วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วิธีการเลือกเมล็ดข้าวปลูก

วิธีเลือกเมล็ดข้าวปลูก
น้ำเกลือบ่น  2 กิโลกรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ละลายให้เข้ากันแล้วก็เอาข้าวปลูกมาลงรอยลงไปแช่ ข้าวด้อยมันจะลอยน้ำ นำข้าวที่เหลือที่ได้คุณภาพไปล้างน้ำเปล่าให้สะอาดแล้วก็แช่น้ำไว้อีก 2 คืน หุ้มอีก 2 คืน พอรากเริ่มแย้มๆ ปริๆ เราก็เอาไปหว่านข้าวก็จะเริ่มงอก นกและหนูก็จะไม่กิน

ถ้าให้ดีคือเราหว่านข้าวปลูกพร้อมถั่ว โดยจะเป็นถั่วชนิดอะไรก็ได้เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วงอก ถั่วแดง ถั่วดำ โดยนำมาแช่พร้อมกับข้าวปลูกแล้วก็หว่านไปด้วยกัน พอข้าวโตได้สัก 20 เซนติเมตร ใส่น้ำลงเข้าไปในนา สัก 10 เซนติเมตร ถั่วเริ่มเน่าเกิดก๊่าซไนโตรเจนเป็นปุ๋ยโดยปริยายโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยแต่งหน้า

การปลูกมันสำปะหลัง


มันสำปะหลัง
สายพันธุ์มันสำปะหลัง
-ระยอง 90
-เกษตรศาสตร์ 50
-ห้วยบง 60
-ระยอง 72 หรือเกล็ดมังกร


การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง

การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังโดยการให้น้ำ
วงจรการเจริญเติบโตของมันสำะหลังเก็บเกี่ยววงได้หัวที่อายุ 12-14 เดือน หากได้ผลผลิตต่อไร้สูงควรปลูกช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม เพราะเป็นช่วงฤดูต้นฝน รากมันสำปะหลังแทรกลงดินได้ดี มันหัวใหญ่ จนเข้าสู่ช่วงฤดูแล้งฝนไม่ตกในช่วงเดือน พฤศจิกายน-มีนาคม ใบมันสำปะหลังร่วงลดจำนวนใบลงเพื่อลดการคายน้ำ การสร้างแป้งของมันสำปะหลังจึงลดลง ดังนั้นหากให้น้ำในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม มันสำปะหลังมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ใบมันสำปะหลังร่วงน้อย การลร้างแป้งมันสำปะหลังจึงเกิดขึ้นต่อไป ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเก็บเกี่ยว

การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังโดยการใช้หินฝุ่น
หินฝุ่นคือหินที่ได้มาจากกระบวนการโม่หิน เป็นหินปูนบดหยาบๆ มีสารองค์ประกอบดังนี้ แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี  ซึ่งเป็นธาตุอาหารรองของมันสำปะหลัง หากนำมาใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งให้อาหารหลักอย่าง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม หัวมันมีขนาดใหญ่
การใช้หินฝุ่นเป็นการช่วยปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้มีความเป็นกลางมากขึ้น คุณสมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น เช่น ดินร่วนซุนขึ้น ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น ดินระบายน้ำได้ดี จุลินทรีย์ในดินทำงานได้ดี



เคล็ดลับการปลูกอยู่ 4 ประการ (อาจารย์ทอง ธรรมดา)
1. ดินมีอินทรีย์สาร (ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก) การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักจะช่วยให้การแตกรากค่อนข้างดี รากจะแตกเยอะมาก ทำให้เมื่อโตขึ้น 1 ต้นจะได้ประมาณ 15-20 หัว
2. ฝนตกถี่ (ดินมีความชื้น) ช่วงที่มีการแตกรากของต้นมันสำปะหลัง จำเป็นอย่างยิ่งที่ดินต้องมีความชื้น ให้รากนั้นแทรกลงไปในดินได้หรือเรียกว่ารากเดินไปได้ ฉะนั้นแล้วเกษตรกรควรปลูกมันสำปะหลังพฤษภาคม ฝนเริ่มตกแล้ว

 เกษตรกรบางส่วนปลูกมันช่วงเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม หรือเรียกว่าช่วงปลายฝนต้นหนาวซึ่งดินมีความชื้นอยู่บ้าง อาจารย์แนะนำว่าไม่ควรปลูกมันในช่วงนี้เนื่องจาก หลังจากเดือนธันวาคมฝนจะไม่ตกอีกเลย  ฝนจะไปตกอีกที่ปลายเดือนเมษายน ต้นเดือนพฤษภาคม หรือปลูกได้แต่รากมันสำปะหลังจะไม่สามารถแทรกลงไปในดินได้เต็มที่ ทำให้มันหัวไม่ใหญ่ ขายได้ราคาไม่ดี

