วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การปลูกข้าว

การทำนาข้าว หมายถึง การปลูกข้าว การปลูกข้าวในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 3 วิธีด้วยกัน ดังนี้


1. การปลูกข้าวไร่  การปลูกข้าวไร่ หมายถึง การปลูกข้าวบนที่ดอนและไม่มีน้ำขังในพื้นที่ปลูก ชนิดของข้าวที่ปลูกก็เรียกว่า ข้าวไร่ พื้นที่ดอนส่วนมาก เช่น เชิงภูเขามักจะไม่มีระดับ คือ สูง ๆ ต่ำ ๆ จึงไม่สามารถไถเตรียมดินและปรับระดับได้ง่าย ๆ เหมือนกับพื้นที่ราบ เพราะฉะนั้นชาวนามักจะปลูกแบบหยอด โดยขั้นแรกทำการตัดหญ้าและต้นไม้เล็กออก แล้วทำความสะอาดพื้นที่ที่จะปลูกแล้วใช้หลักไม้ปลายแหลมเจาะดินเป็นหลุมเล็ก ๆ ลึกประมาณ 3 เซนติเมตร ปากหลุมมีขนาดกว้างประมาณ 1 นิ้ว หลุมนี้มีระยะห่างกันประมาณ 25 x 25 เซนติเมตร ระหว่างแถวและระหว่างหลุมภายในแถว ปกติจะต้องหยอดเมล็ดพันธุ์ทันทีหลังจากที่ได้เจาะหลุม โดยหยอด 5-8 เมล็ดต่อหลุม หลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวแล้วก็ใช้เท้ากลบดินปากหลุม เมื่อฝนตกลงมาหรือเมล็ดได้รับความชื้นจากดิน ก็จะงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นข้าว เนื่องจากที่ดอนไม่มีน้ำขังและไม่มีการชลประทาน การปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียว พื้นดินที่ปลูกข้าวไร่จะแห้งและขาดน้ำทันทีเมื่อสิ้นฤดูฝน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่จะต้องใช้พันธุ์ที่มีอายุเบา โดยปลูกในต้นฤดูฝน และแก่เก็บเกี่ยวได้ในปลายฤดูฝน การปลูกข้าวไร่ ชาวนาจะต้องหมั่นกำจัดวัชพืช เพราะที่ดอนมักจะมีวัชพืชมากกว่าที่ลุ่ม เนื้อที่ที่ใช้ปลูกข้าวไร่ในประเทศไทยมีจำนวนน้อย และมีปลูกมากในภาคเหนือและภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางปลูกข้าวไร่น้อยมาก


2. การปลูกข้าวนาดำ การปลูกข้าวในนาดำ เรียกว่า การปักดำ ซึ่งการปักดำนั้นจะกระทำเมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 25-30 วัน จากการตกกล้าในดินเปียกหรือการตกกล้าในดินแห้ง ก็จะโตพอที่จะถอนเอาไปปักดำได้ สำหรับต้นกล้าที่ได้มาจากการตกกล้าแบบดาปกนั้น ในเมืองไทยยังไม่เคยปฏิบัติ คิดว่าจะต้องมีอายุประมาณ 20 วัน จึงเอาไปปักดำได้ เพราะต้นกล้าขนาด 10-14 วันนั้น อาจมีขนาดเล็กเกินไปที่จะใช้ปักดำในพื้นที่นาของเรา ขั้นแรกให้ถอนต้นกล้าขึ้นมาจากแปลงแล้วมัดรวมกันเป็นมัด ๆ ถ้าต้นกล้าสูงมากก็ให้ตัดปลายใบทิ้ง สำหรับต้นกล้าที่ได้มาจากการตกกล้าในดินเปียก จะต้องสลัดเอาดินโคลนที่รากออกเสียด้วย แล้วเอาไปปักดำในพื้นที่นาที่ได้เตรียมไว้ พื้นที่นาที่ใช้ปักดำควรมีน้ำขังอยู่ประมาณ 5-10 เซนติเมตร เพราะต้นข้าวอาจถูกลมพัดจนพับลงได้ในเมื่อนานั้นไม่มีน้ำอยู่เลย ถ้าระดับน้ำในนานั้นลึกมาก ต้นข้าวที่ปักดำอาจจมน้ำในระยะแรก และทำให้ต้นข้าวจะต้องยึดต้นมากกว่าปกติ จนมีผลให้แตกกอน้อย การปักดำที่จะให้ได้ผลผลิตสูง จะต้องปักดำให้เป็นแถวเป็นแนว และมีระยะห่างระหว่างกอมากพอสมควร โดยทั่วไปแล้วการปักดำมักใช้ต้นกล้าจำนวน 3-4 ต้นต่อกอ ระยะปลูกหรือปักดำ 25 x 25 เซนติเมตร ระหว่างกอและระหว่างแถว 
ซึ่งวิธีการปลูกแบ่งออกได้เป็นสองตอน ตอนแรกได้แก่การตกกล้าในแปลงขนาดเล็ก และตอนที่สองได้แก่การถอนต้นกล้าเอาไปปักดำในนาผืนใหญ่ ดังนั้น การปลูกแบบปักดำอาจเรียกว่า 
indirect seeding ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้


