วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
การทำปุ๋ยชีวภาพอินทรีและการทำนาเกษตรอินทรีชีวภาพ
1. ดิน 1 กิโลกรัม
2 แกลบ 1 ปีป
3.ใบไม้ 1 ปีบ
4.รำข้าว 3 กิโล
5.คลุกเค้าให้เข้ากันแล้วเลี้ยงไว้ 15 วัน ตัวจุลินทรีก็จะเริ่มเกิดขึ้น หลังจากนั้นบรรจุใส่ถุง 8 นิ้ว ยาว 12 นิ้ว ใส่เป็นถุงๆไว้
6.นำถัง 200 ลิตร ใส่น้ำสะอาดไป 180 ลิตร เอากากน้ำตาลที่ไม่มีสารเคมีเทใส่ลงไป ขนให้เข้ากัน แล้วเอาหัวเชื้อที่ใส่ถุงไว้ เอามาแช่ไว้เฉยๆ หมักไว้ 15 วัน ก็จะกลายเป็นหัวจุลินทรีขึ้นมาแล้ว
วิธีการทำนาเกษตรอินทรีชีวภาพตอนนี้ ที่นิยมกัน มี 2 วิธี
1. การดำนา ทำแบบเทคโนโลยีใหม่เลย คือเพาะกล้าไว้ในถาดยาว 2 ฟุต กว้าง 1 ฟุต แล้วใช้รถดำนา
2 วิธีนาหว่าน เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่มันมีเทคนิคที่เราไม่ต้องใช้ยาคุมหญ้า ดังนี้ คือ แช่ข้าวไว้ 3 วัน รุ่งเช้าวันที่4 เอาต้นข้าวไปหว่าน (เตรียมดินไว้ให้เรียบก่อนน่ะ) เปิดน้ำเข้า ตกเย็นเปิดน้ำทิ้ง เพราะฉะนั้น ข้าวงอกก่อนต้นหญ้า 3 วันหลังจากนั้นพอข้าวงอกสูงได้ที่แล้วก็เปิดน้ำใส่ ต้นหญ้าที่เกิดทีหลังก็เน่าตาย
วิธีการฆ่าเพลี้ย โดยใช้สมุนไพรนำกิ่งก้านสะเดามาหักแล้วตำให้ละเอียด แล้วจึงไปฉีดลงในนาข้าว แต่หากวิธีนี้จะได้ผลจริงจะต้องไม่ใช้สารเคมีในการฆ่าเพลี้ยเลย
ข้อมูล ลุงทองเหมาะตัวอย่างชาวนาผู้ทำเกษตรอินทรีชีวภาพ ผู้ที่สนใจดูคลิปเพิ่มเติมได้ที่ youtube.com
วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
การดำนา ประเทศญี่ปุ่น Planting Rice
ในแปลงนานั้น ชาวนาจะไถน้ำที่ค้างอยู่ในแปลงนาออกไปให้หมด ให้เหลือแต่โคลนเลนและพื้นต้องเรียบเป็นระนาบเดียวกัน สาเหตุที่ต้องกวาดน้ำให้เหลือแต่โคลนนั้น เพื่อที่เครื่องดำนา จะแทงต้นกล้าลงไปให้จมโคลนได้สนิท
พื้นที่บางส่วนที่เครื่องดำนาเข้าไม่ถึง เช่น หัวมุมแปลงนา หรือพื้นที่ที่ติดกับประตูระบายน้ำ (floodgate) ชาวนาก็ต้องลงมือดำนาเอง ซึ่งก็ป็นวิธีแบบโบราณที่เราเคยเห็นๆกัน
ต่อมา
ขนต้นกล้าอ่อนจากแปลงเพาะต้นกล้า ก่อนหน้านี้ แกะต้นกล้าออกมาจากถาดให้เรียบร้อย หรือจะหมุนให้เป็นแท่งจะได้ขนย้ายง่ายๆ ( เจ้าของแปลงนากล่าวไว้ว่า การเพาะต้นกล้าอ่อนนั้นเพียงเราศึกษาข้อมูลเล็กน้อย ดูวิธีการปลูก หรือเข้าฝึกอบรม ที่ price trade center ก็สามารถทำได้แล้ว )
สำหรับ mechanical finger (ตัวที่แทงต้นกล้าลงไปในโคลน) จะเคลื่อนที่จากขวาไปซ้าย เหมือนนาฬิกาเดินจากขวาไปซ้าย mechanical finger จะอยู่ติดกับโคลน เจ้าของแปลงนากล่าวไว้ว่าเครื่องนี้ช่วยให้งานของพวกเค้าง่ายขึ้นมาก มันมีประโยชน์มากจริงๆ พวกเราจึงมีเวลาไปทำอย่างอื่นได้
