วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

เริ่มต้นเป็นชาวนาและกว่าจะได้เมล็ดข้าว แบบดั้งเดิม

เรื่องที่ท่านกำลังจะอ่านต่อไปนี้ หากว่าท่านไม่ใช่ชาวนาผมคิดว่าน่าสนุกเเต่ท่านที่เป็นชาวนามาก่อนกระผมขอรับรองเลยว่าชาวนาเรา ที่ทำนามันเหนื่อยมากตลอดระยะเวลาห้าเดือนของการทำนาปี เรามาดูกันครับว่าต้องทำอะไรบ้าง(ผมขอเอาสภาพดินฟ้าอากาศและที่นาของกระผมเป็นหลัก)

อันดับแรกข้อ1 อันนี้ก่อนที่จะลงนาทุกๆครั้งต้องใส่ปุ๋ยขี้วัวขี้ควายก่อน ซึ่งแถวบ้านผมนิยมใช้เพราะเลี้ยงกันเยอะเเถมรักษาระบบนิเวศวิทยาได้ดี ขั้นตอนก็คือตักมูลหรือขี้ที่ภาษาบ้านเราเรียกกัน การใส่ในที่นานั้นมักใส่กันเป็นกองๆเป็นจุดเเล้วค่อยมาหว่านเพื่อกระจายไปในที่ต้นข้าวไม่งามโดยดูจากปีที่ผ่านมา การใส่ฝุ่นส่วนมากเเล้วจะทำระหว่างปลายเดือนเมษายน


images by uppicweb.comimages by uppicweb.com
กองฝุ่นหรือปุ๋ยที่มาจากขี้วัวเเละควาย


อันดับ2 การไถนาหุด(ดะ) การไถนี้ก็เพื่อเป็นการไถเพื่อพรวนดินกลบตอฟางที่ตายเเละฆ่าหญ้าเพื่อทำเป็นปุ๋ย


images by uppicweb.com
การไถหุด

อันดับที่3 การตกกล้าหรือภาษาไทยเรียกว่าการเพาะพันธ์ข้าว ขออนุญาตท่านก็เเล้วกันเพราะตัวผมจะว่าไปเเล้วการพูดภาษาไทยนั้นบอกตามตรงเลยว่ากระผมนั้นสามปีใช้เเค่ไม่กี่คำ ถ้าเขียนเเละอ่านก็ได้ครับ(หากพุดภาษาไทยที่บ้านผมรับรองเลยว่าโดนต่อยปากเจ่อครับ) การตกกล้าแถวบ้านผมจะเริ่มทำปลายเดือนเมษายนเขาเรียกว่า ตกกล้าบก หากตกกล้าน้ำจะประมาณก็ประมาณกลางๆพฤษภาคม เพราะเข้าสู่ฤดูฝนเต็มรูปแบบ( การเพาะพันธุ์ข้าวนั้นใช้เมล็ดพันธุ์ 5 กิโลกรัมต่อไร่ เมือต้นกล้าอายุได้ 30 วัน จึงทำการถอนกล้าไปปลูก )


images by uppicweb.com
การตกกล้าบกและกล้าน้ำ


images by uppicweb.com
สภาพของกล้าน้ำ


ขั้นตอนที่4เข้าสู่การทำนาเต็มรูปแบบ ขั้นตอนนี้หละครับที่เหนื่อยมากๆ เมื่อถึงเดือนมิถุนายนฤดูการทำนาปักดำไถหว่าน เริ่มเเล้ว ก่อนการปักดำต้องไถเเละหลก(ถอน)กล้า เพื่อนำไปปักดำ โดยการหลกกล้ามักจะเเบ่งเป็นมัดๆ โดยนิยมนับกันดังนี้
๔ มัดเป็น ๑ขบ ๑๐ ขบเป็น๑ปุง โดยเนื้อที่ประมาณ๑ไร่ใช้กล้าในการดำประมาณ๑๒๐มัดหรือ ๓ ปรุง