3. การปลูกข้าวนาหว่านการปลูกข้าวนาหว่าน เป็นการปลูกข้าวโดยเอาเมล็ดพันธุ์หว่านลงไปในพื้นที่นาที่ได้ไถเตรียมดินไว้โดยตรง ซึ่งเรียกว่า direct seeding การเตรียมดินก็มีการไถดะและไถแปร ปกติชาวนาจะเริ่มไถนาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านตั้งแต่เดือนเมษายน เนื่องจากพื้นที่นาสำหรับปลูกข้าวนาหว่านไม่มีค้นนากั้น จึงสะดวกแก่การไถด้วยรถแทร็กเตอร์ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีชาวนาจำนวนมากที่ใช้ แรงวัวและควายไถนา การปลูกข้าวนาหว่านมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การหว่านสำรวย การหว่านคราดกลบหรือไถกลบ และการหว่านน้ำตม


หลังจากทำการปลูกข้าวแล้ว ยังมีขั้นตอนอื่นๆที่สำคัญที่จะต้องคำนึงถึง ดังต่อไปนี้
1. การดูแลรักษา
2. การเก็บเกี่ยว
3. การนวดข้าว
4. การทำความสะอาดเมล็ดข้าว
5. การตากข้าว
6. การเก็บรักษาข้าว 


ที่มา ไก่เขียว 
http://www.vcharkarn.com/vcafe/176233


โรคและแมลง
-แมลงเต่าทอง เป็นสัตว์กินสัตว์ เป็นแมลงประเภทตัวห้ำ ถือเป็นมิตรกับนาข้าว เพราะช่วยกำจัดแมลงที่ทำลายต้นข้าว ช่วยกำจัดเพลี้ย และยังมีแมลงที่เป็นประโยชน์ต่อนาข้าวอีกเช่น แมลงปอ แมงมุม ตัวหั่มตัวเบียน
-วัชพืชจำพวกผักอีฮีนหรือผักขาเขียด ควบคุมการขยายตัวของวัชพืชนี้ด้วย แหนแดง ก่อนนำแหนแดงลงนาควรใส่ปุ๋ยก่อนหนึ่งครั้ง เพื่อบำรุงให้ต้นแหนแดงเขียวชอุ่ม ไม่เช่นนั้นต้นจะเป็นสีแดงเพราะขาดปุ๋ย

- ใบสีแสด เกิดจากแมลงพาหะเพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก กำจัดโดยเชื้อเมราไทเซียม ผสมสาหร่ายสไปรูไรน่า ผสมน้ำยาเสริมประสิทธิภาพ และตัดใบที่เป็นสีแสดออกพอสมควร

ข้าวลูกผสม ความหวังเพิ่มผลผลิต

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวลูกผสมในประเทศไทย เริ่มต้นจากการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่มีความโดดเด่น โดยในปี พ.ศ. 2543 ทีมวิจัยของ ดร.ปัทมา ได้คัดเลือกสายพันธุ์ข้าวหลากหลายสายพันธุ์มาทดสอบคู่ผสม อาทิเช่น สุพรรณบุรี 1, 2 และ 3, ปทุมธานี ข้าวขาวดอกมะลิ โดยใช้เวลาในการวิจัยกว่า 8 ปี จนกระทั่งได้สายพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าเดิม 20% ตลอดจนต้านทานโรคแมลง โดยใช้ชื่อสายพันธุ์ลูกผสมนี้ว่า T6-4


ข้าวลูกผสม T6-4 เป็นพันธุ์แม่ที่ได้จากข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 3 ซึ่งเป็นพันธุ์พ่อ โดยผลจากการทดลองปลูกข้าวลูกผสม T6-4 พบว่าได้ผลผลิตต่อไร่สูงถึง 1,578 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ได้ข้าวลูกผสมที่ให้ผลผลิตต่อไรมากกว่า 2 กิโลกรัมประมาณ 20 สายพันธุ์ ทั้งนี้คาดหวังว่าอีก 3 ปีจะสามารถพัฒนาจนถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ชาวนาได้ลองปลูกเพื่อประเมินว่าคุ้มหรือไม่


ทีมวิจัยได้อาศัยประสบการณ์จากการร่วมทำวิจัยกับ ศ.หยวนที่ประเทศจีน โดยคัดข้าวลูกผสมมา 20 สายพันธุ์จากทั้งหมด 400 สายพันธุ์ หลังจากทดลองปลูกในแปลงขนาดเล็ก พบให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่า 2,000 กิโลกรัม จากที่ตั้งไว้ 1,000 กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม ผลที่ได้เป็นระดับของงานวิจัย หากนำไปปลูกจริง ผลผลิตต่อไร่อาจจะไม่สูงเท่านี้ เพราะความผันแปรของปัจจัยแวดล้อม” ดร.ปัทมากล่าว
 
