคัดเลือกต้นพันธุ์ให้ดีเพื่อป้องกันโรคติดต่อโดยเฉพาะโรคใบด่างวงแหวน หากพบควรจำจัดทิ้งทันที
เมล็ดมะละกอมีเมือกหุ้มอยู่ซึ่งเรียกว่าสาร กีลาติน (keratin) ซึ่งเป็นสารยับยั้งการงอก วิธีการเพาะปลูกจึงต้องนำสารกีลาตินออก(เป็นตัวชักนำให้เกิดเชื้อรา) โดยนำเมล็ดไปแช่น้ำเปล่า 2 คืน แล้วหาตระกร้าพลาสติกหรือผ้าดางถึ่ๆ ขยี้เอาเมือกหรือวุ้นออก นำไปผึ่งลมให้แห้ง ห้ามนำไปผึ่งแดดเพราะจะทำให้เซลล์แห้งไปถ้าถุกความร้อนสูง แห้ง เอมบริโอภายในเมล็ดจะตายอัตราการงอกลดลง เก็บใส่ถุงใส่ตู้เย็น เก็บไว้ในช่องแช่ผักห้ามเก็บในช่องฟรีซแช่แข็งเพราะถ้าเอมบริโอเป็นน้ำแข็งเมล็ดก็จะตายเช่นกัน การเก็บต้องความชื้นต่ำอุณหภูมิต่ำ สามารถเก็บได้ถึง 5 ปี
จากนั้น นำเมล็ดมาแช่อีก 1 คืน หลังจากนั้นแช่น้ำอุ่นอีก 1 ชั่วโมง ที่ 50องศา หลังจากนั้น 2 วันเมล็ดจะงอก
บางท่านแนะวิธีปลูกมะละกอแนวนอนราบกับพื้นไป จะได้ไม่สูงและอีกเหตุผลคือรากมะละกอดูดน้ำและแร่ธาตุตามแนวราบสะดวกกว่าแนวตั้ง
-สึของเมล็ดมะละกอ มีทั้งสีดำ สีน้ำตาล สีขาว สีของเมล็ดไม่บ่งบอกถึงความเป็นเพศของมะละกอ เพศของมะละกอถุกกำหนดมาแล้วตั้งแต่พันธุกรรม ส่วนเมล้ดที่เป็นสีขาวคือเป็นเมล็ดที่มาจากลีธัลยีนส์คือยีนส์ที่ถึงแก่ความตาย เพาะไม่งอกต้องคัดทิ้งตั้งแต่ผ่าผล
-มะละกอต้องการใช้น้ำมากและไม่ให้ขาดน้ำ หากขาดน้ำขั้วสลัดลูกหลุด
-การปลูกมะละกอในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังมาก่อน จะก่อให้เกิดโรครากปมไส้เดือนฝอย และไม่ควรปลูกมะละกอไว้ในแปลงปลูกพริกขนาดใหญ่มาก่อน เพราะพริกมีโรคค่อนข้างมากเช่น โรคไวรัสใบด่าง แอนแทรคโนส เชื้อรา
ปุ๋ย
-ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เช่น ปุ๋ยคอก ขี้หมู ขี้ไก่ ขี้วัว การให้ไนโตรเจนสูงมะละกอจะมีลูกใหญ่ เนื้อแน่น หรือเรียกว่าโอเวอร์ไนโตรเจน
ปุ๋ยขี้ไก่ ปุ๋ยเคมีสูตรปุ๋ยหวานซึ่งเป็นสูตรเดียวกับที่ใส่ข้าวโพด
-การให้ธาตุฟอสฟอรัสมาก ทำให้พืชขาดธาตุไนโตรเจนและสังกะสีที่ใช้ในการสร้างฮอร์โมนออกซิน พืชสร้างฮอร์โมนออกซินทำให้ลูกมะละกอร่วงได้ หากบวกกับการตัดใบมะละกอทิ้งด้วยแล้ว ใบพืชเป็นแหล่งสะสมอาหารที่เก็บไว้ใช้ในเวลาที่ต้องการ ผลมะละกอร่วงทันที
-มะละกอหากขาดธาตุโบรอน อาการของผลมะละกอจะตะปุ่มตะป่ำ เนื้อมะละกอมีรสขม จึงแก้ด้วยบอแรกซ์หว่านเพื่อป้องกันการขาดโบรอน ( ธาตุตัวนี้มีบทบาทในมะละกอสูงมาก)
วงจรชีวิตมะละกอ
มะละกอจากลงปลูกถึงออกดอก ใช้เวลา 4 เดือน ต่อไปอีก 3 เดือนจะได้มะละกอดิบ กว่าจะเก็บผลสุกกินได้รอต่อไปอีก 2 เดือน ฉะนั้น จากปลูกถึงเก็บผลสุกกินใช้เวลา 9 เดือน
โรค
