วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562

การจัดการน้ำในสภาวะแห้งแล้ง

การเปรียบเทียบการจัดการน้ำในดินแดนทะเลทรายจึงเป็นเคสที่เหมาะกับภัยแล้งทางภาคเหนือและอีสานของไทย กำลังเผชิญปัญหาในขณะนี้

ดินแดนทะเลทรายแทบเอเชีย หรือประเทศจีนทางฝั่งตะวันตก มีกระบวนการจัดการน้ำที่น่าสุดใจ น่าเรียนแบบมาใช้ในประเทศไทยอย่างยิ่ง ภูมิศาสตร์ของประเทศเหล่านี้ค้นพบการจัดการน้ำจากความขาดแคลนหรือวิกฤติ

ระบบนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ หรือ recycle used water ในทางการชลประทาน การใช้น้ำในภาคการเกษตร หรือ การใช้น้ำในภาคครัวเรือนอีกครั้ง โดยนำมารดต้นไม้ในระบบปริงเกอร์ซึ่งประหยัดน้ำกว่าระบบฉีดจ่ายโดยสายยาง

ช่วงเวลาในการรดน้ำต้นไม้จะรดหลัง 4 ทุ่มถึง 6 โมงเช้า เพื่อรักษาความชุ่มชื้นไว้ได้นานที่สุด ป้องกันการระเหยของน้ำ เพราะดินแดนทะเลทรายร้อนจัดและหนาวจัดในคาบเวลาเดียวกัน 

การบำบัดน้ำใช้โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ไม่พึ่งพาถ่านหินหรือชีวมวลมลพิษ

การเปลี่ยนอากาศเป็นน้ำโดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ดูดซับความชื้นจากอากาศจนกลายมาเป็นน้ำ

การปลูกพืชในดินแดนทะเลทรายจะใช้เทคนิคเฉพาะ ประหยัดน้ำ และป้องกันพายุทะเลทราย

การกลั่นน้ำเค็มกลายเป็นน้ำจืดเพื่อปลูกข้าวชนิดทนเค็ม โดยเมืองต้นแบบ Qingdao จังหวัด Shandong ทางฝั่งตะวันออกของจีน ,ประเทศฟิลิปปินส์ กรุงมะนิลา ,

การแก้ปัญหาโดยแบ่งตามแหล่งน้ำเสีย เช่น น้ำเสียในชุมชน น้ำเสียจากแหล่งอุตสาหกรรม การผลิตเครื่องบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมย้อมผ้า
การบำบัดน้ำเสียจากห้องน้ำสาธารณะ หรือน้ำจากการล้างรถ car wash และโรงบำบัดอุตสาหกรรมขนาดเล็ก

เปรียบเทียบมายังประเทศไทยแหล่งน้ำเน่าเสียมีเป็นจำนวนมากในเขตเมือง ขาดการบำบัดก่อนทิ้งทั้งในภาคครัวเรือนและอุตสาหกรรมขนาดเล็ก น้ำทิ้งลงคลองจึงกลายเป็นน้ำโสโครก วิสัยทัศชุมชนเมืองจึงสกปรก อีกทั้งน้ำเพื่อนำไปผลิตน้ำประปะปา เกิดการปนเปื้อนได้ง่าย น้ำปะปาจึงไม่นิยมบริโภค

น้ำที่มีคุณภาพดี กลับนำไปรดน้ำต้นไม้ จึงไม่เป็นการใช้น้ำให้ก่อประโยชน์สูงสุด หากจัดการเรื่องนี้ได้เขตเมืองของไทยจะน่าอยู่ขึ้นมาก การเดินทางทางน้ำจะสะดวกยิ่งขึ้นและปลอดภัย 

1 ความคิดเห็น:

  1. โปรโมชั่น pg slot รวมโปรสล็อต PG โปรโมชั่นดีๆสุดพิเศษและก็ร้อนแรงมาเสนอแนะสำหรับคุณ สำหรับสาวกสล็อตตัวจริงต้องห้ามพลาดกับโปรโมชั่นที่พวกเราเตรียมความพร้อมมายกให้คุณทุกวัน

    ตอบลบ