 
                                                                แปลงผลิตภัณฑ์ข้าวลูกผสม

เมื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมได้แล้ว จากนี้จะนำไปทดสอบปลูกในแปลงสถานี โดยจากนี้จะนำไปปลูกในแปลงทดลองขนาดใหญ่ จากนั้นจึงค่อยไปทดลองปลูกในแปลงเกษตร และให้เกษตรกรเป็นผู้ปลุกในที่สุด เพื่อศึกษาถึงวิธีการปลูกและเงื่อนไขต่าง อาทิ การใส่ปุ๋ย การเก็บเกี่ยว คาดว่าขั้นตอนดังกล่าวจะทำเสร็จในเวลา 3 ปี  


นักวิจัย กล่าวต่อว่า หลังจากนี้ต้องผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อนำไปทดสอบที่สถานีทดลองข้าวในเขตภาคกลางอีกหลายสถานี โดยต้องทดลองปลูกอย่างน้อย 3 ฤดูเก็บเกี่ยวซึ่งใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี จากนั้นจึงนำไปทดสอบกับแปลงเกษตรที่ใหญ่ขึ้น และในขั้นตอนสุดท้ายคือปลูกในแปลงขนาดใหญ่แล้วให้ชาวนาเลือกว่าจะใช้พันธุ์ไหนดีที่สุด


นักวิจัย กล่าวต่อว่า เทคนิคผสมข้ามสายพันธุ์เป็นทางเลือกหนึ่งการปรับปรุงพันธุ์ข้าวนอกเหนือจากเทคนิคทางพัฒนากรรมสมัยใหม่ หรือการดัดแปรพันธุกรรมในระดับยีน หรือ จีเอ็มโอ ซึ่งยังคงเป็นข้อถกเถียงถึงปัญหาด้านความปลอดภัยและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะระบบนิเวศน์ใกล้เคียง

"ทุกวันนี้ผลผลิตเฉลี่ยของข้าวไทยตลอดทั้งปีไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งพันธุ์ข้าวลูกผสมเป็นทางออกที่ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวได้ โดยไม่ต้องพึ่งจีเอ็มโอ" นักวิจัยกล่าว

การวิจัยพันธุ์ข้าวลูกผสมนอกจากจะเพิ่มผลผลิตต่อไร่แล้ว การพัฒนาพันธุ์ข้าวที่ต้านทานโรคแมลง ยังเป็นเป้าหมายที่นักวิจัยต้องการ โดยเฉพาะโรคไหม้ ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ของเกษตรกร ที่ทำให้ผลผลิตได้ไม่ตรงตามที่คาดการณ์ไว้


นอกจากนี้ทิศทางของงานวิจัยพัฒนาพันธุ์ข้าวยังมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มคุณค่าด้านสารอาหารลงในข้าวสายพันธุ์ลูกผสม ให้มีคุณค่าเทียบเท่าข้าวหอมมะลิ มีปริมาณแป้งหรืออะไมเลส (Amylase) สูง เหมาะสำหรับภาคอุตสาหกรรม  ที่ต้องการใช้ข้าวเป็นส่วนผสมหลัก เช่น อุตสาหกรรม แป้ง อุตสาหกรรมยา ซึ่งช่วยเพิ่มทางเลือกของความต้องการผลผลิตข้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม ทดแทนการผลิตเพื่อบริโภคเพียงอย่างเดียว
 
ที่มา เอกวิทย์ เตระดิษฐ์ ณ วิชาการ.คอม 

พันธ์ข้าวลูกผสม ผ่าทางตันวิกฤตข้าวไทย

พันธุ์ข้าวลูกผสม ผ่าทางตันวิกฤตข้าวไทย

‘ราคาข้าวยังพุ่งไม่หยุด’ พาดหัวข่าวปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับ ต่อเนื่องมานานหลายสัปดาห์ บ่งบอกถึงสัญญาณบางอย่างที่ทุกฝ่ายต้องเตรียมการรับมือ และหาทางแก้ไข ซึ่งทางแก้ที่ดีที่สุดในมุมมองของนักวิจัย คือการค้นหาพันธุ์ข้าวที่ให้ปริมาณผลผลิตสูง เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค โดยใช้เทคนิคปรับปรุงพันธุ์ “ข้าวลูกผสม”

สถานการณ์ราคาข้าวผันผวน เริ่มส่งสัญญาณตั้งแต่เดือนต้นปี 2551 จนถึงเดือนเมษายน และยังไม่มีวี่แววที่จะลดลง เหตุผลประการหนึ่งมาจากภาวะความแปรปรวนของสภาพอากาศ พายุไซโครน ทำให้ปริมาณผลผลิตในประเทศส่งออกข้าวเสียหาย ไม่ว่าจะเป็น เวียดนาม พม่า แม้กระทั่งอินเดีย ที่เจอกับภัยแล้ง ฝนฟ้าไม่เอื้ออำนวย เป็นสาเหตุให้ปริมาณสำรองข้าวในตลาดโลกลดลงอย่างเห็นได้ชัด