เจ้าของแปลงนากล่าวว่า สมัยก่อนชาวนาลำบากมาก พวกเค้าต้องทำทุกอย่างเอง ไม่มีเครื่องทุนแรง
เมื่อดำนาเสร็จแล้วหลังจากนั้นอีก 8 วัน ต้นข้าวก็จะทรงตัวได้เองแล้ว และก็ต้องคอยดูแลเอาน้ำเข้าแปลงนาตลอด จนถึงฤดูเก็บเกี่ยว
credit homemadejapan.blogspot.com
การเตรียมต้นกล้าสำหรับดำนา ประเทศญี่ป่น Rice nursery
ขั้นตอนที่หนึ่ง การเตรียมแปลง
1. เตรียมพื้นที่ หนึ่งแปลงสำหรับปลูกต้นกล้า ไถพื้นที่ให้เรียบเตียน เปิดน้ำเข้าพื้นที่เพื่อให้พื้นแชะคล้ายโคลน
2. เตรียมไม้ไผ่เพื่อมาร์คจุด วางลงไว้บนพื้น ความกว้างเท่ากับแผ่นพลาสติก( พลาสติกใช้สำหรับรองต้นข่าวอ่อน )
3. นำคลาด ลาก กวาดพื้นโคลนให้เรียบ เพื่อสร้างพื้นผิวสำหรับต้นกล้า
4. นำแผ่นพลาสติกบาง ความกว้างเท่ากับไม้ไผ่ที่เรามาร์คจุดไว้ เจาะรูแผ่นพลาสติกด้วย แล้วนำไปวางไว้บนโคลน จะเป็นฐานสำหรับปลูกต้นกล้า เอาโคลนกลบไว้บนขอบแผ่นพลาสติกนิดหน่อย กันแผ่นพลาสติกปลิว ( เหตุผลที่นำแผ่นพลาสติกมาวางลงไว้บนพื้นโคลนก่อน ก็คือว่าเมื่อเวลาถอดต้นกล้า จะได้ถอดง่าย ต้นกล้าไม่จมดิน )
สี่ขั้นตอนข้างต้นเป็นขั้นตอนของการเตรียมดิน ขั้นตอนในการปลูกต้นกล้าของญี่ปุ่นเค้านั้น ง่ายสบายกว่าเมืองไทยบ้านเราเยอะเลยครับ บ้านเรานั้นยังต้องถอดกล้ากันอยู่เลย
ขั้นตอนที่สอง การเตรียมต้นกล้า
1. การเตรียมเมล็ดข้าวสำหรับเพาะต้นกล้านั้น พวกเค้าจะทำกันที่ ศูนย์การค้าข้าวหรือเรียกว่า price trade center ซึ่งจะมีเครื่องใช้ไฟฟ้าและสิ่งอำนวยการสะดวกช่วยในการทำงานของพวกเค้า
2. เตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว และก็สารกำจัดศัตรูพืช ลงไปในถาดเพาะต้นกล้า ซึ่งขั้นตอนตรงนี้ก็เป็นหน้าที่ของเจ้าเครื่องไฟฟ้า ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ชาวญี่ปุ่นคิดค้นขึ้นครับ ตามตัวอย่างที่เห็นอยู่ในคลิปครับ
3. ยกถาดเมล็ดต้นกล้าขึ้นบนรถบรรทุก เพื่อที่จะนำถาดเมล็ดต้นกล้าไปวางลงแปลงที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่หนึ่ง
4. นำถาดเมล็ดต้นกล้า วางไปลงบนแผ่นพลาสติก วางจนเต็มแผ่นพลาสติก ตรงขั้นตอนที่ 4 นี่ ก็จะได้แปลงเพาะต้นกล้าแล้ว ( nursery beds )
5. เมื่อได้แปลงเพาะต้นกล้าแล้ว ก็ถึงคราวที่จะต้องนำผ้าบางๆ คล้ายมุ่งมาคลุมแปลงต้นกล้า เพื่อกันนกมาจิกกินเมล็ดข้าว กันลมและกันฝน ปิดให้สนิท
6. เปิดน้ำเข้าแปลงต้นกล้า ( floodgates ) ระบบชลประทานที่ญี่ปุ่นเป็นระบบชลประทานคอนกรีต ขนาดเล็กเข้าถึงพื้นที่ของชาวนาทุกแปลง ทำให้ชาวนาควบคุมน้ำที่จะเข้าไปในแปลงข้าวได้ง่ายขึ้น
From homemadejapan.blogspot.com