images by uppicweb.com
การหลก(ถอน)กล้า

5.การไถดำขั้นตอนนี้ถือว่ายากนิดนึงเพราะต้องทำหลายขั้นตอน ตั้งเเต่ไถ คราด เเละซ่อมเเจนา(คือการทำพื้นที่ให้เข้าไปปักดำได้เช่นขุดโดยการใช้จอบ) การคราดก็คือการปรับสภาพดินให้ได้ใกล้เคียงกันที่สุดเพราะโดยสภาพทั่วไปของบ้านผม มักมีที่ราบที่โนนเเตกต่างกันไป


images by uppicweb.com
การไถนาเพื่อปักดำ

6.การดำนา ในการดำนานั้นหากคนที่เก่งจริงพื้นที่หนึ่งไร่จะใช้เวลาในการดำประมาณสามวันไม่รวมการถอนกล้า เพราะการหลกหรือถอนภายในหนึ่งวันจะได้ไม่เกินหนึ่งร้อยมัด การดำนาต้องใช้กำลังขาเป็นพิเศษต้องหน้าต้องก้มอยู่กับดินตลอดเวลาเเละที่สำคัญร้อนมากเพราะเเสงพระอาทิตย์จะสะท้อนใส่หน้าคนดำนาจะตลอดเวลา ( การปักดำนั้นจะใช้ต้นกล้า 3 ต้นต่อกอข้าว ระยะห่างระหว่างต้น 30 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างแถว 50 เซนติเมตร )


images by uppicweb.comแสงสะท้อนจากพระอาทิตย์ซึ่งชาวนาจะอยู่กับเเสงตลอดวัน

หลังจากปักดำเสร็จเเล้วใช่ว่าจะหนีจากนาได้นะครับต้องรอดูเเละเฝ้าประจำว่าน้ำมากไปหรือเปล่าหรือว่าน้อยไป หากมากก็เป่ง(ปล่อย)น้อยก็ตันทางน้ำ(ดูคันนาว่ามีรอยรั่วไหม)เพราะบางพื้นที่คันนามีรอยรั่วเกิดกะพวกปูขุดรูในคันนา

ชาวนาเราลำบากมากครับ ข้าวที่เรากินเเต่ละวัน ข้าวที่ท่านเห็นมาจากเเรงงานชนชั้นรากหญ้าของประเทศ ชาวนาคู่กับคนไทยมานานนับร้อยปี หากจะถามว่าชาวนาเราทำไมไม่รวยสักที ตลอดชาติเเละตลอดไปในความคิดของผมบอกว่ายากครับ หากรวยหรือมีกินป่า่นนี้คงสบายไปนานเเล้ว ไม่ต้องรอมาถึงร้อยปีจนถึงปัจจุบัน เเต่สิ่งที่ได้จากการทำนาคือได้ผลผลิตพออยู่พอกิน มีรายได้เล็กๆน้อยๆจากการขายแม้จะไม่ได้มากแต่ก็ถือว่าได้ สิ่งที่ชาวนาอย่างพวกผมภูมิใจหนักหนาคือเงินจากการขายผลิตเเละหยาดเหงื่อไม่ได้คดโกงใครมา มีเเต่จะถูกโกงด้วยซ้ำ เงินเหล่านี้สามารถให้โอกาสกับลูกๆได้มีโอกาสสบายไม่ได้ลำบากเหมือนกับปู่ย่าตายายเเละพ่อเเม่ นั้นก็คือเด็กๆและคนทั่วไปที่เป็นลูกชาวนาในอดีต ปัจจุบันเรียนหนังสือจบสูงๆมีงานทำที่ดีไม่ต้องมาเปื้อนขี้โคลนขี้ตมในทุ่งไร่ทุ่งนา เเละเด็กๆโดยส่วนมากในปัจจุบันมักจะเป็นลูกเเก้วอยู่กับความสบายตลอด คุณละครับท่านผู้อ่านที่เคารพคุณลืมสภาพเก่าหรือยัง ลูกชาวนา 


( outside ) การควบคุมระดับน้ำในนาข้าวนั้นสำคัญมาก โดยจะต้องระบายน้ำให้ท่วมสูงประมาณ 10 เซยติเมตร จนกว่าต้นข้าวจะแตกกอ ระหว่างนี้ระดับน้ำไม่เกิน 15 เซนติเมตร เมื่อข้าวออกร่วงก็ระบายน้ำออกให้หมด