แต่สิ่งที่ทำให้ตลาดโลกตื่นเต้นกันยกใหญ่ มาจากการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระบุว่า ปรากฏการณ์ธรรมชาติเอลนีโญ อาจเวียนกลับมาอีกรอบในปีนี้ และส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนข้าวครั้งใหญ่ ทำให้ทุกประเทศเร่งกักตุนข้าว ดันให้ราคาข้าวในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นไปอีก

 ดร. ปัทมา ศิริปัญญานักวิจัยและรองคณะบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

ดร.ปัทมา ศิริธัญญา นักวิจัยและรองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง กล่าวในงานเสวนาคุยกันฉันท์วิทย์ พันธุ์ข้าวลูกผสม...ความหวังที่อุดมด้วยผลผลิต ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ทางออกที่จะสามารถแก้ปัญหาข้าวขาดตลาดได้นั้น คือการเพิ่มปริมาณผลผลิตด้วยการปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งแนวโน้มของนักปรับปรุงพันธุ์หลายประเทศมุ่งหน้าพัฒนาคือ “ข้าวลูกผสม” จากเทคนิคผสมข้ามพันธุ์ เพื่อให้ได้ข้าวที่มีปริมาณผลผลิตสูงและต้านทานโรคแมลง


ศ. หยวน ลองปิง บิดาแห่งเทคโนโลยีข้าวลูกผสม

จุดเริ่มต้นของข้าวลูกผสมมาจากประเทศจีน จากเหตุผลที่ปริมาณข้าวไม่เพียงพอต่อการบริโภคของคนในประเทศ ส่งผลให้ ศ.หยวน ลองปิง (Prof.Yuan Longping) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวลูกผสมแห่งจีน (China National Hybrid Rice R&D Center) ได้รับยกย่องให้เป็น บิดาแห่งพันธุ์ข้าวลูกผสม ซึ่งเป็นแนวทางให้นักวิจัยทั่วโลกหันมาทำการวิจัยเพื่อพัฒนาพัฒนาข้าวลูกผสมมากขึ้น
สำหรับการพัฒนาพันธุ์ข้าวในประเทศไทย เริ่มต้นทำในหลายหน่วยงาน ทั้งมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย ตลอดจนภาคเอกชน ที่ต้องการพัฒนาพัฒนาข้าวให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูง เนื่องจากที่ผ่านมาไทยเป็นประเทศส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก แต่ปริมาณข้าวที่ผลิตได้ยังถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น

จากสถิติระบุว่าผลผลิตข้าวของประเทศไทยโดยเฉลี่ย ระหว่างปี 2546-2548 อยู่ที่ประมาณ 450 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งจัดอยู่อันดับที่ 6 ของโลก ต่ำกว่าประเทศเวียดนามที่ผลผลิตข้าวเฉลี่ยราว 750 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะที่จีนครองอันดับสูงสุดผลิตข้าวเฉลี่ยได้มากกว่า 1,000 กิโลกรัมต่อไร่

แม้ไทยจะเป็นประเทศส่งออกข้าวติดอันดับหนึ่ง แต่อาจจะต้องเสียแชมป์ให้ประเทศคู่แข่งได้ หากผลผลิตต่อไร่ยังคงหยุดนิ่ง ตรงกันข้ามกับประเทศคู่แข่งที่สามารถเพิ่มผลผลิตได้สูงกว่า” นักวิจัยกล่าว

ความคิดเห็นที่น่าสนใจ
unity sun power "เทคโนโลยีพันธุ์ข้าวลูกผสมจะมาพร้อม ๆ กับเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะกับพันธุ์นั้น ๆ ในประเทศไทยเกษตรกรใช้เทคโนโลยีการผลิตที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่าง ๆ เข่น การเข้าถึงชลประทาน สภาพภูมิศาสตร์ นิเวศน์เกษตร ปริมาณน้ำฝนและการกระจายของฝน ที่ดิน ทุน แรงงาน ขนาดของฟาร์ม การใช้พันธุ์ลูกผสมอาจไม่เพิ่มผลผลิตตามที่หวัง และอาจปลูกได้เฉพาะในเขตชลประทาน ซึ่งมีไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ผลิตข้าว ถ้าจะเพิ่มให้ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ แต่ไทยทำไม่ได้เพราะผู้คัดค้านมีเยอะ จะสร้างเขื่อนทีแสนจะลำบากจะผันน้ำจากแม่น้ำโขงก็ยาก"