3. ท่อนพันธุ์ดี (สมบูรณ์ ไม่ทิ้งไว้นานเกินไป ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป) ท่อนพันธุ์มันนั้นต้องมีความสมบูรณ์ ไม่ควรที่จะตัดท่อนมันทิ้งไว้นานเกิน 15 วัน ควรจะรีบปลูกทันที
ลักษณะการปลูกมันสำปะหลังคือใช้วิธีการตัดเฉียง เพื่อให้เกิดเนื้อที่หน้าตัดมากจะได้จำนวนรากที่มากกว่าการตัดตรง แต่มีข้อแม้ว่าถ้าตัดเฉียง จะต้องปลูกเอียง หลังจากนั้นนำไปจุ่มน้ำยาเร่งรากและน้ำยาฆ่าเพลี้ยแป้ง
4. รู้วิธีการ (จังหวะการปลูก การใส่ปุ๋ย การใส่ยา การกำจัดหญ้าหรือวัชพืชหรือเรียกว่า "การทำรุ่น")



การทำมันสำปะหลังหัวดก
วิเคราะห์ปัจจัย 3 ประการ
1. พันธุกรรม  10 %
 พันธุกรรม  ส่วนใหญ่นักวิชาการจะพยายามค้นคว้า  หามาเผยแพร่ให้เกษตรกรอยู่แล้วและพันธุ์ใดจะเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่

การเตรียมท่อนพันธุ์เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 ซม. อายุ 8-12 เดือน ตัดตรงยาว 20 เซ็นติเมตร นำไปแช่น้ำยาหัวดก และกำจัด ป้องกันเพลี้ยแป้ง นาน 10-12 นาที (ห้ามเกินกว่าเวลานี้)  น้ำยาใช้ 3 ชนิดรวมกัน+สารไทอะมีโทแซม 25 %WG 4 กรัม หริอ ไดโนทีฟูเรน 10 % WP 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร    หากแช่นานหัวไม่ดก การเจริญเติบโตของต้นไม่ดี น้อยไม่เป็นไรแต่อย่าเกิน

2. สิ่งแวดล้อม 80 %  น้ำ อากาศ แสงแดด อุณหภูมิ ความชื้น สภาพดินและธาตุอาหาร
สิ่งแวดล้อม  ผมจะกล่าวถึงธาตุอาหารที่พืชต้องการมีทั้งหมด 17 ธาตุ (นักวิทยาศาตร์พบขณะนี้)  3 ธาตุแรก คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ได้รับจากอากาศและน้ำ อีก 14 ธาตุ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม กำมะถัน แคลเซีย แมกนีเซียม เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน คลอรีน โมลิบดีนัม และนิเกิล ได้รับจากดิน ซึ่งจะขาดธาตุใดธาตุหนึ่งไม่ได้เลย ต้องให้ความสำคัญการให้ธาตุที่ครบเป็นหลัก  สำหรับในการทดลองการเพิ่มผลผลิตของพืชต่างๆ  จากประสบการณ์ที่ค้นคว้าทดลองมาพืชเจริญเติบโตดี  ผลผลิตสูง  คุณภาพดีและลดต้นทุนด้วย  สำหรับการปลูกพืชเศษฐกิจธาตุอาหารหลักใช้ปุ๋ยเคมีธาตุอาหารรองและเสริมใช้อินทรียวัตถุ  คือใส่ปุ๋ยพืชเหมือนกับการทำต้มยำ ถ้าเราปรุงได้สูตรมันก็อร่อยกินข้าวได้เยอะ  พืชก็เหมือนกันธาตุอาหารแต่ละธาตุต้องใส่ให้เหมาะสมกัน  พืชถึงจะได้กินมากทำให้การเจริญเติบโตดี

3. ฮอร์โมน 10 %
ฮอร์โมน  มีทั้งหมด 5 ชนิด ออกซิน ไซโตไคนิน จิบเบอเรลลิน กรดแอบไซซิก และเอทีลีน  พืชจะสร้างขึ้นมาเองเพื่อการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ  ถ้าเราให้ธาตุอาหารเค้าเพียงพอไม่จำเป็นต้องฉีดพ่นให้เค้า แต่ละชนิดมีหน้าที่ต่างกันเช่น ไซโตไคนินจะกระตุ้นการแบ่งเซลส์ ออกซินขยายขนาดของเซลส์ จิบเบอเรลินช่วยการยืดตัวของลำต้นและกิ่ง (อ้างอิง : kmsmily)