-วงแหวน(ใบด่างวงแหวน)หรือ papaya ringspot virus PRV เกิดจากแมลงปากดูดคือเพลี้ยอ่อน 2-3 ชนิด (เพลี้ยอ่อนเป็นพาหะของโรคไวรัสใบด่างวงแหวน) แต่ไม่ติดต่อทางเมล็ดเพราะไม่สามารถเจาะผ่านผนังเซลลืได้ กินใบแล้วถ่ายเชื้อแบคทีเรียเอาไว้จนเป็นไวรัส ลักษณะใบงิก ด่าง เหี่ยวแห้งตาย
วิธีแก้ ไม่มียาแก้ต้องกำจัดทิ้งอย่างเดียวเพื่อป้องกันโรคระบาด
ไวรัสวงแหวน papaya ringspot virus
ดอกมะละกอ
ดอกสมบูรณ์เพศหรือกะเทะ Hermaphrodite คือ ดอกที่มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน มีการรวมตัวของสเปิร์มและไข่ในดอกเดียวกัน เป็นมะละกอที่ตลาดต้องการมากที่สุดเพราะรสชาติดี เนื้อแน่น
1. Elongata เป็นที่ต้องการของตลาดที่สุด รูปเป็นทรงกระบอก
2. Pentandria รูปทรงตูดป้าน ทรงกลมด้านล่างของลูก คล้ายผลทุเรียน
3. Intermediate ให้ผลทรงเบี้ยว เป็นแผล ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
การติกเกสรของดอก เกสรไม่แข็งแรงและผสมเกสรไม่สมบูรณ์ต้องใช้โบรอนเข้าช่วยในช่วงที่ติดดอก ลุกมะละกอที่ได้ออกมาผลจะไม่บิดเบี้ยว การให้โบรอนหว่านเมล็ดปีละ 2-3 ครั้ง หว่านต้นหนึ่งกำมือ หรือ 100 กรัม
มะละกอตัวผู้ติดผล (มะละกอไร้เมล็ด)
มะละกอต้นตัวผู้ที่ติดผล ทั้งๆที่ไม่รังไข่ สาเหตุเกิดจากความชื้นที่สูงและพื้นที่นั้นมีไนโตรเจนสูง จีงเกิดขึ้นได้เช่นกัน ในดอกตัวผู้จะมีรังไข่อยู่แต่เล็กและลีบถ้าได้รับความชื้นสูงจะทำให้รังไข่มีการพัฒนาตัวขึ้นมา และอาจได้รับการผสมเกสรหรือไม่ได้รับการผสมเกสรก็ได้ จึงกลายเป็นผลมะละกอขึ้น ลักษณะผลทรงกระสวย เมล็ดมีหรือไม่มีก็ได้ ไม่นิยมนำไปประกอบอาหารเพราะรสชาติไม่อร่อย
มะละกอเพศผู้โดยปกติต้องตัดทิ้งหากจะให้ผลผลิตต้องนำกิ่งมะละกอกระเทยมาทาบ จึงจะได้มะละกอเก็บเกี่ยว
มะละกอผลแก่
การจัดการต้นมะละกอเมื่อสูง
: ฟันกิ่งลงมาเหลือตอไว้ 50-60 ซ.ม. จะมียอดใหม่แตกออกมาให้เหลือไว้เพียงยอดเดียวเพื่อให้อาหารสมบูรณ์ วิธีนี้ใช้เมื่อระบบรากสมบูรณ์แล้ว
: การโน้มกิ่งมะละกอก็เป็นวิธีแก้ปัญหาเช่นกัน แต่ก็ประสบปัญหาจากการโน้มกิ่งมะละกอ บริเวณลำต้นที่ถูกแดดโดยตรงจะถูกแดดเผาหรือซันเบิร์น ซึ่งจะได้ผลไม่เหมือนที่ไต้หวันเพราะที่นั้นแดดไม่แรง
การโน้มกิ่งลงเพื่อให้ต้นมะละกอเตี้ยเพื่อเก็บผลผลิตได้ง่าย โดยทำการโน้มตั้งแต่ต้นมะละกอเล็กๆ
มะละกอดิบผ่าสองซีก
เมล็ดมะละกกดิบ
ยางมะละกอ
มะละกอสุก
พันธุ์มะละกอ
ฮอลแลนด์ ลักษณะเป็นใบกระโดง เป็นใบซ้อนงอกออกมา เพื่อยืนยันว่าเป็นพันธุ์ฮอลแลนด์แท้ จะได้ไม่ถูกหลอกจากผู้ขาย ราคามะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ ราคาดี สม่ำเสมอ ไม่ประสบปัญหาราคาตก
ราคามะละกอ
แขกดำดิบ โลละ 10 บาท
แขกดำสุก โลละ 15 บาท
ฮอลแลนด์ โลละ 20 บาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น