alexanderray "ผมว่าที่จริงข้าวแพง น่าจะเป็นสาเหตุเพราะนักเก้งกำไร มากกว่าประเทศเราส่งข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก ถึงเกือบร้อยละ 50 การที่ข้าวแพงแต่ชาวนายากจน เพราะน่าจะมาการกดราคา ข้าวจากชาวนา แล้วขายข้าวแพงให้เราทาน ฉะนั้นเงินก็ตกกับพ่อค้า  ผมว่านอกจากที่เราจะปลูกข้าวลูกผสมแล้ว น่าจะเก็บข่าวพันธุ์พื้นเมืองไว้ด้วยก็ดี เป็นธนาคารข้าว  นอกจากธนาคารข้าว ก็น่าจะมีโรงสีของรัฐ โกง ดังเก็บข้าวของรัฐ โดยไม่ต้องฝากเก็บกับโรงสีข้าวของเอกชน เพราะถ้าเก็บไว้เอกชน รัฐไม่มีเงินมาจ่ายค่าเช่าโกดัง โรงสีเอกชนก็ยักยอกข้าวไปขายเพราะต้องเอาเงินมาดูแลโรงสี แม้จะกู้กับธ.ก.ส. มาก็ไม่คุ้มทุน ลงทุนสร้างโรงสีรัฐครั้งเดียวแต่คุ้มไปถึง สิบ ปี รัฐก็ได้ภาษีข้าวเต็มเม็ดเต็มหน่วย ชาวนา ก็ลืมตาอา ปากได้เพราะรัฐรับซื้อข้าวเป็นราคามาตรฐาน ในตลาด เพราะบ้างที่ราคาข้าวถูกพ่อค้า กดราคาจนน่าเกลียด

เรื่องการชลประทานถ้าหากเราไปเปรียบเทียบกับเวียดนาม ขอบอกว่าเราได้เปรียบที่สภาพภูมิประเทศมาก เรามีแม่นําเยอะ กว่า ข้าวที่ได้มีคุณภาพ เราสามารถทำนาปรัง ปีละสองครั้ง  แต่เราขาด คนเพราะว่า คนส่วนใหญ่มักจะหันน่าเข้าเมือง เพราะว่าการปลูกข้าวนั้นประเทศไทยเรา ยิ่งปลูก ทุนหายกำไรหด ส่วนที่เวียดนามนั้น รัฐจะเข้าไปดูแลเป็นส่วนใหญ่เพราะเป็นปัจจัยหลัก แล้วยังมีระบบการจัดการที่ดีกว่าระบบของไทย มาก"

ที่มา เอกวิทย์ เตระดิษฐ์ ณ วิชาการ . คอม

รู้จักข้าวท้องไข่ไหม

ตัวอย่างข้าวท้องไข่ที่เห็นเป็นสีขาวทึบแสง ซึ่งจัดเป็นลักษณะทางกายภาพที่แสดงถึงคุณภาพข้าวได้ทางหนึ่งที่สังเกตได้ง่าย




ข้าวท้องไข่ที่มองเห็นได้นั้นจะมีคุณภาพแตกต่างไปจากข้าวที่มีเมล็ดสมบูรณ์โดยเฉพาะเมื่อมีปนอยู่มากกว่าร้อยละ 15 ขึ้นไป ตามที่มีการศึกษาไว้หลายประเด็นได้แก่
    

น้ำหนักเมล็ด ความแข็งของเมล็ด และปริมาณเม็ดสตาร์ช (starch granules) ของข้าวท้องไข่ต่ำกว่า    ลักษณะโครงสร้างของเม็ดสตาร์ชแตกต่างกัน ตามปกติจะมีลักษณะเป็นรูปหลายเหลี่ยมที่เห็นชัดเจนเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายเหมาะสม ส่วนเม็ดสตาร์ชข้าวท้องไข่จะเป็นรูปทรงกลม
    

ปริมาณแอมิโลส( amylose )ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อสมบัติของเม็ดสตาร์ชในการนำไปใช้ประโยชน์ ลดลงในข้าวท้องไข่
    

ลักษณะโครงสร้างทางเคมีของแอมิโลเพกติน ( amylopectin)แตกต่างไปทั้งความยาวของสายโซ่ การกระจายตัวและการแตกแขนงของสายโซ่สั้น ซึ่งส่งผลต่อสมบัติของแป้งข้าวที่นำไปใช้ต่อ
ข้าวท้องไข่มักจะพบปะปนมาปริมาณสูงจากข้าวนาปรัง



ภาพเม็ดสตาร์ชข้าว มีลักษณะเป็นรูปหลายเหลี่ยมเกาะตัวกันเป็นกลุ่มก้อนต่างจากเม็ดสตาร์ชของแป้งชนิดอื่น
 
 

เวลากินข้าวท้องไข่จะมีความรู้สึกแตกต่างจากข้าวธรรมดา  หากมีข้าวท้องไข่บนอยู่เกินกว่าร้อยละ 15 เนื่องจากข้าวท้องไข่จะดูดซับน้ำไว้สูงทำให้ข้าวสุกมีลักษณะที่เราเรียกว่า อมน้ำแฉะๆ