หัวดกเกิดจากการนำท่อนพันธุ์แช่น้ำยาซึ่งสามารถทำให้หัวดกได้ทุกสายพันธุ์ ผลจากการแช่น้ำยา
1.  หัวดก
2.  ท่อนพันธุ์งอกดี 
3.  เจริญเติบโตดีลำต้นใหญ่
4.  ท่อนพันธุ์ที่มีขนาดเล็กเปอร์เซ็นการงอกดีมีลำต้นใหญ่กว่าเดิม   
5.  ท่อนพันธุ์อายุมากยังสามารถงอกและเจริญเติบดี (อ้างอิง:kmsmily)

การแช่น้ำยากับมันคอนโดนั้นแต่กับมันสำปะหลังหัวไม่ดก เนื่องจากการใช้มีดคว้านเป็นชั้นๆทำให้ท่อลำเลียงอาหารขาดไม่เชื่อมต่อกันจึงไม่มีอาหารมาหล่อเลี้ยงราก และท่อนพันธุ์อยู่ลึกเลยขาดอ๊อกซิเจน การพัฒนาของหัวไม่เกิดขึ้นรากค่อยๆตาย 



การเตรียมแปลงปลูก
การไถครั้งแรก  ไถดะด้วยผาน 3 ทิ้งไว้ 10-15 วัน เพื่อตากดินและกำจัดหญ้า ไถแนวทิศเหนือ-ใต้ ไถครั้งที่สอง ใช้ผาน 7  ไถตัดตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก ยกร่องปลูกตามแนวทิศเหนือ-ใต้ ระยะระหว่างร่องห่าง 60 ซม.สูง 40 ซม.กว้าง 60 ซม.(เราจะปลูกระยะต้นห่าง 1.20x1 เมตร ครับ)  1 ไร่ (40x40 ม.) ใช้ท่อนพันธุ์ 1,333 ท่อน 
   
ข้อดีของการเตรียมพื้นที่ปลูกแบบนี้ 
1.  การไถตัดทำให้โครงสร้างเม็ดดินเขว้าสลับกัน การระเหยของน้ำจะช้าลงเก็บน้ำใต้ดินได้ยาวนาน
2.  ดินจะไม่จับตัวแน่นการลงหัวขยายหัวง่ายลดความเครียดของมันฯทำให้เจริญเติบโตดี
3.  การยกร่องแนวทิศเหนือ-ใต้  ทำให้ใบมันฯรับแสงแดดได้เต็มที่ผลิตแป้งได้มาก
4.  ขนานของร่องใหญ่เวลาฝนตกทำให้ร่องไม่หายมันฯมีพื้นที่ลงหัวมาก
5.  ระยะปลูกห่างมันฯไม่เกิดความเครียดจากการแย้งอาหารกัน  ประหยัดท่อนพันธุ์  ค่าแรงงานปลูกๆได้มากไร่ขึ้น  (อ้างอิง:kmsmily)


ปุ๋ยมันสำปะหลัง
-เกษตรนิยมใส่ขี้ไก่ก่อนการไถไร่ เพื่อไถ่กลบ ทำให้หัวมันใหญ่เสมอกันและทั่วถึง ส่งผลให้เกิดจุลินทรีย์ในดินเยอะ ซึ่งได้ออกซิเจนรากมันสำปะหลังนำไปใช้ ขนาดหัวมันเริ่มใหญ่ขึ้น 
ใส่ปุ๋ยเคมีซึ่งมีธาตุโพแทสเซียมสูงเพราะพืชต้องใช้ในการสร้างแป้ง

-การให้ปุ๋ยทางใบ พืชจะโตเร็ว มีการสร้าง สะสมปรุงอาหารจากใบ มีประสิทธิภาพคลุมลูกหญ้าได้และต้นมันโตคลุมลูกหญ้าได้อีกทางหนึ่ง
-การให้ปุ๋ยเคมี มีธาตุอาหาร N P K ที่มีความสำคัญต่อพืช เป็นปุ๋ยที่ไม่มีอันตราย แต่ก็มีข้อควรวิเคราะห์ว่าราคาแพง พืชนำไปใช้ยากต้องรอการทำละลายจากฝนและถ้าหากฝนตกมากไปเกิดการชะล้างปุ๋ย ต้นทุนของเกษตรกรก็จะสูงขึ้นอันเนื่องมาจากสภาพดินที่แย่ลง

โรค

โรคใบไหม้
เพลี้ยแป้ง