พืชทุกชนิดล้วนมีศัตรูพืช ศัตรูชนิดหนึงของข้าวก็คือเพลี้ยโดยในวิถีเกษตรอินทร์นั้นนิยมใช้นำหมักชีวภาพจากสะเดา ฉีดพ้นให้ทั่วลงแปลงนาก็สามารถกำจัดได้แล้ว นอกจากนี้น้ำมันดอกสะเดายังลดปูนากัดกินต้นข้าวได้อีกด้วย เมื่อปูสัมผัสน้ำมันดอกสะเดาจะเกิดอาการกล้ามหลุด เมื่อปูนากล้ามหลุดก็ไม่สามารถกัดกินต้นข้าวได้ ส่วนหอยเชอรี่นั้นกำจัดได้ด้วยยางมะละกอเมื่อหอยเชอรี่ถูกยางมะละกอจะเป็นอัมพาธและตายในที่สุด


ในความเป็นจริงเมล็ดข้าวจะมีการกลายพันธุ์ ดังนั้นเมล็ดพันธุ์ข้าวควรจะเปลี่ยนทุกๆ 3-4 ปี

เมล็ดพันธุ์ข้าว เมื่อเมล็ดพันธุ์ข้าวดี การผลิตข้าวของเกษตรกรมีการควบคุมที่ดี การเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว ก็จะให้ผลผลิตสูงต่อไร่และข้าวมีคุณภาพดีไม่หักง่าย 


กว่าจะได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีนั้น เริ่มต้นจากการวิจัย ศึกษาสายพันธุ์ข้าวแต่ละชนิด ข้อดีข้อเสีย จนนำไปสู่การปรับปรุงพันธุ์ ทดสอบผลของการวิจัย ดังนั้นการได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีจึงใช้เวลาหลายปี


วิธีขยายพันธุ์ข้าวให้เป็นที่นิยม คงจะอยู่ในหน้าที่ความรับผิดชอบของใครไม่ได้นอกจากกรมการค้าข้าว  ขั้นตอนแรก ทำการคัดเลือกตัวแทนเกษตรกรและพื้นที่ปลูก เกษตรกรผู้มีความสนใจ ( เกษตรกรผู้สนใจคงมีฐานะอยู่ไม่น้อย ลำพังเกษตกรหาเช้ากินค่ำย่อมเป็นไปไม่ได้ ) ปฏิบัติตามกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ โดยอยู่ภายใต้การติดตามดูแลของเจ้าหน้าที่ ขั้นตอนต่อมา การเตรียมแปลง นับว่าไม่ง่ายเลยสำหรับการเตรียมแปลงขยายเมล็ดพันธุ์ข้าว ไหนจะต้องกำจัดวัชพืช กำจัดเมล็ดข้าวที่ตกค้างอยู่ในนาจากการเก็บเกี่ยวเมื่อครั้งทำนาก่อนหน้านั้น( วิธีนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ปล่อยน้ำเข้านา เมื่อเมล็ดข้าวที่ตกค้างอยู่ในนางอกได้ที่พอสมควร แล้วไถกลบ ง่ายไหมละครับท่าน หรือเรียกง่ายๆก็คือ วิธีกำจัดพันธุ์ปน) ขั้นตอนการเก็บเกี่ยว ต้องระวังไม่ให้มีการปะปนพันธุ์ เพราะจะมีการตรวจคุณภาพก่อนการจัดซื้อ หากเมล็ดพันธุ์มีคุณภาพก็จะถูกซื้อคืนจากกรมการค้าข้าว


ท้ายสุดนี้หากเมล็ดพันธุ์ใดได้รับความนิยม ก็จะโด่งดังไปโดยปริยาย โดยปากต่อปากของเกษตรกรผู้ทดลองปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวเอง เรียกได้ว่าเป็นการทำการตลาดไปด้วยในตัว ดีกว่าที่กรมการค้าข้าวทำการขยายพันธุ์เอง ( ความคิดเห็นส่วนตัว )

ขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก bannangio.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น