ข้าวท้องไข่นอกจากจะแตกต่างด้านลักษณะของเม็ดสตาร์ชและองค์ประกอบที่กล่าวแล้วในความเห็นที่2 ยังพบว่า มีผลต่อลักษณะของน้ำแป้งที่ต้องเตรียมขึ้นเพื่อผลิตขนมต่างๆรวมถึงการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวที่เรานิยมกินกันอยู่ เช่นการพองตัวของเม็ดสตาร์ช ความข้นหนืดของน้ำแป้ง ที่ได้จากแป้งข้าวที่มีท้องไข่ปนอยู่มาก จะค่าต่ำกว่า เมื่อเทียบกับแป้งข้าวเม็ดใส และอุณหภูมิการเกิดเจลลาติไนซ์(gelatinize )รวมถึงสมบัติที่เกี่ยวกับแป้งเมื่อผ่านความร้อน ที่ศึกษาด้วยวิธี DSC-Differential scanning colorimeter


ขอบคุณ saisanom ณ วิชาการ.คอม




วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วิธีการปลูกข้าวในอ่างซีเมนต์(บ่อส้วม)







นายธนาวัฒน์  โชค กำทอง  หมอดินอาสาบ้านหนองกระโดน  ตำบลบึงอ้อ อ.ขามทะเล สอ จ.นครราชสีมา   มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 24 ไร่   ทำเกษตรผสม ผสาน ปลูกข้าวอินทรีย์  มันสำปะหลัง ยางพารา  ปลูกไม้ผล ผักสวนครัว เลี้ยง ปลา  จนประสบความสำเร็จโดยเน้นแบบอินทรีย์อยู่ได้แบบพอเพียง  และล่าสุดคิด วิธีการปลูกข้าวอินทรีย์ในบ่อซีเมนต์  

การเตรียมเมล็ดพันธุ์

โดยนำเมล็ดพันธุ์มาเพาะต้นกล้าในถาด แช่เมล็ดข้าวไว้ 2 คืน แล้วทำการดูดน้ำออก ให้สังเกตต้นข้าวจะแตกหน่อออกราก พอเพาะได้ 7 วัน ต้นกล้าข้าวจะสูง 2 นิ้ว ให้ใส่น้ำลงไปให้เห็นเฉพาะปลายข้าวที่โผล่ขึ้นมา พร้อมที่จะปลูก

การปลูกข้าวอินทรีย์ในบ่อซีเมนต์ 

1.การปลูกเริ่มต้น ด้วยการเตรียมท่อปูนขนาด 50x50 เซนติเมตร (บ่อส้วม)

2.ใส่ดินลงไปในบ่อให้มีความสูงขนาด 40 เซนติเมตร

3.นำดิน 1 กิโลกรัม ผสมกับปุ๋ยหมัก 1 กิโลกรัม เทลงไปบนหน้าดิน แล้วใส่น้ำให้เต็มบ่อแช่ดินไว้เพื่อกำจัดวัชพืช 15 วัน

4.เมื่อครบกำหนด 15 วัน ให้ทำการใส่ปุ๋ยคอก แล้วนำข้าวมาปักต้นกล้า โดยปักบ่อละประมาณ 7 กอ ถ้ามากกว่านี้จะทำให้แน่นไป 

5.หลังจากปักดำครบ 15 วัน ให้ใส่น้ำเต็มบ่อ เพื่อให้มีความชุ่มชื้น60% และใส่ปุ๋ยคอกลงไป 1 กก./บ่อ ใส่ 15 วันต่อครั้ง

6.เมื่อต้นข้าวสูง 50-60 เซนติเมตร ข้าวจะสมบูรณ์ อยู่ในช่วงข้าวตั้งท้อง หากมีใบเหลืองให้ใส่ปุ๋ยคอก 3 ขีดต่อ 1 บ่อ ตามด้วยการฉีดน้ำหมัก พด.2 และ พด.7 เพื่อป้องกันแมลง โดยเบื้องต้นการป้องกันแมลงให้นำมะกรูดมาผ่าเป็นซีกแล้วนำไปลอยน้ำในบ่อไว้ เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของหนอน แมลง

7.ในการเก็บผลผลิตข้าว ให้เก็บรวงข้าวโดยการเด็ดชุดแรกตรงป้องแรกของรวงข้าว ต่อ 1 ต้นสามารถเก็บได้ 3รอบ โดยให้เก็บผลผลิตเมื่อข้าวเริ่มมีการตั้งท้องในปล้องที่สองของต้นข้าว หลังจากเก็บเกี่ยวรุ่นที่สามแล้ว ให้ทำการกดต้นข้าวฝังลงไปในดินในบ่อ เหมือนการไถกลบตอซังข้าวและปล่อยน้ำเข้าบ่อให้ท่วมพอดีเป็นการปรับปรุงบำรุง ดินเพื่อเตรียมบ่อลงปลูกรอบต่อไป

ผลผลิตใน 1 บ่อต่อรอบที่เก็บจะได้ปริมาณข้าวเปลือกบ่อละ 1.8 กิโลกรัม 

สูตรน้ำหมักบำรุงนาข้าว 

วัตถุดิบ กล้วยสุก 5 กิโลกรัม ,มะละกอ 5 กิโลกรัม,ฟักทอง 5 กิโลกรัม สับผลไม้เป็นชิ้นเล็กๆ ผสมกับกากน้ำตาล 10 ลิตร หัวเชื้อ 5 ลิตร พด.2 1 ซอง ละลายน้ำ 150 ลิตร หมักนาน 3 เดือน อัตราส่วนในการใช้ น้ำหมัก 1 ขวดลิโพต่อน้ำ 20 ลิตร จะช่วยเร่งการเจริญเติบโต 

สูตรน้ำหมักกำจัดป้องกันไล่แมลง 

1.พริกสด 1 กิโลกรัม

2.กระชาย 1 กิโลกรัม

3.มะกรูดผ่าซีก 50 ผล

4.กากน้ำตาล 5 ลิตร

5.น้ำหมักหัวเชื้อ 5 ลิตร

6.น้ำส้มควันไม้ 5 ลิตร 

นำส่วนผสมมาคลุกเคล้าคนให้เข้ากัน ผสมกากน้ำตาลที่ละลายกับน้ำ 20 ลิตรเอาไว้ ตามด้วยการนำ พด.7 มาละลายน้ำ 15นาที นำมาหมักรวมทั้งหมดในถัง หมักนานอย่างน้อย 20 วัน สามารถนำไปใช้ได้ น้ำหมัก 1 ขวดลิโพต่อน้ำ 20 ลิตร จะช่วยกำจัดป้องกันไล่แมลงทุกชนิด


credit  
http://www.bannangio.com/index.php?mo=5&qid=370174 

การทำนาปลัง



การปักดำจะทำในช่วงต้นเดือนธันวาคมและจะเก็บเกี่ยวในช่วงปลายเดือนมีนาคมแต่อาจมีชาวนาบางรายที่ปักดำล่าช้าเช่นปักดำในช่วงเดือนมกราคมก็จะเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนเมษายน
การปลูกข้าวนาปรังนั้นสำคัญที่การควบคุมน้ำให้ขังอยู่ตลอด ทำให้ต้องผันน้ำเข้านาประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวมเวลาในการเพาะปลูกประมาณ3 - 4 เดือนจึงสามารถเก็บเกี่ยวได้


วิธีการทำนาปรัง 
1. การเตรียมแปลงเพาะกล้า จะทำการไถดินและตากดินไว้ 10-15 วัน จากนั้นระบายน้ำให้ท่วมแปลง แล้วทำการไถดินและเตรียมดิน ทำการปรับแปลงกว้าง 3 เมตร ความยาวของแปลงขึ้นอยู่กับสภาพแปลง ระยะระหว่างแปลง 50 เซนติเมตร

2. การหว่านกล้า หว่านเมล็ดลงในแปลงเพาะกล้า ใช้เมล็ดพันธุ์ 5 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อต้นกล้าอายุได้ 7 วัน จะหว่านปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตราเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของต้นกล้า เมื่อต้นกล้า 30 วัน ก็ถอนย้ายกล้าไปปลูก

3. การเตรียมแปลงนา ทำการไถ 2 ครั้ง ครั้งแรกไถดะและตากดินไว้ 10-15 วัน แล้วปล่อยน้ำให้ท่วมขังประมาณ 10 เซนติเมตร จากนั้นไถพรวนและทำเทือกเพื่อให้ดินร่วนขึ้น

4. การปลูก การปลูกโดยใช้กล้าข้าวอายุ 30 วัน การปักดำโดยใช้กล้า 3 ต้น (1 จับ) ระยะระหว่างต้น 30 เซนติเมตร และระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร

5. การดูแลรักษา 
5.1 การใส่ปุ๋ย  หลังการปักดำ 15 วัน จะใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ในอัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 หลังการปักดำ 5 เดือน โดยใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่ และใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 ก่อนข้าวออกดอก 30 วัน โดยใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อไร่ และใช้ปุ๋ยอัดเม็ดชีวภาพหว่านลงในแปลงนาควบคู่กับปุ๋ยเคมี
5.2 การควบคุมระดับน้ำ  หลังการปักดำต้นข้าวยังไม่แตกกอ จะระบายน้ำให้ท่วมสูงประมาณ 10 เซนติเมตร เมื่อต้นข้าวแตกกอแล้วจะปรับระดับน้ำให้สูงไม่เกิน 15 เซนติเมตร หลังจากข้าวออกรวงจะระบายน้ำออกจากแปลงเพื่อให้แปลงนาแห้ง
5.3 การป้องกันกำจัดศัตรูพืช จะใช้น้ำหมักชีวภาพจากสะเดาในการฉีดพ่นในแปลงนา
5.4 การตรวจสอบต้นผิดปกติ จะทำการตรวจแปลงนาหากพบต้นข้าวที่มีลักษณะแตกต่างจากพันธุ์ปลูกก็จะทำการถอนทิ้ง เพื่อป้องกันการปลอมปน

6. การเก็บเกี่ยว 
6.1 ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว ระยะที่เหมาะสมคือ ระยะที่ข้าวออกดอกแล้วประมาณ 30-35 วัน โดยสังเกตจากรวงข้าวจะโน้มลง เมล็ดข้าวมีสีฟางหรือเหลือง
6.2 วิธีการเก็บเกี่ยว ส่วนใหญ่ทำการเก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานภายในครอบครัว
6.3 การตากข้าวก่อนนวด หลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว จะตากข้าวไว้ในขอบแปลงนา 2-3 วัน เพื่อให้เมล็ดข้าวแห้ง

7. การนวดข้าว จะใช้การนวดข้าวด้วยเครื่องนวดข้าว มีเพียงบางรายที่ใช้การนวดโดยแรงงานคน การนวดด้วยเครื่องนวดในอัตรา 270-350 บาทต่อข้าว 1,000 ฟ่อน

8. การตากข้าวหลังนวด หลังการนวดเสร็จแล้วจะมีตากข้าวบนลานตาก 2-3 วัน เพื่อให้เมล็ดข้าวแห้งก่อนนำไปเก็บรักษาหรือจำหน่ายต่อไป

9. การเก็บรักษา จะเก็บเมล็ดข้าวโดยบรรจุกระสอบก่อนนำไปเก็บรักษาเพื่อรอการจำหน่าย ส่วนใหญ่จะเก็บไว้ในยุ้งฉางของตนเอง

10.การตลาด ข้าวนาปรังจะปลูกเพื่อการบริโภคในครัวเรือนมีเหลือจึงแบ่งขาย ราคากิโลกรัมละ 3-4 บาท ต้นทุนในการปลูกค่อนข้างสูง ทำให้พื้นที่ในการปลูกต่อรายไม่น้อย ประมาณ 5 - 10 ไร่ /รายเท่านั้น

11. ข้อแนะนำ เมล็ดพันธุ์ข้าวจะเปลี่ยนทุกๆ 3 - 4 ปี เนื่องจากหากเก็บไว้ขยายพันธุ์นานหลายปีอาจจะทำให้ข้าวกลายพันธุ์และแข็งกว่าปกติซึ่งโดยปกติข้าวนาปรังเมื่อทำให้สุกแล้วจะแข็งไม่นิ่มเหมือนข้าวนาปีและหากใช้พันธุ์ข้าวเดิมนานหลายปีจะทำให้ข้าวแข็งยิ่งขึ้น


credit http://www.bannangio.com/index.php?mo=5&qid=632761

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เหตุผลที่ราคาข้าวถึงตันละ 15,000 บาท

เรื่องนี้มีฐานในการคิดอยู่พอสมควร หากเกษตรกรโดยเฉลี่ยต่อครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกข้าว 15 ไร่ จะได้กำไร 50,000 บาทต่อการทำนา 1 ครั้ง โดยเฉลี่ยชาวนาทำนากัน 2ครั้ง ก็คือกำไรทั้งหมด 100,000 บาท
หากนำกำไร 100,000 บาทตรงนี้ไปหาร 365 วัน ก็จะได้ประมาณ 300 บาท (ผลจริงๆหารได้ประมาณ 273 บาท) ที่นี้ 300 บาทตรงนี้ที่ได้ก็จะไปพ่วงต่อกับค่าแรงขั้นต่ำที่รัฐบาลได้หาเสียงไว้

ในทางปกติของการซื้อขายข้าวกับโรงสี เมื่อเกษตรนำข้าวไปขาย ทางโรงสีก็จะมีการตรวจสอบความชื่น สิ่งเจือปน ราคาข้าวก็จะต่ำลงมาจากตันละ 15,000 บาท ซึ่งความชื้นไม่เกิน 15% และสิ่งเจือปนไม่เกินร้อยละ 2 ของน้ำหนัก 1,000 กิโลกรัม เรื่องนี้เกษตรกรบางรายถึงกับมั่นใจว่าจะไม่มีเกษตรกรคนใดได้รายได้ถึงตันละ 15,000 บาท
ในขณะที่เกษตรกรอีกคนหนึ่งกลับพูดว่า รายได้นั้นขึ้นอยู่กับตัวของเกษตรกรเองว่าทำข้าวได้มากหรือน้อย

เกษตรที่พบการทุจริตการชั่งน้ำหนัก การหักลดน้ำหนักความชื้น การหักสิ่งเจือปน แจ้งสายด่วน 1569 หรือสำนักงานการค้าภายในจังหวัด